ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของโลกและประเทศจีน (1)
โดย : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
ครั้งที่แล้วผมเขียนถึงความปั่นป่วนที่เกิดขึ้นในประเทศตลาดเกิดใหม่ เช่น อาร์เจนตินา ตุรกี และแอฟริกาใต้
ตลอดจนการที่บางประเทศต้องปรับดอกเบี้ยขึ้นเช่นอินเดีย ซึ่งเกิดจากความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐจะลดทอนการพิมพ์เงินใหม่ออกมาซื้อพันธบัตร ทำให้เงินดอลลาร์ที่เคยมีอย่างล้นเหลือทั่วโลกเริ่มขาดแคลน ประเทศตลาดเกิดใหม่ที่มีจุดอ่อน เช่น ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดทุนสำรองต่ำหนี้ต่างประเทศสูงและเงินเฟ้อสูง มีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากการลดทอนคิวอีอย่างมากในปีนี้
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่าความผันผวนของประเทศตลาดเกิดใหม่ดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของประเทศพัฒนาแล้ว ดังนั้น ข้อเรียกร้องของผู้ว่าการธนาคารกลางอินเดียให้มีการประสานนโยบายการเงินระหว่างประเทศพัฒนาแล้ว (โดยเฉพาะสหรัฐที่กำลังลดทอนคิวอี) กับประเทศกำลังพัฒนาจึงไม่น่าจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ ประเทศพัฒนาแล้วมองว่าประเทศกำลังพัฒนาจะต้องแก้ปัญหาตัวเองโดยการรัดเข็มขัดทางการเงินและการคลัง ซึ่งแม้จะมีผลกระทบข้างเคียงทำให้เกิดความผันผวนและความเสี่ยงในเศรษฐกิจของประเทศตลาดเกิดใหม่แต่จะไม่กระทบต่อการฟื้นตัวของประเทศพัฒนาแล้ว ตรงนี้มีข้อยกเว้นคือประเทศจีน ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นที่สองรองจากสหรัฐ หากจีนมีปัญหาก็จะส่งผลกระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจโลกได้
จะเห็นได้ว่าประเทศมีปัญหาทางเศรษฐกิจ คือ อาร์เจนตินา แอฟริกาใต้และตุรกีนั้นมีจีดีพีรวมกันเพียง 1.656 ล้านล้านดอลลาร์ หรือเพียง 2.25% ของจีดีพีโลก จึงเชื่อได้ว่าปัญหาของประเทศดังกล่าวจะไม่ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐปรับนโยบายในการลดทอนคิวอี อย่างไรก็ตาม ประเทศตลาดเกิดใหม่โดยรวมนั้นปัจจุบันมีขนาดใหญ่คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 38.5% ของจีดีพีโลก ดังนั้น หากปัญหา “ลาม” ออกไปยังประเทศอื่นๆ ก็ย่อมจะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของประเทศพัฒนาแล้วและเศรษฐกิจโลกโดยรวม ทั้งนี้ เมื่อ 11 ปีที่แล้ว จีดีพีของประเทศตลาดเกิดใหม่มีสัดส่วนเพียง 20% ของจีดีพีโลก
ก่อนที่จะเขียนถึงความสำคัญของจีนและความเสี่ยงที่มีอยู่ในระบบสถาบันการเงินของจีน ซึ่งหากเกิดปัญหาจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนและแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ผมขอปูภูมิหลังเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกในช่วงประมาณ 12 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีความสำคัญในการทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับสภาวะการและความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ ซึ่งหากมองกลับไปถึงปี 2002 ก็จะจำได้ว่าเป็นช่วงที่สหรัฐกำลังฟื้นตัวจากเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งเกิดจากฟองสบู่อินเทอร์เน็ตแตก กล่าวคือหุ้นประเภทเทคโนโลยี โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับกิจการอินเทอร์เน็ตถูกปั่นราคาเป็นฟองสบู่จนแตกในปี 2000 ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐถดถอย ซึ่งธนาคารกลางสหรัฐแก้ปัญหาโดยการลดดอกเบี้ยและเปิดทางให้ธนาคารพาณิชย์สหรัฐ “ปั่น” ราคาอสังหาริมทรัพย์ โดยการปล่อยกู้และผลิตอนุพันธ์ทางการเงินอย่างหลากหลาย ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจโลกขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วง 2002-2008 แต่มีข้อสังเกตสำคัญ 3 ประการคือ
