เมื่อกี้ คุณอภิสิทธิ์ได้แถลงแล้วว่าจะไม่ไปเลือกตั้งวันที่ 2 กพ. หมายความว่าอย่างไร?
พฤติกรรมของพรรคปชป. นั้น ขณะนี้ไม่จำเป็นต้องตีความกันอีกแล้วว่ามีผลต่อการตัดสินขององค์กรอิสระ 100%
การที่คุณอภิสิทธิ์ประกาศเช่นนี้ โดยไม่เกรงกลัวการถูกตัดสิทธิ์ในการสมัครเป็นสส. นั่นแสดงถึงทิศทางการตีความสภาพการเลือกตั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินได้เลย
ผมจะพยายามเขียนให้เข้าใจง่ายนะครับ ว่าทำไมการเลือกตั้งครั้งนี้ศาลรัฐธรรมนูญถึงไม่สามารถตีความให้เป็นโมฆะได้
ข้อสรุปที่ 1 : ผมขอทำนายได้เลยว่าเมื่อเสร็จสิ้นจากการเลือกตั้ง ศาลรัฐธรรมนูญจะได้รับการยื่นตีความให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะจากองคาพยพผฝ่ายพรรคปชป. แล้วศาลรัฐธรรมนูญจะตีความให้เป็นโมฆะ ตามที่ร้อง
ความเห็นของผม : ถ้าศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ นั่นจะเป็นการทำลายเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญปี 2550 อย่างชัดเจน!!!
ข้อสังเกต : ลองมาดูเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 มาตรา 108 ดูว่าเขียนว่าอย่างไร
------------------------------------------------------------
พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่
การยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวันแต่ไม่เกิน หกสิบวันนับแต่วันยุบสภาผู้แทนราษฎร และวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร
การยุบสภาผู้แทนราษฎรจะกระทำได้เพียงครั้งเดียวในเหตุการณ์เดียวกัน
-----------------------------------------------------------
สรุปเนื้อความง่ายๆ
(ก) เมื่อมีการยุบสภา จะต้องมีการเลือกตั้งใหม่
(ข) การเลือกตั้งนั้นจะต้องกระทำในระหว่าง 45 ถึง 60วัน หลังวันยุบสภา
(ค) การเลือกตั้งจะต้องกระทำในวันเดียวกันทั่วประเทศ
ตีความกฎหมาย :
1) เจตนารมณ์ของมาตรานี้คือ ต้องการให้ประชาชนไทยทุกคน มีอำนาจในการใช้สิทธิ์ในการตัดสินทิศทางของประเทศผ่านทางการเลือกตั้ง ซึ่งจะใช้สิทธิ์่ผ่านทางผู้แทนราษฎร และต้องทำภายใน 45 และต้องไม่เกิน 60 วัน เพื่อป้องกันการรักษาอำนาจของรัฐบาลรักษาการ และต้องเล่ือกตั้งวันเดียวกัน เพื่อประกาศผลวันเดียวกัน เพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกันเกิดขึ้น
2) การตีความว่าการเลือกตั้งโมฆะหรือไม่นั้น ต้องไม่ขัดกับบทบัญญติทั้งสามข้อด้านบน จะไม่ขัดแค่ข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้ ดังนั้น หากตีความการเลือกตั้งครั้งนี้ว่า เนื่องจากไม่สามารถทำได้ในครั้งเดียวทั่วราชอาณาจักรแล้วถือว่าเป็นโมฆะนั้น จะขัดกับข้อ (ข) ที่กำหนดว่าจะต้องทำให้เสร็จภายใน 60 วัน
3) หากผู้มีอำนาจอย่างกกต. มีการกำหนดการเลือกตั้งให้ไม่เกิดในทันทีพร้อมกันในวันเดียวกันโดยตั้งใจ การเลือกตั้งนั้น จะขัดกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะทำให้การเลือกตั้งนั้นเป็นโมฆะ
เว้นแต่ว่า ตั้งใจอำนวยความสะดวกให้ประชาชนนอกเขตพื้นที่ ก็จะมี "พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส่วนที่ 9 มาตราที่ 94-102" ให้อำนาจกกต.ในการเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตทำได้โดยการกำหนดของ กกต.
