ประวัติอันน่าสะพรึงกลัวของพรรคประชาธิปัตย์ !!!!.....
- ก่อตั้ง 6 เมษายน 2489 ตรงกับวันจักรี มี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นแกนนำก่อตั้ง มีนายควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรค โดยจุดประสงค์เพื่อฟื้นฟูซากเดนศักดินาให้กลับมาเรืองอำนาจอีกหน ภายหลังคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
- หลังกรณี ร.8 สวรรคตเมื่อ 9 มิถุนายน 2489 สมาชิกพรรคบางรายไปตะโกนในโรงหนังว่า ”ปรีดีฆ่าในหลวงร.8” จากนั้นเปิดอภิปรายยำใหญ่รัฐบาลหลวงธำรงฯ 7วัน 7คืน แต่โค่นรัฐบาลไม่ลง
- เกิดรัฐประหาร 8 พ.ย. 2490 คณะรัฐประหารได้ให้ประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นแนวร่วมพันธมิตรช่วยให้เกิดการรัฐประหารหนนั้น ตั้งรัฐบาลร่างทรง นายควงขึ้นเป็นนายกฯ และไม่กี่เดือนก็โดนจี้ออกกลางทำเนียบ เพราะหัวหน้าคณะรัฐประหารจะขึ้นเป็นซะเอง นายควงกับชาวพรรคประชาธิปัตย์ก็ยอมให้แต่โดยดี
- เป็นฝ่ายค้านอดอยากปากแห้งในยุคจอมพลป.เป็นรัฐบาล หม่อมคึกฤทธิ์เลยต้องไปออกหนังสือพิมพ์สยามรัฐด่าเช้าด่าเย็น เหน็บว่าจอมพล.ป เป็น "โจโฉนายกฯ ตลอดกาล" แต่ก็ไม่ระคายผิวจอมพล
- พรรคประชาธิปัตย์เว้นวรรคทางการเมืองในยุคจอมพลสฤษดิ์ทำรัฐประหาร พ.ศ.2500 ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นกองหน้าทวงคืนประชาธิปไตยแต่อย่างไร และเว้นวรรคยาวมาจนถึงราวปี 2511 ร่วมๆ 10 ปี ดังนั้นหากใครจะนับอายุพรรคนี้ว่ายืนยาว60กว่าปี กรุณานำจำนวน 10 ปีนี้ไปลบออกด้วย เพื่อให้ถูกต้องตรงความเป็นจริง
- พรรคประชาธิปัตย์มาโผล่อีกทีตอนจอมพลถนอมเปิดให้เลือกตั้งในปี พ.ศ.2511 ครั้นพอจอมพลถนอมยึดอำนาจตัวเอง พรรคประชาธิปัตย์ก็เว้นวรรคทางการเมืองไป มีสมาชิกพรรคไม่กี่คนเคลื่อนไหวคัดค้านในนามส่วนตัว เช่น นายอุทัย พิมพ์ใจชน แต่พรรคนั้นไม่รับรู้อะไรด้วย
- เป็นรัฐบาลในปี 2518 โดยหม่อมเสนีย์ ปราโมช เป็นอยู่ไม่กี่วันก็โดนหม่อมน้องที่ออกไปตั้งพรรคกิจสังคมใช้นโยบายประชานิยมเขี่ยตกเก้าอี้
- กลับมาเป็นรัฐบาลอีกทีในกลางปี 2519 ก็เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ แทนที่จะระงับเหตุร้าย แต่รัฐบาลประชาธิปัตย์ก็กลับหลอกแกนนำนักศึกษานำโดยสุธรรม แสงปทุม ไปพบที่บ้านหม่อมพี่ แต่ไปไม่ถึงให้ตำรวจลากเข้าคุกซะก่อน ส่วนที่ธรรมศาสตร์ก็มีการปราบปรามนักศึกษาอย่างโหดเหี้ยม ส่วนนายกฯ หม่อมพี่เป็นแค่ฤาษีเลี้ยงลิงไปพลางๆ และโดนยึดอำนาจในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 นั้นเอง แต่พรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่ได้ขัดขืนอะไร ตัวนายกฯ เสนีย์ถูกทหารกุมตัวเอาไว้ในค่ายทหารระยะหนึ่ง พอเหตุการณ์ควบคุมได้ก็ถูกปล่อยตัวออกจากค่ายทหารไปเงียบๆ ขณะที่มีการฆ่าฟันปราบปรามนักศึกษาอย่างรุนแรง
