ในช่วง 10 กว่าปีมานี้ สมาคมสื่้อมักมีแนวคิดสวนทางกับระบอบประชาธิปไตย สมาคมมักประนามฝ่ายที่ตนไม่ชอบ และปกป้องฝ่ายที่ตนชื่นชมเสมอ ๆ แม้เป็นเรื่องที่ไร้จริยธรรม แต่ก็ยังทนงตนว่า เก่ง ดี ฉลาด และมีคุณธรรมเหนืออาชีพอื่นใด
ผมได้อ่านข่าวเล็กๆ มาข่าวหนึ่ง สะท้อนภาพสมาคมนักข่าวได้เป็นอย่างดี อ่านความเห็นแต่ละท่านแล้ว สมควรที่ปุถุขนอย่างเราต้องอายแทนจริง ๆ
..............................................................................................................
สมาคมนักข่าวฯออกแถลงการณ์ เรียกร้องเสรีภาพปราศจากการแทรกแซง
http://www.dailynews.co.th/politics/201894
เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 3 พ.ค. ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายวิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย พร้อมคณะกรรมการบริหาร ออกแถลงการณ์เนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชน โดยเรียกร้องให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงคุณค่าของ “เสรีภาพ ที่ไม่คุกคาม”และได้มีการยืนไว้อาลัยต่อสื่อมวลชนที่ล่วงลับไปแล้ว
สำหรับข้อเรียกร้องแบ่งออกเป็น 6 ข้อ ประกอบด้วย
1.สนับสนุนและส่งเสริมเสรีภาพของประชาชนภายใต้หลักการ “เสรีภาพ ที่ไม่คุกคาม” คือการแสดงออกต้องมีความปลอดภัย ปราศจากการแทรกแซงคุกคาม ขณะเดียวกันต้องไม่ใช้เสรีภาพไปคุกคามเสรีภาพของบุคคลอื่น รับฟังและอดทนต่อความคิดเห็นที่แตกต่าง
2.เรียกร้องให้สื่อมวลชนทำหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบภายใต้กรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ต้องรายงานข่าวสาร ด้วยข้อมูลข้อเท็จจริงและให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ต้องตระหนักว่าหากนำเสนอข้อมูลผิดจากข้อเท็จจริงหรือบิดเบือน จะนำไปสู่การให้ทางเลือกที่ผิดกับประชาชน
3.ในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนต้องไม่ถูกแทรกแซงจากอำนาจรัฐและอำนาจทุน ต้องร่วมกันสนับสนุนหลักการของรัฐธรรมนูญมาตรา 46 ที่มุ่งคุ้มครองเสรีภาพสื่อมวลชนให้เป็นอิสระจากเจ้าของ ทั้งรัฐและเอกชน
4.สื่อมวลชนต้องร่วมกันเสริมสร้างบทบาทในการขับเคลื่อนหาทางออกในสังคม เปิดเวทีให้ทุกฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูล รับฟังเหตุผลที่แตกต่างหลากหลาย พร้อมร่วมกันสร้างบรรยากาศของการใช้เหตุผลหาทางออกให้กับสังคม เพื่อให้สังคมไทยออกจากความขัดแย้ง ความแตกแยก ได้อย่างสันติ
5.ขอให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ยุติและทบทวนการบิดเบือนเจตนารมณ์ในการปฏิรูปสื่อ วิทยุ โทรทัศน์ โดยต้องกระจายคลื่นความถี่ที่อยู่ในการครอบครองของรัฐไปสู่สาธารณะชนอย่างเปิดเผยและเป็นธรรม และต้องกำหนดหลักเกณฑ์พิจารณาให้ใบอนุญาตโทรทัศน์ดิจิตอลสาธารณะ และโทรทัศน์ดิจิตอลเพี่อชุมชนให้ชัดเจน โดยต้องรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนของสังคมอย่างรอบด้าน
6.ท่ามกลางความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ การรู้ทันสื่อจึงมีความสำคัญ ต้องแยกความคิดเห็นออกจากข้อเท็จจริง ต้องหาข้อมูลจากสื่อหลายๆ สื่อ เพื่อประกอบการตัดสินใจ รวมทั้งพึงตระหนักว่าสื่อออนไลน์เป็นพื้นที่สาธารณะ หากไม่ระมัดระวังอาจมีผลกกระทบกับตัวเองและบุคคลอื่นได้
ด้านนายจักร์กฤษ เพิ่มพูล ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันสื่อกำลังถูกคุกคามจากเผด็จการซ่อนรูปในรูปของกลุ่มทุน ส่งผลให้นักข่าวภาคสนามใช้เสรีภาพในการทำข่าว แต่เนื้อหากลับถูกกองบรรณาธิการปรุงแต่งจนไปละเมิดเสรีภาพของผู้อื่นเพียงเพราะต้องการให้หนังสือขายได้
...................................................................................................................
ความเห็นหลังข่าวครับ
พอแค่นี้ก่อนครับ ผมอาย ร่วมอา่ยด้วยกันไหมครับ อ้าว ! 1...2..3.. อาย
.........................................................................................................................
