สำรวจ 13 คดี "มาร์ค-เทือก" ในมือป.ป.ช.
รายงานพิเศษ
การเมืองในจุดเขม็งเกลียว สถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงหนักขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แม้จะอยู่ในสภาพนายกฯ รักษาการ แต่ต้องถอยร่นให้พ้นรัศมีขับไล่ของม็อบ กปปส. จนแทบไม่มีที่ยืน
ระหว่างนี้ปรากฏว่าคดีสำคัญในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก็เดินหน้าได้ข้อสรุปออกมาอย่างประจวบเหมาะ มีการทยอยแจ้งข้อกล่าวหานายกฯ ซึ่งหลายคดีสามารถชี้เป็นชี้ตายรัฐบาลนี้
กระทั่งสังคมตั้งคำถามเชิงเปรียบเทียบว่า มีการเร่งรีบดำเนินการหรือไม่ ทั้งที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ รับตำแหน่งนายกฯเมื่อวันที่ 10 ส.ค.2554 พ้นเก้าอี้ 9 ธ.ค.2556 จากการประกาศยุบสภา
ต่างจากรัฐบาลก่อนหน้านี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รับตำแหน่งนายกฯ เมื่อ 20 ธ.ค.2551 พ้นตำแหน่งวันที่ 5 ส.ค.2554 แต่คดีในความรับผิดชอบของ ป.ป.ช. แทบจะไร้ความคืบหน้า
ล่าสุดพรรคเพื่อไทยโดย นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ยื่นหนังสือถาม ป.ป.ช. ขอทราบเหตุผลที่การตรวจสอบคดีของนายอภิสิทธิ์ รวมถึงนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ขณะนั้น จำนวนทั้งสิ้น 13 คดี จึงล่าช้าจนผิดสังเกต
พร้อมแจกแจงรายละเอียดและความคืบหน้าทั้ง 13 คดี แบ่งเป็น นายอภิสิทธิ์ 3 เรื่อง นายสุเทพ 6 เรื่อง และถูกกล่าวหาร่วมกันอีก 4 เรื่อง ดังนี้
คดีที่นายอภิสิทธิ์ถูกกล่าวหา
1.กรณีวันที่ 12 เม.ย.-15 มิ.ย.2553 ร่วมกันเผยแพร่ข่าวว่ารัฐบาลมีแนวคิดที่จะซื้อดาวเทียมไทยคมคืน ทั้งที่ทราบดีว่าไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากเป็นการดำเนินการนอกอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายบัญญัติ และไม่ได้บรรจุไว้ในนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา อีกทั้งไม่อยู่ในแผนกการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลแต่อย่างใด
จนทำให้หุ้นของบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ราคาพุ่งสูงขึ้น และมีการซื้อขายหุ้นในปริมาณและราคาสูง ผิดปกติ
เรื่องอยู่ระหว่างการแจ้งข้อกล่าวหา
2.กรณีกระทำการอันมีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่าใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมาย และฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงในการเห็นชอบผลการประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ สัญญาที่ 1-3 และปรับกรอบวงเงินของสัญญาที่ 6 โดยมีมติ ครม. เมื่อวันที่ 11 ส.ค.2552
เรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาพยานหลักฐานที่รวบรวมได้
3.ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยมีมติเห็นชอบเมื่อ 25 ส.ค.2552 ให้ออกใบอนุญาตก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่พัฒนาเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง ทั้งที่เป็นโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งด้านสภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ โดยไม่ยึดถือการปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 67 จนนำไปสู่การฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลาง
เรื่องอยู่ระหว่างการแจ้งคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน
คดีที่นายสุเทพถูกกล่าวหา
4.กรณีทุจริตในคณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยาง โดยในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ปล่อยให้มีการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ในการปรับเพิ่มอัตราการจัดเก็บเงินสงเคราะห์ตาม พ.ร.บ.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เรื่องอยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐาน
5.กรณีกองทัพบกสั่งซื้อเรือเหาะที่มีราคาสูงกว่าความ เป็นจริง
มีหนังสือแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหารับทราบการที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นองค์คณะไต่สวน
6.กรณีการทุจริตจัดซื้อยานเกราะล้อยางจากยูเครน
เรื่องอยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐาน
7.กรณีส่อว่าทุจริตต่อหน้าที่เกี่ยวกับวิกฤตน้ำมันปาล์ม ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายน้ำมันปาล์มแห่งชาติ โดยมีผู้ใกล้ชิดซึ่งเป็นเจ้าของสวนปาล์มและโรงหีบน้ำมันปาล์ม ซึ่งครองตลาดปาล์มถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของประเทศ ได้ประโยชน์จากวิกฤตราคาน้ำมันปาล์มขาดแคลนอย่างมาก
มีหนังสือแจ้งให้ผู้ที่ถูกกล่าวหารับทราบจากการที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นองค์คณะไต่สวน
8.คดีสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจและรับผิดชอบการออกคำสั่งในฐานะผอ.ศอฉ. กระทั่งมีผู้เสียชีวิต 99 ศพ และบาดเจ็บกว่า 2 พันคน
เรื่องอยู่ในชั้นไต่สวน ยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา
9.ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการพิจารณาเรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. และพล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีต ผบช.น. ในคดีสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ต.ค.2551
และชี้มูลความผิด พล.ต.ต.เพิ่มศักดิ์ ภราดรศักดิ์ อดีต ผบก.ภ.อุดรธานี ในคดีปล่อยให้ผู้ชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงยกพวกเข้าทำร้ายกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรที่สวนสาธารณะหนองประจักษ์
โดยมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 30 ธ.ค.2552 ว่าบุคคล ทั้งสามไม่มีความผิดและให้กลับเข้ารับราชการได้ อันเป็นการขัดแย้งกับมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2542 ทั้งนี้เพื่อช่วยเหลือผู้กระทำความผิดไม่ให้ได้รับโทษ
เรื่องอยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติมตามมติคณะกรรมการ ป.ป.ช.