แต่ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญ และพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ไม่ได้พูดถึงกรณีของการลงคะแนนไม่ได้ของหน่วยเลือกตั้ง ทำให้ต้องใช้การตีความตามเจตนารมณ์มาประกอบการตีความแทน
และหากเกิดปัญหาที่ไม่ได้เกิดจากความตั้งใจของกกต. เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว ม๊อบปิดคูหาขัดขวาง นั่นก็จะต้องทำการเลื่อนการลงคะแนนใหม่ แยกเป็นเขตนั้นๆ ที่มีปัญหา แต่จะไม่ให้มีการประกาศผลเขตที่เลือกตั้งได้ก่อน จนกว่าจะจัดการลงคะแนนได้ครบทุกเขตที่มีปัญหา ซึ่งก็จะไม่ก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ ดังนั้น การที่มีบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ทำการขัดขวาง ไม่ให้การเลือกตั้งเกิดขึ้นตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญนั้น จะต้องมีบทลงโทษบุคคลกลุ่มนั้นๆ ในข้อหาขัดขวางการเลือกตั้ง แต่จะใช้เป็นเหตุให้การเลือกตั้งนั้นเป็นโมฆะ ไม่ได้!!!!!!!! เพราะว่าไม่ได้เกิดจากความตั้งใจ กกต. และผู้จัดการเล่ือกตั้ง
ดังนั้นศาลจะอ้างว่า การที่เขตเลือกตั้งบางเขตไม่ได้ลงคะแนน จะเกิดสภาพเป็นโมฆะ นั้น ไม่สามารถทำได้
สรุป :
การที่กกต. ซึ่งมีอำนาจในการลงโทษผู้กระทำความผิดในการขัดขวางการเลือกตั้ง แต่ไม่ทำ นั่นคือการจงใจให้มีการเลือกตั้งเกิดสภาพที่ไม่ได้เขียนในรัฐธรรมนูญ ซึ่งกกต. คาดหวังว่าศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินว่าเป็นโมฆะ โดยไม่ดูเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ แต่นั่นก็เป็นสภาพที่เกิดจากการทำผิดกฎหมายของกลุ่มต่อต้านการเลือกตั้ง
สิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องทำเมื่อมีการร้องตีความการเลือกตั้งเป็นโมฆะคือ
1) ตีความว่าการเลือกตั้งไม่เป็นโมฆะ แต่เป็นการลงคะแนนไม่ครบทุกเขตจากการกระทำผิดกฎหมาย
2) การลงคะแนนในเขตที่ไม่สามารถทำได้ในวันเลือกตั้งนั้น ให้มีการกำหนดวันลงคะแนนใหม่ จนกว่าจะได้ แต่ต้องไม่เกิน 180 วัน
3) ชีมูลว่ากกต. มีการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ที่จะทำให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างเรียบร้อยสมบูรณ์ จากการไม่สั่งลงโทษกลุ่มผู้ขัดขวางการเลือกตั้ง
4) ในขณะที่กกต. ถุกลงโทษ ก็ยังต้องทำหน้าที่จนกว่าจะมี กกต. ชุดใหม่เข้ามาทำงานแทน ซึ่งระหว่างนี้จะต้องทำการลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างสุดความสามารถเพื่อที่จะให้การลงคะแนนในเขตที่เหลือสามารถลุล่วงไปได้ ภายในก่อนครบ 180 วัน
