สำหรับคนที่เล่นหุ้นขาเดียวโดยไม่มีเครื่องมือ Hedging วิธีที่ผมมักจะใช้คือ
1)การขายปรับสัดส่วน Cash:Stock
ในสถานการณ์ขาลง ถ้ามองแล้วมันไม่จบง่าย ก็ค่อยๆปรับพอร์ต แต่อย่าขายหมดทีเดียว เพราะหากมันพลิกผัน เรายังมีหุ้น แต่ถ้ามันลงต่อ เราก็สบายใจขึ้นหน่อยที่ได้ขายไปบ้างส่วนหนึ่ง แม้บางทีอาจต้องขายขาดทุน
ตัวอย่างเช่นตอนนี้มีหุ้น 80 % เหลือเงินสด 20 % หากมองแล้วยังลงไม่สุด หรือหุ้นที่ถืออยู่ไม่แข็งแกร่งต่อแรงเสียดสีตลาดขาลงได้ ก็ทยอยขายออก อาจจะ 20-30 % เพื่อให้มีสัดส่วน Cash:Stock เป็น 50:50 จากเดิม 20:80 เพื่อลดความเสียเปรียบสำหรับตลาดขาลง ขณะเดียวกันหากตลาดปรับฐานเป็นขึ้น เรายังมีหุ้นให้ขาย เป็นการบริหารพอร์ตขณะที่เป็นการบริหารจิตใจไปด้วย การบริหารจิตใจ หมายความว่า เมื่อหุ้นพลิกเป็นขึ้นก็ไม่วิตกกลัวตกรถ และเมื่อหุ้นลงก็ยังใจชื้นที่ยังมีเงินสดไว้สู้ต่อ หรือหากประเมินแล้วตลาดมีแน้วโน้มลงยาว ก็ขายเพิ่มอีก 20-25% เพื่อปรับสัดส่วน Cash:Stockเป็น 75:25 ต่อไป โดยเหลือไว้ในหุ้นน้ำดีและยังคงมีการเติบโตเข้มแข็งในระยะยาวจริงๆเท่านั้น
2)การแบ่งสัดส่วนการซื้อแบบทัพหน้า ทัพหนุน และทัพหลวง
สำหรับการเข้าซื้อก็ควรแบ่งสัดส่วนการเข้าซื้อ ตัวอย่างเช่น หากเปรียบเหมือนกองทัพ ก็อาจแบ่งเป็นทัพหน้า ทัพหนุน และทัพหลวง ในสัดส่วน 30:30:40 หรือ 20:30:50 ก็ได้ สำหรับการรอซื้อ โดยจังหวะบุกครั้งแรก เมื่อมีความมั่นใจ 60-70 % ก็ส่งทัพหน้าเข้าโรมรันก่อน หากผิดจังหวะสัญญาณซื้อเปลี่ยนเป็นขายก็อาจถือไว้ก่อนหรือถอนทัพโดยขายออกเพื่อตั้งหลักใหม่ ให้รอทัพหนุน ในสัญญาณซื้อต่อมาเพื่อเข้าไปแก้สถานการณ์ส่วนทัพหน้าที่พลาดพลั้งไป โดยทัพหลวงรักษาเมืองไว้ รอจนสถานการณ์สุกงอม และมั่นใจเกิน 85-90 % จึงค่อยรุกเพิ่มอีกที หรือตั้งมั่นไว้ในเมือง(Cash-in-hand) เผื่อสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันจึงค่อยนำออกมาเพื่อแก้สถานการณ์ และควรเลือกเฉพาะหุ้นที่มีสภาพคล่องสูง ราคาไม่แพง และยังมีการเติบโตในระยะยาว และการซื้อไม้แรกก็ต่อเมื่อสัญญาณเทคนิคบ่งชี้เท่านั้น และเป็นการเล่นใน Short Term ก่อน เนื่องจากเราไม่รู้ว่าขาลงจะจบลงเมื่อไหร่ หรืออาจแบ่งสัดส่วนเป็น 30:70 ในการ Investing:Trading ก็ได้ หากมูลค่าหุ้นต่ำกว่าพื้นฐานในระดับที่ยอมรับสำหรับ Long Term ได้
