96.50 คลื่นความคิด หรือ คลื่นอารมณ์

FM 96.50 คลื่นความคิด หรือ คลื่นอารมณ์ (มุ่งประเด็นบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบสื่อมวลชน)
เป็นแฟนคลับคนหนึ่งที่ติดตามฟัง 2 คู่หู ช่วงเช้ามานานล่ะ พี่ๆบอกว่าเมื่อเช้ามี SMS ทางบ้าน เข้ามาถล่ม “หลากหลายความเห็น” แต่ที่น่าดีใจคือพี่ๆทั้ง 2 ท่าน เปิดโอกาสรับฟัง ความเห็นประชาชนผู้บริโภคสื่อ และในฐานะผู้รับสาร สงสัยในการทำหน้าที่สื่อ บทบาท และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ขออนุญาตแลกเปลี่ยนมุมมองเพื่อได้ความรู้กลับในประเด็นต่างๆดังนี้
1. เมื่อเช้าและหลายเช้า การถ่ายทอด มักพูดสอดแทรกเสียงซ้อนกันขึ้นมากันเอง ชิงพื้นที่สื่อ (เวลา) ทั้งที่วิทยุมีข้อจำกัด ไม่มีภาพ รับสารซ้ำไม่ได้เหมือนสื่อ นสพ.Social media ข้อนี้มองเผินๆเป็นเรื่องมารยาท แต่มีนัยยะ เลือกข้างการเมือง โปรดดูข้อต่อไป
2. การหยิบข่าว หรือนำข่าว จาก นสพ. มาเล่า ควรนำเสนอทั้ง 2 ด้าน ไม่ควรนำเสนอด้านเดียว การ“เชียร์” อาจทำให้ขาดจริยธรรม เช่น หลักความเป็นกลาง- การไม่ควรฝักใฝ่ฝ่ายใด-ความลำเอียง และการใช้พื้นที่สื่อสาธารณะในมือ สื่อสารประเด็น ทฤษฎี ความเชื่อ คำคม เพื่อปกปิด แก้ต่าง ความผิด บกพร่อง ในกลุ่มการเมืองที่เป็นกลุ่มอ้างอิงของตน ในทางจรรยาบรรณและจริยธรรมวิชาชีพพึงระวัง และต้นสังกัดควรให้ความรู้อบรมบ่มนิสัย
3. กรณีศึกษา วันที่ 180257 เวลาประมาณก่อนเข้าข่าว 08.00 น.และเวลา 08.20 น. คำทิ้งท้าย “เกลียดแม่ อย่าไปรังแกลูก” เรื่องจำนำข้าว ฟังแล้วเศร้าใจ(ความเห็นส่วนตัวตีความว่า เกลียดรัฐ/ผู้นำรัฐ อย่าไปรังแกชาวนา) ขอแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ว่า “”””........
- นโยบายจำนำข้าวมีมานานก่อน พธม นปช. ปชป. กปปส. พท. ฯลฯ และมีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นมานานไม่ว่าใครถืออำนาจรัฐ การนำมาใช้ต้องระวัง เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ประชาชนและสื่อล้วนเห็นใจชาวนา เป็นเรื่องดี รวมถึงคนที่ไปถอนเงินหรือไม่ถอนเงิน นั่นคือสิทธิของเขา น้ำพักน้ำแรงของเขา เขาอาจมองว่ารัฐ “อัฐยายซื้อขนมยาย” เอาเงินฝากประชาชน ไปจ่ายประชาชน ส่วนข้าวหรือของกลางไปไหน ควรจะขายข้าวเอาเงินให้ชาวนา อีกฝั่งว่าเอาชาวนาเป็นตัวประกัน อีกฝั่งเอาชาวนาเป็นโล่มนุษย์ มันเหมือนกับใช้กติกาเลือกตั้ง แต่ไม่รักษากติกาการเงินการคลัง เหมือนอยากตั้งสภาประชาชน แต่จะขัดรัฐธรรมนูญ และจะรับอำนาจศาลถ้าเป็นคุณ ไม่รับอำนาจศาลถ้าเป็นโทษ ดังนี้เอง