ปวดข้อแบบไหน..สงสัยรูมาตอยด์

อาการปวดข้อบริเวณต่างๆ เช่น ปวดข้อมือ ข้อนิ้วมือ ข้อเท้า อาจไม่ใช่เป็นการปวดข้อธรรมดาอีกต่อไป 
แต่อาจเป็นสัญญาณเตือนจากโรคข้ออักเสบ หรือโรคที่เรียกว่า โรครูมาตอยด์
โรคนี้สามารถเกิดได้ในวัยหนุ่มสาวจนถึงวัยสูงอายุ และยังส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ อาจถึงขั้นรุนแรงทำให้พิการได้ 
และสาเหตุของการเกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เกิดจากอะไร  จะมีอาการ และมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไร  question

วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะพามาให้ความรู้  ideaปวดข้อแบบไหน..สงสัยรูมาตอยด์idea

โรครูมาตอยด์ โรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อต่อ เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติไปทำลายอวัยวะของตนเอง
เป็นโรคข้ออักเสบประเภทหนึ่ง เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของข้อต่อ สามารถเกิดขึ้นได้ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
โดยอาการจะค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นและดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ มักมีอาการเริ่มแรกในข้อขนาดเล็กในมือหรือเท้าในหลาย ๆ ตำแหน่ง
เช่น มือ ข้อมือ พร้อมกัน หลังจากนั้นอาจย้ายสูงขึ้นไปที่ข้อเข่าหรือไหล่ เนื้อเยื่อภายในข้อต่อที่ได้รับความเสียหายมานานนำไปสู่อาการปวดเรื้อรัง
ทรงตัวลำบาก และอวัยวะผิดรูป ผู้ป่วยแต่ละคนจะเริ่มมีอาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ในช่วงอายุที่ต่างกัน
และมีอาการ ความรุนแรง และภาวะแทรกซ้อนที่ต่างกันอีกด้วย

สาเหตุของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ นั้นยังไม่แน่ชัด แต่มีปัจจัย 2 ประเภทที่อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
ปัจจัยที่ทำให้ร่างกายไวต่อการเกิดโรค
อายุ: คนทุกเพศทุกวัยสามารถเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้ แต่ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
เพศ: ผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์สูงถึง 3 เท่า
พันธุกรรม: หากคนในครอบครัวเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ความเสี่ยงจะสูงขึ้น
ปัจจัยกระตุ้นการเกิดโรค
ผู้ที่มีปัจจัยข้างต้นอาจไม่ป่วยเป็นโรคไขข้ออักเสบจนกว่าจะสัมผัสกับปัจจัยกระตุ้นอื่น ๆ 
การสูบบุหรี่
ความเครียด
การติดเชื้อ โดยเฉพาะโรคปริทันต์อักเสบ



โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มีอาการแสดงได้หลายระบบของร่างกาย 
อาการทางข้อ เป็นอาการหลัก โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
ผู้ป่วยจะมีข้ออักเสบ (Arthritis) ซึ่งมีอาการ ปวด บวม แดง ร้อน กดเจ็บ โดยมักจะเป็นที่ข้อขนาดเล็ก 
ได้แก่ ข้อกลางนิ้วมือ, ข้อโคนนิ้วมือ, ข้อมือ, ข้อนิ้วเท้า ส่วนข้อขนาดใหญ่ เช่น ข้อศอก ข้อเข่า ข้อสะโพกสามารถพบได้น้อยกว่า 
โดยมักมีอาการปวดหลายข้อและเป็นแบบสมมาตร (Symmetrical Polyarthritis) 
อย่างไรก็ตามในระยะแรกของโรคอาจมีอาการอักเสบเพียงแค่ข้อเดียว และไม่สมมาตรได้
ข้อฝืดตึง (Joint Stiffness) ตอนเช้าหรือหลังการหยุดใช้งานข้อเป็นระยะเวลานาน โดยอาการฝืดตึงมักเป็นนานเกิน 1 ชั่วโมง
ข้อพิการผิดรูปมักเกิดในผู้ป่วยที่เป็นโรคมานาน เกิดจากการทำลายข้อ เอ็นและกล้ามเนื้อรอบข้อหย่อนยานและอ่อนแรง 
พบได้บ่อยที่บริเวณนิ้วมือ ข้อมือ ปวดต้นคอและบริเวณท้ายทอย เกิดจากการอักเสบของข้อต่อกระดูกสันหลังระดับคอระดับที่ 1 และ 2 
และอาการเกิดการเคลื่อนของกระดูก (C1-C2 subluxation) จนกดเบียดไขสันหลังและเส้นประสาทได้

อาการนอกข้อ อาจพบหรือไม่ก็ได้
ปุ่มรูมาตอยด์ มักพบตำแหน่งของร่างกายที่มีการกดทับ
อาการทางตา เช่น ตาแห้ง เยื่อบุตาขาวอักเสบ ตาขาวอักเสบที่รุนแรงจนทำให้ทะลุได้
ระบบโลหิต พบภาวะซีดจากการอักเสบเรื้อรัง เกล็ดเลือดสูง ภาวะม้ามโตและเม็ดเลือดขาวต่ำ (Felty’s Syndrome) ต่อมน้ำเหลืองโต
ระบบทางเดินหายใจ พบเยื่อหุ้มปอดอักเสบ ปอดอักเสบและปอดเป็นพังผืด
ระบบหัวใจและหลอดเลือด พบภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) ได้ก่อนวัย
หลอดเลือดอักเสบ ภาวะกระดูกพรุน