คดีที่นายอภิสิทธิ์กับนายสุเทพถูกกล่าวหาร่วมกัน
10.มีพฤติการณ์ส่อว่าทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย และฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ดังนี้
- ร่วมกันใช้หรือสั่งการอันเป็นเหตุให้เกิดการกระทำ ความผิด โดยเกิดการฆาตกรรมบุคคลจนถึงแก่ความตายจำนวนหลายราย ระหว่างวันที่ 10 เม.ย. - 19 พ.ค.2553 และไม่ทบทวนวิธีการ หรือหยุดยั้งการกระทำจากเหตุ วันที่ 10 เม.ย.2553 กลับสั่งการให้ดำเนินการเช่นเดิม โดยเฉพาะเหตุการณ์วันที่ 19 พ.ค.2553
- แทรกแซงการใช้อำนาจขององค์กรในกระบวนการยุติธรรม กรณีการชันสูตรพลิกศพ โดยนำคดีการตายของประชาชนและเจ้าหน้าที่เกือบ 100 ศพ ให้เสนอเป็นคดีพิเศษโดยไม่ดำเนินการทำสำนวนชันสูตรพลิกศพตามกฎหมาย และจงใจบิดเบือนและเบี่ยงเบนการบังคับการตามกฎหมายในเรื่องชันสูตรพลิกศพ
- ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการปกป้องและระงับเหตุวางเพลิงเผาศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ แล้วมีการทำร้ายและไล่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงออกจากศูนย์การค้า ทำให้ไม่มีผู้ดับเพลิง
เรื่องอยู่ระหว่างการประชุมคณะอนุกรรมการไต่สวนครั้งแรก
11. มีพฤติการณ์ช่วยเหลือและเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัท พีซีซี ดีเวลล็อปเม้นท์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ให้เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ โดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันในการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม
เรื่องอยู่ระหว่างการประชุมคณะอนุกรรมการไต่สวนครั้งแรก
12. กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาฯ พ.ศ.2542 ในการดำเนินโครงการก่อสร้างสถานีตำรวจ (ทดแทน) จำนวน 396 หลัง วงเงิน 5,848 ล้านบาท ที่มีบริษัท พีซีซี ดีเวลล็อปเม้นท์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด เป็นผู้รับจ้าง ตามสัญญาเลขที่ ยธ 13/2554 ลว. 25 มี.ค.2544 โดยยกเลิกแนวทางการจัดจ้างแบบแยกการเสนอราคาเป็นรายภาค และอนุมัติให้ดำเนินการจัดจ้างรวมการก่อสร้างเป็นแบบสัญญาเดียว อันเป็นการกีดกันและเอื้อประโยชน์ให้กับผู้เสนอราคารายใดรายหนึ่ง
เรื่องอยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน
13.ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยภายหลังการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เมื่อวันที่ 7 เม.ย.2553 ผู้ถูกกล่าวหาได้มีคำสั่งปิดสัญญาณดาวเทียม เป็นเหตุให้ 36 เว็บไซต์ภายในประเทศ และเว็บไซต์ดาวเทียมต่างประเทศ 15 ประเทศ ใช้งานไม่ได้ อีกทั้งระงับการเสนอข่าวหรือรายการทางวิทยุโทรทัศน์ และสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมพีเพิลแชนแนล (พีทีวี) ซึ่งเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรอง และการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
เรื่องอยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNU16VTFPVGN4TkE9PQ%3D%3D§ionid
ถาม ปปช ว่า 13 คดีนี้ จะถึงศาลชาตินี้ไหมครับ
รายงานพิเศษ
การเมืองในจุดเขม็งเกลียว สถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงหนักขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แม้จะอยู่ในสภาพนายกฯ รักษาการ แต่ต้องถอยร่นให้พ้นรัศมีขับไล่ของม็อบ กปปส. จนแทบไม่มีที่ยืน
ระหว่างนี้ปรากฏว่าคดีสำคัญในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก็เดินหน้าได้ข้อสรุปออกมาอย่างประจวบเหมาะ มีการทยอยแจ้งข้อกล่าวหานายกฯ ซึ่งหลายคดีสามารถชี้เป็นชี้ตายรัฐบาลนี้
กระทั่งสังคมตั้งคำถามเชิงเปรียบเทียบว่า มีการเร่งรีบดำเนินการหรือไม่ ทั้งที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ รับตำแหน่งนายกฯเมื่อวันที่ 10 ส.ค.2554 พ้นเก้าอี้ 9 ธ.ค.2556 จากการประกาศยุบสภา
ต่างจากรัฐบาลก่อนหน้านี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รับตำแหน่งนายกฯ เมื่อ 20 ธ.ค.2551 พ้นตำแหน่งวันที่ 5 ส.ค.2554 แต่คดีในความรับผิดชอบของ ป.ป.ช. แทบจะไร้ความคืบหน้า
ล่าสุดพรรคเพื่อไทยโดย นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ยื่นหนังสือถาม ป.ป.ช. ขอทราบเหตุผลที่การตรวจสอบคดีของนายอภิสิทธิ์ รวมถึงนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ขณะนั้น จำนวนทั้งสิ้น 13 คดี จึงล่าช้าจนผิดสังเกต
พร้อมแจกแจงรายละเอียดและความคืบหน้าทั้ง 13 คดี แบ่งเป็น นายอภิสิทธิ์ 3 เรื่อง นายสุเทพ 6 เรื่อง และถูกกล่าวหาร่วมกันอีก 4 เรื่อง ดังนี้