หลังจากสื่อสะท้อนสังคมมานาน ลองหันมามองสังคมสะท้อนสื่อดูบ้าง แล้วจะรู้ว่า คนสมัยนี้สื่อหลงยุคตามไม่ทันจริงๆ
สมาคมนักข่าวฯ สมาคมที่ไร้ราคาในสายตาสังคม
ผมได้อ่านข่าวเล็กๆ มาข่าวหนึ่ง สะท้อนภาพสมาคมนักข่าวได้เป็นอย่างดี อ่านความเห็นแต่ละท่านแล้ว สมควรที่ปุถุขนอย่างเราต้องอายแทนจริง ๆ
..............................................................................................................
สมาคมนักข่าวฯออกแถลงการณ์ เรียกร้องเสรีภาพปราศจากการแทรกแซง http://www.dailynews.co.th/politics/201894
เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 3 พ.ค. ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายวิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย พร้อมคณะกรรมการบริหาร ออกแถลงการณ์เนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชน โดยเรียกร้องให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงคุณค่าของ “เสรีภาพ ที่ไม่คุกคาม”และได้มีการยืนไว้อาลัยต่อสื่อมวลชนที่ล่วงลับไปแล้ว
สำหรับข้อเรียกร้องแบ่งออกเป็น 6 ข้อ ประกอบด้วย
1.สนับสนุนและส่งเสริมเสรีภาพของประชาชนภายใต้หลักการ “เสรีภาพ ที่ไม่คุกคาม” คือการแสดงออกต้องมีความปลอดภัย ปราศจากการแทรกแซงคุกคาม ขณะเดียวกันต้องไม่ใช้เสรีภาพไปคุกคามเสรีภาพของบุคคลอื่น รับฟังและอดทนต่อความคิดเห็นที่แตกต่าง
2.เรียกร้องให้สื่อมวลชนทำหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบภายใต้กรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ต้องรายงานข่าวสาร ด้วยข้อมูลข้อเท็จจริงและให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ต้องตระหนักว่าหากนำเสนอข้อมูลผิดจากข้อเท็จจริงหรือบิดเบือน จะนำไปสู่การให้ทางเลือกที่ผิดกับประชาชน
3.ในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนต้องไม่ถูกแทรกแซงจากอำนาจรัฐและอำนาจทุน ต้องร่วมกันสนับสนุนหลักการของรัฐธรรมนูญมาตรา 46 ที่มุ่งคุ้มครองเสรีภาพสื่อมวลชนให้เป็นอิสระจากเจ้าของ ทั้งรัฐและเอกชน
4.สื่อมวลชนต้องร่วมกันเสริมสร้างบทบาทในการขับเคลื่อนหาทางออกในสังคม เปิดเวทีให้ทุกฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูล รับฟังเหตุผลที่แตกต่างหลากหลาย พร้อมร่วมกันสร้างบรรยากาศของการใช้เหตุผลหาทางออกให้กับสังคม เพื่อให้สังคมไทยออกจากความขัดแย้ง ความแตกแยก ได้อย่างสันติ
5.ขอให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ยุติและทบทวนการบิดเบือนเจตนารมณ์ในการปฏิรูปสื่อ วิทยุ โทรทัศน์ โดยต้องกระจายคลื่นความถี่ที่อยู่ในการครอบครองของรัฐไปสู่สาธารณะชนอย่างเปิดเผยและเป็นธรรม และต้องกำหนดหลักเกณฑ์พิจารณาให้ใบอนุญาตโทรทัศน์ดิจิตอลสาธารณะ และโทรทัศน์ดิจิตอลเพี่อชุมชนให้ชัดเจน โดยต้องรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนของสังคมอย่างรอบด้าน
6.ท่ามกลางความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ การรู้ทันสื่อจึงมีความสำคัญ ต้องแยกความคิดเห็นออกจากข้อเท็จจริง ต้องหาข้อมูลจากสื่อหลายๆ สื่อ เพื่อประกอบการตัดสินใจ รวมทั้งพึงตระหนักว่าสื่อออนไลน์เป็นพื้นที่สาธารณะ หากไม่ระมัดระวังอาจมีผลกกระทบกับตัวเองและบุคคลอื่นได้
ด้านนายจักร์กฤษ เพิ่มพูล ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันสื่อกำลังถูกคุกคามจากเผด็จการซ่อนรูปในรูปของกลุ่มทุน ส่งผลให้นักข่าวภาคสนามใช้เสรีภาพในการทำข่าว แต่เนื้อหากลับถูกกองบรรณาธิการปรุงแต่งจนไปละเมิดเสรีภาพของผู้อื่นเพียงเพราะต้องการให้หนังสือขายได้
...................................................................................................................
ความเห็นหลังข่าวครับ
พอแค่นี้ก่อนครับ ผมอาย ร่วมอา่ยด้วยกันไหมครับ อ้าว ! 1...2..3.. อาย
.........................................................................................................................
หลังจากสื่อสะท้อนสังคมมานาน ลองหันมามองสังคมสะท้อนสื่อดูบ้าง แล้วจะรู้ว่า คนสมัยนี้สื่อหลงยุคตามไม่ทันจริงๆ