5) หากลงคะแนนใหม่ไม่สำเร็จซักที จนครบ 180 วัน จะเกิดภาวะสูญญากาศที่ไม่ได้เขียนในรัฐธรรมนูญ ก็ต้องตีความตามเจตนารมณ์การมีอยู่ของรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประเทศมีการคัดเลือกผู้แทนเพื่อขับเคลื่อนประเทศ โดยกำหนดให้ผู้ที่ได้รับคัดเลือกมาแล้ว ที่ไม่ถึง 95% สามารถเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้เลย
6) กำหนดให้เขตที่ยังลงคะแนนไม่ได้ หลังเปิดสภาฯ ไปแล้ว มีการลงคะแนนไปเรื่อยๆ จนกว่าสำเร็จครบทุกเขต
ความอัปยศของชาติ
คุณคิดว่าศาลจะทำแบบที่บอกด้านบนไหมครับ??? คือศาลรัฐธรรมนูญนี่ต้องบอกว่ารู้ทั้งรู้ว่าถ้าทำตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญ และเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในกรณีที่ไม่มีข้อกำหนดเขียนไว้ แต่คนเหล่านี้ไม่ใช่คนที่คุณหวังให้เขาทำตามกฎอย่างคนทั่วไปได้หรอกครับ
ผมเดาว่า ศาลรัฐธรรมนูญ จะทำการฉีกรัฐธรรมนูญ และตรารัฐธรรมนูญขึ้นใหม่อีกครั้ง โดยการตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น (ซึ่งผมมั่นใจว่าเป็นแน่ๆ) ประเทศชาติก็จะลุกเป็นไฟ
ข้อแนะนำ
- สำหรับผู้ที่เกิดความอัดอั้นใจกับการกระทำแบบนี้ของ ปชป. องค์กรอิสระ และศาลรัฐธรรมนูญ ก็ให้ต่อต้านกันต่อไปครับ เพราะว่าเราไม่มีสิทธิ์ไปถอดถอนอะไรกับคนพวกนี้ได้เลย
- สำหรับผู้ที่อึดอับความหน่อมแน้มของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ก็อย่าเลือกพรรคนี้ต่อไปครับ เท่าที่ผมฟัง พรรคใหม่ๆ ที่เห็นในการเล่ือกตั้งคราวนี้ มีนโยบายที่เยี่ยมๆ หลายพรรคเลยครับ
อย่าแถตีความทำให้การเลือกตั้งโมฆะ เห็นหัวคนรักษากฎหมายบ้าง
พฤติกรรมของพรรคปชป. นั้น ขณะนี้ไม่จำเป็นต้องตีความกันอีกแล้วว่ามีผลต่อการตัดสินขององค์กรอิสระ 100%
การที่คุณอภิสิทธิ์ประกาศเช่นนี้ โดยไม่เกรงกลัวการถูกตัดสิทธิ์ในการสมัครเป็นสส. นั่นแสดงถึงทิศทางการตีความสภาพการเลือกตั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินได้เลย
ผมจะพยายามเขียนให้เข้าใจง่ายนะครับ ว่าทำไมการเลือกตั้งครั้งนี้ศาลรัฐธรรมนูญถึงไม่สามารถตีความให้เป็นโมฆะได้
ข้อสรุปที่ 1 : ผมขอทำนายได้เลยว่าเมื่อเสร็จสิ้นจากการเลือกตั้ง ศาลรัฐธรรมนูญจะได้รับการยื่นตีความให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะจากองคาพยพผฝ่ายพรรคปชป. แล้วศาลรัฐธรรมนูญจะตีความให้เป็นโมฆะ ตามที่ร้อง
ความเห็นของผม : ถ้าศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ นั่นจะเป็นการทำลายเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญปี 2550 อย่างชัดเจน!!!