คดีที่นายอภิสิทธิ์ถูกกล่าวหา
1.กรณีวันที่ 12 เม.ย.-15 มิ.ย.2553 ร่วมกันเผยแพร่ข่าวว่ารัฐบาลมีแนวคิดที่จะซื้อดาวเทียมไทยคมคืน ทั้งที่ทราบดีว่าไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากเป็นการดำเนินการนอกอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายบัญญัติ และไม่ได้บรรจุไว้ในนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา อีกทั้งไม่อยู่ในแผนกการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลแต่อย่างใด
จนทำให้หุ้นของบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ราคาพุ่งสูงขึ้น และมีการซื้อขายหุ้นในปริมาณและราคาสูง ผิดปกติ
เรื่องอยู่ระหว่างการแจ้งข้อกล่าวหา
2.กรณีกระทำการอันมีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่าใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมาย และฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงในการเห็นชอบผลการประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ สัญญาที่ 1-3 และปรับกรอบวงเงินของสัญญาที่ 6 โดยมีมติ ครม. เมื่อวันที่ 11 ส.ค.2552
เรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาพยานหลักฐานที่รวบรวมได้
3.ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยมีมติเห็นชอบเมื่อ 25 ส.ค.2552 ให้ออกใบอนุญาตก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่พัฒนาเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง ทั้งที่เป็นโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งด้านสภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ โดยไม่ยึดถือการปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 67 จนนำไปสู่การฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลาง
เรื่องอยู่ระหว่างการแจ้งคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน
คดีที่นายสุเทพถูกกล่าวหา
4.กรณีทุจริตในคณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยาง โดยในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ปล่อยให้มีการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ในการปรับเพิ่มอัตราการจัดเก็บเงินสงเคราะห์ตาม พ.ร.บ.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เรื่องอยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐาน
5.กรณีกองทัพบกสั่งซื้อเรือเหาะที่มีราคาสูงกว่าความ เป็นจริง
มีหนังสือแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหารับทราบการที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นองค์คณะไต่สวน
6.กรณีการทุจริตจัดซื้อยานเกราะล้อยางจากยูเครน
เรื่องอยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐาน
7.กรณีส่อว่าทุจริตต่อหน้าที่เกี่ยวกับวิกฤตน้ำมันปาล์ม ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายน้ำมันปาล์มแห่งชาติ โดยมีผู้ใกล้ชิดซึ่งเป็นเจ้าของสวนปาล์มและโรงหีบน้ำมันปาล์ม ซึ่งครองตลาดปาล์มถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของประเทศ ได้ประโยชน์จากวิกฤตราคาน้ำมันปาล์มขาดแคลนอย่างมาก
มีหนังสือแจ้งให้ผู้ที่ถูกกล่าวหารับทราบจากการที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นองค์คณะไต่สวน
8.คดีสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจและรับผิดชอบการออกคำสั่งในฐานะผอ.ศอฉ. กระทั่งมีผู้เสียชีวิต 99 ศพ และบาดเจ็บกว่า 2 พันคน
เรื่องอยู่ในชั้นไต่สวน ยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา
9.ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการพิจารณาเรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. และพล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีต ผบช.น. ในคดีสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ต.ค.2551
และชี้มูลความผิด พล.ต.ต.เพิ่มศักดิ์ ภราดรศักดิ์ อดีต ผบก.ภ.อุดรธานี ในคดีปล่อยให้ผู้ชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงยกพวกเข้าทำร้ายกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรที่สวนสาธารณะหนองประจักษ์
โดยมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 30 ธ.ค.2552 ว่าบุคคล ทั้งสามไม่มีความผิดและให้กลับเข้ารับราชการได้ อันเป็นการขัดแย้งกับมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2542 ทั้งนี้เพื่อช่วยเหลือผู้กระทำความผิดไม่ให้ได้รับโทษ
เรื่องอยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติมตามมติคณะกรรมการ ป.ป.ช.
