ใช้ประกอบการติดสินใจลงทุนหุ้นก็ได้ครับ ลองพิจารณาดูครับ.....
วัฏจักรเศรษฐกิจ กับการ ฟื้นตัวของอุตสาหกรรม
http://www.tsi-thailand.org/index.php?option=com_content&task=view&id=1811
จากภาพ จะเห็นว่า... สถาบันการเงิน (Financials) มักจะฟื้นตัวก่อนอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะบริษัทหลักทรัพย์ทั้งหลายที่มักจะมีกำไรสุทธิ
เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วก่อนธุรกิจอื่นๆ นั่นเพราะตลาดหุ้นเป็นดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุด
เมื่อตลาดหุ้นฟื้นตัว ธุรกิจที่จะได้ประโยชน์เต็มๆ คือ บริษัทนายหน้า
ค้าหลักทรัพย์ ตามมาด้วยธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะมีผลประกอบการกระเตื้องขึ้นด้วยกำไรจากการลงทุน โดยเฉพาะกำไรจากการลงทุนในตราสารหนี้ ซึ่งจะมีราคาสูงขึ้นจากการลดลงของอัตราดอกเบี้ยในช่วงนี้
กลุ่มธุรกิจที่จะฟื้นตัวเป็นระลอกที่สองก็คือ สินค้าอุปโภคบริโภคประเภท
คงทนถาวร (Consumer Durables) เช่น อสังหาริมทรัพย์ รถยนต์
เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีความไวสูงในการตอบสนองต่อ
การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากต้องอาศัยเงินกู้จากสถาบัน
การเงิน ดังนั้น สถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภค เช่น บริษัทเงินทุน บริษัทลีสซิ่ง บริษัทบัตรเครดิต ฯลฯ ก็จะฟื้นตัวตามไปด้วย
ถ้าเศรษฐกิจยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องถึงจุดหนึ่ง ธุรกิจต่างๆ จะเริ่มมีการใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ทำให้ต้องมีการลงทุนเพิ่มเพื่อขยายกำลังการผลิต ดังนั้น ธุรกิจที่จะได้ประโยชน์มากที่สุดในช่วงนี้ก็คือ สินค้าทุน (Capital Goods) เช่น อุปกรณ์ เครื่องจักรกล รับเหมาก่อสร้าง ฯลฯ
เมื่อเศรษฐกิจขึ้นถึงจุดสูงสุด อุตสาหกรรมต่างๆ จะมีความต้องการใช้วัตถุดิบสูงมาก ซึ่งจะส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ที่เป็นวัตถุดิบพื้นฐานของอุตสาหกรรม (Basic Industries) เช่น ปูนซีเมนต์ เหล็ก ปิโตรเคมี ฯลฯ ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งในช่วงนี้ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ จะเริ่มใช้นโยบายการเงินที่
เข้มงวดขึ้น เพื่อลดความร้อนแรงของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ผลจากการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นจะเริ่มส่งผลให้เศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวลง ทำให้อุตสาหกรรมต่างๆ ได้รับผลกระทบมากบ้างน้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับว่าอุตสาหกรรมนั้นใช้เงินกู้จากสถาบันการเงินมากหรือน้อย ถ้าหากมีการใช้เงินกู้มาก ก็จะได้รับผลกระทบแรงกว่า ในช่วงนี้อุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบน้อยกว่าเพื่อนก็คือ สินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น (Consumer Staples) เช่น อาหาร สาธารณูปโภค ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม ลักษณะการหมุนตัวของกลุ่มอุตสาหกรรมอาจไม่เป็นไปตามแบบแผนทั้งหมด เพราะยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับวัฏจักรเศรษฐกิจประกอบด้วย เช่น ความสามารถของผู้บริหาร ฯลฯ ซึ่งเวลาจะลงทุนจริงๆ ผู้ลงทุนคงต้องไปศึกษารายละเอียดของแต่ละอุตสาหกรรมในช่วงนั้นๆ
อีกที
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5/198068607020376
