เคยบอกว่าธุรกิจสื่อที่จะอยู่นานที่สุด
ก่อนจะถูกเปลี่ยนแปลง คือ สถานีโทรทัศน์
แต่จุดจบมันจะแตกสลายที่สุด
ที่ต้องแตกหักทั้งคนดู และพนักงานในองค์กร
เหมือนที่เกิดขึ้นกับช่อง 3 ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา
จะมีการฉลองครบรอบ 60 ปีไทยทีวีสีช่อง 3 หรือไม่ ?
ถ้าพูดแบบเมื่อก่อนก็คงคิดว่า คำถามแบบนี้ไม่น่าเกิดขึ้น
แต่การครบรอบ 60 ปีนั่นหมายความว่าเหตุการณ์จะเกิดในปี 2573
ซึ่งเป็นปีที่ผ่านการหมดสัญญาทีวีดิจตัลในปี 2572
ซึ่งในตอนนั้นเราไม่รู้ว่าองค์กรจะเลือกไปทางไหนกันแน่
ข่าวช่อง 3 ปรับลดพนักงานเป็นกระแสในวงกว้างทุกแง่มุม
แต่สิ่งสำคัญที่เกิดกับพนักงานบริษัทนี้ ทำไมมันต้องดูมีอะไรมากกว่าองค์กรอื่น
ที่มักเหตุการณ์แบบนี้เป็นเรื่องปกติของทุกบริษัทเอกชน
แต่เพราะพนักงานช่อง 3 โดยเฉพาะคนที่ยังอยู่จนถึงวันนี้
บางคนอยู่กันมาตั้งแต่อาคารวานิช เอ็มโพเรียมชั้น 7 และวันนี้ก็ไม่ได้ไปต่อ
ทำไมเขาถึงมีความรู้สึกมากกว่าพนักงานองค์กรอื่น ขอให้ดูคลิปนี้ นาทีที่ 22 เป็นต้นไป
อาจารย์สมเกียรติถ้าเป็นคนดูช่อง 3 จะจำรายการตอนตี 4 อย่าง โลกยามเช้า
ผลตอบแทนในอดีตของพนักงานช่องที่ได้ คือ จ้างคนตลอดชีวิต
อาจารย์ก็เป็นกลุ่มที่ถูกนำเสนอชื่อในปี 63 ที่มีการปรับลดพนักงานก่อนจะถึงรอบนี้
และก็ไม่เกี่ยวข้องกับสถานีมานานแล้ว แต่ยังถือสถานะเป็นพนักงานจนถึงปี 63
หรือเป็นที่ข่าวก็คือ กาละแมร์ และ นีน่า อาจจะรวมถึงกลุ่มผู้จัดที่เป็นพนักงาน
อย่างคุณไก่ วรายุทธ และผู้จัดอื่น ๆ ด้วยหรือเปล่า
ทำให้เรารู้ว่าทำไม ใครต่อใครต่างเดินเข้ามาที่ตึกมาลีนนท์
ยิ่งในยุคครอบครัวข่าว ที่คนอยู่ในนี้บางครั้งมันก็ดูเกินจะเป็นครอบครัวด้วยซ้ำ
เพราะความผูกพันที่สถานีมอบให้ทั้งบทบาทและค่าตอบแทน
แต่ในยุคอุตสาหกรรมสื่อเปลี่ยนไป พนักงานของสถานีโดยเฉพาะฝ่ายข่าว
ก็ถูกลดทอนกันไปเรื่อย ๆ แต่จนถึงวันนี้จำนวนพนักงานก็ยังมากกว่าช่องอื่น ๆ อยู่ดี
หรือปลายทางก่อนจะหมดสัญญาทีวีดิจตัลช่อง 3 อาจจะปิดฝ่ายข่าวก็ได้
แม้ตอนนี้รายการข่าวของช่อง 3 เป็นที่นิยมเกือบทุกช่วงเวลา
ทั้งการวัดเรตติ้งหรือการยอดไลฟ์ในโซเชียลต่าง ๆ
แต่ต้องยอมรับว่าที่มันนิยมไม่ได้มาจากงานข่าวของสถานี
แต่เป็นความโดดเด่นของผู้ประกาศทั้ง คุณสรยุทธ คุณกรรชัย และคุณกิตติ
