เจ้าเดิม มีข้อสงสัยเกี่ยวกับ ไตรลักษณ์ครับ (ทุกขัง)

1.ทุกขัง หาใน google แปลได้ดังนี้
อาการเป็นทุกข์ อาการที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว อาการที่กดดัน อาการฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ อาการที่ไม่สมบูรณ์ มีความบกพร่องอยู่ในตัว อาการที่แสดงถึงความเป็นทุกข์ของขันธ์.

อยากให้ช่วยยกตัวอย่างในชีวิตประจำวัน 1 อย่างเพื่อให้เข้าใจครับ

ที่ผมคิดคือ การหายใจใช่หรือเปล่า เราโดนบีบบังคับให้หายใจเข้า และออก โดยทำอย่างใดแค่อย่างเดียวไม่ได้ ออกไปตลอดไม่ได้ เข้าตลอดไม่ได้

2. อยากทราบว่า อย่างพวกเราวันเรียน วัยทำงาน ฝึกสติวิธีใหนเหมาะสมที่สุดครับ

           กายานุปัสสนา  การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันกายและเรื่องทางกาย  
          เวทนานุปัสสนา  การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันเวทนา  (เวทนา)  
          จิตตานุปัสสนา  การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันจิตหรือสภาพและอาการของจิต(เจตสิก)  (จิตหรือจิตตสังขาร)  
          ธัมมานุปัสสนา   การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม ให้เกิดปัญญารู้ตามความเป็นจริง, อีกทั้งมีสติกำกับดูรู้เท่าทันธรรม
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ข้อแรก... อย่างที่คุณยกตัวอย่างมาก็ได้ครับ เพราะเหตุปัจจัยต่างๆนั่นแหละทำให้มันอยู่ที่เดิมเหมือนเดิมไม่ได้
ทุกข์ คือสภาพที่ทนอยู่ไม่ได้

ข้อสอง ในทางปฏิบัติแล้ว ทำอานาปานบรรพให้คล่อง แล้วทุกอย่างจะได้ตามมาไม่ยากครับ
รู้ลมหายใจเข้าออกตลอดเวลา รับรองว่าสติสมาธิอย่างแจ๋ว ทำได้ทุกวัย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่