1. เป็นการขยายตัวของภาคการเงิน (ทั้งสินเชื่อและอนุพันธ์) โดยอาศัยการปั่นราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐ ซึ่งทำให้ประชาชนรู้สึกร่ำรวยจากมูลค่าของสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น
2. เมื่อประชาชนรู้สึกร่ำรวยขึ้นก็ใช้จ่ายมากขึ้น ทำให้ประเทศสหรัฐขาดดุลบัญชีเดินสะพัด (นำเข้าสินค้าและบริการมากกว่าส่งออก) โดยการขาดดุลดังกล่าวเป็นผลมาจากการบริโภคที่เพิ่มขึ้นเป็นหลัก ทำให้ประเทศตลาดเกิดใหม่ส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นโดยถ้วนหน้าโดยเฉพาะเอเชียและจีน
3. ประเทศตลาดเกิดใหม่ที่พึ่งพาอุตสาหกรรมและการส่งออกเป็นหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เร่งการผลิตและการใช้ทรัพยากร ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรด้านอุตสาหกรรม (น้ำมัน เหล็ก ทองแดง ทองคำ ทองขาว ฯลฯ) หรือสินค้าเกษตร (เช่น ยาง น้ำตาล น้ำมันปาล์มที่ใช้ทดแทนน้ำมันดิบได้) แม้กระทั่งราคาข้าวของไทยยังถูกดันไปสูงถึง 30,000 บาทต่อเกวียนในปี 2008
แต่เมื่อฟองสบู่ของสหรัฐแตกลงพร้อมกับความล่มสลายของเลห์แมน บราเธอร์สและสถาบันการเงินในสหรัฐและยุโรปในปลายปี 2008 ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ก็ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องและแม้ธนาคารกลางของสหรัฐ ยุโรป อังกฤษ (และต่อมา) ญี่ปุ่นจะใช้มาตรการเชิงปริมาณ (การพิมพ์เงิน) เพื่อช่วยพยุงสถาบันการเงินให้พ้นสภาวะล้มละลายได้สำเร็จ และต่อมาทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวได้ในที่สุด พร้อมกับการทรงตัวของเศรษฐกิจยุโรปและการกระเตื้องขึ้นของเศรษฐกิจญี่ปุ่น แต่การฟื้นตัวดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการฟื้นตัวที่ให้ประโยชน์กับคนรวยเป็นหลัก กล่าวคือราคาหุ้นปรับตัวดีขึ้นเพราะบริษัทต่างๆ ทำกำไรได้ดีเท่าเก่า แต่อัตราการว่างงานยังสูงอยู่และธนาคารก็ยังระมัดระวังการปล่อยเงินกู้ (โดยเฉพาะที่ยุโรป)
ดังนั้น การฟื้นตัวครั้งนี้ของสหรัฐและยุโรปจึงมิใช่การฟื้นตัวที่มีการบริโภคเป็นตัวนำเช่นแต่ก่อน ส่วนญี่ปุ่นทำให้เงินเยนอ่อนค่าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทำให้การส่งออกของประเทศกำลังพัฒนาขยายตัวในระดับต่ำกว่าในอดีตอย่างมาก หมายความว่าประเทศกำลังพัฒนากำลังเผชิญปัญหาว่าเคยมีสภาพคล่องเหลือใช้และบางกรณีก็ได้สร้างหนี้หรือเงินเฟ้อเอาไว้มาก แต่การเพิ่มของรายได้หรือผลผลิตกลับมีข้อจำกัด จึงอาจพูดได้ว่าครั้งนี้เป็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ไม่ค่อยจะเอื้ออำนวยกับประเทศกำลังพัฒนาเช่นในอดีต
ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของโลกและของประเทศจีน (2)
ในครั้งที่แล้วผมเขียนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันว่าไม่ค่อยจะเอื้ออำนวยกับประเทศตลาดเกิดใหม่มากนัก
