...ทุกข์ทำไม...
...โดย หลวงพ่อชยสาโร ภิกขุ...
...อริยสัจสี่ เป็นสัจจะความจริงที่ประเสริฐ
เพราะนำปุถุชนผู้หนาด้วยกิเลสไปสู่ความประเสริฐได้
เราต้องการอะไรจากชีวิต ? หากประสงค์ หรือมุ่งมาดปรารถนาต่อชีวิตที่เป็นอริยะคือ
ชีวิตที่ปราศจากความเห็นแก่ตัว ความอิจฉาพยาบาท ความซึมเศร้า
ความวิตกกังวล และสิ่งเศร้าหมองทั้งหลาย ถ้าเราเห็นว่า
ความเป็นอิสระภายใน ความเมตตากรุณาและปัญญา
เป็นสิ่งที่น่าพัฒนาเราควรเอาใจใส่เรื่อง อริยสัจ
พระพุทธเจ้าตรัสว่าอริยสัจข้อแรกคือ ทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้
การที่พระองค์สอนอย่างนั้นก็เพราะว่าโดยสัญชาติญาณเราไม่อยากทำ (กำหนดรู้)
ความทุกข์เกิดขึ้นแล้วเราชอบปฏิเสธบ้าง เอาหัวมุดลงไปในทรายเหมือนนกกระจอกเทศบ้าง
หาความสุขทางเนื้อหนังมากลบเกลื่อนความทุกข์เอาไว้บ้าง แต่หนีไม่พ้น
ตราบใดที่เรายังไม่รู้ธรรมชาติของทุกข์ก็เหมือนเราหลงในเขาวงกต
ถึงจะนั่งพักในที่ร่มเย็นชั่วคราวก็ยังหลงอยู่ดี
ก่อนจะอธิบายเรื่องอริยสัจ ขอทำความเข้าใจเรื่องภาษาสักเล็กน้อย
ในภาษาบาลีคำว่า ทุกข์ มีความหายที่กว้างขวางกว่าและลึกซึ้งกว่าในภาษาไทย มีสองแง่หลักคือ
หนึ่ง ความทุกข์ที่เป็นอาการหรือเป็นลักษณะของสิ่งทั้งปวง (ทุกข์ในไตรลักษณ์)
และ สอง ความทุกข์ที่เกี่ยวกับหรือเป็นเรื่องของมนุษย์โดยเฉพาะ (ทุกข์ในอริยสัจ)
ขอเปรียบเทียบกับคำว่า ร้อน ความร้อนที่เป็นอาการของธรรมชาติก็อย่างหนึ่ง
ความร้อนในใจที่ไม่สบายก็อีกอย่างหนึ่ง ข้อแรกกว้างกว่า และไม่ต้องขึ้นอยู่กับคน
พระองค์ตรัสว่า “สัพเพ สังขารา ทุกขา” สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์
เราอาจจะสงสัย เอ...ต้นไม้เป็นทุกข์ได้หรือ ? ก้อนหินเป็นทุกข์ได้หรือ ?
แก้วน้ำเป็นทุกข์ได้หรือ ?...ได้ แต่เป็นทุกข์ในความหมายแรกคือ
มันทนอยู่ในสภาพเดิมของมันไม่ได้
มีอะไรบีบให้เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาหรือว่าพูดอีกนัยหนึ่งว่าสิ่งทั้งหลาย “ขาดเสถียรภาพ”
เพราะฉะนั้น การกล่าวว่าสิ่งที่ไม่มีชีวิตเป็นทุกข์หมายถึงการขาดเสถียรภาพของมัน
ท่านให้เราพิจารณาเห็นว่าสิ่งทั้งหลายเป็นหน่วยรวมของเหตุปัจจัยและส่วนประกอบ
เช่น ต้นไม้มีราก แก่น เปลือก กิ่งก้าน ดอกผล เป็นส่วนประกอบ มีดิน แดด ฝน เป็นต้น
เป็นปัจจัยภายนอก แมลงกินผลก็กระทบต่อต้นไม้นั้นทั้งต้น
ฝนไม่ตกต้นไม้อาจเหี่ยว ลมพัดแรงๆ ต้นไม้นั้นอาจจะล้ม
เมื่อเหตุปัจจัยล้วนแต่เป็นของไม่เที่ยง
สิ่งที่เป็นหน่วยรวมของสิ่งที่ไม่เที่ยงหลายๆ
อย่างนั้นก็พลอยไม่เที่ยงไปด้วย และภาวะที่ขาดความมั่นคงหรือขาดเสถียรภาพ
ท่านเรียกว่า “ทุกข์” แกงกระหรี่เป็นทุกข์ เพราะพอตักใส่จานแล้วมันพร้อมที่จะเสื่อม
