*****ปล.ชาวนาที่มาในม๊อบจังหวัดพิจิตรที่เริ่มตั้งแต่ปิดถนน เป็นชาวนาจากโพทะเลเป็นส่วนใหญ่
ซึ่งมีส่วนได้เสียกับการโกงข้าวสต๊อกลมของโรงสีในจังหวัดพิจิตร และแกนนำนายนายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ
วันนี้ที่ชาวนาโพทะเลและแกนนำนายนายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ออกมาล้มรัฐบาลเพราะกลัวรัฐบาลจะสืบไป
ถึงการโกงข้าวที่ชาวนากลุ่มนี้มีส่วนรู้เห็นกับโรงสี ข้าวก็สต๊อกลม ยังมีหน้ามาทวงเงินจากรัฐบาลอีก
รบกวนรัฐบาลเร่งดำเนินคดีด้วย
ลิ้งค์ข่าว
http://www.phichittoday.com/news/06.56/news26065602.html
ผู้ว่าฯพิจิตรเผยคดีนี้DSIมาแน่ สั่งเก็บธงฟ้าหน้าโรงสีโกงชาวนาแจงยอด320ราย ที่อ้างไม่ได้รับใบประทวน สั่งให้แจ้งความมีเพียง96ราย
ของ อ.เมือง ส่วนกว่าร้อยคนที่เป็นชาว อ.โพทะเล ไม่ยอมแจ้งความ ส่อพิรุธ บางรายมีตั๋วชั่ง 2 ใบ ในฤดูเดียวกัน ตำรวจตั้งข้อสงสัย
ขายสิทธิเกษตรกรให้โรงสีสวมรอยสต็อกลม ส่วนความช่วยเหลือเปิดบัญชีตั้งกองทุน ผู้ว่า-นายก อบจ. สละเงินเดือน 2 เดือน
เจ้าคณะจังหวัดเตรียมตั้งกองผ้าป่ามียอดแจ้งทำบุญช่วยชาวนาแค่วันเดียวได้หลายแสนบาทแล้ว
วันที่ 26 มิ.ย. 2556 นายจักริน เปลี่ยนวงษ์ ผู้ว่าฯพิจิตร เปิดเผยว่า...ความคืบหน้าในคดีโรงสี แอล-โกลด์ แมนูแฟคเจอร์ จำกัด
ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.ท่าบัว อ.โพทะเล จ.พิจิตร ได้ก่อคดีฉ้อโกงชาวนา ขณะนี้มียอดผู้เสียหายที่เป็นชาวนา 320 ราย ข้าวเปลือกข้าวสาร
ของ อ.ต.ก. ได้หายไป 12,000 ตัน ตำรวจออกหมายจับได้แล้ว 1 คน คือ นายอำนาจ ดิษฐเสถียร “เสี่ยแกละ” เจ้าของท่าข้าวหัวดง
ได้เมื่อวานนี้ และวันนี้ได้ออกหมายจับและออกล่าตัว ผู้ต้องหาเพิ่มเติมอีก 3 คนคือนายมุนินทร์ จันทรา เจ้าของโรงสีแอล-โกลด์
แมนูแฟคเจอร์ จำกัด นางสาวณัฐริญา บุญเกื้อ กรรมการผู้จัดการโรงสีฯ และนายณัฐกิตติ์ อนันต์ชรินทร์ เจ้าหน้าที่ประจำโรงสีฯ
ในข้อหาร่วมกันฉ้อโกง นอกจากนี้นายจักริน ผู้ว่าฯพิจิตร ยังได้สั่งเพิกถอนโรงสีดังกล่าวออกจากโครงการรับจำนำและได้เก็บธงฟ้า
พร้อมป้ายโครงการรับจำนำออกจากหน้าโรงสีแล้ว ทำให้บรรยากาศของโรงสีมีแต่ความเงียบเหงา มีเพียงเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2-3 นาย
ที่สลับสับเปลี่ยนกันเฝ้าตรวจตราโรงสีดังกล่าว
