เล่าเรื่อง "ยาแก้ปวด"
ยาแก้ปวด (ไม่รวมยาแก้ปวดท้องนะครับ) ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปมีหลากหลายเหลือเกินครับ คนส่วนใหญ่ก็ชอบที่จะไปซื้อยามากินเองซะด้วย วันนี้เลยจะเล่าให้ fanpage ของผมฟังพอเป็นความรู้ติดตัวนะครับ
ผมแบ่งกลุ่มยาแก้ปวดเพื่อให้เข้าใจง่ายๆไว้อย่างนี้นะครับ
1. ยา paracetamol มีหลายชื่อหลายยี่ห้อนะครับ tylenol, บีรามอล เป็นต้น แก้ปวดได้ดีครับ ใช้กันแพร่หลาย มีผลต่อกระเพาะอาหารน้อยมาก ถือว่าเป็นยาที่ปลอดภัยทีเดียวครับ แต่ระวังในคนไข้ที่มีปัญหาทางตับด้วย
2. กลุ่มยาผสม paracetamol กับยาคลายกล้ามเนื้อชนิดต่าง ๆ ได้แก่ mydocalm, norgesic เป็นต้น ส่วนใหญ่คุณหมอจะใช้บรรเทาปวดที่มีอาการตึงหรือการอักเสบของกล้ามเนื้อมาเกี่ยวข้องด้วย
ยาทั้งสองกลุ่มนี้แก้ปวดได้ดี, ผลข้างเคียงน้อยครับ แต่กินติดต่อกันนาน ๆ ไม่ได้เพราะมีพิษต่อตับ และเพิ่งไม่กี่วันมานี้เองมีรายงานทางการแพทย์ใหม่ครับว่ายา paracetamol นี้ไม่จำเป็นต้องกิน 2 เม็ดนะครับกินเม็ดเดียวก็พอแล้ว
3. กลุ่มยา NSAIDs ยากลุ่มนี้แพร่หลายมาก คนไข้ชอบหาซื้อกินกันเองด้วย ยากลุ่มนี้ต้องระวังนะครับเพราะทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบและถ้ากินติดต่อกันนาน ๆ จะทำให้ไตเสื่อมได้ เช่น diclofenac, brufen, indomethacin, piroxicam celecoxib, nimesulide เป็นต้นครับ เตือนนิดนะครับว่าคนที่ชอบไปซื้อยากินเองอย่าซื้อยาประเภทเดียวกันนี้ 2 ชนิดมากินพร้อมกันนะครับเพราะนอกจากจะไม่ได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นแล้วยังจะเจอผลข้างเคียงมากมายด้วย
4. กลุ่มยากันชัก ถ้าตามอ่านเพจผมมาโดยตลอดจะรู้แล้วครับว่า กลุ่มยากันชักนี้สามารถนำมาใช้แก้อาการปวดเรื้อรังได้ โดยเฉพาะอาการปวดจากเส้นประสาทครับ ผมใช้ยากลุ่มนี้กับคนไข้ที่ปวดจากแปล๊บ ๆ เช่นในโรคเส้นประสาทอักเสบและโรคงูสวัดเป็นต้น ตัวอย่างยากลุ่มนี้เช่น carbamazepine, gabapentin, oxcarbazepam ครับ
5. กลุ่มยาที่เกือบ ๆ จะเป็นอนุพันธ์ของมอร์ฟีน ยาตัวนี้ได้แก่ tramadol ครับ รูปแบบที่แพร่หลายคือแบบแคปซูลสีเขียวเหลือง ใครที่มีอาการปวดมาก ๆ นาน ๆ อาจจะเคยได้กินมาแล้ว แก้ปวดได้แรงดีมากเลย แต่จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้บ่อย ๆ และกินมาก ๆ ไม่ได้นะครับ ท้องผูก และติดยาได้ครับ
6. อนุพันธ์ของมอร์ฟีน ได้แก่ยาพวก pethidine, morphine sulfate ยากลุ่มนี้คุณหมอเป็นคนใช้เท่านั้น ส่วนใหญ่ใช้หลังผ่าตัดใหม่ ๆ ไม่กี่วันหรือในคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งครับ ยากลุ่มนี้ติดแน่นอนครับหากใช้ติดต่อกันนาน ๆ แต่คนไข้ที่มีอาการปวดจากมะเร็งคุณหมอจะไม่กลัวว่าจะติดยาอีกแล้วนะครับ แค่เพียงให้ท่านทุเลาบรรเทาจากอาการปวดบ้างคุณหมอคุณพยาบาลก็ดีใจมากแล้วครับ นอกจากนั้นยากลุ่มนี้ยังทำให้หลับมากและท้องผูกมากด้วยครับ
วันนี้เล่าให้ฟังเรื่องยาแก้ปวดครอบคลุมแต่ไม่ละเอียดนะครับ แล้วค่อย ๆ เล่าเจาะลึกให้ฟังทีละตัวๆ ก็แล้วกันครับผม
ติดตามอ่านบทความทางการแพทย์ต่อได้ที่ www.facebook.com/dr.veerapun ครับ