วัฏจักรเศรษฐกิจ กับการ ฟื้นตัวของอุตสาหกรรม
วัฏจักรเศรษฐกิจ กับการ ฟื้นตัวของอุตสาหกรรม
http://www.tsi-thailand.org/index.php?option=com_content&task=view&id=1811
จากภาพ จะเห็นว่า... สถาบันการเงิน (Financials) มักจะฟื้นตัวก่อนอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะบริษัทหลักทรัพย์ทั้งหลายที่มักจะมีกำไรสุทธิ
เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วก่อนธุรกิจอื่นๆ นั่นเพราะตลาดหุ้นเป็นดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุด
เมื่อตลาดหุ้นฟื้นตัว ธุรกิจที่จะได้ประโยชน์เต็มๆ คือ บริษัทนายหน้า
ค้าหลักทรัพย์ ตามมาด้วยธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะมีผลประกอบการกระเตื้องขึ้นด้วยกำไรจากการลงทุน โดยเฉพาะกำไรจากการลงทุนในตราสารหนี้ ซึ่งจะมีราคาสูงขึ้นจากการลดลงของอัตราดอกเบี้ยในช่วงนี้
กลุ่มธุรกิจที่จะฟื้นตัวเป็นระลอกที่สองก็คือ สินค้าอุปโภคบริโภคประเภท
คงทนถาวร (Consumer Durables) เช่น อสังหาริมทรัพย์ รถยนต์
เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีความไวสูงในการตอบสนองต่อ
การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากต้องอาศัยเงินกู้จากสถาบัน
การเงิน ดังนั้น สถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภค เช่น บริษัทเงินทุน บริษัทลีสซิ่ง บริษัทบัตรเครดิต ฯลฯ ก็จะฟื้นตัวตามไปด้วย
ถ้าเศรษฐกิจยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องถึงจุดหนึ่ง ธุรกิจต่างๆ จะเริ่มมีการใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ทำให้ต้องมีการลงทุนเพิ่มเพื่อขยายกำลังการผลิต ดังนั้น ธุรกิจที่จะได้ประโยชน์มากที่สุดในช่วงนี้ก็คือ สินค้าทุน (Capital Goods) เช่น อุปกรณ์ เครื่องจักรกล รับเหมาก่อสร้าง ฯลฯ
เมื่อเศรษฐกิจขึ้นถึงจุดสูงสุด อุตสาหกรรมต่างๆ จะมีความต้องการใช้วัตถุดิบสูงมาก ซึ่งจะส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ที่เป็นวัตถุดิบพื้นฐานของอุตสาหกรรม (Basic Industries) เช่น ปูนซีเมนต์ เหล็ก ปิโตรเคมี ฯลฯ ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งในช่วงนี้ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ จะเริ่มใช้นโยบายการเงินที่
เข้มงวดขึ้น เพื่อลดความร้อนแรงของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ผลจากการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นจะเริ่มส่งผลให้เศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวลง ทำให้อุตสาหกรรมต่างๆ ได้รับผลกระทบมากบ้างน้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับว่าอุตสาหกรรมนั้นใช้เงินกู้จากสถาบันการเงินมากหรือน้อย ถ้าหากมีการใช้เงินกู้มาก ก็จะได้รับผลกระทบแรงกว่า ในช่วงนี้อุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบน้อยกว่าเพื่อนก็คือ สินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น (Consumer Staples) เช่น อาหาร สาธารณูปโภค ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม ลักษณะการหมุนตัวของกลุ่มอุตสาหกรรมอาจไม่เป็นไปตามแบบแผนทั้งหมด เพราะยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับวัฏจักรเศรษฐกิจประกอบด้วย เช่น ความสามารถของผู้บริหาร ฯลฯ ซึ่งเวลาจะลงทุนจริงๆ ผู้ลงทุนคงต้องไปศึกษารายละเอียดของแต่ละอุตสาหกรรมในช่วงนั้นๆ
อีกที
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5/198068607020376