ในส่วนของการแจ้งความที่ สภ.เมืองพิจิตร วันนี้ พ.ต.ท.เนวิน กาหลง หัวหน้าพนักงานสอบสวนก็ได้รับแจ้งความจากชาวนา 3 ตำบล
ของ อ.เมืองพิจิตร จำนวน 96 คน ได้เกือบครบตามจำนวนแล้ว มีเพียงบางคนที่ยังขาดเอกสารและต้องนำมาแสดงเพิ่มเติม
ซึ่งคาดว่าภายในวันศุกร์นี้คงเสร็จแล้วสิ้น ส่วนชาวนา อ.โพทะเล อ้างว่าถูกโรงสีฉ้อโกงในโครงการรับจำนำข้าว นายจักริน ผู้ว่าฯพิจิตร
แนะนำให้ไปแจ้งความ บอกเท่าไหร่ชาวนาก็ไม่ไปแจ้งความ จนในที่สุดเมื่อเวลา 13.30 น. ของวันที่ ( 26 มิ.ย. 2556 )
จึงสั่งการให้ นายวีระเกียรติ รัมณีย์รัตนากุล นอภ.โพทะเล นัดชาวนาจำนวนทั้งหมด แต่มาร่วมประชุมเกือบ 100 คน ให้มาฟังคำชี้แจงจาก
พ.ต.อ.เสนอ อยู่สงฆ์ ผกก.สภ.โพทะเล และ พ.ต.ท.นิภัทร์ มีมุสิทธิ์ คณะทำงานจากกองบังคับการตำรวจภูธรพิจิตร ได้ชี้แจงกับชาวนา
ที่มาร่วมประชุมว่า...ถ้าได้รับความเสียหายต้องแจ้งความเพื่อจะดำเนินคดีอาญา โดยขอให้นำทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน ตั๋วชั่งข้าว
ที่ได้รับจากโรงสี หนังสือรับรองความเป็นเกษตรกร รวมถึงสำเนาเอกสารสิทธิที่ดินที่ใช้ทำนาเพื่อดูว่าทำนากี่ไร่ ได้ข้าวกี่ตัน
เพื่อจะได้สอบสวนและเสนอขอการเยียวยาจากรัฐบาล หรือถ้ามีรายใดส่งมอบให้โรงสีแล้วได้รับเงินบางส่วนก็ขอให้นำเอกสารมาด้วย
ซึ่งตำรวจได้แจ้งกับชาวนาโพทะเลว่า ตอนนี้ได้ออกหมายจับคนของโรงสีเพิ่มเติมอีก 3 คน ดังนั้นเรื่องดังกล่าว อย่างไรเสียก็ต้องเป็น
คดีอาญาจึงอธิบายอย่างละเอียดและแนะนำว่าต้องให้แจ้งความ แต่การได้รับเงินจากโรงสีที่เป็นค่าข้าวเปลือกแล้วไปลงนามรับเงินบางส่วน
คดีจากคดีอาญาก็จะกลายเป็นคดีแพ่ง เพราะเป็นการโอนอ่อนผ่อนตามหนี้นั้นแล้ว คดีก็จะเปลี่ยนไปเป็นคดีแพ่ง เพราะพฤติกรรมของจำเลยเปลี่ยนไปที่จะนำไปอ้างในศาลเพื่อบรรเทาผลร้ายอันเป็นประโยชน์กับจำเลย คือ โรงสี แต่ทั้งหมดไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหรือเคยทำไปอย่างไร
ขอให้ถือเจตนาบริสุทธิ์มาปรึกษากับพนักงานสอบสวนเพื่อลงประจำวัน เพื่อจะได้ประมวลข้อมูลทั้งหมดรายงานจังหวัดและขอความช่วยเหลือขอเงินเยียวยาจากรัฐบาล ซึ่งใช้เวลาให้ถามและอธิบายตอบคำถามนานกว่า 2 ชั่วโมง โดยมี นายจักริน ผู้ว่าฯพิจิตร - นายวีระเกียรติ
นอภ.โพทะเล - พ.ต.อ.เสนอ ผกก.โพทะเล - เจ้าหน้าที่ อ.ต.ก. - อคส. -การค้าภายใน -พาณิชย์จังหวัด- นายชาติชาย นายกอบจ.พิจิตร