- ช่วงปี 2523 เกิดบรรยากาศสะตอสามัคคีขึ้น เมื่อประชาธิปัตย์กลายเป็น ”พรรคของเรา คนของเรา” ของชาวปักษ์ใต้ เมื่อสนับสนุนค้ำจุนบัลลังก์พลเอกเปรม ขวัญใจคนปักษ์ใต้ในเวลานั้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่รัฐบาลเปรม 1 ยันเปรม 5 แม้ว่าบางคราวเช่นปี 2529 พรรคประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้งท่วมท้น นายพิชัย รัตตกุล หัวหน้าพรรคเวลานั้นก็ไม่อาจกล้าหาญเป็นนายกฯ แต่ยอมศิโรราบให้พลเอกเปรม แต่ก็ได้แลกกับการอุ้มลูกชาย คือ ดร.โจขึ้นเป็นรัฐมนตรี จนเกิดบรรยากาศแตกแยกในพรรคของกลุ่ม 10 มกราฯ นำโดยไข่มุกดำวีระ มุสิกพงษ์และคณะ
- เมื่อพลเอกเปรมถูกกดดันให้ลงจากตำแหน่งใน พ.ศ. 2531 และรัฐบาลชาติชายรีบยกขึ้นหิ้งเป็นรัฐบุรุษ พรรคประชาธิปัตย์ก็ได้ร่วมเป็นรัฐบาลในครม.ชาติชาย สร้างผลงานฉาวโฉ่กรณีสวนป่ากิตติฯ ให้กับ ”สนั่น ป่าลั่น” เลขาธิการพรรคในขณะนั้น ก่อนจะหักในกับชาติชาย แล้วเกิดการรัฐประหาร 23 ก.พ. 2534
- ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 หลังพฤษภาทมิฬ ประชาธิปัตย์อาศัยวลี ”จำลองพาคนไปตาย” และชูว่าชวน หลีกภัย เชื่อมั่นในระบบรัฐสภา เข้ามาเป็นรัฐบาล ซ้ำยังนำรูปของนายปรีดี พนมยงค์กับรูปนายป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งเคยได้รับผลกระทบจากการกระทำของชาวพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นมาโฆษณาหลอกลวงคนไทยด้วยว่า พรรคประชาธิปัตย์เห็นด้วยกับแนวทางสันติวิธีของทั้ง 2 ท่านนี้ (ทั้งที่มีหลักฐานชัดเจนว่า 2 ท่านนี้ต้องไปตายในต่างแดนทั้งคู่ก็เพราะผลพวงจากการกระทำของประชาธิปัตย์ทั้งนั้น) แต่ไม่นานก็ถูกตีตกเวทีด้วยเรื่อง สปก. ของเลขาธิการพรรคเทพเทือก
- ในการเลือกตั้งคราวต่อมา พรรคชาติไทยชนะการเลือกตั้งเป็นรัฐบาล แต่ชาวพรรคประชาธิปัตย์ก็นำเอกสารปลอมมากล่าวหาเรื่องสัญชาตินายบรรหารและบิดา เล่นกันถึงโคตรเหง้า ไม่ได้เกี่ยวกับผลงานหรือนโยบายใดๆ จนนายบรรหารลาออกและยุบสภาฯ
- ในการเลือกตั้งปี 2538 พรรคความหวังใหม่ของพลเอกชวลิตมาแรง พรรคประชาธิปัตย์สร้างกระแสเกลียดชังและไม่น่าไว้วางใจพลเอกชวลิตหลายเรื่อง ตบท้ายด้วยสโลแกน ”ไม่เลือกเรา เขามาแน่” แต่ในที่สุดเขาก็มาจริงๆ โดยนายชวนใช้วาทะเชือดเฉือนว่า ”ฝ่าม่านสีม่วงของบิ๊กจิ๋ว” เข้ามาเป็นรัฐบาลไม่ไหว
- หลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 พลเอกชวลิตลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปลายปี พรรคประชาธิปัตย์สร้างตำนาน ”งูเห่า” ขึ้นมา ด้วยการฉกลูกพรรคประชากรไทยของนายสมัคร สุนทรเวช มาหลายคนเพื่อให้เสียงสนับสนุนพอเพียงในการตั้งรัฐบาล ตัดหน้าพลเอกชาติชายไปแบบคนอึ้งทั่วประเทศ นายชวนคัมแบ็คเป็นนายกฯอีกครั้ง ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลงทุกด้าน มือดีทางเศรษฐกิจที่หามาประดับพรรคอย่างธารินทร์กับศุภชัยก็กินเกาเหลากันไป คนรุ่นใหม่อย่างนายอภิสิทธิ์ได้นั่งตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักฯ ชนิดที่เป็นรัฐมนตรีที่โลกลืม