สิ่งแรกที่เสื่อมคือความร้อนของมัน ทิ้งไว้ชั่วโมงหนึ่งก็เย็นไม่ค่อยน่าทานเสียแล้ว ถ้าทิ้งไว้วันสองวันมันจะบูด ต้องทิ้ง
ความร้อน ความหอม ฯลฯ ซึ่งเป็นส่วนประกอบไม่คงทน
ทำให้ตัวแกงไม่คงทน ท่านเรียกความจริงนี้ว่า ทุกข์ พระตถาคตจะบังเกิดขึ้นในโลกก็ตาม
จะไม่บังเกิดขึ้นในโลกก็ตาม สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
มันเป็นธรรมดา เป็นธรรมชาติยังไม่เป็นปัญหา หากทุกข์ในอริยสัจคือความทุกข์ของมนุษย์โดยเฉพาะ
ไม่เหมือนทุกข์ในไตรลักษณ์ แต่สืบต่อจากความทุกข์นั้น
คือขันธ์ห้าของมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ต้องเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์
แต่มนุษย์เราแปลกตรงที่ว่ามีสิ่งที่เรียกว่า อวิชชา ห่อหุ้มจิตไว้
ทำให้เกิดความผิดปกติที่ท่านให้ชื่อว่า ทุกข์ เหมือนกัน แต่เป็น ทุกขอริยสัจ
ท่านแยกความทุกข์นี้ออกมาต่างหากเพราะมีเหตุที่ระงับได้และมีจุดจบซึ่งพระองค์ให้ชื่อว่า นิโรธ
ทุกข์ในอริยสัจหมดแล้วมีแต่ทุกข์ในไตรลักษณ์สำหรับชีวิตที่ยังเหลืออยู่ คือ
ทุกขเวทนาทางกาย ความแก่ ความเจ็บ และความตาย สำหรับผู้ที่เข้าถึงธรรมแล้ว
สิ่งเหล่านี้เป็นทุกข์แต่ไม่เป็นปัญหา เป็นแค่รสชาติของไตรลักษณ์ที่ทุกคนในโลกรวมทั้งพระอรหันต์ต้องเสวย
ทุกข์ที่เป็นอริยสัจเกิดเพราะจิตที่มี อวิชชา
ย่อมกระสับกระส่ายด้วยความทะเยอทะยานอยาก คือ ตัณหา
เราจะแปลอวิชชาว่า “ความไม่รู้” อย่างเดียวไม่ได้เพราะอวิชชารวมถึงการ
“รู้ผิด” ด้วยคนเราจะอยู่เฉยๆ โดยไม่รู้หรือไม่คิดอะไรเลยไม่ได้ เมื่อเรารู้ไม่จริง
อวิชชาจึงหมายถึง ไม่รู้ความจริงและรู้ไม่จริง เมื่อความรู้สึกนึกคิด
ค่านิยมที่มีต่อชีวิตของตน โลกทัศน์ ความเชื่อถือ
หรือแนวความคิดไม่ลงรอยกับความเป็นจริง
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นปรากฏในลักษณะของความอยากได้
อยากมี อยากเป็นต่างๆ มีผลคือความทุกข์
ความทุกข์ที่เกิดจากอวิชชา เกิดจากการไม่รู้จริง
ความทุกข์จากการรู้ไม่จริงเป็นทุกข์ที่แก้ได้
แต่ความทุกข์ที่เป็นไตรลักษณ์ซึ่งเป็นความทุกข์ของสิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งที่ต้องยอมรับ
นักปราชญ์ผู้มีปัญญาคือผู้รู้ว่าสิ่งไหนอยู่ในวิสัยที่จะแก้ไขได้
สิ่งไหนไม่อยู่ในวิสัยที่จะแก้ได้ เพราะถ้าเราแยกไม่ถูก
เดี๋ยวเราจะเสียเวลาเหนื่อยกับการพยายามแก้สิ่งที่เราแก้ไม่ได้
ส่วนสิ่งที่แก้ได้กลับไม่มีเวลาแก้หรือไม่คิดที่จะแก้ อะไรคือสิ่งที่เราแก้ไม่ได้ ?
ความแก่ ความเจ็บ ความตาย อาจจะพอบรรเทาได้บ้าง
ยืดอายุออกไปบ้าง แต่ในที่สุดแล้วจะต้องยอมรับ...
(มีต่อ 1)
...ทุกข์ทำไม...โดย หลวงพ่อชยสาโร ภิกขุ...!!!