อยู่กันครบ จากนั้นก่อนปิดการชี้แจงก็มีการถามว่ามีใครไม่เข้าใจหรือไม่? ปรากฏว่าทุกคนเข้าใจจนหมดสิ้น จากนั้น
นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ตัวแทนชาวนาภาคเหนือ ก็ได้ถามว่าใครตัดสินใจและพร้อมที่จะไปแจ้งความก็ขอให้ยกมือขึ้น ปรากฏว่าไม่มีชาวนาโพทะเลคนไหนยกมือ
ให้คำตอบว่าจะไปแจ้งความเลยแม้แต่รายเดียว
จึงทำให้ทั้งฝ่ายสื่อมวลชนกว่า 10 คน ที่ไปร่วมในเหตุการณ์รวมถึงหลายๆคน ทั้งฝ่ายปกครองและกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน หลังจบการประชุมตั้งข้อสงสัยว่าชาวนาบางคนในกลุ่มนี้อาจจะมีพฤติกรรมร่วมกันฉ้อโกงในโครงการรับจำนำข้าวของ อ.ต.ก. โดยร่วมมือกับโรงสีซึ่งมีพฤติกรรมที่คาดเดาว่าทุกคนมีหนังสือรับรองความเป็นเกษตรกร แต่มีผลผลิตเพียงน้อยนิด ยกตัวอย่างเช่น...ทำนา 30 ไร่ แจ้งขอสิทธิจำนำข้าวว่าได้ข้าว 27 ตัน แต่แท้ที่จริงได้ข้าวเปลือกแค่ 20 ตัน เมื่อนำข้าวเปลือกไปถึงโรงสีก็จะชั่งน้ำหนักออกตั๋วชั่งน้ำหนักใบจริง 20 ตัน ให้ถือไว้ จากนั้นโรงสีก็เจรจาขอซื้อโควตาอีก 7 ตันที่เหลือ โดยโรงสีจ่ายเงินให้ตันละ 2,000 บาท และให้ทำตั๋วและสต็อกลม จำนวน 27 ตัน ให้ชาวนาถือไว้ พอเกิดเหตุการณ์ขึ้นชาวนาบางคนในกลุ่มนี้ จึงไม่กล้าโวยวายเสียงดัง เพราะตนเองเกรงจะติดร่างแหเข้าคุกกับพนักงานและเถ้าแก่โรงสี แอล-โกลด์ แมนูแฟคเจอร์ จำกัด จึงทำให้เรื่องดังกล่าวกำลังกลายเป็นเรื่องโอละพ่อ อยู่ในขณะนี้
นายจักริน เปลี่ยนวงษ์ ผู้ว่าฯพิจิตร กล่าวเพิ่มเติมว่า...คดีนี้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI กระทรวงยุติธรรม ให้ความสนใจและอาจจะ
ลงพื้นที่มาสอบสวนด้วยตนเองเพราะเป็นคดีเศรษฐกิจ ในส่วนของการช่วยเหลือเยียวยาชาวนาที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ เบื้องต้น
นายชาติชาย เจียมศรีพงษ์ นายกอบจ.พิจิตร ได้เปิดบัญชีธนาคารโดยใช้ชื่อบัญชีว่า กองทุนช่วยเหลือเกษตรกรชาวนาผู้ได้รับความ
เดือดร้อนจังหวัดพิจิตร ซึ่งเปิดบัญชีไว้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ บัญชีออมทรัพย์สาขาพิจิตรเลขบัญชี 650-224-808-7 ธนาคารกรุงไทย จำกัด บัญชีออมทรัพย์ สาขาพิจิตร เลขบัญชี 610-052-424-4 เพื่อรับบริจาค แต่ผู้มีสิทธิจะได้รับการเยียวยาจากเงินบริจาคก้อนนี้นั้น
จะต้องมีหลักฐานเป็นบันทึกประจำวันอย่างชัดแจ้ง
