พระพุทธเจ้าได้ทรงสรุปคำสอนทั้งหมดของพระพุทธองค์ไว้ในประโยคที่ว่า "สิ่งทั้งหลายไม่ควรยึดถือว่าเป็นตัวตน"
นี่แสดงถึงหลักอริยสัจ ๔ โดยสรุป คือ
๑.เมื่อยึดถือก็จะเป็นทุกข์ = ทุกข์
๒.ความยึดถือคือสาเหตุของทุกข์ = สมุทัย
๓.ความไม่ยึดถือคือความดับทุกข์ = นิโรธ
๔.การไม่ยึดถือคือการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ = มรรค
จากหลักโดยสรุปนี้ก็แสดงถึงหลักอื่นๆด้วย อันได้แก่ พระพุทธเจ้าสอนเฉพาะเรื่องดับทุกข์ ซึ่งความทุกข์นี้ก็คือความทุกข์ของจิตใจเราในปัจจุบันที่เกิดขึ้นมาจากความยึดถือว่าจิตใจและร่างกายรวมทั้งสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องว่าเป็นตัวตน-ของตน (หรือตัวเรา-ของรา) ไม่ได้หมายถึงจะไปดับทุกข์ทางร่างกายในชาติหน้า อีกทั้งการศึกษานี้ก็ไม่จำเป็นต้องมีเรื่องพระอริยะ เรื่องสมาธิสูงๆ เรื่องกรรมวิบาก และเรื่องโลกๆมาเกี่ยวข้องเลย (หลักอจินไตย) ซึ่งเราจะเชื่อใครไม่ได้จนกว่าจะได้พิสูจน์จนเกิดผลเป็นความดับลงของความทุกข์จริงๆก่อนจึงค่อยปลงใจเชื่อ (หลักกาลามสูตร) ส่วนการศึกษาก็ต้องศึกษาจากร่างกายและจิตใจของเราเองที่ยังมีชีวิตอยู่และมีสติดีอยู่นี้เท่านั้น (ศึกษาจากร่างกายและจิตใจของเราเอง) และเป็นเรื่องที่เราจะพึงเห็นได้ด้วยตนเองเท่านั้น (หลักสันทิฎฐิโก)
สรุปได้ว่า เพียงประโยคที่ว่า "สิ่งทั้งหลายไม่ควรยึดถือว่าเป็นตัวตน" นี้ก็ได้รวมทั้งหลักพื้นฐานของคำสอนของพระพุทธเจ้าและคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดเอาไว้แล้ว ถ้าใครจะเข้าใจเพียงเท่านี้ก็จะเข้าใจคำสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้าแล้ว ถ้าใครปฏิบัติได้เพียงเท่านี้ก็เท่ากับปฏิบัติตามคำสอนท้งหมดของพระพุทธเจ้าแล้ว และถ้าใครได้รับผลเพียงเท่านี้ก็เท่ากับได้รับผลทั้งหมดจากคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว แต่ถ้าใครศึกษานอกเหนือจากนี้ และปฏิบัติไม่ตรงตามนี้ รวมทั้งได้รับผลอื่นที่ไม่ใช่อย่างนี้ก็แสดงว่าการศึกษาและการปฏิบัติรวมทั้งผลที่ได้รับนั้นผิดพลาด ต้องปรับปรุงแก้ไขให้กลับมาถูกต้องอย่างที่พระพุทธเจ้าได้สรุปเอาไว้
สิ่งทั้งหลายไม่ควรยึดถือว่าเป็นตัวตน
นี่แสดงถึงหลักอริยสัจ ๔ โดยสรุป คือ
๑.เมื่อยึดถือก็จะเป็นทุกข์ = ทุกข์
๒.ความยึดถือคือสาเหตุของทุกข์ = สมุทัย
๓.ความไม่ยึดถือคือความดับทุกข์ = นิโรธ
๔.การไม่ยึดถือคือการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ = มรรค
จากหลักโดยสรุปนี้ก็แสดงถึงหลักอื่นๆด้วย อันได้แก่ พระพุทธเจ้าสอนเฉพาะเรื่องดับทุกข์ ซึ่งความทุกข์นี้ก็คือความทุกข์ของจิตใจเราในปัจจุบันที่เกิดขึ้นมาจากความยึดถือว่าจิตใจและร่างกายรวมทั้งสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องว่าเป็นตัวตน-ของตน (หรือตัวเรา-ของรา) ไม่ได้หมายถึงจะไปดับทุกข์ทางร่างกายในชาติหน้า อีกทั้งการศึกษานี้ก็ไม่จำเป็นต้องมีเรื่องพระอริยะ เรื่องสมาธิสูงๆ เรื่องกรรมวิบาก และเรื่องโลกๆมาเกี่ยวข้องเลย (หลักอจินไตย) ซึ่งเราจะเชื่อใครไม่ได้จนกว่าจะได้พิสูจน์จนเกิดผลเป็นความดับลงของความทุกข์จริงๆก่อนจึงค่อยปลงใจเชื่อ (หลักกาลามสูตร) ส่วนการศึกษาก็ต้องศึกษาจากร่างกายและจิตใจของเราเองที่ยังมีชีวิตอยู่และมีสติดีอยู่นี้เท่านั้น (ศึกษาจากร่างกายและจิตใจของเราเอง) และเป็นเรื่องที่เราจะพึงเห็นได้ด้วยตนเองเท่านั้น (หลักสันทิฎฐิโก)
สรุปได้ว่า เพียงประโยคที่ว่า "สิ่งทั้งหลายไม่ควรยึดถือว่าเป็นตัวตน" นี้ก็ได้รวมทั้งหลักพื้นฐานของคำสอนของพระพุทธเจ้าและคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดเอาไว้แล้ว ถ้าใครจะเข้าใจเพียงเท่านี้ก็จะเข้าใจคำสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้าแล้ว ถ้าใครปฏิบัติได้เพียงเท่านี้ก็เท่ากับปฏิบัติตามคำสอนท้งหมดของพระพุทธเจ้าแล้ว และถ้าใครได้รับผลเพียงเท่านี้ก็เท่ากับได้รับผลทั้งหมดจากคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว แต่ถ้าใครศึกษานอกเหนือจากนี้ และปฏิบัติไม่ตรงตามนี้ รวมทั้งได้รับผลอื่นที่ไม่ใช่อย่างนี้ก็แสดงว่าการศึกษาและการปฏิบัติรวมทั้งผลที่ได้รับนั้นผิดพลาด ต้องปรับปรุงแก้ไขให้กลับมาถูกต้องอย่างที่พระพุทธเจ้าได้สรุปเอาไว้