ดังนั้น ประเทศกำลังพัฒนาจึงต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างยิ่งเมื่อธนาคารกลางสหรัฐมีนโยบายลดทอนการซื้อพันธบัตรรัฐบาลอย่างต่อเนื่องในปีนี้
นอกจากนั้นยังมีอีก 2 ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อลักษณะของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในครั้งนี้คือ
1. สหรัฐได้นำเทคโนโลยีที่เรียกว่า hydraulic fracturing ซึ่งเป็นการเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติโดยการขุดแบบทแยงและดันน้ำมันและก๊าซธรรมชาติขึ้นมาโดยใช้ของเหลวเช่นน้ำ ทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตอย่างก้าวกระโดดและเป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจสหรัฐใน 3 ด้านคือ 1.พลิกฟื้นอุตสาหกรรมน้ำมันและเศรษฐกิจของสหรัฐ 2.ทำให้สหรัฐเปลี่ยนจากประเทศที่พึ่งพาการนำเข้าน้ำมันมาเป็นประเทศที่จะสามารถส่งออกน้ำมันได้ในอนาคตอันใกล้ ซึ่งช่วยลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดลงอย่างมาก 3.ทำให้ต้นทุนการผลิตของสหรัฐปรับลดลงทำให้บริษัทสหรัฐเริ่มย้ายฐานการผลิตกลับมาในประเทศ
2. รัฐบาลจีนส่งเสริมให้ค่าจ้างแรงงานในประเทศปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ยปีละ 15% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาและเริ่มเปลี่ยนกลยุทธ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจจากการเร่งรัดลงทุนสร้างโรงงานผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกมาเป็นการคำนึงถึงคุณภาพชีวิตและการบริโภคทำให้ความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์ของจีนลดลง ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยหลักทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีแนวโน้มอ่อนตัว
อย่างไรก็ตาม ความอ่อนแอของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งจะทำให้ประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศประสบปัญหานั้น จะยังไม่ส่งผลในเชิงลบต่อการฟื้นตัวของประเทศพัฒนาแล้วอย่างมีนัยสำคัญ เพราะประเทศดังกล่าวมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก แต่หากประเทศจีนมีปัญหาเศรษฐกิจก็ย่อมจะส่งผลกระทบต่อประเทศพัฒนาแล้วและเศรษฐกิจโลกโดยรวม เพราะจีนมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นที่สองรองจากสหรัฐ ดังนั้น จึงต้องหันกลับมาพิจารณาว่าเศรษฐกิจจีนมีความเสี่ยงอะไรบ้าง ทั้งนี้ ความเสี่ยงที่พอจะตัดออกได้คือวิกฤติที่เกิดจากดุลชำระเงินหรือดุลบัญชีเดินสะพัดเพราะจีนยังคงเกินดุลบัญชีเดินสะพัดแม้จะปรับลดลงในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และมีเงินทุนไหลเข้า แต่ที่สำคัญคือจีนเกือบจะไม่มีหนี้ต่างประเทศและมีทุนสำรองระหว่างประเทศสูงเกือบ 4 ล้านล้านดอลลาร์ (30% ของจีดีพี) ดังนั้น หากจีนมีปัญหาก็จะมิได้เกิดจากปัจจัยภายนอกเช่นที่อาร์เจนตินาอย่างแน่นอน