ที่มีความเป็น infuencer ในตัวเองอยู่แล้วทำให้ข่าวมีความสนใจกับประชาชน
และทั้ง 3 บุคคลนอกจากพนักงานของสถานีในบทบาทหนึ่ง
อีกบทบาทหนึ่งคือเป็นผู้ผลิตที่เข้ามาผลิต อย่าง ไร่ส้ม , ชัดถ้อยชัดคำ , ดีวันดีคืน และฮอตนิวส์
ซึ่งสถานีหรือผู้ผลิตสามารถยุติสัญญาเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่ต้องรอสัญญาณปลดพนักงานก็ได้
ก็จะสิ้นสุดสถานะของทั้งผู้ผลิตและพนักงานเลย
คงจะมีคนบอกว่า บริษัทบ้าและโง่เท่านั้นที่จะทำพวกเขาเหล่านี้
แต่อีก 4 - 5 ปี ข้างหน้าอายุพวกเขาก็ไม่น้อยแล้ว
คุณกิตติจะ 65 ปี คุณสรยุทธก็จะ 60 กว่า หรือพี่หนุ่มกรรชัยก็จะ 60
เขาไม่จำเป็นจะต้องทำอะไรหนัก ๆ ในวัยของเขาตอนนั้น
เขาทำงานที่บ้านเขาหรือบริษัท ไลฟ์ทำรายการแบบนั้นยอดคนดูก็ไม่ต่างจากที่สถานี
จึงเป็นการเตรียมตัวและเตรียมใจให้พนักงานที่ยังอยู่ว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป
อยากให้คนที่ยังทำงานที่นี่ต่อไปเตรียมหาอาชีพรองรับ
และเก็บเงินจากอาชีพนี้ให้ได้มากที่สุดด้วย เพื่อรองรับความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้น
จากความไม่แน่นอนของฝ่ายข่าว
อนาคตช่อง 3 จำเป็นสถานีโทรทัศน์อีกหรือไม่
หรือบริษัทจะเปลี่ยนตัวเองเป็นแบบไหนก็เป็นสิ่งที่เขาเริ่มจะคิดแล้ว
เพราะถ้ารอการตัดสินใจจาก กสทช. ที่ไม่มีความแน่นอนอะไรสักอย่าง
ซึ่งกรรมการชุดนี้มีอายุไม่ถึง ปี 2572 กว่าพวกเขาคิดตัดสินใจในเวลานั้น
มันก็อาจสายเกินไปในทุกอย่างที่เกิดขึ้น
มีบางคนพูดว่า ไม่เสียดายสมบัติที่พ่อสร้างมาเหรอ
ในทีวีดิจิตัลช่องที่เสียอะไรมากที่สุดคือ ช่อง 3
เขาเสียพ่อ (ท่านประธาน) เสียพี่คนโต ทิ้งเพื่อน (เทโร)
เคยไปต่อไม่ได้กับคุณสรยุทธในช่วงเวลาสำคัญ
มีความขัดแย้งในระดับพี่น้องจนมาสู่สาธารณะซึ่งองค์กรเขาไม่เคยเป็นแบบนี้
เลือดข้นคนจางไม่สู้เลือดข้นมาลีนนท์หรอก
แม้ในตอนนี้สถานะจะดีขึ้นที่ทุกคนจะได้ผลประโยชน์อย่างเหมาะสม
จนมาถึงสิ่งสำคัญที่สุด ช่อง 3 เป็นบริษัทเอกชนก็จริง
แต่มันก็คือ กงสี ของตระกูลมาลีนนท์
เปรียบเป็นบ้านตระกูลจีนที่มีลูกน้องมากมาย ที่ทุกคนพร้อมจะทำเพื่อบ้านหลังนี้
เพราะสิ่งที่นายบ้านหลังนี้ให้มันมีมากมาย จนเขาไม่อยากออกจากบ้านหลังนี้
หมดเวลาเดียวที่ต้องไปจากที่นี่คือ ต้องตายจากกันไป
และคงไม่มีใครอยากไล่คนที่ทำงานที่บ้านอย่างภักดีมาตลอด