ชำแหละชาวนาโพทะเล และแกนนำนายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ประธานเครือข่ายชาวนาภาคเหนือ
ซึ่งมีส่วนได้เสียกับการโกงข้าวสต๊อกลมของโรงสีในจังหวัดพิจิตร และแกนนำนายนายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ
วันนี้ที่ชาวนาโพทะเลและแกนนำนายนายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ออกมาล้มรัฐบาลเพราะกลัวรัฐบาลจะสืบไป
ถึงการโกงข้าวที่ชาวนากลุ่มนี้มีส่วนรู้เห็นกับโรงสี ข้าวก็สต๊อกลม ยังมีหน้ามาทวงเงินจากรัฐบาลอีก
รบกวนรัฐบาลเร่งดำเนินคดีด้วย
ลิ้งค์ข่าว http://www.phichittoday.com/news/06.56/news26065602.html
ผู้ว่าฯพิจิตรเผยคดีนี้DSIมาแน่ สั่งเก็บธงฟ้าหน้าโรงสีโกงชาวนาแจงยอด320ราย ที่อ้างไม่ได้รับใบประทวน สั่งให้แจ้งความมีเพียง96ราย
ของ อ.เมือง ส่วนกว่าร้อยคนที่เป็นชาว อ.โพทะเล ไม่ยอมแจ้งความ ส่อพิรุธ บางรายมีตั๋วชั่ง 2 ใบ ในฤดูเดียวกัน ตำรวจตั้งข้อสงสัย
ขายสิทธิเกษตรกรให้โรงสีสวมรอยสต็อกลม ส่วนความช่วยเหลือเปิดบัญชีตั้งกองทุน ผู้ว่า-นายก อบจ. สละเงินเดือน 2 เดือน
เจ้าคณะจังหวัดเตรียมตั้งกองผ้าป่ามียอดแจ้งทำบุญช่วยชาวนาแค่วันเดียวได้หลายแสนบาทแล้ว
วันที่ 26 มิ.ย. 2556 นายจักริน เปลี่ยนวงษ์ ผู้ว่าฯพิจิตร เปิดเผยว่า...ความคืบหน้าในคดีโรงสี แอล-โกลด์ แมนูแฟคเจอร์ จำกัด
ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.ท่าบัว อ.โพทะเล จ.พิจิตร ได้ก่อคดีฉ้อโกงชาวนา ขณะนี้มียอดผู้เสียหายที่เป็นชาวนา 320 ราย ข้าวเปลือกข้าวสาร
ของ อ.ต.ก. ได้หายไป 12,000 ตัน ตำรวจออกหมายจับได้แล้ว 1 คน คือ นายอำนาจ ดิษฐเสถียร “เสี่ยแกละ” เจ้าของท่าข้าวหัวดง
ได้เมื่อวานนี้ และวันนี้ได้ออกหมายจับและออกล่าตัว ผู้ต้องหาเพิ่มเติมอีก 3 คนคือนายมุนินทร์ จันทรา เจ้าของโรงสีแอล-โกลด์
แมนูแฟคเจอร์ จำกัด นางสาวณัฐริญา บุญเกื้อ กรรมการผู้จัดการโรงสีฯ และนายณัฐกิตติ์ อนันต์ชรินทร์ เจ้าหน้าที่ประจำโรงสีฯ
ในข้อหาร่วมกันฉ้อโกง นอกจากนี้นายจักริน ผู้ว่าฯพิจิตร ยังได้สั่งเพิกถอนโรงสีดังกล่าวออกจากโครงการรับจำนำและได้เก็บธงฟ้า
พร้อมป้ายโครงการรับจำนำออกจากหน้าโรงสีแล้ว ทำให้บรรยากาศของโรงสีมีแต่ความเงียบเหงา มีเพียงเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2-3 นาย
ที่สลับสับเปลี่ยนกันเฝ้าตรวจตราโรงสีดังกล่าว