...ทุกข์ทำไม...
...โดย หลวงพ่อชยสาโร ภิกขุ...
...อริยสัจสี่ เป็นสัจจะความจริงที่ประเสริฐ
เพราะนำปุถุชนผู้หนาด้วยกิเลสไปสู่ความประเสริฐได้
เราต้องการอะไรจากชีวิต ? หากประสงค์ หรือมุ่งมาดปรารถนาต่อชีวิตที่เป็นอริยะคือ
ชีวิตที่ปราศจากความเห็นแก่ตัว ความอิจฉาพยาบาท ความซึมเศร้า
ความวิตกกังวล และสิ่งเศร้าหมองทั้งหลาย ถ้าเราเห็นว่า
ความเป็นอิสระภายใน ความเมตตากรุณาและปัญญา
เป็นสิ่งที่น่าพัฒนาเราควรเอาใจใส่เรื่อง อริยสัจ
พระพุทธเจ้าตรัสว่าอริยสัจข้อแรกคือ ทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้
การที่พระองค์สอนอย่างนั้นก็เพราะว่าโดยสัญชาติญาณเราไม่อยากทำ (กำหนดรู้)
ความทุกข์เกิดขึ้นแล้วเราชอบปฏิเสธบ้าง เอาหัวมุดลงไปในทรายเหมือนนกกระจอกเทศบ้าง
หาความสุขทางเนื้อหนังมากลบเกลื่อนความทุกข์เอาไว้บ้าง แต่หนีไม่พ้น
ตราบใดที่เรายังไม่รู้ธรรมชาติของทุกข์ก็เหมือนเราหลงในเขาวงกต
ถึงจะนั่งพักในที่ร่มเย็นชั่วคราวก็ยังหลงอยู่ดี
ก่อนจะอธิบายเรื่องอริยสัจ ขอทำความเข้าใจเรื่องภาษาสักเล็กน้อย
ในภาษาบาลีคำว่า ทุกข์ มีความหายที่กว้างขวางกว่าและลึกซึ้งกว่าในภาษาไทย มีสองแง่หลักคือ
หนึ่ง ความทุกข์ที่เป็นอาการหรือเป็นลักษณะของสิ่งทั้งปวง (ทุกข์ในไตรลักษณ์)
และ สอง ความทุกข์ที่เกี่ยวกับหรือเป็นเรื่องของมนุษย์โดยเฉพาะ (ทุกข์ในอริยสัจ)
ขอเปรียบเทียบกับคำว่า ร้อน ความร้อนที่เป็นอาการของธรรมชาติก็อย่างหนึ่ง
ความร้อนในใจที่ไม่สบายก็อีกอย่างหนึ่ง ข้อแรกกว้างกว่า และไม่ต้องขึ้นอยู่กับคน
พระองค์ตรัสว่า “สัพเพ สังขารา ทุกขา” สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์
เราอาจจะสงสัย เอ...ต้นไม้เป็นทุกข์ได้หรือ ? ก้อนหินเป็นทุกข์ได้หรือ ?
แก้วน้ำเป็นทุกข์ได้หรือ ?...ได้ แต่เป็นทุกข์ในความหมายแรกคือ
มันทนอยู่ในสภาพเดิมของมันไม่ได้
มีอะไรบีบให้เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาหรือว่าพูดอีกนัยหนึ่งว่าสิ่งทั้งหลาย “ขาดเสถียรภาพ”
เพราะฉะนั้น การกล่าวว่าสิ่งที่ไม่มีชีวิตเป็นทุกข์หมายถึงการขาดเสถียรภาพของมัน
ท่านให้เราพิจารณาเห็นว่าสิ่งทั้งหลายเป็นหน่วยรวมของเหตุปัจจัยและส่วนประกอบ
เช่น ต้นไม้มีราก แก่น เปลือก กิ่งก้าน ดอกผล เป็นส่วนประกอบ มีดิน แดด ฝน เป็นต้น
เป็นปัจจัยภายนอก แมลงกินผลก็กระทบต่อต้นไม้นั้นทั้งต้น
ฝนไม่ตกต้นไม้อาจเหี่ยว ลมพัดแรงๆ ต้นไม้นั้นอาจจะล้ม
เมื่อเหตุปัจจัยล้วนแต่เป็นของไม่เที่ยง
สิ่งที่เป็นหน่วยรวมของสิ่งที่ไม่เที่ยงหลายๆ
อย่างนั้นก็พลอยไม่เที่ยงไปด้วย และภาวะที่ขาดความมั่นคงหรือขาดเสถียรภาพ
ท่านเรียกว่า “ทุกข์” แกงกระหรี่เป็นทุกข์ เพราะพอตักใส่จานแล้วมันพร้อมที่จะเสื่อม