ประวัติอันน่าสะพรึงกลัวของพรรคประชาธิปัตย์ !!!!.....(หรือประวัติศาสตร์อันเน่าเฟะของประชาธิปัตย์กันเเน่)
- ก่อตั้ง 6 เมษายน 2489 ตรงกับวันจักรี มี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นแกนนำก่อตั้ง มีนายควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรค โดยจุดประสงค์เพื่อฟื้นฟูซากเดนศักดินาให้กลับมาเรืองอำนาจอีกหน ภายหลังคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
- หลังกรณี ร.8 สวรรคตเมื่อ 9 มิถุนายน 2489 สมาชิกพรรคบางรายไปตะโกนในโรงหนังว่า ”ปรีดีฆ่าในหลวงร.8” จากนั้นเปิดอภิปรายยำใหญ่รัฐบาลหลวงธำรงฯ 7วัน 7คืน แต่โค่นรัฐบาลไม่ลง
- เกิดรัฐประหาร 8 พ.ย. 2490 คณะรัฐประหารได้ให้ประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นแนวร่วมพันธมิตรช่วยให้เกิดการรัฐประหารหนนั้น ตั้งรัฐบาลร่างทรง นายควงขึ้นเป็นนายกฯ และไม่กี่เดือนก็โดนจี้ออกกลางทำเนียบ เพราะหัวหน้าคณะรัฐประหารจะขึ้นเป็นซะเอง นายควงกับชาวพรรคประชาธิปัตย์ก็ยอมให้แต่โดยดี
- เป็นฝ่ายค้านอดอยากปากแห้งในยุคจอมพลป.เป็นรัฐบาล หม่อมคึกฤทธิ์เลยต้องไปออกหนังสือพิมพ์สยามรัฐด่าเช้าด่าเย็น เหน็บว่าจอมพล.ป เป็น "โจโฉนายกฯ ตลอดกาล" แต่ก็ไม่ระคายผิวจอมพล
- พรรคประชาธิปัตย์เว้นวรรคทางการเมืองในยุคจอมพลสฤษดิ์ทำรัฐประหาร พ.ศ.2500 ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นกองหน้าทวงคืนประชาธิปไตยแต่อย่างไร และเว้นวรรคยาวมาจนถึงราวปี 2511 ร่วมๆ 10 ปี ดังนั้นหากใครจะนับอายุพรรคนี้ว่ายืนยาว60กว่าปี กรุณานำจำนวน 10 ปีนี้ไปลบออกด้วย เพื่อให้ถูกต้องตรงความเป็นจริง
- พรรคประชาธิปัตย์มาโผล่อีกทีตอนจอมพลถนอมเปิดให้เลือกตั้งในปี พ.ศ.2511 ครั้นพอจอมพลถนอมยึดอำนาจตัวเอง พรรคประชาธิปัตย์ก็เว้นวรรคทางการเมืองไป มีสมาชิกพรรคไม่กี่คนเคลื่อนไหวคัดค้านในนามส่วนตัว เช่น นายอุทัย พิมพ์ใจชน แต่พรรคนั้นไม่รับรู้อะไรด้วย
- เป็นรัฐบาลในปี 2518 โดยหม่อมเสนีย์ ปราโมช เป็นอยู่ไม่กี่วันก็โดนหม่อมน้องที่ออกไปตั้งพรรคกิจสังคมใช้นโยบายประชานิยมเขี่ยตกเก้าอี้
- กลับมาเป็นรัฐบาลอีกทีในกลางปี 2519 ก็เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ แทนที่จะระงับเหตุร้าย แต่รัฐบาลประชาธิปัตย์ก็กลับหลอกแกนนำนักศึกษานำโดยสุธรรม แสงปทุม ไปพบที่บ้านหม่อมพี่ แต่ไปไม่ถึงให้ตำรวจลากเข้าคุกซะก่อน ส่วนที่ธรรมศาสตร์ก็มีการปราบปรามนักศึกษาอย่างโหดเหี้ยม ส่วนนายกฯ หม่อมพี่เป็นแค่ฤาษีเลี้ยงลิงไปพลางๆ และโดนยึดอำนาจในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 นั้นเอง แต่พรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่ได้ขัดขืนอะไร ตัวนายกฯ เสนีย์ถูกทหารกุมตัวเอาไว้ในค่ายทหารระยะหนึ่ง พอเหตุการณ์ควบคุมได้ก็ถูกปล่อยตัวออกจากค่ายทหารไปเงียบๆ ขณะที่มีการฆ่าฟันปราบปรามนักศึกษาอย่างรุนแรง