ส่วนกลยุทธการเล่นหุ้นเต็มพอร์ต หรือล้างพอร์ต อาจมีความเหมาะสม หากพอร์ตมีขนาดเล็ก(ไม่เกิน 1 ล้าน) และมีความคล่องตัวด้านเทคนิคพอตัว แต่ปัญหาที่ผมเจอมากับตัวคือมักจะหาสมดุลของอารมณ์ได้ยาก เพราะการล้างหรือเต็มคือการตั้งธงไปทางใดทางหนึ่ง 100 % ซึ่งไม่เหมาะกับธรรมชาติของตลาดหุ้นซึ่งตั้งอยู่บนความผันผวนและความไม่แน่นอนสูง ทำให้ความกดดันและความเครียดจะเพิ่มขึ้นหากเราผิดทาง เพราะพอร์ตอาจได้หรือเสียหายอย่างเต็มเหนี่ย
สำหรับการใช้เครื่องมือ Hedging เช่น TFEX หรือ DW ก็สามารถนำมาใช้ป้องกันความเสี่ยงได้เมื่อเห็นว่าตลาดมีแนวโน้มลงอย่างต่อเนื่อง แต่พอร์ตมีขนาดใหญ่ หรือไม่ต้องการขายหุ้นที่ลงทุนออกมา สามารถใช้การ Short TFEX โดยการกำหนดจำนวนสัญญาให้ Babance กับเปอร์เซ็นต์พอร์ตที่ลดลงไปเมื่อเทียบกับดัชนี ทั้งนี้หากเป็นไปเพื่อป้องกันความเสี่ยงเพียงอย่างเดียวให้ระลึกไว้ว่า ไม่ควรใช้จนเป็นการเก็งกำไรไป เพราะอาจทำให้เพิ่มความเสี่ยงแทนที่จะไปจำกัดความเสี่ยง
แชร์กลยุทธการเล่นหุ้นขาลง
1)การขายปรับสัดส่วน Cash:Stock
ในสถานการณ์ขาลง ถ้ามองแล้วมันไม่จบง่าย ก็ค่อยๆปรับพอร์ต แต่อย่าขายหมดทีเดียว เพราะหากมันพลิกผัน เรายังมีหุ้น แต่ถ้ามันลงต่อ เราก็สบายใจขึ้นหน่อยที่ได้ขายไปบ้างส่วนหนึ่ง แม้บางทีอาจต้องขายขาดทุน
ตัวอย่างเช่นตอนนี้มีหุ้น 80 % เหลือเงินสด 20 % หากมองแล้วยังลงไม่สุด หรือหุ้นที่ถืออยู่ไม่แข็งแกร่งต่อแรงเสียดสีตลาดขาลงได้ ก็ทยอยขายออก อาจจะ 20-30 % เพื่อให้มีสัดส่วน Cash:Stock เป็น 50:50 จากเดิม 20:80 เพื่อลดความเสียเปรียบสำหรับตลาดขาลง ขณะเดียวกันหากตลาดปรับฐานเป็นขึ้น เรายังมีหุ้นให้ขาย เป็นการบริหารพอร์ตขณะที่เป็นการบริหารจิตใจไปด้วย การบริหารจิตใจ หมายความว่า เมื่อหุ้นพลิกเป็นขึ้นก็ไม่วิตกกลัวตกรถ และเมื่อหุ้นลงก็ยังใจชื้นที่ยังมีเงินสดไว้สู้ต่อ หรือหากประเมินแล้วตลาดมีแน้วโน้มลงยาว ก็ขายเพิ่มอีก 20-25% เพื่อปรับสัดส่วน Cash:Stockเป็น 75:25 ต่อไป โดยเหลือไว้ในหุ้นน้ำดีและยังคงมีการเติบโตเข้มแข็งในระยะยาวจริงๆเท่านั้น