สิ่งที่นักลงทุนบางคน (ซึ่งยังเป็นส่วนน้อย) เพ่งเล็งคือปัญหาหนี้ของบริษัทและรัฐบาลท้องถิ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบธนาคารเงา (shadow banking) ซึ่งขยายตัวอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สืบเนื่องจากการที่ทางการของจีนสนับสนุนให้ระบบธนาคารขยายสินเชื่อเพื่อลดผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจโลกช่วงปี 2009 (สินเชื่อขยายตัวร้อยละ 35) และรัฐบาลก็กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลงทุนภาครัฐจำนวนมหาศาลหลังจากนั้นทางการของจีนก็พยายามลดการขยายตัวของสินเชื่อลงอย่างต่อเนื่อง แต่ในช่วงเดียวกันบริษัทและรัฐบาลท้องถิ่นยังมีความต้องการสินเชื่อ ทำให้พยายามแสวงหาเงินกู้ซึ่งได้รับการตอบสนองจากระบบธนาคารเงาโดย การออกตราสาร (wealth management product หรือ WMP) ที่ให้ผลตอบแทนสูง (6-8% ต่อปี) และเป็นตราสารระยะสั้น (ส่วนใหญ่ 3 เดือนถึง 3 ปี) ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่ารวมกว่า 10 ล้านล้านหยวน (เพิ่มจาก 4.5 ล้านล้านหยวนในไตรมาส 4 ปี 2011) สำหรับรัฐบาลท้องถิ่นนั้นก็ออกพันธบัตรเพิ่มขึ้นจาก 1 ล้านล้านหยวนเป็น 2.39 ล้านล้านหยวนในช่วงเดียวกัน ทั้งนี้ หนี้ของบริษัทและหนี้ของรัฐบาลท้องถิ่นมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 78 ล้านล้านหยวน (ประมาณ 140% ของจีดีพี) โดยเป็นหนี้ที่ก่อในระบบธนาคารเงาประมาณ 19 ล้านล้านหยวน (24% ของหนี้สินทั้งหมด)
ประเด็นคือสินเชื่อในภาคธนาคารเงามิได้มีการควบคุมด้วยกฎเกณฑ์ที่รัดกุมและกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วประมาณ 30-40% ต่อปี (จีดีพีขยายตัวเพียง 10% ต่อปี) ทำให้ต้องชะลอการขยายตัวของสินเชื่อดังกล่าวอย่างทันท่วงที มิฉะนั้นจะทำให้เกิดปัญหาที่จะกระทบกับความมั่นคงของระบบการเงินโดยรวมได้ในอนาคต ทั้งนี้ มีการตั้งข้อสังเกตว่ากำลังมีการกู้ยืมเงินจากภาคการธนาคารเงาเพื่อจุนเจือสภาพคล่องและมีการประเมินว่าสินเชื่อใหม่นั้นประมาณ 70% ถูกนำไปจ่ายดอกเบี้ยและคืนหนี้เดิม แปลว่าเงินที่กู้ใหม่นั้นมีเพียงส่วนน้อยที่นำไปลงทุนเพื่อให้เกิดรายได้มาจ่ายดอกเบี้ย จึงเป็นความเสี่ยงที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อีกประเด็นที่สำคัญคือการขยายตัวของระบบธนาคารเงานั้นเกิดขึ้นได้เพราะผู้ซื้อเชื่อว่าเป็นการลงทุนที่มีผลตอบแทนสูงแต่ความเสี่ยงต่ำ เพราะเชื่อว่าได้รับการประกันความเสี่ยงจากธนาคารของรัฐซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัททรัสต์ที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ในส่วนรัฐบาลท้องถิ่นนั้นได้มีการออกพันธบัตรโดยตรงและการจัดตั้งกองทุนระดมเงินเพื่อใช้ในการลงทุนโครงสร้างขนาดใหญ่หรือ Local Government Funding Vehicle (LGFV) ซึ่งผู้ที่ซื้อตราสารดังกล่าวเชื่อมั่นว่าหากเกิดปัญหาทางการเงินรัฐบาลกลางของจีนก็จะต้องเข้ามารับผิดชอบหนี้สินของรัฐบาลท้องถิ่น ตัวอย่างเช่นบทความที่เขียนโดยนาง Stevenson-Young (Wall Street Journal 30 มกราคม 2014) สรุปว่า "moral hazard is woven into the fabric of the Chinese financial system"
ในครั้งต่อไปผมจะเขียนถึงประเด็นที่นักลงทุนพึงระมัดระวังเกี่ยวกับความเสี่ยงของระบบการธนาคารของจีนและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากเกิด “อุบัติเหตุ” ทางการเงินขึ้นในจีนครับ
ที่มา Bangkokbiznew
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/ceo-blogs/supavut/20140217/562878/ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของโลกและประเทศจีน-(1).html
http://www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/supavut/20140224/564615/ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของโลกและของประเทศจีน-(2).html
ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของโลกและประเทศจีน
โดย : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
ครั้งที่แล้วผมเขียนถึงความปั่นป่วนที่เกิดขึ้นในประเทศตลาดเกิดใหม่ เช่น อาร์เจนตินา ตุรกี และแอฟริกาใต้
ตลอดจนการที่บางประเทศต้องปรับดอกเบี้ยขึ้นเช่นอินเดีย ซึ่งเกิดจากความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐจะลดทอนการพิมพ์เงินใหม่ออกมาซื้อพันธบัตร ทำให้เงินดอลลาร์ที่เคยมีอย่างล้นเหลือทั่วโลกเริ่มขาดแคลน ประเทศตลาดเกิดใหม่ที่มีจุดอ่อน เช่น ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดทุนสำรองต่ำหนี้ต่างประเทศสูงและเงินเฟ้อสูง มีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากการลดทอนคิวอีอย่างมากในปีนี้
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่าความผันผวนของประเทศตลาดเกิดใหม่ดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของประเทศพัฒนาแล้ว ดังนั้น ข้อเรียกร้องของผู้ว่าการธนาคารกลางอินเดียให้มีการประสานนโยบายการเงินระหว่างประเทศพัฒนาแล้ว (โดยเฉพาะสหรัฐที่กำลังลดทอนคิวอี) กับประเทศกำลังพัฒนาจึงไม่น่าจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ ประเทศพัฒนาแล้วมองว่าประเทศกำลังพัฒนาจะต้องแก้ปัญหาตัวเองโดยการรัดเข็มขัดทางการเงินและการคลัง ซึ่งแม้จะมีผลกระทบข้างเคียงทำให้เกิดความผันผวนและความเสี่ยงในเศรษฐกิจของประเทศตลาดเกิดใหม่แต่จะไม่กระทบต่อการฟื้นตัวของประเทศพัฒนาแล้ว ตรงนี้มีข้อยกเว้นคือประเทศจีน ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นที่สองรองจากสหรัฐ หากจีนมีปัญหาก็จะส่งผลกระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจโลกได้
จะเห็นได้ว่าประเทศมีปัญหาทางเศรษฐกิจ คือ อาร์เจนตินา แอฟริกาใต้และตุรกีนั้นมีจีดีพีรวมกันเพียง 1.656 ล้านล้านดอลลาร์ หรือเพียง 2.25% ของจีดีพีโลก จึงเชื่อได้ว่าปัญหาของประเทศดังกล่าวจะไม่ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐปรับนโยบายในการลดทอนคิวอี อย่างไรก็ตาม ประเทศตลาดเกิดใหม่โดยรวมนั้นปัจจุบันมีขนาดใหญ่คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 38.5% ของจีดีพีโลก ดังนั้น หากปัญหา “ลาม” ออกไปยังประเทศอื่นๆ ก็ย่อมจะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของประเทศพัฒนาแล้วและเศรษฐกิจโลกโดยรวม ทั้งนี้ เมื่อ 11 ปีที่แล้ว จีดีพีของประเทศตลาดเกิดใหม่มีสัดส่วนเพียง 20% ของจีดีพีโลก
ก่อนที่จะเขียนถึงความสำคัญของจีนและความเสี่ยงที่มีอยู่ในระบบสถาบันการเงินของจีน ซึ่งหากเกิดปัญหาจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนและแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ผมขอปูภูมิหลังเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกในช่วงประมาณ 12 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีความสำคัญในการทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับสภาวะการและความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ ซึ่งหากมองกลับไปถึงปี 2002 ก็จะจำได้ว่าเป็นช่วงที่สหรัฐกำลังฟื้นตัวจากเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งเกิดจากฟองสบู่อินเทอร์เน็ตแตก กล่าวคือหุ้นประเภทเทคโนโลยี โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับกิจการอินเทอร์เน็ตถูกปั่นราคาเป็นฟองสบู่จนแตกในปี 2000 ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐถดถอย ซึ่งธนาคารกลางสหรัฐแก้ปัญหาโดยการลดดอกเบี้ยและเปิดทางให้ธนาคารพาณิชย์สหรัฐ “ปั่น” ราคาอสังหาริมทรัพย์ โดยการปล่อยกู้และผลิตอนุพันธ์ทางการเงินอย่างหลากหลาย ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจโลกขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วง 2002-2008 แต่มีข้อสังเกตสำคัญ 3 ประการคือ