สิ่งแรกที่เสื่อมคือความร้อนของมัน ทิ้งไว้ชั่วโมงหนึ่งก็เย็นไม่ค่อยน่าทานเสียแล้ว ถ้าทิ้งไว้วันสองวันมันจะบูด ต้องทิ้ง
ความร้อน ความหอม ฯลฯ ซึ่งเป็นส่วนประกอบไม่คงทน
ทำให้ตัวแกงไม่คงทน ท่านเรียกความจริงนี้ว่า ทุกข์ พระตถาคตจะบังเกิดขึ้นในโลกก็ตาม
จะไม่บังเกิดขึ้นในโลกก็ตาม สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
มันเป็นธรรมดา เป็นธรรมชาติยังไม่เป็นปัญหา หากทุกข์ในอริยสัจคือความทุกข์ของมนุษย์โดยเฉพาะ
ไม่เหมือนทุกข์ในไตรลักษณ์ แต่สืบต่อจากความทุกข์นั้น
คือขันธ์ห้าของมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ต้องเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์
แต่มนุษย์เราแปลกตรงที่ว่ามีสิ่งที่เรียกว่า อวิชชา ห่อหุ้มจิตไว้
ทำให้เกิดความผิดปกติที่ท่านให้ชื่อว่า ทุกข์ เหมือนกัน แต่เป็น ทุกขอริยสัจ
ท่านแยกความทุกข์นี้ออกมาต่างหากเพราะมีเหตุที่ระงับได้และมีจุดจบซึ่งพระองค์ให้ชื่อว่า นิโรธ
ทุกข์ในอริยสัจหมดแล้วมีแต่ทุกข์ในไตรลักษณ์สำหรับชีวิตที่ยังเหลืออยู่ คือ
ทุกขเวทนาทางกาย ความแก่ ความเจ็บ และความตาย สำหรับผู้ที่เข้าถึงธรรมแล้ว
สิ่งเหล่านี้เป็นทุกข์แต่ไม่เป็นปัญหา เป็นแค่รสชาติของไตรลักษณ์ที่ทุกคนในโลกรวมทั้งพระอรหันต์ต้องเสวย
ทุกข์ที่เป็นอริยสัจเกิดเพราะจิตที่มี อวิชชา
ย่อมกระสับกระส่ายด้วยความทะเยอทะยานอยาก คือ ตัณหา
เราจะแปลอวิชชาว่า “ความไม่รู้” อย่างเดียวไม่ได้เพราะอวิชชารวมถึงการ
“รู้ผิด” ด้วยคนเราจะอยู่เฉยๆ โดยไม่รู้หรือไม่คิดอะไรเลยไม่ได้ เมื่อเรารู้ไม่จริง
อวิชชาจึงหมายถึง ไม่รู้ความจริงและรู้ไม่จริง เมื่อความรู้สึกนึกคิด
ค่านิยมที่มีต่อชีวิตของตน โลกทัศน์ ความเชื่อถือ
หรือแนวความคิดไม่ลงรอยกับความเป็นจริง
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นปรากฏในลักษณะของความอยากได้
อยากมี อยากเป็นต่างๆ มีผลคือความทุกข์
ความทุกข์ที่เกิดจากอวิชชา เกิดจากการไม่รู้จริง
ความทุกข์จากการรู้ไม่จริงเป็นทุกข์ที่แก้ได้
แต่ความทุกข์ที่เป็นไตรลักษณ์ซึ่งเป็นความทุกข์ของสิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งที่ต้องยอมรับ
นักปราชญ์ผู้มีปัญญาคือผู้รู้ว่าสิ่งไหนอยู่ในวิสัยที่จะแก้ไขได้
สิ่งไหนไม่อยู่ในวิสัยที่จะแก้ได้ เพราะถ้าเราแยกไม่ถูก
เดี๋ยวเราจะเสียเวลาเหนื่อยกับการพยายามแก้สิ่งที่เราแก้ไม่ได้
ส่วนสิ่งที่แก้ได้กลับไม่มีเวลาแก้หรือไม่คิดที่จะแก้ อะไรคือสิ่งที่เราแก้ไม่ได้ ?
ความแก่ ความเจ็บ ความตาย อาจจะพอบรรเทาได้บ้าง
ยืดอายุออกไปบ้าง แต่ในที่สุดแล้วจะต้องยอมรับ...
(มีต่อ 1)