คดีที่นายอภิสิทธิ์กับนายสุเทพถูกกล่าวหาร่วมกัน
10.มีพฤติการณ์ส่อว่าทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย และฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ดังนี้
- ร่วมกันใช้หรือสั่งการอันเป็นเหตุให้เกิดการกระทำ ความผิด โดยเกิดการฆาตกรรมบุคคลจนถึงแก่ความตายจำนวนหลายราย ระหว่างวันที่ 10 เม.ย. - 19 พ.ค.2553 และไม่ทบทวนวิธีการ หรือหยุดยั้งการกระทำจากเหตุ วันที่ 10 เม.ย.2553 กลับสั่งการให้ดำเนินการเช่นเดิม โดยเฉพาะเหตุการณ์วันที่ 19 พ.ค.2553
- แทรกแซงการใช้อำนาจขององค์กรในกระบวนการยุติธรรม กรณีการชันสูตรพลิกศพ โดยนำคดีการตายของประชาชนและเจ้าหน้าที่เกือบ 100 ศพ ให้เสนอเป็นคดีพิเศษโดยไม่ดำเนินการทำสำนวนชันสูตรพลิกศพตามกฎหมาย และจงใจบิดเบือนและเบี่ยงเบนการบังคับการตามกฎหมายในเรื่องชันสูตรพลิกศพ
- ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการปกป้องและระงับเหตุวางเพลิงเผาศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ แล้วมีการทำร้ายและไล่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงออกจากศูนย์การค้า ทำให้ไม่มีผู้ดับเพลิง
เรื่องอยู่ระหว่างการประชุมคณะอนุกรรมการไต่สวนครั้งแรก
11. มีพฤติการณ์ช่วยเหลือและเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัท พีซีซี ดีเวลล็อปเม้นท์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ให้เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ โดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันในการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม
เรื่องอยู่ระหว่างการประชุมคณะอนุกรรมการไต่สวนครั้งแรก
12. กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาฯ พ.ศ.2542 ในการดำเนินโครงการก่อสร้างสถานีตำรวจ (ทดแทน) จำนวน 396 หลัง วงเงิน 5,848 ล้านบาท ที่มีบริษัท พีซีซี ดีเวลล็อปเม้นท์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด เป็นผู้รับจ้าง ตามสัญญาเลขที่ ยธ 13/2554 ลว. 25 มี.ค.2544 โดยยกเลิกแนวทางการจัดจ้างแบบแยกการเสนอราคาเป็นรายภาค และอนุมัติให้ดำเนินการจัดจ้างรวมการก่อสร้างเป็นแบบสัญญาเดียว อันเป็นการกีดกันและเอื้อประโยชน์ให้กับผู้เสนอราคารายใดรายหนึ่ง
เรื่องอยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน
13.ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยภายหลังการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เมื่อวันที่ 7 เม.ย.2553 ผู้ถูกกล่าวหาได้มีคำสั่งปิดสัญญาณดาวเทียม เป็นเหตุให้ 36 เว็บไซต์ภายในประเทศ และเว็บไซต์ดาวเทียมต่างประเทศ 15 ประเทศ ใช้งานไม่ได้ อีกทั้งระงับการเสนอข่าวหรือรายการทางวิทยุโทรทัศน์ และสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมพีเพิลแชนแนล (พีทีวี) ซึ่งเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรอง และการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
เรื่องอยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNU16VTFPVGN4TkE9PQ%3D%3D§ionid