ทำไมคนเราต้องกินอาหารสามมื้อคะ ? ใครเป็นคนบรรหยัดกฏนี้ ?

กระทู้คำถาม
พอดีได้อ่านบทความนึงมา เค้าว่าการกินอาหารมื้อเย็นเป็นมื้อที่อันตราย และทำให้มีอายุสั้น ไม่ทราบว่าเรื่องนี้จริงแค่ไหน เพราะเราก็ไม่กินข้าวเย็นมาหลายปีแล้วนะคะ เพราะไม่เห็นว่าสำคัญเท่าไหร่ แต่จะเปลี่ยนเป็นผลไม้ หรือนมถั่วเหลือง น้ำนมธัญพืช ประมาณนั้นค่ะ ใครเป็นผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยนะคะ อยากให้เป็นวิทยาทานจะได้รับทราบว่าเข้าใจผิดไปหรือเปล่า หรือว่าเป็นอย่างบทความว่าจริงๆคะ ? ขอแท้กห้องโต้ะเครื่องแป้งด้วยเพราะเห็นว่าน่าจะเกี่ยวกับสุขภาพความสวยงามประมาณนั้นค่ะ ขอแก้คำผิดนะคะ บรรหยัด = บัญญัติ และ กฎ สะกดด้วย ฎ ชฎา ขอบคุณ คห. 5 ที่แนะนำให้ความรู้มากๆค่ะ^_^

http://www.herbdd.com/HealthDD/%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2.html
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
เพราะควายค่ะ  พระอินทร์ท่านสั่งให้ลงมาบอกยังเมืองมนุษย์ว่า 3 วันให้กิน 1 มื้อ
ด้วยระยะทางไกลมาก ควายเลยจำผิดมาบอกมนุษย์ว่า 1 วัน กิน 3 มื้อ
ความรู้ถึงหูพระอินทร์  ท่านเลยสั่งให้ควายไปช่วยมนุษย์หาข้าวได้มากๆด้วยการทำนา

ปล.นิทานที่พ่อเราเล่าตั้งแต่เด็กๆแล้วค่ะ
ความคิดเห็นที่ 6
ลองดูคำนี้

gastric emptying คือการที่กระเพาะอาหาร จะส่งอาหารและน้ำย่อยที่คลุกเคล้ากันเป็น chyme ออกจากกระเพาะอาหารไปสู่ duodenum ได้หมด จนกระเพาะอาหาร empty

gastric emptying time คือเวลาที่กระเพาะอาหารต้องใช้ ในการส่ง chyme ออกไปได้หมด เช่น gastric emptying time = 2 ชั่วโมง หมายความว่า ตั้งแต่กินอาหาร จนอาหารถูกส่งต่อออกไปได้หมด ใช้เวลา 2 ชั่วโมง

gastric emptying time ยิ่งยาว (หรือนาน) แปลว่าอาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนาน เช่นกินอาหารที่มีไขมันมาก กระตุ้น enterogastric reflex และ enterogastrone พวก CCK, secretin, GIP ยับยั้งการบีบตัวของกระเพาะอาหาร pizza ไส้กรอกมันๆ ค้างอยู่กระเพาะได้ 4-5 ชั่วโมง ทำให้รู้สึกอืดแน่น อิ่มนาน หรือเรอ ขย้อนได้ง่ายค่ะ



คนกินเพราะหิว น่าจะเป็นสัญชาตญานมาแต่เริ่มเผ่าพันธุ์
กลางวันมี 12 ชม
เวลาที่อาหารอยู่ได้นานสุดแต่ละมื้อ 4 ชม
หารแล้วต้องกิน 3 มื้อ เพื่อดำรงค์เผ่าพันธุ์ให้มีชีวิตต่อไป
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่