หลายวันมานี้ มีคนพูดถึงเรื่อง สภาผัวเมีย และ โดนถามกลับเรื่องสภาพวกพ้องของ 40 สว. สรรหา
ดังนั้น จึงอยากยกประเด็นของเจตนาของคนที่ใช้คำว่า "สภาผัวเมีย" โดยเป็นการกล่าวอ้างว่า ถ้า
ได้เมียมาเป็น สว. จะฮั้วกับผัวที่เป็น สส. ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว หน้าที่ของ สว. ไม่ได้มีอะไรที่
ไปคานอำนาจ สส. ได้เลย ต่างคนต่างมีงานทำที่มีลักษณะเหมือน และ ไม่เหมือนกัน แต่ไม่มีสิ่ง
ใดเลยที่ไปคานอำนาจซึ่งกันและกัน
การออกกฏหมาย
อำนาจหน้าที่ของ สว. ไม่ได้มีอำนาจในการหยุดยั้งการตรากฏหมายของ สส. มีเพียงการกลั่นกรอง
กฏหมาย ทำได้เพียงแค่ ชะลอการออกกฏหมาย ของ สส. ให้ช้าลงเท่านั้น
การอภิปรายไม่ไว้วางใจ และ การอภิปรายทั่วไป
อำนาจหน้าที่ของ สว. ไม่ได้มีอำนาจในการลงมติไม่ไว้วางใจ รัฐบาล ทำได้เพียงการเปิดอภิปราย
ทั่วไป โดยไม่มีการลงมติเท่านั้น การลงมติ เป็นเอกสิทธิของ สส. เท่านั้น
การตั้งกระทู้ถาม และ การตรวจสอบรัฐบาล
ทั้ง สส. และ สว. ต่างมีหน้าที่เหมือนกัน คือ ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล เมื่อต้องการทราบ
อะไร ก็สามารถตั้งกระทู้ถามได้เช่นกัน
การแต่งตั้งองค์กรอิสระ
อำนาจหน้าที่ของ สว. โดยตรง ที่ สส. ไม่สามารถเข้าไปเกี่ยวข้อง มันเหมือนงูกินหาง กล่าวคือ
สว. แต่งตั้ง องค์กรอิสระ องค์กรอิสระ ตรวจสอบการทำหน้าที่ สว. ถ้าคนกลุ่มนี้ ต่างเอื้อประโยชน์
ซึ่งกันและกัน ทุกอย่างจะไม่มีการดำเนินการใด ๆ ระหว่างกันโดยทั้งสิ้น
ผ่านมา 5 ปี เราเห็นแต่ สว. เลือกข้าง แล้ว สว. เลือกข้างเหล่านี้ ต่างเป็น สว. ที่มาจากการสรรหา
ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งถ้า สว. เหล่านี้ทำหน้าที่ ที่เป็นกลาง หรือ สว. เลือกข้างเหล่านี้มาจากการ
เลือกตั้งโดยประชาชน ไม่ใช่คน 7 คน วันนี้ เหตุการณ์หลาย ๆ อย่างจะไม่เกิด
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
หลายคนยังคงเข้าใจผิดจนถึงวันนี้ เรื่อง สภาผัวเมีย เพราะ ตามรัฐธรรมนูญ สว. ไม่ได้มีไว้เพื่อคานอำนาจ สส.
ดังนั้น จึงอยากยกประเด็นของเจตนาของคนที่ใช้คำว่า "สภาผัวเมีย" โดยเป็นการกล่าวอ้างว่า ถ้า
ได้เมียมาเป็น สว. จะฮั้วกับผัวที่เป็น สส. ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว หน้าที่ของ สว. ไม่ได้มีอะไรที่
ไปคานอำนาจ สส. ได้เลย ต่างคนต่างมีงานทำที่มีลักษณะเหมือน และ ไม่เหมือนกัน แต่ไม่มีสิ่ง
ใดเลยที่ไปคานอำนาจซึ่งกันและกัน
การออกกฏหมาย
อำนาจหน้าที่ของ สว. ไม่ได้มีอำนาจในการหยุดยั้งการตรากฏหมายของ สส. มีเพียงการกลั่นกรอง
กฏหมาย ทำได้เพียงแค่ ชะลอการออกกฏหมาย ของ สส. ให้ช้าลงเท่านั้น
การอภิปรายไม่ไว้วางใจ และ การอภิปรายทั่วไป
อำนาจหน้าที่ของ สว. ไม่ได้มีอำนาจในการลงมติไม่ไว้วางใจ รัฐบาล ทำได้เพียงการเปิดอภิปราย
ทั่วไป โดยไม่มีการลงมติเท่านั้น การลงมติ เป็นเอกสิทธิของ สส. เท่านั้น
การตั้งกระทู้ถาม และ การตรวจสอบรัฐบาล
ทั้ง สส. และ สว. ต่างมีหน้าที่เหมือนกัน คือ ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล เมื่อต้องการทราบ
อะไร ก็สามารถตั้งกระทู้ถามได้เช่นกัน
การแต่งตั้งองค์กรอิสระ
อำนาจหน้าที่ของ สว. โดยตรง ที่ สส. ไม่สามารถเข้าไปเกี่ยวข้อง มันเหมือนงูกินหาง กล่าวคือ
สว. แต่งตั้ง องค์กรอิสระ องค์กรอิสระ ตรวจสอบการทำหน้าที่ สว. ถ้าคนกลุ่มนี้ ต่างเอื้อประโยชน์
ซึ่งกันและกัน ทุกอย่างจะไม่มีการดำเนินการใด ๆ ระหว่างกันโดยทั้งสิ้น
ผ่านมา 5 ปี เราเห็นแต่ สว. เลือกข้าง แล้ว สว. เลือกข้างเหล่านี้ ต่างเป็น สว. ที่มาจากการสรรหา
ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งถ้า สว. เหล่านี้ทำหน้าที่ ที่เป็นกลาง หรือ สว. เลือกข้างเหล่านี้มาจากการ
เลือกตั้งโดยประชาชน ไม่ใช่คน 7 คน วันนี้ เหตุการณ์หลาย ๆ อย่างจะไม่เกิด
จึงเรียนมาเพื่อทราบ