ในส่วนของการแจ้งความที่ สภ.เมืองพิจิตร วันนี้ พ.ต.ท.เนวิน กาหลง หัวหน้าพนักงานสอบสวนก็ได้รับแจ้งความจากชาวนา 3 ตำบล
ของ อ.เมืองพิจิตร จำนวน 96 คน ได้เกือบครบตามจำนวนแล้ว มีเพียงบางคนที่ยังขาดเอกสารและต้องนำมาแสดงเพิ่มเติม
ซึ่งคาดว่าภายในวันศุกร์นี้คงเสร็จแล้วสิ้น ส่วนชาวนา อ.โพทะเล อ้างว่าถูกโรงสีฉ้อโกงในโครงการรับจำนำข้าว นายจักริน ผู้ว่าฯพิจิตร
แนะนำให้ไปแจ้งความ บอกเท่าไหร่ชาวนาก็ไม่ไปแจ้งความ จนในที่สุดเมื่อเวลา 13.30 น. ของวันที่ ( 26 มิ.ย. 2556 )
จึงสั่งการให้ นายวีระเกียรติ รัมณีย์รัตนากุล นอภ.โพทะเล นัดชาวนาจำนวนทั้งหมด แต่มาร่วมประชุมเกือบ 100 คน ให้มาฟังคำชี้แจงจาก
พ.ต.อ.เสนอ อยู่สงฆ์ ผกก.สภ.โพทะเล และ พ.ต.ท.นิภัทร์ มีมุสิทธิ์ คณะทำงานจากกองบังคับการตำรวจภูธรพิจิตร ได้ชี้แจงกับชาวนา
ที่มาร่วมประชุมว่า...ถ้าได้รับความเสียหายต้องแจ้งความเพื่อจะดำเนินคดีอาญา โดยขอให้นำทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน ตั๋วชั่งข้าว
ที่ได้รับจากโรงสี หนังสือรับรองความเป็นเกษตรกร รวมถึงสำเนาเอกสารสิทธิที่ดินที่ใช้ทำนาเพื่อดูว่าทำนากี่ไร่ ได้ข้าวกี่ตัน
เพื่อจะได้สอบสวนและเสนอขอการเยียวยาจากรัฐบาล หรือถ้ามีรายใดส่งมอบให้โรงสีแล้วได้รับเงินบางส่วนก็ขอให้นำเอกสารมาด้วย
ซึ่งตำรวจได้แจ้งกับชาวนาโพทะเลว่า ตอนนี้ได้ออกหมายจับคนของโรงสีเพิ่มเติมอีก 3 คน ดังนั้นเรื่องดังกล่าว อย่างไรเสียก็ต้องเป็น
คดีอาญาจึงอธิบายอย่างละเอียดและแนะนำว่าต้องให้แจ้งความ แต่การได้รับเงินจากโรงสีที่เป็นค่าข้าวเปลือกแล้วไปลงนามรับเงินบางส่วน
คดีจากคดีอาญาก็จะกลายเป็นคดีแพ่ง เพราะเป็นการโอนอ่อนผ่อนตามหนี้นั้นแล้ว คดีก็จะเปลี่ยนไปเป็นคดีแพ่ง เพราะพฤติกรรมของจำเลยเปลี่ยนไปที่จะนำไปอ้างในศาลเพื่อบรรเทาผลร้ายอันเป็นประโยชน์กับจำเลย คือ โรงสี แต่ทั้งหมดไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหรือเคยทำไปอย่างไร
ขอให้ถือเจตนาบริสุทธิ์มาปรึกษากับพนักงานสอบสวนเพื่อลงประจำวัน เพื่อจะได้ประมวลข้อมูลทั้งหมดรายงานจังหวัดและขอความช่วยเหลือขอเงินเยียวยาจากรัฐบาล ซึ่งใช้เวลาให้ถามและอธิบายตอบคำถามนานกว่า 2 ชั่วโมง โดยมี นายจักริน ผู้ว่าฯพิจิตร - นายวีระเกียรติ
นอภ.โพทะเล - พ.ต.อ.เสนอ ผกก.โพทะเล - เจ้าหน้าที่ อ.ต.ก. - อคส. -การค้าภายใน -พาณิชย์จังหวัด- นายชาติชาย นายกอบจ.พิจิตร
อยู่กันครบ จากนั้นก่อนปิดการชี้แจงก็มีการถามว่ามีใครไม่เข้าใจหรือไม่? ปรากฏว่าทุกคนเข้าใจจนหมดสิ้น จากนั้นนายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ตัวแทนชาวนาภาคเหนือ ก็ได้ถามว่าใครตัดสินใจและพร้อมที่จะไปแจ้งความก็ขอให้ยกมือขึ้น ปรากฏว่าไม่มีชาวนาโพทะเลคนไหนยกมือ
ให้คำตอบว่าจะไปแจ้งความเลยแม้แต่รายเดียว
จึงทำให้ทั้งฝ่ายสื่อมวลชนกว่า 10 คน ที่ไปร่วมในเหตุการณ์รวมถึงหลายๆคน ทั้งฝ่ายปกครองและกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน หลังจบการประชุมตั้งข้อสงสัยว่าชาวนาบางคนในกลุ่มนี้อาจจะมีพฤติกรรมร่วมกันฉ้อโกงในโครงการรับจำนำข้าวของ อ.ต.ก. โดยร่วมมือกับโรงสีซึ่งมีพฤติกรรมที่คาดเดาว่าทุกคนมีหนังสือรับรองความเป็นเกษตรกร แต่มีผลผลิตเพียงน้อยนิด ยกตัวอย่างเช่น...ทำนา 30 ไร่ แจ้งขอสิทธิจำนำข้าวว่าได้ข้าว 27 ตัน แต่แท้ที่จริงได้ข้าวเปลือกแค่ 20 ตัน เมื่อนำข้าวเปลือกไปถึงโรงสีก็จะชั่งน้ำหนักออกตั๋วชั่งน้ำหนักใบจริง 20 ตัน ให้ถือไว้ จากนั้นโรงสีก็เจรจาขอซื้อโควตาอีก 7 ตันที่เหลือ โดยโรงสีจ่ายเงินให้ตันละ 2,000 บาท และให้ทำตั๋วและสต็อกลม จำนวน 27 ตัน ให้ชาวนาถือไว้ พอเกิดเหตุการณ์ขึ้นชาวนาบางคนในกลุ่มนี้ จึงไม่กล้าโวยวายเสียงดัง เพราะตนเองเกรงจะติดร่างแหเข้าคุกกับพนักงานและเถ้าแก่โรงสี แอล-โกลด์ แมนูแฟคเจอร์ จำกัด จึงทำให้เรื่องดังกล่าวกำลังกลายเป็นเรื่องโอละพ่อ อยู่ในขณะนี้
นายจักริน เปลี่ยนวงษ์ ผู้ว่าฯพิจิตร กล่าวเพิ่มเติมว่า...คดีนี้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI กระทรวงยุติธรรม ให้ความสนใจและอาจจะ
ลงพื้นที่มาสอบสวนด้วยตนเองเพราะเป็นคดีเศรษฐกิจ ในส่วนของการช่วยเหลือเยียวยาชาวนาที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ เบื้องต้น
นายชาติชาย เจียมศรีพงษ์ นายกอบจ.พิจิตร ได้เปิดบัญชีธนาคารโดยใช้ชื่อบัญชีว่า กองทุนช่วยเหลือเกษตรกรชาวนาผู้ได้รับความ
เดือดร้อนจังหวัดพิจิตร ซึ่งเปิดบัญชีไว้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ บัญชีออมทรัพย์สาขาพิจิตรเลขบัญชี 650-224-808-7 ธนาคารกรุงไทย จำกัด บัญชีออมทรัพย์ สาขาพิจิตร เลขบัญชี 610-052-424-4 เพื่อรับบริจาค แต่ผู้มีสิทธิจะได้รับการเยียวยาจากเงินบริจาคก้อนนี้นั้น
จะต้องมีหลักฐานเป็นบันทึกประจำวันอย่างชัดแจ้ง