แต่ในที่สุดมันก็เกิดขึ้นเป็นรอบ ๆ ในทุกภาคส่วน
แม้กระทั้งไข่แดงที่ไม่มีใครแตะต้องได้อย่างฝ่ายละคร
จนในที่สุดสถานีก็ยอมรับ จนให้บางสถานีต้องมารองรับสถานการณ์นี้
ถ้าเป็นบริษัทนี้จริง ๆ มันก็เจ๊งไปครึ่งตัวแล้ว
เพียงแต่แค่รักษาตัวเองที่ต้องเดินต่อไป
ไม่เสียศักดิ์ศรีเหรอ มันไม่เหลือตั้งแต่วันที่เขาปลดพนักงานรอบแรกแล้ว
ดูแลลูกน้องอย่างตลอดรอดฝั่งยังไม่ได้ เขาก็ไม่เป็นเจ้านายที่ดีแล้ว
จนมันเป็นเหตุการณ์ เจ้านายที่ไม่ต้องการการตอบโต้หรือโต้แย้งจากลูกน้อง
เพราะสุดท้ายก็ต้องออกไป ลูกน้องที่ไม่ไว้หน้าจนเรื่องขยายตัวเป็นวงกว้าง
เหมือนที่คนดูละครจะกร่นด่าในพื้นที่สี่อแค่ไหน แต่คุณก็ต้องดูละครรีรันอยู่ดี
ในเมื่อเป็นแบบนี้ถ้าสิ่งที่เหลืออยู่มันยังคงอยู่ต่อได้
เพื่อให้เขายังสามารถหาหนทางที่เหมาะสมกับองค์กรนี้ว่ามันจะต้องไปต่อแบบไหน
หรือถ้ายังเป็นสถานีโทรทัศน์ต่อไปเขาจะมีกลุ่มพนักงานใหม่
ที่มีวัฒนธรรมในองค์กรที่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่ไม่แน่นอนในธุรกิจนี้
หรือจะไปตายดาบหน้ากับธุรกิจใหม่ให้เขายังมีโอกาสได้มีสิทธิ์เลือก
ก่อนจะไม่เหลือสิทธิ์ให้เลือกเลย เพราะอนาคตในธุรกิจนี้ไม่มีความแน่นอนอีกแล้ว
ความจริงวันนี้ และ อนาคตของช่อง 3
ก่อนจะถูกเปลี่ยนแปลง คือ สถานีโทรทัศน์
แต่จุดจบมันจะแตกสลายที่สุด
ที่ต้องแตกหักทั้งคนดู และพนักงานในองค์กร
เหมือนที่เกิดขึ้นกับช่อง 3 ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา
จะมีการฉลองครบรอบ 60 ปีไทยทีวีสีช่อง 3 หรือไม่ ?
ถ้าพูดแบบเมื่อก่อนก็คงคิดว่า คำถามแบบนี้ไม่น่าเกิดขึ้น
แต่การครบรอบ 60 ปีนั่นหมายความว่าเหตุการณ์จะเกิดในปี 2573
ซึ่งเป็นปีที่ผ่านการหมดสัญญาทีวีดิจตัลในปี 2572
ซึ่งในตอนนั้นเราไม่รู้ว่าองค์กรจะเลือกไปทางไหนกันแน่
ข่าวช่อง 3 ปรับลดพนักงานเป็นกระแสในวงกว้างทุกแง่มุม
แต่สิ่งสำคัญที่เกิดกับพนักงานบริษัทนี้ ทำไมมันต้องดูมีอะไรมากกว่าองค์กรอื่น
ที่มักเหตุการณ์แบบนี้เป็นเรื่องปกติของทุกบริษัทเอกชน
แต่เพราะพนักงานช่อง 3 โดยเฉพาะคนที่ยังอยู่จนถึงวันนี้
บางคนอยู่กันมาตั้งแต่อาคารวานิช เอ็มโพเรียมชั้น 7 และวันนี้ก็ไม่ได้ไปต่อ
ทำไมเขาถึงมีความรู้สึกมากกว่าพนักงานองค์กรอื่น ขอให้ดูคลิปนี้ นาทีที่ 22 เป็นต้นไป
ผลตอบแทนในอดีตของพนักงานช่องที่ได้ คือ จ้างคนตลอดชีวิต