เห็นว่านักการเมืองใช้ประเด็นที่เป็นคุณกับฝ่ายตน หรือแม้กระทั่งDJบอกว่าแกนนำถูกจับแล้วและยังได้ประกันตัวเหมือนเส้นสาย ถามต่อว่าแล้วคนที่สั่งเผาบ้านลงมือเผาเมือง มีวีดีโอ มีหลักฐานบ้านเมืองวอดวาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอะไร? ดังนั้นคนทำสื่อต้องเป็นกลาง...” การเมืองมันทีใครทีมัน สื่อต้องให้ปัญญาประชาชน ไม่โฆษณาชวนเชื่อ หรือ มอมเมาประชาชน
-ขอแลกความรู้เรื่องบทบาท หน้าที่สื่อต่อว่า ถ้านักสื่อสารรักประชาธิปไตยไม่ควรใช้สื่อเผด็จการผูกมัดเหมารวมว่าทุกคน เกลียดชัง ต่อต้าน ถ้าไม่ใช่แดงต้องเป็นเหลือง หรือ กปปส. เสรีชน คือ คนของกำนัน มันไม่ใช่ คนเรามีอิสระทางความคิด ไม่ได้เป็นทาสนายทุน ทาสอุดมการณ์ ทาสความคิด มานะทิฐิตนเอง   
-ข้อเสนอ อยากให้นำเสนอความรู้ ความจริง ที่ให้ปัญญาประชาชน ไม่ใช่เสนอว่าฝ่ายใดรังแกฝ่ายใด ใครเกลียดใคร และข่าวแบ่งภาคเฉือนประเทศ กระตุ้นให้คนอีกฝ่ายมาชุมนุมซึ่งอาจเกิดการปะทะกันได้ บทบาทสื่อจึงไม่ใช่กระบอกเสียงฝ่ายใด และหน้าที่สื่อก็ไม่ใช่ไปสร้างความขัดแย้งให้เพิ่มขึ้นในสังคม
- ข่าวการหาเงินจ่ายจำนำข้าว โดยแนวทางการกู้ยืมจากออมสิน หรือ ธกส. กรุงไทย ประกันสังคม กยส.เงินคมนาคมสร้างรถไฟ ฯลฯ ข่าวเหล่านี้ย่อมบั่นทอนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจ และความเชื่อถือต่อสถาบันการเงินของประชาชน ธนาคารจะให้ไม่ให้ ทุกข์ของชาวนา คือทุกข์ของแผ่น พี่ๆนำคำของ มรว....มาพูดนั้นถูกต้อง ใครไม่เคยทำนาดูแต่ข่าวไม่รู้หรอก ว่าชาวนาต้องซื้อข้าวกิน เราล้วนเข้าใจ และเคารพกติกาสถาบันการเงิน เหมือนกติกาเลือกตั้ง กติกาการชุมนุมโดยสงบ เมื่อมีการละเมิดก็ต้องว่าไปตามกระบวนการของแต่ละฝ่าย แต่ละความผิด หาใช่ยึดติดมาในหน้าที่ ถ้าหมดเวลาพ้นหน้าจัดเต็มจะส่งเสริมกู้เงิน จะทำพรบ.นิรโทษคืนเงินคนทุจริต จะปิคนิคปิดกรุงเทพฯ ไม่มีใครเขาว่า....
“เพราะรัก...จึงอยากเห็น...หนักนิดเบาหน่อยให้อภัย ขอเป็นกำลังให้พี่DJ(ผู้ชาย ป.) ที่พยายามนำเสนอ 2 ด้าน แม้บางทีจะต้องพยายามแทรกเสียงเสนอสู้ รักษาความเป็นกลางของสื่อและองค์กร ขอให้รู้ไว้ว่าผู้ฟังทางบ้านมีปัญญารับรู้ได้"  
ด้วยความเคารพ ดังคำเก่าๆว่า สื่อมีอิทธิพลทำให้สังคมดีก็ได้ เลวก็ได้ แล้วในฐานะพี่ๆเป็นสื่อมวลชน พี่อยากเห็นสังคมดี หรือ เลว
ปล. ไม่เห็นด้วยกับการสื่อสารด่า ควายสลิ่ม ควายแดง ในที่นี่ เพราะไม่สังกัดควายๆ แม้มีเป้าหมายเดียวกับบางฝ่ายแต่ใช่เลือกข้างเป็นทาสใคร และไม่ใช่นักรบคีย์บอร์ดพรรคการเมืองใด
ดาวพระศุกร์
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่