ข้อสังเกต : ลองมาดูเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 มาตรา 108 ดูว่าเขียนว่าอย่างไร
------------------------------------------------------------
พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่
การยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวันแต่ไม่เกิน หกสิบวันนับแต่วันยุบสภาผู้แทนราษฎร และวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร
การยุบสภาผู้แทนราษฎรจะกระทำได้เพียงครั้งเดียวในเหตุการณ์เดียวกัน
-----------------------------------------------------------
สรุปเนื้อความง่ายๆ
(ก) เมื่อมีการยุบสภา จะต้องมีการเลือกตั้งใหม่
(ข) การเลือกตั้งนั้นจะต้องกระทำในระหว่าง 45 ถึง 60วัน หลังวันยุบสภา
(ค) การเลือกตั้งจะต้องกระทำในวันเดียวกันทั่วประเทศ
ตีความกฎหมาย :
1) เจตนารมณ์ของมาตรานี้คือ ต้องการให้ประชาชนไทยทุกคน มีอำนาจในการใช้สิทธิ์ในการตัดสินทิศทางของประเทศผ่านทางการเลือกตั้ง ซึ่งจะใช้สิทธิ์่ผ่านทางผู้แทนราษฎร และต้องทำภายใน 45 และต้องไม่เกิน 60 วัน เพื่อป้องกันการรักษาอำนาจของรัฐบาลรักษาการ และต้องเล่ือกตั้งวันเดียวกัน เพื่อประกาศผลวันเดียวกัน เพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกันเกิดขึ้น
2) การตีความว่าการเลือกตั้งโมฆะหรือไม่นั้น ต้องไม่ขัดกับบทบัญญติทั้งสามข้อด้านบน จะไม่ขัดแค่ข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้ ดังนั้น หากตีความการเลือกตั้งครั้งนี้ว่า เนื่องจากไม่สามารถทำได้ในครั้งเดียวทั่วราชอาณาจักรแล้วถือว่าเป็นโมฆะนั้น จะขัดกับข้อ (ข) ที่กำหนดว่าจะต้องทำให้เสร็จภายใน 60 วัน
3) หากผู้มีอำนาจอย่างกกต. มีการกำหนดการเลือกตั้งให้ไม่เกิดในทันทีพร้อมกันในวันเดียวกันโดยตั้งใจ การเลือกตั้งนั้น จะขัดกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะทำให้การเลือกตั้งนั้นเป็นโมฆะ
เว้นแต่ว่า ตั้งใจอำนวยความสะดวกให้ประชาชนนอกเขตพื้นที่ ก็จะมี "พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส่วนที่ 9 มาตราที่ 94-102" ให้อำนาจกกต.ในการเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตทำได้โดยการกำหนดของ กกต.
แต่ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญ และพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ไม่ได้พูดถึงกรณีของการลงคะแนนไม่ได้ของหน่วยเลือกตั้ง ทำให้ต้องใช้การตีความตามเจตนารมณ์มาประกอบการตีความแทน
และหากเกิดปัญหาที่ไม่ได้เกิดจากความตั้งใจของกกต. เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว ม๊อบปิดคูหาขัดขวาง นั่นก็จะต้องทำการเลื่อนการลงคะแนนใหม่ แยกเป็นเขตนั้นๆ ที่มีปัญหา แต่จะไม่ให้มีการประกาศผลเขตที่เลือกตั้งได้ก่อน จนกว่าจะจัดการลงคะแนนได้ครบทุกเขตที่มีปัญหา ซึ่งก็จะไม่ก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ ดังนั้น การที่มีบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ทำการขัดขวาง ไม่ให้การเลือกตั้งเกิดขึ้นตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญนั้น จะต้องมีบทลงโทษบุคคลกลุ่มนั้นๆ ในข้อหาขัดขวางการเลือกตั้ง แต่จะใช้เป็นเหตุให้การเลือกตั้งนั้นเป็นโมฆะ ไม่ได้!!!!!!!! เพราะว่าไม่ได้เกิดจากความตั้งใจ กกต. และผู้จัดการเล่ือกตั้ง
