ตอนกำลังมีกิเลส กำหนดรู้อาการตาม ดีใจ ให้รู้ว่าดีใจ เสียใจให้รู้ว่าเสียใจ
ชอบให้รู้ว่าจิตชอบ ชัง ให้รู้ว่าจิตชัง ไม่ใช่ตัวเราชัง
เดิน ให้รู้ว่ากายเดิน ไม่ใช่เราเดิน เคี้ยว ให้รู้ว่าปากอาศัยธาตุลมเคลื่อนไหวเคี้ยว ไม่ใช่ตัวตนของเราเคี้ยว
รัก ให้รู้ว่าจิตรัก เกลียด ให้รู้ว่าจิตเกลียด ฟุ้งซ่าน ให้รู้ว่าเป็นจิตฟุ้งซ่าน กลัว ให้รู้ว่าเป็นจิตกลัว ไม่ใช่เรากลัว
เมื่อนั้นจะได้ปัญญาว่า สิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ภาระของเราที่เราจะต้องมานั่งกังวล แต่เป็นตัวจิตที่เกิดขึ้นเพราะถูกปรุงแต่งตามเหตุ เหตุดีบ้าง เหตุไม่ดีบ้าง แต่เมื่อเราเห็นภาวะที่เกิดดับของจิตแต่ละอย่าง ของกาย เราจะรู้ว่า เค้าเป็นอะไรก็ตาม เกิด แล้วดับ เพราะเห็นอย่างนี้มากเข้า ๆ ปัญญาจะปล่อยความเป็นไป ปล่อย inner กับสังขารเหล่านั้น แล้วทีนี้ก็จะอิสระ
ทำแบบนี้เป็นประจำ พอช่วงไหนเครียดมาก ๆ กำหนดเห็นตามจริง มันจะปล่อย แต่อาการคล้าย ๆ กับที่หลวงตามหาบัวท่านเคยสอนว่า กิเลสมันเด้งผึงเลย เราเข้าใจคำนี้ เพราะว่าตอนที่กำหนดได้ มันรู้สึกเหมือนจิตเด้งออกมาจากจุดที่มืด ๆ หนัก ๆ แล้วบางทีถ้าทำกรรมฐาน ร่างกายก็จะเด้งตามด้วยถ้ากำหนดหนัก ๆ
บางครั้งที่เครียดกับบางเรื่องจนทนไม่ไหว เราแบ่งออกเป็นห้าสิบห้าสิบ คือ เครียดไปด้วย ถ้าฝืนความเศร้า ความทุกข์ในเวลานั้นไม่ไหวจริง ๆ แต่ก็ใช้สติกำำหนดความทรมาน ความเครียด ณ ตรงนั้นไว้ด้วย เพราะเป็นสภาวะแท้ เป็นของจริง เป็นทุกข์จริง เป็นโอกาสทองที่จะได้เห็นของจริง กำหนดสติในช่วงเวลานี้แล้วจากที่ทีแรก เครียดร้อย สติศูนย์ มาเป็น เครียดแปดสิบ สติยี่สิบ เป็นเครียดห้าสิบ สติห้าสิบ พอ กำหนดได้แรงขั้นอุกฤษฎ์ ณ จุดหนึ่ง จะพบว่า ปัญญาร้อย ทุกข์เหลือศูนย์ ถ้ากำหนดได้ชัด ทุกข์ ณ จุดนั้นจะหายไป และโล่ง เบา ปรกติ แต่ไ่ม่ได้เห่อ ไม่ได้เห่อเหิมกับสติปัญญาที่เกิดขึ้น แต่รู้ว่า เหตุของทุกข์สลายไปส่วนหนึ่ง และทุกข์ก็สลายไปส่วนหนึ่ง รู้ว่าโล่ง ไม่มีทุกข์และเหตุของทุกข์ที่สลายไปแล้ว ไ่ม่กลับมาส่วนหนึ่ง และรู้ว่า ที่ำได้แบบนี้มาเพราะกำหนดสติอีกส่วนหนึ่ง
หากสรุปในอริยสัจก็จะได้เป็น ทุกข์ที่สลายไปคือ ทุกข์ เหตุที่สลายไปคือ สมุทัย ความโล่งใจ และกิเลสที่ทำลายไปไม่กลับมาคือ นิโรธ การกำหนดสติคือมรรค เห็นอริยสัจ เป็นการเห็นอย่างนี้ แต่ต้องเห็นด้วยการกำหนด จะรู้ว่าแต่ละสภาวะเ้ป็นอย่างไร ลำพังการคิดยังไม่ใช่การรู้ การนั่งดูคือการเข้าถึง
กรรมฐานของวิเศษมาก เปลี่ยนความคิดจิตใจได้จริง ๆ แม้เพียงแค่นั่งเงียบ ๆ เฉย ๆ ห้านาที สิบนาที