- ช่วงปี 2523 เกิดบรรยากาศสะตอสามัคคีขึ้น เมื่อประชาธิปัตย์กลายเป็น ”พรรคของเรา คนของเรา” ของชาวปักษ์ใต้ เมื่อสนับสนุนค้ำจุนบัลลังก์พลเอกเปรม ขวัญใจคนปักษ์ใต้ในเวลานั้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่รัฐบาลเปรม 1 ยันเปรม 5 แม้ว่าบางคราวเช่นปี 2529 พรรคประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้งท่วมท้น นายพิชัย รัตตกุล หัวหน้าพรรคเวลานั้นก็ไม่อาจกล้าหาญเป็นนายกฯ แต่ยอมศิโรราบให้พลเอกเปรม แต่ก็ได้แลกกับการอุ้มลูกชาย คือ ดร.โจขึ้นเป็นรัฐมนตรี จนเกิดบรรยากาศแตกแยกในพรรคของกลุ่ม 10 มกราฯ นำโดยไข่มุกดำวีระ มุสิกพงษ์และคณะ
- เมื่อพลเอกเปรมถูกกดดันให้ลงจากตำแหน่งใน พ.ศ. 2531 และรัฐบาลชาติชายรีบยกขึ้นหิ้งเป็นรัฐบุรุษ พรรคประชาธิปัตย์ก็ได้ร่วมเป็นรัฐบาลในครม.ชาติชาย สร้างผลงานฉาวโฉ่กรณีสวนป่ากิตติฯ ให้กับ ”สนั่น ป่าลั่น” เลขาธิการพรรคในขณะนั้น ก่อนจะหักในกับชาติชาย แล้วเกิดการรัฐประหาร 23 ก.พ. 2534
- ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 หลังพฤษภาทมิฬ ประชาธิปัตย์อาศัยวลี ”จำลองพาคนไปตาย” และชูว่าชวน หลีกภัย เชื่อมั่นในระบบรัฐสภา เข้ามาเป็นรัฐบาล ซ้ำยังนำรูปของนายปรีดี พนมยงค์กับรูปนายป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งเคยได้รับผลกระทบจากการกระทำของชาวพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นมาโฆษณาหลอกลวงคนไทยด้วยว่า พรรคประชาธิปัตย์เห็นด้วยกับแนวทางสันติวิธีของทั้ง 2 ท่านนี้ (ทั้งที่มีหลักฐานชัดเจนว่า 2 ท่านนี้ต้องไปตายในต่างแดนทั้งคู่ก็เพราะผลพวงจากการกระทำของประชาธิปัตย์ทั้งนั้น) แต่ไม่นานก็ถูกตีตกเวทีด้วยเรื่อง สปก. ของเลขาธิการพรรคเทพเทือก
- ในการเลือกตั้งคราวต่อมา พรรคชาติไทยชนะการเลือกตั้งเป็นรัฐบาล แต่ชาวพรรคประชาธิปัตย์ก็นำเอกสารปลอมมากล่าวหาเรื่องสัญชาตินายบรรหารและบิดา เล่นกันถึงโคตรเหง้า ไม่ได้เกี่ยวกับผลงานหรือนโยบายใดๆ จนนายบรรหารลาออกและยุบสภาฯ
- ในการเลือกตั้งปี 2538 พรรคความหวังใหม่ของพลเอกชวลิตมาแรง พรรคประชาธิปัตย์สร้างกระแสเกลียดชังและไม่น่าไว้วางใจพลเอกชวลิตหลายเรื่อง ตบท้ายด้วยสโลแกน ”ไม่เลือกเรา เขามาแน่” แต่ในที่สุดเขาก็มาจริงๆ โดยนายชวนใช้วาทะเชือดเฉือนว่า ”ฝ่าม่านสีม่วงของบิ๊กจิ๋ว” เข้ามาเป็นรัฐบาลไม่ไหว
- หลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 พลเอกชวลิตลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปลายปี พรรคประชาธิปัตย์สร้างตำนาน ”งูเห่า” ขึ้นมา ด้วยการฉกลูกพรรคประชากรไทยของนายสมัคร สุนทรเวช มาหลายคนเพื่อให้เสียงสนับสนุนพอเพียงในการตั้งรัฐบาล ตัดหน้าพลเอกชาติชายไปแบบคนอึ้งทั่วประเทศ นายชวนคัมแบ็คเป็นนายกฯอีกครั้ง ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลงทุกด้าน มือดีทางเศรษฐกิจที่หามาประดับพรรคอย่างธารินทร์กับศุภชัยก็กินเกาเหลากันไป คนรุ่นใหม่อย่างนายอภิสิทธิ์ได้นั่งตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักฯ ชนิดที่เป็นรัฐมนตรีที่โลกลืม