หุ้นดิ่งเหว
พอดีผมไปอ่านเจอ บทความนี้เหมาะกับตลาดตอนนี้มากครับ เขียนตอนเกิดsubprime น่ะ ตอนนั้นจำได้เลยว่า 3 วันหุ้นลงเป็นร้อยกว่าจุด ลงแรงไม่แพ้ตอนนี้เลยครับ ลองอ่านดูน่ะครับ มีประโยชน์ดี : Monday, 13 October 2008 ซื้อหุ้นยามวิกฤติ « วิกฤติหรือโอกาส
ตลาดหมีรอบนี้ดูเหมือนว่าจะรุนแรงและมาอย่างรวดเร็วแทบไม่ทันตั้งตัว เหตุคงเป็นเพราะว่ามันมาจากต่างประเทศ ณ. ขณะที่เขียนอยู่นี้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ตกลงมาแล้วประมาณ 47% นับจากต้นปี มองย้อนหลังไปในประวัติศาสตร์ของตลาดหุ้นไทยกว่า 30 ปี ไม่เคยมีปีไหนยกเว้นปี 2540 ที่หุ้นไทยจะตกลงมาหนักเท่าปีนี้ที่ผ่านมายังไม่ครบสิบเดือน แต่สิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งก็คือ ตลาดหมีที่รุนแรงมากนี้ เกิดขึ้นในยามที่ภาวะเศรษฐกิจและการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนอยู่ในภาวะที่ปกติ นอกจากนั้น ราคาของหุ้นก็ไม่ได้สูงกว่าพื้นฐานที่ควรเป็นเลย ผลก็คือ ดัชนีวัดความถูกแพงของหุ้นในตลาดโดยเฉลี่ยลดต่ำลงจนกลายเป็น “ตลาดหุ้นคุณค่า” นั่นคือ ค่า PE ของตลาดลดลงเหลือเพียงประมาณ 6.8 เท่า PB ประมาณ 1 เท่า และค่าผลตอบแทนเงินปันผลเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 6.4% ต่อปี และทำให้ตลาดหุ้นตอนนี้มีราคา “ถูกที่สุด” ในประวัติศาสตร์ของตลาดหุ้นไทยอีกครั้งหนึ่งและถูกพอ ๆ กับช่วงปี 2540 ที่เราประสบวิกฤติครั้งใหญ่
ผมคงไม่ต้องพูดว่านี่เป็นช่วงเวลาของการขายหุ้นหรือซื้อหุ้น แน่นอน ภาวะเศรษฐกิจต่อจากนี้มีความไม่แน่นอนสูง โลกอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนอาจจะชะลอตัวลง ในสถานการณ์ที่เลวร้าย อาจจะมีการล้มละลายของบริษัทขนาดใหญ่ตามมาอย่างที่กำลังเกิดขึ้นในสหรัฐ ยุโรป และแม้กระทั่งญี่ปุ่น แต่ในความคิดของผมแล้ว โอกาสที่บริษัทขนาดใหญ่จำนวนมากในประเทศไทยจะล้มละลายหรือใกล้ล้มละลายอย่างที่เราเห็นในช่วงปี 2540 นั้นน่าจะมีน้อยมาก เหตุผลก็ง่ายนิดเดียว บริษัทของไทยในขณะนี้มีหนี้น้อยลงไปมาก หลายบริษัทมีเงินสดมากมาย ดังนั้น การซื้อหุ้นในยามนี้จึงน่าจะเป็นโอกาสทองที่เราจะได้ผลตอบแทนงดงามในระยะยาวอย่างน้อย 3-4 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตาม “หุ้นที่ว่าถูกแล้วก็ยังอาจจะมีหุ้นที่ถูกกว่า” ด้วยเหตุนี้ นักลงทุนจำนวนมากจึงยังไม่กล้าที่จะซื้อหุ้น พวกเขาอยากรอจนกว่าตลาดจะ “นิ่ง” คือ หุ้นไม่ตกลงไปต่อแล้วจึงจะซื้อหุ้น