1. เป็นการขยายตัวของภาคการเงิน (ทั้งสินเชื่อและอนุพันธ์) โดยอาศัยการปั่นราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐ ซึ่งทำให้ประชาชนรู้สึกร่ำรวยจากมูลค่าของสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น
2. เมื่อประชาชนรู้สึกร่ำรวยขึ้นก็ใช้จ่ายมากขึ้น ทำให้ประเทศสหรัฐขาดดุลบัญชีเดินสะพัด (นำเข้าสินค้าและบริการมากกว่าส่งออก) โดยการขาดดุลดังกล่าวเป็นผลมาจากการบริโภคที่เพิ่มขึ้นเป็นหลัก ทำให้ประเทศตลาดเกิดใหม่ส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นโดยถ้วนหน้าโดยเฉพาะเอเชียและจีน
3. ประเทศตลาดเกิดใหม่ที่พึ่งพาอุตสาหกรรมและการส่งออกเป็นหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เร่งการผลิตและการใช้ทรัพยากร ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรด้านอุตสาหกรรม (น้ำมัน เหล็ก ทองแดง ทองคำ ทองขาว ฯลฯ) หรือสินค้าเกษตร (เช่น ยาง น้ำตาล น้ำมันปาล์มที่ใช้ทดแทนน้ำมันดิบได้) แม้กระทั่งราคาข้าวของไทยยังถูกดันไปสูงถึง 30,000 บาทต่อเกวียนในปี 2008
แต่เมื่อฟองสบู่ของสหรัฐแตกลงพร้อมกับความล่มสลายของเลห์แมน บราเธอร์สและสถาบันการเงินในสหรัฐและยุโรปในปลายปี 2008 ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ก็ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องและแม้ธนาคารกลางของสหรัฐ ยุโรป อังกฤษ (และต่อมา) ญี่ปุ่นจะใช้มาตรการเชิงปริมาณ (การพิมพ์เงิน) เพื่อช่วยพยุงสถาบันการเงินให้พ้นสภาวะล้มละลายได้สำเร็จ และต่อมาทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวได้ในที่สุด พร้อมกับการทรงตัวของเศรษฐกิจยุโรปและการกระเตื้องขึ้นของเศรษฐกิจญี่ปุ่น แต่การฟื้นตัวดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการฟื้นตัวที่ให้ประโยชน์กับคนรวยเป็นหลัก กล่าวคือราคาหุ้นปรับตัวดีขึ้นเพราะบริษัทต่างๆ ทำกำไรได้ดีเท่าเก่า แต่อัตราการว่างงานยังสูงอยู่และธนาคารก็ยังระมัดระวังการปล่อยเงินกู้ (โดยเฉพาะที่ยุโรป)
ดังนั้น การฟื้นตัวครั้งนี้ของสหรัฐและยุโรปจึงมิใช่การฟื้นตัวที่มีการบริโภคเป็นตัวนำเช่นแต่ก่อน ส่วนญี่ปุ่นทำให้เงินเยนอ่อนค่าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทำให้การส่งออกของประเทศกำลังพัฒนาขยายตัวในระดับต่ำกว่าในอดีตอย่างมาก หมายความว่าประเทศกำลังพัฒนากำลังเผชิญปัญหาว่าเคยมีสภาพคล่องเหลือใช้และบางกรณีก็ได้สร้างหนี้หรือเงินเฟ้อเอาไว้มาก แต่การเพิ่มของรายได้หรือผลผลิตกลับมีข้อจำกัด จึงอาจพูดได้ว่าครั้งนี้เป็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ไม่ค่อยจะเอื้ออำนวยกับประเทศกำลังพัฒนาเช่นในอดีต
ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของโลกและของประเทศจีน (2)
ในครั้งที่แล้วผมเขียนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันว่าไม่ค่อยจะเอื้ออำนวยกับประเทศตลาดเกิดใหม่มากนัก