ยาแก้ปวด
ยาแก้ปวด (ไม่รวมยาแก้ปวดท้องนะครับ) ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปมีหลากหลายเหลือเกินครับ คนส่วนใหญ่ก็ชอบที่จะไปซื้อยามากินเองซะด้วย วันนี้เลยจะเล่าให้ fanpage ของผมฟังพอเป็นความรู้ติดตัวนะครับ
ผมแบ่งกลุ่มยาแก้ปวดเพื่อให้เข้าใจง่ายๆไว้อย่างนี้นะครับ
1. ยา paracetamol มีหลายชื่อหลายยี่ห้อนะครับ tylenol, บีรามอล เป็นต้น แก้ปวดได้ดีครับ ใช้กันแพร่หลาย มีผลต่อกระเพาะอาหารน้อยมาก ถือว่าเป็นยาที่ปลอดภัยทีเดียวครับ แต่ระวังในคนไข้ที่มีปัญหาทางตับด้วย
2. กลุ่มยาผสม paracetamol กับยาคลายกล้ามเนื้อชนิดต่าง ๆ ได้แก่ mydocalm, norgesic เป็นต้น ส่วนใหญ่คุณหมอจะใช้บรรเทาปวดที่มีอาการตึงหรือการอักเสบของกล้ามเนื้อมาเกี่ยวข้องด้วย
ยาทั้งสองกลุ่มนี้แก้ปวดได้ดี, ผลข้างเคียงน้อยครับ แต่กินติดต่อกันนาน ๆ ไม่ได้เพราะมีพิษต่อตับ และเพิ่งไม่กี่วันมานี้เองมีรายงานทางการแพทย์ใหม่ครับว่ายา paracetamol นี้ไม่จำเป็นต้องกิน 2 เม็ดนะครับกินเม็ดเดียวก็พอแล้ว
3. กลุ่มยา NSAIDs ยากลุ่มนี้แพร่หลายมาก คนไข้ชอบหาซื้อกินกันเองด้วย ยากลุ่มนี้ต้องระวังนะครับเพราะทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบและถ้ากินติดต่อกันนาน ๆ จะทำให้ไตเสื่อมได้ เช่น diclofenac, brufen, indomethacin, piroxicam celecoxib, nimesulide เป็นต้นครับ เตือนนิดนะครับว่าคนที่ชอบไปซื้อยากินเองอย่าซื้อยาประเภทเดียวกันนี้ 2 ชนิดมากินพร้อมกันนะครับเพราะนอกจากจะไม่ได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นแล้วยังจะเจอผลข้างเคียงมากมายด้วย
4. กลุ่มยากันชัก ถ้าตามอ่านเพจผมมาโดยตลอดจะรู้แล้วครับว่า กลุ่มยากันชักนี้สามารถนำมาใช้แก้อาการปวดเรื้อรังได้ โดยเฉพาะอาการปวดจากเส้นประสาทครับ ผมใช้ยากลุ่มนี้กับคนไข้ที่ปวดจากแปล๊บ ๆ เช่นในโรคเส้นประสาทอักเสบและโรคงูสวัดเป็นต้น ตัวอย่างยากลุ่มนี้เช่น carbamazepine, gabapentin, oxcarbazepam ครับ
5. กลุ่มยาที่เกือบ ๆ จะเป็นอนุพันธ์ของมอร์ฟีน ยาตัวนี้ได้แก่ tramadol ครับ รูปแบบที่แพร่หลายคือแบบแคปซูลสีเขียวเหลือง ใครที่มีอาการปวดมาก ๆ นาน ๆ อาจจะเคยได้กินมาแล้ว แก้ปวดได้แรงดีมากเลย แต่จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้บ่อย ๆ และกินมาก ๆ ไม่ได้นะครับ ท้องผูก และติดยาได้ครับ
6. อนุพันธ์ของมอร์ฟีน ได้แก่ยาพวก pethidine, morphine sulfate ยากลุ่มนี้คุณหมอเป็นคนใช้เท่านั้น ส่วนใหญ่ใช้หลังผ่าตัดใหม่ ๆ ไม่กี่วันหรือในคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งครับ ยากลุ่มนี้ติดแน่นอนครับหากใช้ติดต่อกันนาน ๆ แต่คนไข้ที่มีอาการปวดจากมะเร็งคุณหมอจะไม่กลัวว่าจะติดยาอีกแล้วนะครับ แค่เพียงให้ท่านทุเลาบรรเทาจากอาการปวดบ้างคุณหมอคุณพยาบาลก็ดีใจมากแล้วครับ นอกจากนั้นยากลุ่มนี้ยังทำให้หลับมากและท้องผูกมากด้วยครับ
วันนี้เล่าให้ฟังเรื่องยาแก้ปวดครอบคลุมแต่ไม่ละเอียดนะครับ แล้วค่อย ๆ เล่าเจาะลึกให้ฟังทีละตัวๆ ก็แล้วกันครับผม
ติดตามอ่านบทความทางการแพทย์ต่อได้ที่ www.facebook.com/dr.veerapun ครับ