กลยุทธ์การรอคอยนั้น ไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่าย เพราะเราไม่รู้ว่าเมื่อไรหุ้นจะตกถึงพื้นแล้วจริง ๆ กลยุทธ์ที่ทำได้ง่ายกว่าก็คือ การซื้อเฉลี่ย นั่นคือ ทยอยซื้อไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่จุดที่เราเห็นว่ามันถูกมาก ๆ อยู่แล้ว กลยุทธ์แบบนี้เราจะต้องทำใจยอมรับให้ได้ว่าในช่วงแรกที่เราเข้าลงทุน เราอาจจะต้อง “ขาดทุน” อยู่บ้าง และอาจต้องขาดทุนเป็นระยะเวลาหนึ่ง บางทีอาจจะเป็นปี เหตุผลก็เพราะว่าในยามที่เกิดวิกฤตินั้น ในบางครั้ง หุ้นอาจจะเหงาหงอยไปนานพอสมควรประเภทที่เรียกว่า “ไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์” แต่เมื่อไรก็ตามที่เริ่มมีแสงเข้ามา กำไรจะมากมหาศาล สรุปก็คือ การลงทุนซื้อหุ้นในยามวิกฤตินั้น มันควรทำเหมือนกับว่า เรากำลังซื้อธุรกิจที่ดีและมั่นคงเพื่อเก็บไว้เป็นสมบัติที่จะสามารถเก็บกินในอนาคตระยะยาวในราคาที่ต่ำมาก ส่วนว่าซื้อแล้วราคากลับลดลงไปอีกนั้น เราต้องคิดว่าเป็นเรื่องความโชคดีของคนอื่นที่ซื้อได้ถูกกว่าเรา อย่าไปอิจฉาเขา เราควรพอใจในสิ่งที่เราได้มาซึ่งคุ้มค่ามากอยู่แล้ว
ประเด็นสำคัญต่อมาก็คือ เราต้องเลือกซื้อหุ้นที่จะทำให้เราได้ผลตอบแทนมากเมื่อสภาวะวิกฤติคลี่คลายลง การซื้อหุ้นโดยไม่ดูพื้นฐานแต่ดูที่ราคาหุ้นที่ตกลงมาเป็นหลักนั้นไม่ปลอดภัย เหตุก็เพราะ กิจการหลายแห่งอาจจะประสบกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจที่ตามมาและทำให้มันมีปัญหาล้มละลายหรือผลการดำเนินงานด้อยลงไปมาก แบบนี้ การที่ราคาหุ้นตกลงมามากก็อาจจะช่วยอะไรไม่ได้ การเลือกหุ้นที่จะซื้อนั้น วิธีที่ปลอดภัยกว่าจึงน่าจะอยู่ที่การวิเคราะห์แล้วพบว่า เมื่อเหตุการณ์วิกฤติผ่านพ้นไป ผลการดำเนินงานของบริษัทจะต้องกลับมาที่เดิมหรือใกล้เคียงกับผลการดำเนินงานในอดีตหรือปัจจุบันที่จะทำให้หุ้นนั้นมีค่า PE ต่ำมากและมีปันผลสูง นอกจากนั้น เราจะต้องมั่นใจด้วยว่า บริษัทที่เราซื้อนั้น แม้ว่าภาวะวิกฤติจะรุนแรงแค่ไหน กิจการของบริษัทก็จะต้องยังอยู่ เพราะ “มันตายไม่ได้” เนื่องจากมันอาจจะเป็นรายเดียวหรือรายที่ใหญ่มากที่สังคมหรือประเทศต้องมี หรือมันตายไม่ได้เนื่องจากถ้ามันตาย รายอื่นจะต้องตายก่อนเพราะมันคือตัวที่แข็งแกร่งที่สุด
จากเหตุผลข้างต้น ผมคิดว่า เราน่าจะมีหุ้นอย่างน้อยกลุ่มหนึ่งที่น่าจะปลอดภัยพอสมควรที่เราจะซื้อลงทุนในยามวิกฤติ นั่นก็คือ หุ้นที่มีอำนาจทางการตลาดสูงโดยเฉพาะกิจการที่มีอำนาจผูกขาดหรือกึ่งผูกขาดและมีผู้ขายหรือให้บริการน้อยรายและกิจการนั้นเป็นสิ่ง “จำเป็น” หรือเป็นอะไรที่คนส่วนใหญ่เลือกที่จะยังใช้อยู่พอสมควรแม้ในยามที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ
ด้วยเงื่อนไขข้างต้น ผมคิดว่า หุ้นที่ไม่อยู่ในข่ายน่าจะรวมถึงหุ้นของบริษัทที่ขายสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งหลายที่มักจะไม่มีอำนาจทางการตลาดเลย ราคาสินค้าขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลกเป็นหลัก หุ้นที่เป็นโรงงานผลิตสินค้าผมก็คิดว่าส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเข้าข่ายนักเนื่องจากสินค้ามักจะมีการแข่งขันกันสูงทั้งจากภายในและต่างประเทศ หุ้นที่จะผ่านเกณฑ์ขั้นต้นนั้นผมคิดว่าน่าจะอยู่ในกลุ่มบริการเป็นหลัก แต่จะเป็นกลุ่มไหนหรือตัวไหนนั้น นักลงทุนคงต้องวิเคราะห์กันเอง ประเด็นที่สำคัญสุดท้ายก็คือ เมื่อได้หุ้นที่เข้าข่ายแล้ว ราคาที่จะซื้อก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เราต้องการว่าราคานั้นจะต้องถูกมาก เกณฑ์ง่าย ๆ ก็คือ ถ้าสิ่งที่เราคิดนั้นถูกต้อง เราจะต้องหวังว่าเราจะได้กำไรจากการลงทุนถือหุ้น 3- 4 ปีไม่น้อยกว่า 1-2 เท่าของราคาที่เราซื้อ ถ้าราคาหุ้นยังลงมาไม่ถึงก็อาจจะต้องรอไปก่อน เมื่อราคาตกลงมาถึงจุดแล้วเราก็อาจทยอยซื้อไปตามกลยุทธ์ซื้อเฉลี่ยที่กล่าวถึงแล้ว
ทั้งหมดนั้นก็เป็นเพียงกลยุทธ์การลงทุนซื้อหุ้นในภาวะวิกฤติแบบหนึ่งที่เน้นความปลอดภัยพอสมควร แน่นอนว่ายังมีกลยุทธ์การลงทุนแบบอื่น ๆ อีกมากมายที่แต่ละคนจะคิดกันได้ คำแนะนำสุดท้ายของผมก็คือ ในยามที่เกิดวิกฤตินั้น “อย่ากลัว” วิธีที่จะลดความกลัวก็คือ มองที่ตัวธุรกิจหรือบริษัทที่เราจะลงทุน ถ้าเราเห็นว่าเขาก็ยังทำงานกันเป็นปกติ ความกลัวของเราจะลดลง แล้วเราก็จะพบว่าราคาหุ้นที่ดิ่งลงมานั้น ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว แต่เป็นโอกาสที่สำคัญในชีวิต
Cr. from email Tisco
October 2008 ซื้อหุ้นยามวิกฤติ - หุ้นดิ่งเหว -
พอดีผมไปอ่านเจอ บทความนี้เหมาะกับตลาดตอนนี้มากครับ เขียนตอนเกิดsubprime น่ะ ตอนนั้นจำได้เลยว่า 3 วันหุ้นลงเป็นร้อยกว่าจุด ลงแรงไม่แพ้ตอนนี้เลยครับ ลองอ่านดูน่ะครับ มีประโยชน์ดี : Monday, 13 October 2008 ซื้อหุ้นยามวิกฤติ « วิกฤติหรือโอกาส
ตลาดหมีรอบนี้ดูเหมือนว่าจะรุนแรงและมาอย่างรวดเร็วแทบไม่ทันตั้งตัว เหตุคงเป็นเพราะว่ามันมาจากต่างประเทศ ณ. ขณะที่เขียนอยู่นี้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ตกลงมาแล้วประมาณ 47% นับจากต้นปี มองย้อนหลังไปในประวัติศาสตร์ของตลาดหุ้นไทยกว่า 30 ปี ไม่เคยมีปีไหนยกเว้นปี 2540 ที่หุ้นไทยจะตกลงมาหนักเท่าปีนี้ที่ผ่านมายังไม่ครบสิบเดือน แต่สิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งก็คือ ตลาดหมีที่รุนแรงมากนี้ เกิดขึ้นในยามที่ภาวะเศรษฐกิจและการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนอยู่ในภาวะที่ปกติ นอกจากนั้น ราคาของหุ้นก็ไม่ได้สูงกว่าพื้นฐานที่ควรเป็นเลย ผลก็คือ ดัชนีวัดความถูกแพงของหุ้นในตลาดโดยเฉลี่ยลดต่ำลงจนกลายเป็น “ตลาดหุ้นคุณค่า” นั่นคือ ค่า PE ของตลาดลดลงเหลือเพียงประมาณ 6.8 เท่า PB ประมาณ 1 เท่า และค่าผลตอบแทนเงินปันผลเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 6.4% ต่อปี และทำให้ตลาดหุ้นตอนนี้มีราคา “ถูกที่สุด” ในประวัติศาสตร์ของตลาดหุ้นไทยอีกครั้งหนึ่งและถูกพอ ๆ กับช่วงปี 2540 ที่เราประสบวิกฤติครั้งใหญ่