อาจารย์ก็เป็นกลุ่มที่ถูกนำเสนอชื่อในปี 63 ที่มีการปรับลดพนักงานก่อนจะถึงรอบนี้
และก็ไม่เกี่ยวข้องกับสถานีมานานแล้ว แต่ยังถือสถานะเป็นพนักงานจนถึงปี 63
หรือเป็นที่ข่าวก็คือ กาละแมร์ และ นีน่า อาจจะรวมถึงกลุ่มผู้จัดที่เป็นพนักงาน
อย่างคุณไก่ วรายุทธ และผู้จัดอื่น ๆ ด้วยหรือเปล่า
ทำให้เรารู้ว่าทำไม ใครต่อใครต่างเดินเข้ามาที่ตึกมาลีนนท์
ยิ่งในยุคครอบครัวข่าว ที่คนอยู่ในนี้บางครั้งมันก็ดูเกินจะเป็นครอบครัวด้วยซ้ำ
เพราะความผูกพันที่สถานีมอบให้ทั้งบทบาทและค่าตอบแทน
แต่ในยุคอุตสาหกรรมสื่อเปลี่ยนไป พนักงานของสถานีโดยเฉพาะฝ่ายข่าว
ก็ถูกลดทอนกันไปเรื่อย ๆ แต่จนถึงวันนี้จำนวนพนักงานก็ยังมากกว่าช่องอื่น ๆ อยู่ดี
หรือปลายทางก่อนจะหมดสัญญาทีวีดิจตัลช่อง 3 อาจจะปิดฝ่ายข่าวก็ได้
แม้ตอนนี้รายการข่าวของช่อง 3 เป็นที่นิยมเกือบทุกช่วงเวลา
ทั้งการวัดเรตติ้งหรือการยอดไลฟ์ในโซเชียลต่าง ๆ
แต่ต้องยอมรับว่าที่มันนิยมไม่ได้มาจากงานข่าวของสถานี
แต่เป็นความโดดเด่นของผู้ประกาศทั้ง คุณสรยุทธ คุณกรรชัย และคุณกิตติ
ที่มีความเป็น infuencer ในตัวเองอยู่แล้วทำให้ข่าวมีความสนใจกับประชาชน
และทั้ง 3 บุคคลนอกจากพนักงานของสถานีในบทบาทหนึ่ง
อีกบทบาทหนึ่งคือเป็นผู้ผลิตที่เข้ามาผลิต อย่าง ไร่ส้ม , ชัดถ้อยชัดคำ , ดีวันดีคืน และฮอตนิวส์
ซึ่งสถานีหรือผู้ผลิตสามารถยุติสัญญาเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่ต้องรอสัญญาณปลดพนักงานก็ได้
ก็จะสิ้นสุดสถานะของทั้งผู้ผลิตและพนักงานเลย
คงจะมีคนบอกว่า บริษัทบ้าและโง่เท่านั้นที่จะทำพวกเขาเหล่านี้
แต่อีก 4 - 5 ปี ข้างหน้าอายุพวกเขาก็ไม่น้อยแล้ว
คุณกิตติจะ 65 ปี คุณสรยุทธก็จะ 60 กว่า หรือพี่หนุ่มกรรชัยก็จะ 60
เขาไม่จำเป็นจะต้องทำอะไรหนัก ๆ ในวัยของเขาตอนนั้น
เขาทำงานที่บ้านเขาหรือบริษัท ไลฟ์ทำรายการแบบนั้นยอดคนดูก็ไม่ต่างจากที่สถานี
จึงเป็นการเตรียมตัวและเตรียมใจให้พนักงานที่ยังอยู่ว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป
อยากให้คนที่ยังทำงานที่นี่ต่อไปเตรียมหาอาชีพรองรับ
และเก็บเงินจากอาชีพนี้ให้ได้มากที่สุดด้วย เพื่อรองรับความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้น
จากความไม่แน่นอนของฝ่ายข่าว
อนาคตช่อง 3 จำเป็นสถานีโทรทัศน์อีกหรือไม่