ดังนั้นศาลจะอ้างว่า การที่เขตเลือกตั้งบางเขตไม่ได้ลงคะแนน จะเกิดสภาพเป็นโมฆะ นั้น ไม่สามารถทำได้
สรุป :
การที่กกต. ซึ่งมีอำนาจในการลงโทษผู้กระทำความผิดในการขัดขวางการเลือกตั้ง แต่ไม่ทำ นั่นคือการจงใจให้มีการเลือกตั้งเกิดสภาพที่ไม่ได้เขียนในรัฐธรรมนูญ ซึ่งกกต. คาดหวังว่าศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินว่าเป็นโมฆะ โดยไม่ดูเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ แต่นั่นก็เป็นสภาพที่เกิดจากการทำผิดกฎหมายของกลุ่มต่อต้านการเลือกตั้ง
สิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องทำเมื่อมีการร้องตีความการเลือกตั้งเป็นโมฆะคือ
1) ตีความว่าการเลือกตั้งไม่เป็นโมฆะ แต่เป็นการลงคะแนนไม่ครบทุกเขตจากการกระทำผิดกฎหมาย
2) การลงคะแนนในเขตที่ไม่สามารถทำได้ในวันเลือกตั้งนั้น ให้มีการกำหนดวันลงคะแนนใหม่ จนกว่าจะได้ แต่ต้องไม่เกิน 180 วัน
3) ชีมูลว่ากกต. มีการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ที่จะทำให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างเรียบร้อยสมบูรณ์ จากการไม่สั่งลงโทษกลุ่มผู้ขัดขวางการเลือกตั้ง
4) ในขณะที่กกต. ถุกลงโทษ ก็ยังต้องทำหน้าที่จนกว่าจะมี กกต. ชุดใหม่เข้ามาทำงานแทน ซึ่งระหว่างนี้จะต้องทำการลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างสุดความสามารถเพื่อที่จะให้การลงคะแนนในเขตที่เหลือสามารถลุล่วงไปได้ ภายในก่อนครบ 180 วัน
5) หากลงคะแนนใหม่ไม่สำเร็จซักที จนครบ 180 วัน จะเกิดภาวะสูญญากาศที่ไม่ได้เขียนในรัฐธรรมนูญ ก็ต้องตีความตามเจตนารมณ์การมีอยู่ของรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประเทศมีการคัดเลือกผู้แทนเพื่อขับเคลื่อนประเทศ โดยกำหนดให้ผู้ที่ได้รับคัดเลือกมาแล้ว ที่ไม่ถึง 95% สามารถเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้เลย
6) กำหนดให้เขตที่ยังลงคะแนนไม่ได้ หลังเปิดสภาฯ ไปแล้ว มีการลงคะแนนไปเรื่อยๆ จนกว่าสำเร็จครบทุกเขต
ความอัปยศของชาติ
คุณคิดว่าศาลจะทำแบบที่บอกด้านบนไหมครับ??? คือศาลรัฐธรรมนูญนี่ต้องบอกว่ารู้ทั้งรู้ว่าถ้าทำตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญ และเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในกรณีที่ไม่มีข้อกำหนดเขียนไว้ แต่คนเหล่านี้ไม่ใช่คนที่คุณหวังให้เขาทำตามกฎอย่างคนทั่วไปได้หรอกครับ
ผมเดาว่า ศาลรัฐธรรมนูญ จะทำการฉีกรัฐธรรมนูญ และตรารัฐธรรมนูญขึ้นใหม่อีกครั้ง โดยการตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น (ซึ่งผมมั่นใจว่าเป็นแน่ๆ) ประเทศชาติก็จะลุกเป็นไฟ
ข้อแนะนำ
- สำหรับผู้ที่เกิดความอัดอั้นใจกับการกระทำแบบนี้ของ ปชป. องค์กรอิสระ และศาลรัฐธรรมนูญ ก็ให้ต่อต้านกันต่อไปครับ เพราะว่าเราไม่มีสิทธิ์ไปถอดถอนอะไรกับคนพวกนี้ได้เลย
- สำหรับผู้ที่อึดอับความหน่อมแน้มของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ก็อย่าเลือกพรรคนี้ต่อไปครับ เท่าที่ผมฟัง พรรคใหม่ๆ ที่เห็นในการเล่ือกตั้งคราวนี้ มีนโยบายที่เยี่ยมๆ หลายพรรคเลยครับ