การรักษาโรครูมาตอยด์question
1.รักษาด้วยกายภาพบำบัดข้อ
หากเพิ่งเริ่มเป็น สามารถดูแลรักษาด้วยการประคบร้อน หรือแช่ข้อที่ปวดอักเสบกับน้ำอุ่น
ในเวลากลางคืนหรือตอนที่มีอาการปวดมากๆ ควรใส่เฝือกชั่วคราว เพื่อลดอาการปวดและป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดรูป
ควรหมั่นขยับตัว เคลื่อนไหวให้มากเพื่อไม่ให้ข้อติด ออกกำลังกายเบาๆ เช่น การบีบฟองน้ำ ลูกบอลยาง 
เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ เปลี่ยนประตูแบบลูกบิดมาใช้แบบเลื่อน ก๊อกน้ำเปลี่ยนมาเป็นแบบคันโยกแทนการหมุน 
จะไม่ทำให้อาการของโรคเกิดความรุนแรงหนักขึ้น
2. การใช้ยากลุ่มต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ การใช้การรักษาด้วยยาค่อนข้างช่วยลดอาการปวดบวมของข้อได้อย่างดี 
แต่ผลข้างเคียงจากการใช้ยากลุ่มนี้ คือ คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ แสบท้อง เกิดแผลในกระเพาะอาหาร 
ในปัจจุบันมียาที่ส่งผลต่อกระเพาะอาหารน้อยลงแต่ราคาค่อนข้างสูง 
ซึ่งควรพิจารณาใช้กับผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลในทางเดินอาหาร เช่น ผู้สูงอายุและผู้ที่เคยเป็นแผลทางเดินอาหารมาก่อน
3. การรักษาด้วยการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยากลุ่มนี้ใช้ได้ทั้งกินและฉีดและมีผลข้างเคียงรุนแรง 
อาการที่พบคือ กระดูกพรุน ติดเชื้อง่าย ซึ่งจะนำมาใช้รักษาเมื่ออาการอักเสบรุนแรง 
ไม่ควรใช้ติดกันเป็นเวลานานหรือใช้ในปริมาณที่สูง เมื่อพบว่าอาการทุเลาก็ควรลดปริมาณให้น้อยลง
4. รักษาด้วยยากลุ่มยับยั้งข้ออักเสบรูมาตอยด์แต่ออกฤทธิ์ช้า แพทย์จะพิจารณานำมาใช้กับผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการใช้ยา 
แต่มีข้อเสีย คือ ออกฤทธิ์ช้า ต้องให้ยาติดต่อกันอย่างน้อย 2 เดือนจึงเริ่มเห็นผล 
กรณีที่ต้องใช้ยากลุ่มนี้จริงๆ ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างเคร่งครัด
5. การผ่าตัด มีด้วยกันหลายวิธี เช่น ผ่าตัดกระดูกเพื่อปรับแนวข้อให้ตรงขึ้น ผ่าตัดเพื่อเลาะเอาเยื่อบุข้อที่มีอาการอักเสบออก 
ผ่าตัดเพื่อเชื่อมข้อให้ติดกันหรือใส่ข้อเทียมแทน ผ่าตัดเพื่อเย็บซ่อมหรือย้ายเส้นเอ็น



โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคทางข้อกระดูกที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ 
ส่งผลให้เกิดอาการอักเสบและปวดบวมบริเวณข้อนิ้ว ข้อเท้า หรือข้อเข่า เป็นต้น 
อาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหารร่วมด้วย แน่นอนว่าอาการเหล่านี้สร้างความเจ็บปวดและความรำคาญให้กับผู้ป่วย 
ดังนั้นความรู้ในด้านอาหารสำหรับผู้ป่วยรูมาตอยด์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้
 
โรครูมาตอยด์ควรกินอาหารอย่างไร
อาหารที่มีไขมันต่ำ ผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียม
อาหารที่มีการขัดสีน้อย เช่น ขนมปังโฮลวีท หรือข้าวกล้อง
เน้นสารอาหารประเภทเหล็ก แคลเซียม วิตามินซี เช่น ตับ ปลา ฝรั่ง เป็นต้น
ทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 พบได้ในปลาแซลมอน ปลาทู ปลาซาร์ดีน เป็นต้น

โรครูมาตอยด์ห้ามกินอะไรบ้าง
ควรหลีกเลี่ยงอาการที่มีส่วนทำให้อาการกำเริบ ได้แก่
อาหารประเภททอด เนื่องจากมีสาร AGE เป็นสารพิษที่ส่งผลเสียต่อร่างกายสามารถกระตุ้นการเกิดโรครูมาตอยด์ได้
อาหารที่ถูกขัดสี พบได้ในน้ำตาล และคาร์โบไฮเดรต สิ่งเหล่านี้เต็มไปด้วยสาร AGE ด้วยเช่นกัน
นมทุกชนิด เนื่องจากโปรตีนจะกระตุ้นอาการที่ข้อได้
อาหารอบหรืออาหารทานเล่น เนื่องจากอาหารเหล่านี้เป็นแหล่งของกรดไขมันโอเมก้า 6 ที่สามารถกระตุ้นโรครูมาตอยด์ได้
อาหารที่กระตุ้นให้เกิดกรด เช่น ถั่ว หรือโปรตีนจากสัตว์ รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และกาแฟ
อาหารที่มีไขมันไม่ดี (LDL) พบได้ในเนื้อสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ปีก หรือในชีส ขนมเค้ก เป็นต้น

lovelove
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่