หรือบริษัทจะเปลี่ยนตัวเองเป็นแบบไหนก็เป็นสิ่งที่เขาเริ่มจะคิดแล้ว
เพราะถ้ารอการตัดสินใจจาก กสทช. ที่ไม่มีความแน่นอนอะไรสักอย่าง
ซึ่งกรรมการชุดนี้มีอายุไม่ถึง ปี 2572 กว่าพวกเขาคิดตัดสินใจในเวลานั้น
มันก็อาจสายเกินไปในทุกอย่างที่เกิดขึ้น
มีบางคนพูดว่า ไม่เสียดายสมบัติที่พ่อสร้างมาเหรอ
ในทีวีดิจิตัลช่องที่เสียอะไรมากที่สุดคือ ช่อง 3
เขาเสียพ่อ (ท่านประธาน) เสียพี่คนโต ทิ้งเพื่อน (เทโร)
เคยไปต่อไม่ได้กับคุณสรยุทธในช่วงเวลาสำคัญ
มีความขัดแย้งในระดับพี่น้องจนมาสู่สาธารณะซึ่งองค์กรเขาไม่เคยเป็นแบบนี้
เลือดข้นคนจางไม่สู้เลือดข้นมาลีนนท์หรอก
แม้ในตอนนี้สถานะจะดีขึ้นที่ทุกคนจะได้ผลประโยชน์อย่างเหมาะสม
จนมาถึงสิ่งสำคัญที่สุด ช่อง 3 เป็นบริษัทเอกชนก็จริง
แต่มันก็คือ กงสี ของตระกูลมาลีนนท์
เปรียบเป็นบ้านตระกูลจีนที่มีลูกน้องมากมาย ที่ทุกคนพร้อมจะทำเพื่อบ้านหลังนี้
เพราะสิ่งที่นายบ้านหลังนี้ให้มันมีมากมาย จนเขาไม่อยากออกจากบ้านหลังนี้
หมดเวลาเดียวที่ต้องไปจากที่นี่คือ ต้องตายจากกันไป
และคงไม่มีใครอยากไล่คนที่ทำงานที่บ้านอย่างภักดีมาตลอด
แต่ในที่สุดมันก็เกิดขึ้นเป็นรอบ ๆ ในทุกภาคส่วน
แม้กระทั้งไข่แดงที่ไม่มีใครแตะต้องได้อย่างฝ่ายละคร
จนในที่สุดสถานีก็ยอมรับ จนให้บางสถานีต้องมารองรับสถานการณ์นี้
ถ้าเป็นบริษัทนี้จริง ๆ มันก็เจ๊งไปครึ่งตัวแล้ว
เพียงแต่แค่รักษาตัวเองที่ต้องเดินต่อไป
ไม่เสียศักดิ์ศรีเหรอ มันไม่เหลือตั้งแต่วันที่เขาปลดพนักงานรอบแรกแล้ว
ดูแลลูกน้องอย่างตลอดรอดฝั่งยังไม่ได้ เขาก็ไม่เป็นเจ้านายที่ดีแล้ว
จนมันเป็นเหตุการณ์ เจ้านายที่ไม่ต้องการการตอบโต้หรือโต้แย้งจากลูกน้อง
เพราะสุดท้ายก็ต้องออกไป ลูกน้องที่ไม่ไว้หน้าจนเรื่องขยายตัวเป็นวงกว้าง
เหมือนที่คนดูละครจะกร่นด่าในพื้นที่สี่อแค่ไหน แต่คุณก็ต้องดูละครรีรันอยู่ดี
ในเมื่อเป็นแบบนี้ถ้าสิ่งที่เหลืออยู่มันยังคงอยู่ต่อได้
เพื่อให้เขายังสามารถหาหนทางที่เหมาะสมกับองค์กรนี้ว่ามันจะต้องไปต่อแบบไหน
หรือถ้ายังเป็นสถานีโทรทัศน์ต่อไปเขาจะมีกลุ่มพนักงานใหม่
ที่มีวัฒนธรรมในองค์กรที่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่ไม่แน่นอนในธุรกิจนี้
หรือจะไปตายดาบหน้ากับธุรกิจใหม่ให้เขายังมีโอกาสได้มีสิทธิ์เลือก
ก่อนจะไม่เหลือสิทธิ์ให้เลือกเลย เพราะอนาคตในธุรกิจนี้ไม่มีความแน่นอนอีกแล้ว