ดังนั้น ประเทศกำลังพัฒนาจึงต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างยิ่งเมื่อธนาคารกลางสหรัฐมีนโยบายลดทอนการซื้อพันธบัตรรัฐบาลอย่างต่อเนื่องในปีนี้
นอกจากนั้นยังมีอีก 2 ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อลักษณะของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในครั้งนี้คือ
1. สหรัฐได้นำเทคโนโลยีที่เรียกว่า hydraulic fracturing ซึ่งเป็นการเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติโดยการขุดแบบทแยงและดันน้ำมันและก๊าซธรรมชาติขึ้นมาโดยใช้ของเหลวเช่นน้ำ ทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตอย่างก้าวกระโดดและเป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจสหรัฐใน 3 ด้านคือ 1.พลิกฟื้นอุตสาหกรรมน้ำมันและเศรษฐกิจของสหรัฐ 2.ทำให้สหรัฐเปลี่ยนจากประเทศที่พึ่งพาการนำเข้าน้ำมันมาเป็นประเทศที่จะสามารถส่งออกน้ำมันได้ในอนาคตอันใกล้ ซึ่งช่วยลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดลงอย่างมาก 3.ทำให้ต้นทุนการผลิตของสหรัฐปรับลดลงทำให้บริษัทสหรัฐเริ่มย้ายฐานการผลิตกลับมาในประเทศ
2. รัฐบาลจีนส่งเสริมให้ค่าจ้างแรงงานในประเทศปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ยปีละ 15% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาและเริ่มเปลี่ยนกลยุทธ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจจากการเร่งรัดลงทุนสร้างโรงงานผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกมาเป็นการคำนึงถึงคุณภาพชีวิตและการบริโภคทำให้ความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์ของจีนลดลง ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยหลักทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีแนวโน้มอ่อนตัว
อย่างไรก็ตาม ความอ่อนแอของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งจะทำให้ประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศประสบปัญหานั้น จะยังไม่ส่งผลในเชิงลบต่อการฟื้นตัวของประเทศพัฒนาแล้วอย่างมีนัยสำคัญ เพราะประเทศดังกล่าวมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก แต่หากประเทศจีนมีปัญหาเศรษฐกิจก็ย่อมจะส่งผลกระทบต่อประเทศพัฒนาแล้วและเศรษฐกิจโลกโดยรวม เพราะจีนมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นที่สองรองจากสหรัฐ ดังนั้น จึงต้องหันกลับมาพิจารณาว่าเศรษฐกิจจีนมีความเสี่ยงอะไรบ้าง ทั้งนี้ ความเสี่ยงที่พอจะตัดออกได้คือวิกฤติที่เกิดจากดุลชำระเงินหรือดุลบัญชีเดินสะพัดเพราะจีนยังคงเกินดุลบัญชีเดินสะพัดแม้จะปรับลดลงในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และมีเงินทุนไหลเข้า แต่ที่สำคัญคือจีนเกือบจะไม่มีหนี้ต่างประเทศและมีทุนสำรองระหว่างประเทศสูงเกือบ 4 ล้านล้านดอลลาร์ (30% ของจีดีพี) ดังนั้น หากจีนมีปัญหาก็จะมิได้เกิดจากปัจจัยภายนอกเช่นที่อาร์เจนตินาอย่างแน่นอน
