เราไปอ่านเจอมา หากท่านใดสามารถอธิบายได้เพิ่มเติมนอกเหนือจากนี้ จะเป็นพระคุณอย่างสูง
ในวิชชา “มโนมยิทธิ” เป็นวิชชาทาง “สมถะกรรมฐาน” จำต้องใช้ “การพิจารณาสภาวธรรม อันเป็นหัวใจของ วิปัสสนา เข้าไปร่วมเมื่อภาวะจิตเข้าสู่สูงสุดของ “สมถะ” เช่นกัน ไม่เช่นนั้น ไม่อาจบรรลุธรรมได้ ในหลักการนำจิตไปสู่มิติอื่นๆ นั้น ขณะที่จิตรวมเป็นหนึ่งเดียวและกำลังออกจากมิติเดิม หรือที่เราเรียกกันว่า “ออกจากร่าง” (แต่จริงๆ แล้วไม่ได้ออกอย่างเด็ดขาดจริงๆ) เราไม่รู้สึกถึงร่างเดิมเราแล้ว รู้สึกได้ถึงมิติใหม่ ภพใหม่ เช่น ถอดกายทิพย์ไปสวรรค์ ก็รู้สึกเหมือนตัวเองอยู่สวรรค์แล้วจริงๆ ภาวะนี้ เทียบเท่ากับฌานสี่ ซึ่งไม่อาจบรรลุธรรมได้ ต้องเข้าใจก่อนว่า “จิตไม่ได้ถอดจากกายอย่างสิ้นเชิงจริงๆ” เพราะหากถอดออกไปสิ้นเชิง ก็คือ “ตาย” เท่านั้น จิตจะมีบางส่วนเชื่อมโยงกับร่างเดิมขณะถอดจิต ขอเรียกเป็นภาษาง่ายๆ ว่า “จิตหลัก” และ “จิตรอง” ในขณะถอดกายทิพย์นี้ จิตรองจะรับรู้ถึงมิติอื่น และจิตหลักจะดูแลร่างกายของเรา ในวิชชาสติปัฏฐานสี่ ได้พูดในเชิงปรัชญาว่า “จิตในจิต” นั่นคือ มีจิตสองดวง (แท้แล้วมีดวงเดียว) แต่หลวงปู่เทสก์ จะเรียกว่า “จิต” และ “ใจ” ขอให้เข้าใจว่า “ที่เราถอดกายทิพย์ไปนั้น ไปด้วย จิต (จิตรอง)” ส่วน “ใจ” (จิตหลัก) นั้น ยังคงดูแลร่างกายเราอยู่ เราจึงยังไม่ตาย ในการจะบรรลุธรรมได้ ต้องประสานการทำงานของ “จิตและใจ” เข้าด้วยกัน กล่าวคือ จิตจะเห็นไตรลักษณ์ โดยไม่มี “ใจ” ไม่ได้ หากเห็นไตรลักษณ์ขณะ “ถอดกายทิพย์” ออกจากร่าง คือ ไม่มี “ใจ” ร่วม จะตายทันที เรียกว่า “ดับขันธปรินิพพาน” นั่นเอง หรือ ที่เขาเรียกว่า “เทวดาบรรลุธรรม” คือ กายทิพย์เดิมจะสลายทันที หรือที่มารเรียกว่า “วิญญาณสลาย” นั่นแหละ (มารกลัววิญญาณสลายมาก) แต่สำหรับ “พวกกายทิพย์” แล้ว หากจะเลื่อนภพภูมิได้ “จำต้องสลายวิญญาณ” ก่อน คือ กายทิพย์เดิมสลายไป แล้ว “จุติใหม่ในภพภูมิที่สูงขึ้น” ดังนั้น บางท่านอาจเคยแผ่ส่วนบุญให้ “ผี” แล้วเห็นผีร่างกายสลายไปทันที จากนั้นก็กลายร่างเป็นเทวดา นั่นแหละ เขาได้เลื่อนไปจุติในภพภูมิใหม่ที่ดีขึ้นแล้ว หรือ หากเดินวิชชาธรรมกาย ก็จะเห็นกายที่ละเอียดลึกเข้าไปนั่นเอง คือ กายหยาบเก่า ทะลุเข้าสู่กายที่ละเอียดขึ้น ดีขึ้นกว่าเดิม ในวิชชา “มโนมยิทธิ” ไม่มีทางบรรลุธรรมได้ด้วยการ “ถอดกายทิพย์” เลย เพราะจิตและใจแยกขาดออกจากกัน เทียบได้กับภาวะ “ฌานสี่” นั่นเอง เป็นภาวะที่ “ใจ” หรือ จิตหลัก ไม่รู้ไม่เห็น ไม่แจ้งในไตรลักษณ์ด้วย ดังนั้น หากต้องการบรรลุธรรมด้วยวิชชา “มโนมยิทธิ” จำต้อง พิจารณา “ไตรลักษณ์” ช่วงขณะเสี้ยววินาที ที่ “กายทิพย์จะออกจากร่าง” คือ พิจารณาเห็นว่ากายนี้ไม่ใช่ของเรา แม้นกายทิพย์ก็ไม่ใช่ของเรา การพิจารณาเฉยๆ จิตไม่มี “สติตื่นเต็มที่” คือ ไม่อยู่ในภาวะ “สติตื่นเหมือนกำลังจะตาย” ก็จะไม่บรรลุ คือ ได้แต่ระลึกเฉยๆ ว่า ไม่ใช่ของเรา แต่จิตไม่ตื่นตัว จิตใจจึงไม่กลับเข้าประสานกัน ไม่ทำงานร่วมกันเต็มที่ ก็จะไม่บรรลุธรรม ดังนั้น วิชชามโนมยิทธิ จะบรรลุธรรม ในเสี้ยววินาที “จังหวะที่กายทิพย์ถอดออกแล้วกลับร่างเดิมฉับพลัน” ด้วย “สติตื่นเห็นอนิจจัง และอนัตตา นั่นเอง เช่น ถอดออกแล้ว ตกใจ เห็นว่าตนจะตาย วิญญาณออกจากร่างแล้ว จิตรองหรือกายทิพย์ก็รีบกลับประสานเข้าร่างเดิม จิตและใจประสานกันอีกครั้ง เมื่อเห็นว่า “สุดท้ายตนก็ตาย ใดๆ ในโลกจะอยาก จะยึดเอาไว้ทำไมอีกเล่า” ก็จะบรรลุธรรมด้วย “มโนมยิทธิ” ทันที เรียกว่า ผ่านด่าน “มัจจุราชมาร” คือ “ความกลัวตาย อาลัยชีวิต” หรือการ “ตายก่อนตาย” จึงมีดวงตาเห็นธรรม บุคคลใดก็ตาม ไม่พร้อมเข้าสู่ภาวการณ์ตาย คือ “ไม่เคยรู้สึก ตายก่อนตาย” หรือ “ดับ ก่อน ดับ” ก็จะไม่มีทางบรรลุธรรม
ภาวะจิตตกศูนย์ก่อนบรรลุธรรมในวิชชามโมยิทธิ
ในวิชชา “มโนมยิทธิ” เป็นวิชชาทาง “สมถะกรรมฐาน” จำต้องใช้ “การพิจารณาสภาวธรรม อันเป็นหัวใจของ วิปัสสนา เข้าไปร่วมเมื่อภาวะจิตเข้าสู่สูงสุดของ “สมถะ” เช่นกัน ไม่เช่นนั้น ไม่อาจบรรลุธรรมได้ ในหลักการนำจิตไปสู่มิติอื่นๆ นั้น ขณะที่จิตรวมเป็นหนึ่งเดียวและกำลังออกจากมิติเดิม หรือที่เราเรียกกันว่า “ออกจากร่าง” (แต่จริงๆ แล้วไม่ได้ออกอย่างเด็ดขาดจริงๆ) เราไม่รู้สึกถึงร่างเดิมเราแล้ว รู้สึกได้ถึงมิติใหม่ ภพใหม่ เช่น ถอดกายทิพย์ไปสวรรค์ ก็รู้สึกเหมือนตัวเองอยู่สวรรค์แล้วจริงๆ ภาวะนี้ เทียบเท่ากับฌานสี่ ซึ่งไม่อาจบรรลุธรรมได้ ต้องเข้าใจก่อนว่า “จิตไม่ได้ถอดจากกายอย่างสิ้นเชิงจริงๆ” เพราะหากถอดออกไปสิ้นเชิง ก็คือ “ตาย” เท่านั้น จิตจะมีบางส่วนเชื่อมโยงกับร่างเดิมขณะถอดจิต ขอเรียกเป็นภาษาง่ายๆ ว่า “จิตหลัก” และ “จิตรอง” ในขณะถอดกายทิพย์นี้ จิตรองจะรับรู้ถึงมิติอื่น และจิตหลักจะดูแลร่างกายของเรา ในวิชชาสติปัฏฐานสี่ ได้พูดในเชิงปรัชญาว่า “จิตในจิต” นั่นคือ มีจิตสองดวง (แท้แล้วมีดวงเดียว) แต่หลวงปู่เทสก์ จะเรียกว่า “จิต” และ “ใจ” ขอให้เข้าใจว่า “ที่เราถอดกายทิพย์ไปนั้น ไปด้วย จิต (จิตรอง)” ส่วน “ใจ” (จิตหลัก) นั้น ยังคงดูแลร่างกายเราอยู่ เราจึงยังไม่ตาย ในการจะบรรลุธรรมได้ ต้องประสานการทำงานของ “จิตและใจ” เข้าด้วยกัน กล่าวคือ จิตจะเห็นไตรลักษณ์ โดยไม่มี “ใจ” ไม่ได้ หากเห็นไตรลักษณ์ขณะ “ถอดกายทิพย์” ออกจากร่าง คือ ไม่มี “ใจ” ร่วม จะตายทันที เรียกว่า “ดับขันธปรินิพพาน” นั่นเอง หรือ ที่เขาเรียกว่า “เทวดาบรรลุธรรม” คือ กายทิพย์เดิมจะสลายทันที หรือที่มารเรียกว่า “วิญญาณสลาย” นั่นแหละ (มารกลัววิญญาณสลายมาก) แต่สำหรับ “พวกกายทิพย์” แล้ว หากจะเลื่อนภพภูมิได้ “จำต้องสลายวิญญาณ” ก่อน คือ กายทิพย์เดิมสลายไป แล้ว “จุติใหม่ในภพภูมิที่สูงขึ้น” ดังนั้น บางท่านอาจเคยแผ่ส่วนบุญให้ “ผี” แล้วเห็นผีร่างกายสลายไปทันที จากนั้นก็กลายร่างเป็นเทวดา นั่นแหละ เขาได้เลื่อนไปจุติในภพภูมิใหม่ที่ดีขึ้นแล้ว หรือ หากเดินวิชชาธรรมกาย ก็จะเห็นกายที่ละเอียดลึกเข้าไปนั่นเอง คือ กายหยาบเก่า ทะลุเข้าสู่กายที่ละเอียดขึ้น ดีขึ้นกว่าเดิม ในวิชชา “มโนมยิทธิ” ไม่มีทางบรรลุธรรมได้ด้วยการ “ถอดกายทิพย์” เลย เพราะจิตและใจแยกขาดออกจากกัน เทียบได้กับภาวะ “ฌานสี่” นั่นเอง เป็นภาวะที่ “ใจ” หรือ จิตหลัก ไม่รู้ไม่เห็น ไม่แจ้งในไตรลักษณ์ด้วย ดังนั้น หากต้องการบรรลุธรรมด้วยวิชชา “มโนมยิทธิ” จำต้อง พิจารณา “ไตรลักษณ์” ช่วงขณะเสี้ยววินาที ที่ “กายทิพย์จะออกจากร่าง” คือ พิจารณาเห็นว่ากายนี้ไม่ใช่ของเรา แม้นกายทิพย์ก็ไม่ใช่ของเรา การพิจารณาเฉยๆ จิตไม่มี “สติตื่นเต็มที่” คือ ไม่อยู่ในภาวะ “สติตื่นเหมือนกำลังจะตาย” ก็จะไม่บรรลุ คือ ได้แต่ระลึกเฉยๆ ว่า ไม่ใช่ของเรา แต่จิตไม่ตื่นตัว จิตใจจึงไม่กลับเข้าประสานกัน ไม่ทำงานร่วมกันเต็มที่ ก็จะไม่บรรลุธรรม ดังนั้น วิชชามโนมยิทธิ จะบรรลุธรรม ในเสี้ยววินาที “จังหวะที่กายทิพย์ถอดออกแล้วกลับร่างเดิมฉับพลัน” ด้วย “สติตื่นเห็นอนิจจัง และอนัตตา นั่นเอง เช่น ถอดออกแล้ว ตกใจ เห็นว่าตนจะตาย วิญญาณออกจากร่างแล้ว จิตรองหรือกายทิพย์ก็รีบกลับประสานเข้าร่างเดิม จิตและใจประสานกันอีกครั้ง เมื่อเห็นว่า “สุดท้ายตนก็ตาย ใดๆ ในโลกจะอยาก จะยึดเอาไว้ทำไมอีกเล่า” ก็จะบรรลุธรรมด้วย “มโนมยิทธิ” ทันที เรียกว่า ผ่านด่าน “มัจจุราชมาร” คือ “ความกลัวตาย อาลัยชีวิต” หรือการ “ตายก่อนตาย” จึงมีดวงตาเห็นธรรม บุคคลใดก็ตาม ไม่พร้อมเข้าสู่ภาวการณ์ตาย คือ “ไม่เคยรู้สึก ตายก่อนตาย” หรือ “ดับ ก่อน ดับ” ก็จะไม่มีทางบรรลุธรรม