ผลจากกรรมฐาน
ชอบให้รู้ว่าจิตชอบ ชัง ให้รู้ว่าจิตชัง ไม่ใช่ตัวเราชัง
เดิน ให้รู้ว่ากายเดิน ไม่ใช่เราเดิน เคี้ยว ให้รู้ว่าปากอาศัยธาตุลมเคลื่อนไหวเคี้ยว ไม่ใช่ตัวตนของเราเคี้ยว
รัก ให้รู้ว่าจิตรัก เกลียด ให้รู้ว่าจิตเกลียด ฟุ้งซ่าน ให้รู้ว่าเป็นจิตฟุ้งซ่าน กลัว ให้รู้ว่าเป็นจิตกลัว ไม่ใช่เรากลัว
เมื่อนั้นจะได้ปัญญาว่า สิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ภาระของเราที่เราจะต้องมานั่งกังวล แต่เป็นตัวจิตที่เกิดขึ้นเพราะถูกปรุงแต่งตามเหตุ เหตุดีบ้าง เหตุไม่ดีบ้าง แต่เมื่อเราเห็นภาวะที่เกิดดับของจิตแต่ละอย่าง ของกาย เราจะรู้ว่า เค้าเป็นอะไรก็ตาม เกิด แล้วดับ เพราะเห็นอย่างนี้มากเข้า ๆ ปัญญาจะปล่อยความเป็นไป ปล่อย inner กับสังขารเหล่านั้น แล้วทีนี้ก็จะอิสระ
ทำแบบนี้เป็นประจำ พอช่วงไหนเครียดมาก ๆ กำหนดเห็นตามจริง มันจะปล่อย แต่อาการคล้าย ๆ กับที่หลวงตามหาบัวท่านเคยสอนว่า กิเลสมันเด้งผึงเลย เราเข้าใจคำนี้ เพราะว่าตอนที่กำหนดได้ มันรู้สึกเหมือนจิตเด้งออกมาจากจุดที่มืด ๆ หนัก ๆ แล้วบางทีถ้าทำกรรมฐาน ร่างกายก็จะเด้งตามด้วยถ้ากำหนดหนัก ๆ
บางครั้งที่เครียดกับบางเรื่องจนทนไม่ไหว เราแบ่งออกเป็นห้าสิบห้าสิบ คือ เครียดไปด้วย ถ้าฝืนความเศร้า ความทุกข์ในเวลานั้นไม่ไหวจริง ๆ แต่ก็ใช้สติกำำหนดความทรมาน ความเครียด ณ ตรงนั้นไว้ด้วย เพราะเป็นสภาวะแท้ เป็นของจริง เป็นทุกข์จริง เป็นโอกาสทองที่จะได้เห็นของจริง กำหนดสติในช่วงเวลานี้แล้วจากที่ทีแรก เครียดร้อย สติศูนย์ มาเป็น เครียดแปดสิบ สติยี่สิบ เป็นเครียดห้าสิบ สติห้าสิบ พอ กำหนดได้แรงขั้นอุกฤษฎ์ ณ จุดหนึ่ง จะพบว่า ปัญญาร้อย ทุกข์เหลือศูนย์ ถ้ากำหนดได้ชัด ทุกข์ ณ จุดนั้นจะหายไป และโล่ง เบา ปรกติ แต่ไ่ม่ได้เห่อ ไม่ได้เห่อเหิมกับสติปัญญาที่เกิดขึ้น แต่รู้ว่า เหตุของทุกข์สลายไปส่วนหนึ่ง และทุกข์ก็สลายไปส่วนหนึ่ง รู้ว่าโล่ง ไม่มีทุกข์และเหตุของทุกข์ที่สลายไปแล้ว ไ่ม่กลับมาส่วนหนึ่ง และรู้ว่า ที่ำได้แบบนี้มาเพราะกำหนดสติอีกส่วนหนึ่ง
หากสรุปในอริยสัจก็จะได้เป็น ทุกข์ที่สลายไปคือ ทุกข์ เหตุที่สลายไปคือ สมุทัย ความโล่งใจ และกิเลสที่ทำลายไปไม่กลับมาคือ นิโรธ การกำหนดสติคือมรรค เห็นอริยสัจ เป็นการเห็นอย่างนี้ แต่ต้องเห็นด้วยการกำหนด จะรู้ว่าแต่ละสภาวะเ้ป็นอย่างไร ลำพังการคิดยังไม่ใช่การรู้ การนั่งดูคือการเข้าถึง
กรรมฐานของวิเศษมาก เปลี่ยนความคิดจิตใจได้จริง ๆ แม้เพียงแค่นั่งเงียบ ๆ เฉย ๆ ห้านาที สิบนาที