สิ่งที่นักลงทุนบางคน (ซึ่งยังเป็นส่วนน้อย) เพ่งเล็งคือปัญหาหนี้ของบริษัทและรัฐบาลท้องถิ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบธนาคารเงา (shadow banking) ซึ่งขยายตัวอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สืบเนื่องจากการที่ทางการของจีนสนับสนุนให้ระบบธนาคารขยายสินเชื่อเพื่อลดผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจโลกช่วงปี 2009 (สินเชื่อขยายตัวร้อยละ 35) และรัฐบาลก็กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลงทุนภาครัฐจำนวนมหาศาลหลังจากนั้นทางการของจีนก็พยายามลดการขยายตัวของสินเชื่อลงอย่างต่อเนื่อง แต่ในช่วงเดียวกันบริษัทและรัฐบาลท้องถิ่นยังมีความต้องการสินเชื่อ ทำให้พยายามแสวงหาเงินกู้ซึ่งได้รับการตอบสนองจากระบบธนาคารเงาโดย การออกตราสาร (wealth management product หรือ WMP) ที่ให้ผลตอบแทนสูง (6-8% ต่อปี) และเป็นตราสารระยะสั้น (ส่วนใหญ่ 3 เดือนถึง 3 ปี) ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่ารวมกว่า 10 ล้านล้านหยวน (เพิ่มจาก 4.5 ล้านล้านหยวนในไตรมาส 4 ปี 2011) สำหรับรัฐบาลท้องถิ่นนั้นก็ออกพันธบัตรเพิ่มขึ้นจาก 1 ล้านล้านหยวนเป็น 2.39 ล้านล้านหยวนในช่วงเดียวกัน ทั้งนี้ หนี้ของบริษัทและหนี้ของรัฐบาลท้องถิ่นมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 78 ล้านล้านหยวน (ประมาณ 140% ของจีดีพี) โดยเป็นหนี้ที่ก่อในระบบธนาคารเงาประมาณ 19 ล้านล้านหยวน (24% ของหนี้สินทั้งหมด)
ประเด็นคือสินเชื่อในภาคธนาคารเงามิได้มีการควบคุมด้วยกฎเกณฑ์ที่รัดกุมและกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วประมาณ 30-40% ต่อปี (จีดีพีขยายตัวเพียง 10% ต่อปี) ทำให้ต้องชะลอการขยายตัวของสินเชื่อดังกล่าวอย่างทันท่วงที มิฉะนั้นจะทำให้เกิดปัญหาที่จะกระทบกับความมั่นคงของระบบการเงินโดยรวมได้ในอนาคต ทั้งนี้ มีการตั้งข้อสังเกตว่ากำลังมีการกู้ยืมเงินจากภาคการธนาคารเงาเพื่อจุนเจือสภาพคล่องและมีการประเมินว่าสินเชื่อใหม่นั้นประมาณ 70% ถูกนำไปจ่ายดอกเบี้ยและคืนหนี้เดิม แปลว่าเงินที่กู้ใหม่นั้นมีเพียงส่วนน้อยที่นำไปลงทุนเพื่อให้เกิดรายได้มาจ่ายดอกเบี้ย จึงเป็นความเสี่ยงที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อีกประเด็นที่สำคัญคือการขยายตัวของระบบธนาคารเงานั้นเกิดขึ้นได้เพราะผู้ซื้อเชื่อว่าเป็นการลงทุนที่มีผลตอบแทนสูงแต่ความเสี่ยงต่ำ เพราะเชื่อว่าได้รับการประกันความเสี่ยงจากธนาคารของรัฐซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัททรัสต์ที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ในส่วนรัฐบาลท้องถิ่นนั้นได้มีการออกพันธบัตรโดยตรงและการจัดตั้งกองทุนระดมเงินเพื่อใช้ในการลงทุนโครงสร้างขนาดใหญ่หรือ Local Government Funding Vehicle (LGFV) ซึ่งผู้ที่ซื้อตราสารดังกล่าวเชื่อมั่นว่าหากเกิดปัญหาทางการเงินรัฐบาลกลางของจีนก็จะต้องเข้ามารับผิดชอบหนี้สินของรัฐบาลท้องถิ่น ตัวอย่างเช่นบทความที่เขียนโดยนาง Stevenson-Young (Wall Street Journal 30 มกราคม 2014) สรุปว่า "moral hazard is woven into the fabric of the Chinese financial system"
ในครั้งต่อไปผมจะเขียนถึงประเด็นที่นักลงทุนพึงระมัดระวังเกี่ยวกับความเสี่ยงของระบบการธนาคารของจีนและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากเกิด “อุบัติเหตุ” ทางการเงินขึ้นในจีนครับ
ที่มา Bangkokbiznew
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/ceo-blogs/supavut/20140217/562878/ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของโลกและประเทศจีน-(1).html
http://www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/supavut/20140224/564615/ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของโลกและของประเทศจีน-(2).html