Thomas Fuller แห่ง New York Times มองถึงสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองไทยว่า มีที่มาจากการกระจายผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากนโยบายของรัฐบาลทักษิณ ต่อเนื่องมาถึงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โดยเฉพาะการผลักดันนโยบายที่โดนกล่าวหาจากฝ่ายตรงข้ามว่า ประชานิยม แต่ผลของนโยบายนี้กลับสร้างความพอใจให้กับคนในภาคชนบท ซึ่งไม่ค่อยได้รับการเหลียวแลอย่างจริงจังจากรัฐบาลชนชั้นนำกรุงเทพ(Bangkok elite) ที่หมายถึงพรรคประชาธิปัตย์
Fuller ให้ความสำคัญกับการมองปัญหาความขัดแย้งในเมืองไทยแง่ แบ่งสรรปันส่วนอำนาจ ทางเศรษฐกิจ โดยอ้างการวิเคราะห์ของนิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่ว่า ชนชั้นกลางชั้นนำเก่า(อำนาจเก่า) อดรนทนไม่ได้กับการมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นของคนในต่างจังหวัด ซึ่งพวกเขามองว่า คุกคามต่อสถานะความเป็นชนชั้นนำ(อำนาจเก่า)ที่เคยมีมาอย่างยาวนาน ซึ่งเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งของการเข้าร่วมชุมนุมกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่เป็นแกนนำการชุมนุม เรียกร้องให้รัฐบาลยุติการทำงาน และที่สำคัญ คือ นายสุเทพ เสนอระบบให้ปฏิเสธเลือกตั้ง (abandon its electoral system) และจัดตั้งสภาประชาชน (People’s Council) ซึ่งการอธิบายรูปแบบของสภาดังกล่าว กลับไม่ชัดเจนแต่อย่างใด
ที่มา อ่านเต็มๆได้..
http://www.prachatai3.info/journal/2013/12/50276
*** Thomas Fuller แห่ง New York Times มองถึงสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองไทย ***
Fuller ให้ความสำคัญกับการมองปัญหาความขัดแย้งในเมืองไทยแง่ แบ่งสรรปันส่วนอำนาจ ทางเศรษฐกิจ โดยอ้างการวิเคราะห์ของนิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่ว่า ชนชั้นกลางชั้นนำเก่า(อำนาจเก่า) อดรนทนไม่ได้กับการมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นของคนในต่างจังหวัด ซึ่งพวกเขามองว่า คุกคามต่อสถานะความเป็นชนชั้นนำ(อำนาจเก่า)ที่เคยมีมาอย่างยาวนาน ซึ่งเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งของการเข้าร่วมชุมนุมกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่เป็นแกนนำการชุมนุม เรียกร้องให้รัฐบาลยุติการทำงาน และที่สำคัญ คือ นายสุเทพ เสนอระบบให้ปฏิเสธเลือกตั้ง (abandon its electoral system) และจัดตั้งสภาประชาชน (People’s Council) ซึ่งการอธิบายรูปแบบของสภาดังกล่าว กลับไม่ชัดเจนแต่อย่างใด
ที่มา อ่านเต็มๆได้..http://www.prachatai3.info/journal/2013/12/50276