เป็นสุข เพราะเห็นทุกข์

เมื่อสักครู่นี้ เกิดเรื่องไม่สบายใจบางอบ่างขึ้นมา ผมเลยใช้วิธีทางวิปัสสนาแก้ไขอาการ และปรากฎว่าหายดี เลยได้บันทึกลงเฟสไว้ คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับหลายท่านหากเกิดอาการลักษณะเดียวกัน ขอนำข้อความที่บันทึกใจเฟสมาลงให้ทุกท่านที่ปฏิบัติธรรมครับ (ขอนำข้อความลงโดยไม่ตัดตอน เพราะกลั่นออกมาจากความรู้สึกครับ , ชื่อบุคคลไม่มีนามสกุล ไม่ระบุเจาะจงว่าเป็นผู้ใด ขอนำมาลงด้วยเพื่อให้บันทึกความคิดได้สมบูรณ์ครับ )


[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

เรียนรู้สุขจากทุกข์ เรื่องความโล่งใจ -

ไม่ชอบเลยกับความรู้สึกหวาดเสียวและเศร้า เราเป็นแบบนี้อีกแล้ว  ปรกติแล้วอาการแบบนี้จะเกิดบ่อย ๆ ในกลุ่มคนที่มีภรรยาสามีนอกใจ หรือในกลุ่มคนที่คาดหวังและจินตนาการถึงความสมหวังมากเกินไป โดยปรกติมักเกิดรุนแรงที่สุดในการคาดหวังเรื่องความรัก เมื่อเวลาที่คิดถึงว่าสามีหรือภรรยาของตัวเองเสพสุขอยู่กับคนอื่น ทำให้เกิดอาการวูบ หวาดเสียว เครียดและเศร้า

อาการเหล่านี้เราสามารถจับแยกได้เป็นอย่าง ๆ ไป

อย่างแรก อาการหวาดเสียวแรง ๆ หรือใจหายวาบนั้น ในทางพุทธท่านเรียกว่าอุปายาส หมายถึงความคับแค้นใจอย่างยิ่ง อาการนี้เป็นหนึ่งในกลุ่มทุกข์ซึ่งปรากฎในอริยสัจสี่ เมื่อมองว่าสิ่งต่าง ๆ เป็นทุกข์ให้ทราบด้วยว่าอาการนี้เป็นตัวทุกข์แท้ เพราะเมื่อเกิดอาการนี้กับบุคคลใด บุคคลนั้นจะทุกข์ทรมาน อนึ่ง ให้สังเกตุอย่างไตรลักษณ์ให้ดีว่าอาการนี้แม้จะทรมาน แต่ก็จัดอยู่ในลักษณะของไตรลักษณ์ และที่สำคัญให้กำหนดทราบให้ดีว่า อาการนี้มีอยู่จริง เป็นทุกข์จริง แต่สักเป็นแต่ว่าอาการ ไม่ใช่เป็นเรา หรือเราเป็น หรือเรามีอาการ

อย่างต่อมา อาการเศร้า เรียกในอริยสัจสี่ข้อทุกข์ว่า โสกะ อาการนี้ เมื่อเกิดแล้ว จะทำให้บุคคลนั้นรู้สึกหดหู่ ทรมาน โศกเศร้า หงอยเหงา ซึมเซา ทำอะไรไม่ลง อาหารไม่อยากทาน

อาการต่อมา คืออาการเครียด หรือไม่สบายใจ อาการนี้ในอริยสัจสี่พระพุทธองค์ทรงตรัสให้ชื่อว่าโทมนัส อาการนี้เกิดขึ้นแล้วทำให้ไม่สบายใจ เกิดขึ้นในสถานการณ์ที่เมื่อถ้าได้สิ่งนั้นมาจะรู้สึกดีใจ แต่สภาพที่เกิดขึ้นเป็นตรงกันข้าม ทำให้เกิดความรู้สึกที่ตรงข้าม ตัวอย่างเช่น เมื่อถูกหักเงินเดือน จึงเกิดโทมนัส เมื่อถูกตำหนิ จึงเกิดโทมนัส เมื่อรถติด โทรศัพท์เสีย เป็นต้น อาการโทมนัสนี้จะเกิดขึ้น จะสังเกตุได้ว่าอาการนี้จะเกิดก็ต่อเมื่อเราคาดหวังสิ่งใดสิ่งหนึ่งและความคิดรับรู้ว่า ถ้าเกิดสิ่งนั้นแล้วจะมีความสุข แต่เมื่อได้รับด้านที่ตรงกันข้ามมาจึงเกิดโทมนัสกลัดกลุ้มขึ้น ซึ่งโทมนัสนี้ เป็นทั้งทุกขอริยสัจด้วยและเป็นเวทนาด้วย คือจัดอยู่ในโทมนัสเวทนา

ทั้งสามอาการนี้เกิดขึ้นกับเราวาบ ๆ เบา ๆ เมื่อสักครู่ ในขณะที่รอคำตอบจากคนหนึ่งคนในเรื่องของอลิส เราประมาทไปที่มองว่าจิตใจเราเริ่มดี เริ่มเย็น คลายทุกข์แล้ว แต่พอมาคิดถึงเรื่องการได้คำตอบ เรากลับรู้ตัวเองว่ากิเลสส่วนที่ยังคงเหลือก็ร้ายใช่ย่อยอยู่ ครู่นั้นเอง เรากำหนดอาการเหล่านี้ตามข้อปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงวาวแนวทางไว้ว่า "ทุกข์ ให้กำหนดรู้" เราคาดคั้นกับอาการทั้งสามนี้ ใช้สติมองพวกเค้า และสิ่งที่เกิดขึ้นคือ วาบ อาการโล่ง วาบ เบา และเรากลับมาตรวจสอบใจตัวเองอีกครั้ง ทดสอบคิดเรื่องอลิสดู ปรากฎว่าอาการทั้งสามนี้เบาลง

แสดงว่ามรรคที่เรากำหนดรู้ทุกข์นี้ เราทำถูกปฏิบัติถูกแล้ว ใคร ๆ ควรได้ทราบเรื่องนี้และน้อมมาใส่ตนดู จะได้ผลแบบเรา

อาการเหล่านี้ จริงที่เป็นความทุกข์  แต่เมื่อเรากำหนดอาการนั้น  ๆ ว่าเป็นแค่เพียงอาการ ไม่ใช่ตัวตนของเรา  จิตก็จะคลายความหลงที่ยึดถือทุกข์ไว้ กลายเป็นความโล่งสบายทีละขั้น ตามลำดับ ต่อขากนี้ไปหากเราทำอย่างนี้เรื่อย ๆ วันหนึ่ง เรื่องของอลิสจะไม่ต่างกับต้นหญ้า ที่ทำอะไรเราไม่ได้อีกเลย  และเราจะมีความสุขโดยไม่ต้องรอให้เรื่องอลิสสำเร็จเสียด้วย  สิ่งนี้ เป็นสิ่งที่เห็นได้ด้วยตัวเอง  ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา  ควรนำมาทดลองในตัวเรน และผู้ที่มีปัญญาจะทราบความดับทุกข์ได้เองว่าทางนี้ถูก ทางนี้ใช่


เวลาที่ทุกข์ที่ไม่สบายใจเรื่องอะไร ให้รู้ว่าทุกข์มีสาเหตุให้เกิด คือ การไม่เห็นทุปข์ พอเราเห็ยแล้ว เค้าจะสลายตัวไป ลองใช้วิธีนี้ดูนะครับ เป็นการปฏิบัติวิปัสสนาในมหาสติปัฏฐานสี่อย่างหนึ่งครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่