2)การแบ่งสัดส่วนการซื้อแบบทัพหน้า ทัพหนุน และทัพหลวง
สำหรับการเข้าซื้อก็ควรแบ่งสัดส่วนการเข้าซื้อ ตัวอย่างเช่น หากเปรียบเหมือนกองทัพ ก็อาจแบ่งเป็นทัพหน้า ทัพหนุน และทัพหลวง ในสัดส่วน 30:30:40 หรือ 20:30:50 ก็ได้ สำหรับการรอซื้อ โดยจังหวะบุกครั้งแรก เมื่อมีความมั่นใจ 60-70 % ก็ส่งทัพหน้าเข้าโรมรันก่อน หากผิดจังหวะสัญญาณซื้อเปลี่ยนเป็นขายก็อาจถือไว้ก่อนหรือถอนทัพโดยขายออกเพื่อตั้งหลักใหม่ ให้รอทัพหนุน ในสัญญาณซื้อต่อมาเพื่อเข้าไปแก้สถานการณ์ส่วนทัพหน้าที่พลาดพลั้งไป โดยทัพหลวงรักษาเมืองไว้ รอจนสถานการณ์สุกงอม และมั่นใจเกิน 85-90 % จึงค่อยรุกเพิ่มอีกที หรือตั้งมั่นไว้ในเมือง(Cash-in-hand) เผื่อสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันจึงค่อยนำออกมาเพื่อแก้สถานการณ์ และควรเลือกเฉพาะหุ้นที่มีสภาพคล่องสูง ราคาไม่แพง และยังมีการเติบโตในระยะยาว และการซื้อไม้แรกก็ต่อเมื่อสัญญาณเทคนิคบ่งชี้เท่านั้น และเป็นการเล่นใน Short Term ก่อน เนื่องจากเราไม่รู้ว่าขาลงจะจบลงเมื่อไหร่ หรืออาจแบ่งสัดส่วนเป็น 30:70 ในการ Investing:Trading ก็ได้ หากมูลค่าหุ้นต่ำกว่าพื้นฐานในระดับที่ยอมรับสำหรับ Long Term ได้
ส่วนกลยุทธการเล่นหุ้นเต็มพอร์ต หรือล้างพอร์ต อาจมีความเหมาะสม หากพอร์ตมีขนาดเล็ก(ไม่เกิน 1 ล้าน) และมีความคล่องตัวด้านเทคนิคพอตัว แต่ปัญหาที่ผมเจอมากับตัวคือมักจะหาสมดุลของอารมณ์ได้ยาก เพราะการล้างหรือเต็มคือการตั้งธงไปทางใดทางหนึ่ง 100 % ซึ่งไม่เหมาะกับธรรมชาติของตลาดหุ้นซึ่งตั้งอยู่บนความผันผวนและความไม่แน่นอนสูง ทำให้ความกดดันและความเครียดจะเพิ่มขึ้นหากเราผิดทาง เพราะพอร์ตอาจได้หรือเสียหายอย่างเต็มเหนี่ย
สำหรับการใช้เครื่องมือ Hedging เช่น TFEX หรือ DW ก็สามารถนำมาใช้ป้องกันความเสี่ยงได้เมื่อเห็นว่าตลาดมีแนวโน้มลงอย่างต่อเนื่อง แต่พอร์ตมีขนาดใหญ่ หรือไม่ต้องการขายหุ้นที่ลงทุนออกมา สามารถใช้การ Short TFEX โดยการกำหนดจำนวนสัญญาให้ Babance กับเปอร์เซ็นต์พอร์ตที่ลดลงไปเมื่อเทียบกับดัชนี ทั้งนี้หากเป็นไปเพื่อป้องกันความเสี่ยงเพียงอย่างเดียวให้ระลึกไว้ว่า ไม่ควรใช้จนเป็นการเก็งกำไรไป เพราะอาจทำให้เพิ่มความเสี่ยงแทนที่จะไปจำกัดความเสี่ยง