ไม่ว่าในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พรรคฝ่ายค้านจะอภิปรายด้วยเหตุผลและด้วยหลักฐานที่ดีวิเศษแค่ไหน และชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่านายกรัฐมนตรีบริหารประเทศอย่างไร้ประสิทธิภาพ ไร้ภาวะผู้นำ ซ้ำยังปล่อยให้มีการทุจริตโกงกินอย่างมโหฬาร รัฐบาลซึ่งเป็นเสียงข้างมากก็จะต้องชนะ ฝ่ายค้านซึ่งเป็นเสียงข้างน้อยจึงต้องแพ้
ผลของมติไม่ไว้วางใจเป็นภาพสะท้อนความไร้ประสิทธิภาพของระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจของระบบรัฐสภาไทย พรรคเสียงข้างมากในสภาเป็นผู้กุมอำนาจเด็ดขาด ทั้งอำนาจนิติบัญญัติและบริหาร ในทางทฤษฎีถือว่าฝ่ายนิติบัญญัติต้องตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร แต่ในโลกความเป็นจริงของการเมืองไทย ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นลูกน้องฝ่ายบริหาร
ระบบพรรคการเมืองของไทย ยังไม่เป็น “พรรค” การเมืองที่แท้จริงเหมือนกับ นานาอารยประชาธิปไตย ไม่ใช่พรรคของมวลชน บางพรรคไม่ได้เป็นแม้แต่พรรคของสมาชิกหรือ ส.ส. แต่เป็นพรรคของนายทุน ส.ส.เป็นคล้ายกับพนักงานบริษัท ต้องออกเสียงลงประชามติตามคำสั่งเจ้าของพรรค จึงไม่อาจตรวจสอบรัฐมนตรีที่เป็นระดับผู้ใหญ่ของพรรค
คณะปฏิรูปการเมืองผู้เขียนรัฐธรรมนูญ 2540 จึงพยายามแก้จุดอ่อนนี้ ด้วยการสร้างองค์กรอิสระและศาลใหม่ๆ ขึ้นมามากมาย เพื่อให้กลไกการตรวจสอบมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมือง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง กกต. ป.ป.ช.และวุฒิสภาโฉมใหม่ แต่การเมืองเข้าแทรกแซงบางองค์กร จนสูญเสียความเป็นอิสระ
รัฐบาลปัจจุบันดูเหมือนจะรัง-เกียจองค์กรอิสระ อ้างว่าไม่ยึดโยงกับประชาชน จึงขู่ว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อยุบบางศาลและองค์กรอิสระ โดยไม่คำนึงว่าถ้าให้ระบบตรวจสอบไร้ประสิทธิภาพ การทุจริตโกงกินจะรุ่งเรืองเฟื่องฟู เสียงข้างมากจะออกกฎหมายได้ตามอำเภอใจ กลายเป็น “ทรราชเสียงข้างมาก”ประชาชนจึงต้องออกมาตรวจสอบรัฐบาลบนท้องถนน.
ตัดตอนจากไทยรัฐ
เพราะทรราชเสียงข้างมากในสภา ประชาชนเลยมาตรวจสอบรัฐบาลบนถนน
ผลของมติไม่ไว้วางใจเป็นภาพสะท้อนความไร้ประสิทธิภาพของระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจของระบบรัฐสภาไทย พรรคเสียงข้างมากในสภาเป็นผู้กุมอำนาจเด็ดขาด ทั้งอำนาจนิติบัญญัติและบริหาร ในทางทฤษฎีถือว่าฝ่ายนิติบัญญัติต้องตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร แต่ในโลกความเป็นจริงของการเมืองไทย ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นลูกน้องฝ่ายบริหาร
ระบบพรรคการเมืองของไทย ยังไม่เป็น “พรรค” การเมืองที่แท้จริงเหมือนกับ นานาอารยประชาธิปไตย ไม่ใช่พรรคของมวลชน บางพรรคไม่ได้เป็นแม้แต่พรรคของสมาชิกหรือ ส.ส. แต่เป็นพรรคของนายทุน ส.ส.เป็นคล้ายกับพนักงานบริษัท ต้องออกเสียงลงประชามติตามคำสั่งเจ้าของพรรค จึงไม่อาจตรวจสอบรัฐมนตรีที่เป็นระดับผู้ใหญ่ของพรรค
คณะปฏิรูปการเมืองผู้เขียนรัฐธรรมนูญ 2540 จึงพยายามแก้จุดอ่อนนี้ ด้วยการสร้างองค์กรอิสระและศาลใหม่ๆ ขึ้นมามากมาย เพื่อให้กลไกการตรวจสอบมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมือง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง กกต. ป.ป.ช.และวุฒิสภาโฉมใหม่ แต่การเมืองเข้าแทรกแซงบางองค์กร จนสูญเสียความเป็นอิสระ
รัฐบาลปัจจุบันดูเหมือนจะรัง-เกียจองค์กรอิสระ อ้างว่าไม่ยึดโยงกับประชาชน จึงขู่ว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อยุบบางศาลและองค์กรอิสระ โดยไม่คำนึงว่าถ้าให้ระบบตรวจสอบไร้ประสิทธิภาพ การทุจริตโกงกินจะรุ่งเรืองเฟื่องฟู เสียงข้างมากจะออกกฎหมายได้ตามอำเภอใจ กลายเป็น “ทรราชเสียงข้างมาก”ประชาชนจึงต้องออกมาตรวจสอบรัฐบาลบนท้องถนน.
ตัดตอนจากไทยรัฐ