ในการปฏิบัติธรรม ควร/ต้องมีสติกำหนดรู้ ตามสภาพแห่งความเป็นจริงไม่ว่า สุข ทุกข์ หรือ เฉย
ซึ่งไม่ใช่ว่า จะต้องทำให้รู้ เฉยๆ หรือให้เบรออยู่ในกรอบแล้วให้เกิด รู้เพียงเฉยๆ ก็ไม่ถูกหรือผิดพลาดแล้วตั้งแต่เริ่มการปฏิบัติธรรม เพราะไม่เกิดปัญญารู้ชัดตามความเป็นจริง
การปฏิบัติวิปัสสนานั้น มีสติกำหนดรู้ตามความเป็นจริงไม่ว่า สุข ทุกข์ เฉย เมื่อเกิดมีกิเลสปะทุ ลุกลาม ต้องอาศัยธรรมเหล่านี้คือ อิทธิบาท 4 (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) สัมมัปปธาน 4 (1.ระงับกิเลส(อกุศล)ที่เกิดอยู่ให้ลงเป็นปกติได้ 2.รักษาสติสมาธิปัญญา(กุศลธรรม)ที่มีอยู่ไว้ได้ 3.ไม่ให้อกุศลที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้ 4.เจริญกุศลที่ยังไม่เกิดให้เจริญขึ้นได้) นี้แหละที่ต้องฝึกปฏิบัติหรือพิจารณาในกรรมฐานอยู่เนื่องๆ จนที่สุดอย่างยิ่งตามความเป็นจริง พละ 5 (ศรัทธา ความเพียร สติ สมาธิ ปัญญา) ก็ค่อยๆ เจริญขึ้นไปตามลำดับจน อินทรีย์ 5 (สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตรินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญิณทรีย์) ย่อมตั้งมั่นขึ้นดำรงอยู่ได้
ดังนั้นการต้องตั้งป้อมว่า ต้องรู้เฉยๆ วางกรอบเบรอๆ เพื่อรู้เฉยๆ จึงผิดตั้งแต่แรกแล้วในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ถ้าโชคดีก็แค่จะวนเวียนอยู่ในวิปัสสนาญาณเบื้องต้นเท่านั้น เพราะพละ 5 เจริญเพียงน้อยไม่เจริญสมดุลย์กันเพิ่มขึ้นไปตามลำดับ อินทรีย์ 5 ก็จะอ่อนตั้งมั่นไม่ได้ วิปัสสนาญาณเบื้องสูงจึงไม่มีโอกาสเจริญขึ้นเลย นั้นเอง.
หมายเหตุ ทุกข์ต้องกำหนดรู้ ปัญญาต้องเจริญ ซึ่งตัวทุกข์ ก็คือ ขันธ์ 5 นั้นเองที่ต้องมีสติกำหนดรู้ และ กาย เวทนา จิต ธรรม ก็คือหรือปรากฏขันธ์ 5 นั้นเอง
ดังนั้น สติปัฏฐาน 4 ก็คือ การมีสติกำหนดรู้ในฐานทั้ง 4 (กาย เวทนา จิต ธรรม) หรือ ทุกข์ ต้องกำหนดรู้ ปัญญาพึ่งต้องเจริญ
ในการปฏิบัติธรรม ควร/ต้อง มีสติกำหนดรู้ ตามสภาพแห่งความเป็นจริง ไม่ว่า สุข ทุกข์ หรือ เฉย
ซึ่งไม่ใช่ว่า จะต้องทำให้รู้ เฉยๆ หรือให้เบรออยู่ในกรอบแล้วให้เกิด รู้เพียงเฉยๆ ก็ไม่ถูกหรือผิดพลาดแล้วตั้งแต่เริ่มการปฏิบัติธรรม เพราะไม่เกิดปัญญารู้ชัดตามความเป็นจริง
การปฏิบัติวิปัสสนานั้น มีสติกำหนดรู้ตามความเป็นจริงไม่ว่า สุข ทุกข์ เฉย เมื่อเกิดมีกิเลสปะทุ ลุกลาม ต้องอาศัยธรรมเหล่านี้คือ อิทธิบาท 4 (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) สัมมัปปธาน 4 (1.ระงับกิเลส(อกุศล)ที่เกิดอยู่ให้ลงเป็นปกติได้ 2.รักษาสติสมาธิปัญญา(กุศลธรรม)ที่มีอยู่ไว้ได้ 3.ไม่ให้อกุศลที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้ 4.เจริญกุศลที่ยังไม่เกิดให้เจริญขึ้นได้) นี้แหละที่ต้องฝึกปฏิบัติหรือพิจารณาในกรรมฐานอยู่เนื่องๆ จนที่สุดอย่างยิ่งตามความเป็นจริง พละ 5 (ศรัทธา ความเพียร สติ สมาธิ ปัญญา) ก็ค่อยๆ เจริญขึ้นไปตามลำดับจน อินทรีย์ 5 (สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตรินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญิณทรีย์) ย่อมตั้งมั่นขึ้นดำรงอยู่ได้
ดังนั้นการต้องตั้งป้อมว่า ต้องรู้เฉยๆ วางกรอบเบรอๆ เพื่อรู้เฉยๆ จึงผิดตั้งแต่แรกแล้วในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ถ้าโชคดีก็แค่จะวนเวียนอยู่ในวิปัสสนาญาณเบื้องต้นเท่านั้น เพราะพละ 5 เจริญเพียงน้อยไม่เจริญสมดุลย์กันเพิ่มขึ้นไปตามลำดับ อินทรีย์ 5 ก็จะอ่อนตั้งมั่นไม่ได้ วิปัสสนาญาณเบื้องสูงจึงไม่มีโอกาสเจริญขึ้นเลย นั้นเอง.
หมายเหตุ ทุกข์ต้องกำหนดรู้ ปัญญาต้องเจริญ ซึ่งตัวทุกข์ ก็คือ ขันธ์ 5 นั้นเองที่ต้องมีสติกำหนดรู้ และ กาย เวทนา จิต ธรรม ก็คือหรือปรากฏขันธ์ 5 นั้นเอง
ดังนั้น สติปัฏฐาน 4 ก็คือ การมีสติกำหนดรู้ในฐานทั้ง 4 (กาย เวทนา จิต ธรรม) หรือ ทุกข์ ต้องกำหนดรู้ ปัญญาพึ่งต้องเจริญ