ผมคงไม่ต้องพูดว่านี่เป็นช่วงเวลาของการขายหุ้นหรือซื้อหุ้น แน่นอน ภาวะเศรษฐกิจต่อจากนี้มีความไม่แน่นอนสูง โลกอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนอาจจะชะลอตัวลง ในสถานการณ์ที่เลวร้าย อาจจะมีการล้มละลายของบริษัทขนาดใหญ่ตามมาอย่างที่กำลังเกิดขึ้นในสหรัฐ ยุโรป และแม้กระทั่งญี่ปุ่น แต่ในความคิดของผมแล้ว โอกาสที่บริษัทขนาดใหญ่จำนวนมากในประเทศไทยจะล้มละลายหรือใกล้ล้มละลายอย่างที่เราเห็นในช่วงปี 2540 นั้นน่าจะมีน้อยมาก เหตุผลก็ง่ายนิดเดียว บริษัทของไทยในขณะนี้มีหนี้น้อยลงไปมาก หลายบริษัทมีเงินสดมากมาย ดังนั้น การซื้อหุ้นในยามนี้จึงน่าจะเป็นโอกาสทองที่เราจะได้ผลตอบแทนงดงามในระยะยาวอย่างน้อย 3-4 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตาม “หุ้นที่ว่าถูกแล้วก็ยังอาจจะมีหุ้นที่ถูกกว่า” ด้วยเหตุนี้ นักลงทุนจำนวนมากจึงยังไม่กล้าที่จะซื้อหุ้น พวกเขาอยากรอจนกว่าตลาดจะ “นิ่ง” คือ หุ้นไม่ตกลงไปต่อแล้วจึงจะซื้อหุ้น
กลยุทธ์การรอคอยนั้น ไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่าย เพราะเราไม่รู้ว่าเมื่อไรหุ้นจะตกถึงพื้นแล้วจริง ๆ กลยุทธ์ที่ทำได้ง่ายกว่าก็คือ การซื้อเฉลี่ย นั่นคือ ทยอยซื้อไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่จุดที่เราเห็นว่ามันถูกมาก ๆ อยู่แล้ว กลยุทธ์แบบนี้เราจะต้องทำใจยอมรับให้ได้ว่าในช่วงแรกที่เราเข้าลงทุน เราอาจจะต้อง “ขาดทุน” อยู่บ้าง และอาจต้องขาดทุนเป็นระยะเวลาหนึ่ง บางทีอาจจะเป็นปี เหตุผลก็เพราะว่าในยามที่เกิดวิกฤตินั้น ในบางครั้ง หุ้นอาจจะเหงาหงอยไปนานพอสมควรประเภทที่เรียกว่า “ไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์” แต่เมื่อไรก็ตามที่เริ่มมีแสงเข้ามา กำไรจะมากมหาศาล สรุปก็คือ การลงทุนซื้อหุ้นในยามวิกฤตินั้น มันควรทำเหมือนกับว่า เรากำลังซื้อธุรกิจที่ดีและมั่นคงเพื่อเก็บไว้เป็นสมบัติที่จะสามารถเก็บกินในอนาคตระยะยาวในราคาที่ต่ำมาก ส่วนว่าซื้อแล้วราคากลับลดลงไปอีกนั้น เราต้องคิดว่าเป็นเรื่องความโชคดีของคนอื่นที่ซื้อได้ถูกกว่าเรา อย่าไปอิจฉาเขา เราควรพอใจในสิ่งที่เราได้มาซึ่งคุ้มค่ามากอยู่แล้ว
ประเด็นสำคัญต่อมาก็คือ เราต้องเลือกซื้อหุ้นที่จะทำให้เราได้ผลตอบแทนมากเมื่อสภาวะวิกฤติคลี่คลายลง การซื้อหุ้นโดยไม่ดูพื้นฐานแต่ดูที่ราคาหุ้นที่ตกลงมาเป็นหลักนั้นไม่ปลอดภัย เหตุก็เพราะ กิจการหลายแห่งอาจจะประสบกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจที่ตามมาและทำให้มันมีปัญหาล้มละลายหรือผลการดำเนินงานด้อยลงไปมาก แบบนี้ การที่ราคาหุ้นตกลงมามากก็อาจจะช่วยอะไรไม่ได้ การเลือกหุ้นที่จะซื้อนั้น วิธีที่ปลอดภัยกว่าจึงน่าจะอยู่ที่การวิเคราะห์แล้วพบว่า เมื่อเหตุการณ์วิกฤติผ่านพ้นไป ผลการดำเนินงานของบริษัทจะต้องกลับมาที่เดิมหรือใกล้เคียงกับผลการดำเนินงานในอดีตหรือปัจจุบันที่จะทำให้หุ้นนั้นมีค่า PE ต่ำมากและมีปันผลสูง นอกจากนั้น เราจะต้องมั่นใจด้วยว่า บริษัทที่เราซื้อนั้น แม้ว่าภาวะวิกฤติจะรุนแรงแค่ไหน กิจการของบริษัทก็จะต้องยังอยู่ เพราะ “มันตายไม่ได้” เนื่องจากมันอาจจะเป็นรายเดียวหรือรายที่ใหญ่มากที่สังคมหรือประเทศต้องมี หรือมันตายไม่ได้เนื่องจากถ้ามันตาย รายอื่นจะต้องตายก่อนเพราะมันคือตัวที่แข็งแกร่งที่สุด
จากเหตุผลข้างต้น ผมคิดว่า เราน่าจะมีหุ้นอย่างน้อยกลุ่มหนึ่งที่น่าจะปลอดภัยพอสมควรที่เราจะซื้อลงทุนในยามวิกฤติ นั่นก็คือ หุ้นที่มีอำนาจทางการตลาดสูงโดยเฉพาะกิจการที่มีอำนาจผูกขาดหรือกึ่งผูกขาดและมีผู้ขายหรือให้บริการน้อยรายและกิจการนั้นเป็นสิ่ง “จำเป็น” หรือเป็นอะไรที่คนส่วนใหญ่เลือกที่จะยังใช้อยู่พอสมควรแม้ในยามที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ
ด้วยเงื่อนไขข้างต้น ผมคิดว่า หุ้นที่ไม่อยู่ในข่ายน่าจะรวมถึงหุ้นของบริษัทที่ขายสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งหลายที่มักจะไม่มีอำนาจทางการตลาดเลย ราคาสินค้าขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลกเป็นหลัก หุ้นที่เป็นโรงงานผลิตสินค้าผมก็คิดว่าส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเข้าข่ายนักเนื่องจากสินค้ามักจะมีการแข่งขันกันสูงทั้งจากภายในและต่างประเทศ หุ้นที่จะผ่านเกณฑ์ขั้นต้นนั้นผมคิดว่าน่าจะอยู่ในกลุ่มบริการเป็นหลัก แต่จะเป็นกลุ่มไหนหรือตัวไหนนั้น นักลงทุนคงต้องวิเคราะห์กันเอง ประเด็นที่สำคัญสุดท้ายก็คือ เมื่อได้หุ้นที่เข้าข่ายแล้ว ราคาที่จะซื้อก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เราต้องการว่าราคานั้นจะต้องถูกมาก เกณฑ์ง่าย ๆ ก็คือ ถ้าสิ่งที่เราคิดนั้นถูกต้อง เราจะต้องหวังว่าเราจะได้กำไรจากการลงทุนถือหุ้น 3- 4 ปีไม่น้อยกว่า 1-2 เท่าของราคาที่เราซื้อ ถ้าราคาหุ้นยังลงมาไม่ถึงก็อาจจะต้องรอไปก่อน เมื่อราคาตกลงมาถึงจุดแล้วเราก็อาจทยอยซื้อไปตามกลยุทธ์ซื้อเฉลี่ยที่กล่าวถึงแล้ว
ทั้งหมดนั้นก็เป็นเพียงกลยุทธ์การลงทุนซื้อหุ้นในภาวะวิกฤติแบบหนึ่งที่เน้นความปลอดภัยพอสมควร แน่นอนว่ายังมีกลยุทธ์การลงทุนแบบอื่น ๆ อีกมากมายที่แต่ละคนจะคิดกันได้ คำแนะนำสุดท้ายของผมก็คือ ในยามที่เกิดวิกฤตินั้น “อย่ากลัว” วิธีที่จะลดความกลัวก็คือ มองที่ตัวธุรกิจหรือบริษัทที่เราจะลงทุน ถ้าเราเห็นว่าเขาก็ยังทำงานกันเป็นปกติ ความกลัวของเราจะลดลง แล้วเราก็จะพบว่าราคาหุ้นที่ดิ่งลงมานั้น ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว แต่เป็นโอกาสที่สำคัญในชีวิต
Cr. from email Tisco