สวัสดีพี่ๆเพื่อนๆชาวพันทิปคะ หนูเป็นนักศึกษา กำลังทำโครงการพัฒนาชุมชนอยู่โครงการหนึ่งคะ(เป็นส่วนหนึ่งของวิชาเรียนคะ แต่หลังจากลงพื้นที่แล้วหนูรู้สึกตัวเองเป็นจิตอาสาอะไรสักอย่าง 55 คือลงพื้นที่ เจอชาวบ้าน พูดคุยกับพวกเค้าแล้วมันเกิดความรู้สึกอะไรบางอย่างจริงๆนะคะ
)และพวกหนูอยากได้ความช่วยเหลือจากเพื่อนๆพี่ๆคะ
ขอเล่าเกี่ยวกับโครงการให้ฟังก่อนนะคะ คือโครงการที่พวกหนูได้รับมอบหมาย คือพัฒนาชุมชนที่"ปลูกหญ้าสนาม"ให้เกิดความยั่งยืน
วันนี้ พวกหนูก็ได้ไปลงพื้นที่มาคะ ชุมชนนี้อยู่ร่มเกล้า เขตมีนบุรี (ซึ่งมีคำขวัญว่า "ปลาดัง หญ้าเด่น จังหวัดเก่า")พี่ๆชาวบ้านในชุมชนประมาณ 50-60%ทำเกษตรกรรม(ปลูกหญ้าสนามมากที่สุด)
และปัญหาที่ทางชุมชนเผชิญอยู่ ก็เป็นปัญหาที่เกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศประสบปัญหาเช่นกันคะ แต่หนูขอแจกแจงให้ฟังนะคะ
1.ปัญหาแรงงานน้อยลง
ปัจจุบัน คนที่ทำอาชีพนี้ ส่วนใหญ่เป็นคนสูงอายุ ตามมาด้วยคนว่างงาน กับคนที่เคยทำอาชีพนี้ดั่งเดิม พี่ชาวบ้านบอกว่า พวกพี่เค้าอยากให้ลูกหลานสืบทอดต่อ ให้สมดังคำขวัญของเขต แต่เนื่องจากมีโรงงานมาเปิดมากขึ้น
คนหนุ่มสาวจึงหันไปสนใจงงานโรงงานมากกว่า เพราะ สบายกว่า และค่าแรงดีกว่า
2.ปัญหาต้นทุนที่สูงขึ้น
ราคาปุ๋ย ดิน หรือวัตถุดิบต่างๆสูงขึ้นตามเศรษฐกิจ แต่ราคาหญ้ากลับไม่ขึ้นตาม
3.ชาวบ้านมีความรู้เรื่องเกษตรไม่เพียงพอ
จากที่พวกหนูถามพี่ชาวบ้านเรื่องการใช้ดิน ปุ๋ย ว่าใช้สูตรไหนอะไรยังไง พี่ๆชาวบ้านบอกพวกหนูว่า ไม่รู้หรอก ว่าอันไหนใช้ยังไง ลองผิดลองถูก ใช้อันไหนแล้วหญ้าไม่ตาย ก็ใช้อันไหน แล้วก็ พวกหญ้าเปลี่ยนสีเป็นสีส้ม สีม่วง พวกเค้าก็ไม่ทราบสาเหตุว่าใบติดโรคจากดิน ปุ๋ย หรือน้ำ แล้วพวกเค้าก็ปลูกหญ้าขายอย่างเดียวจริงๆนะคะ คือไม่แซะเอง(คนแซะหญ้า คือคนที่พ่อค้าคนกลางต้องหามาเอง)ไม่ได้รับปูหญ้าตามบ้าน ออฟฟิศ(ยกเว้นคนรู้จักกันจะมาติดต่อ)ซึ่งตรงนี้ ทางพวกเค้าก็อยากที่จะได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดสวน เพื่อที่จะได้เพิ่มโอกาสในการหารายได้มากขึ้น
4.ปัญหาพ่อค้าคนกลาง
พ่อค้าคนกลางของชุมชนนี้ส่วนใหญ่เป็นคนละแวกชุมชนคะ ชาวบ้านไม่มีอำนาจต่อรอง เวลาปลูกหญ้าก็ปลูกตามorderที่ได้รับคะ
แต่คือพวกหนูฟังแล้วรู้สึกหดหู่ใจ คือมีบางเคส พี่ชาวบ้านบอกว่าพวกเค้าได้รับออเดอร์เสร็จว่าเอาพันธุ์นี้นะ พอถึงเวลาจะเซาะหญ้าไปขาย พ่อค้าคนกลางก็จะบอกว่า ทางลูกค้าเปลี่ยน เอาอีกพันธุ์ พวกพี่ชาวบ้านก็ต้องปลูกพันธุ์ใหม่ แต่พ่อค้าคนกลางก็เอาพันธุ์แรกด้วยนะคะ แต่ราคาจะถูกบีบลงมาอีก ซึ่งชาวบ้านก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะถ้าเค้าไม่ทำตามที่ลูกค้าสั่ง รายได้เค้าก็ไม่มี ก็เลยต้องทำคะ แล้วรายได้ที่เค้าจะได้รับก็ยังไม่ได้จากพ่อค้าคนกลางนะคะ ต้องรอทางลูกค้าจ่ายก่อนถึงจะได้ (หนูว่าคำว่านายหน้า น่าจะเหมาะกว่านะคะ)
5. ชาวบ้านไม่มีสัญญาการซื้อขาย และไม่ทำบัญชีใดๆทั้งสิ้น
อันนี้พวกหนูพยายามหาวิธีว่าจะทำอย่างไรให้พวกพี่เค้ากล้าทำสัญญา กล้าทำบัญชี คือจากที่พวกหนูคุย มีบางคนเค้าบอกว่า เวลาเห็นตัวเลขขาดทุน แล้วเค้าหมดกำลังใจ ไม่อยากทำต่อแล้ว อะไรแระมาณนี้คะ
6. คู่แข่งที่มีมากขึ้น และราคาคู่แข่งตำกว่า
จากที่หนูฟังชาวบ้านเล่ามา พี่เค้าบอกว่าสมัยก่อน พวกเค้ามีฐานะกัน(บ้านแต่ละคน ใหญ่จริงคะ)เพราะเหมือนเค้าเป็นเจ้าตลาดเรื่องหญ้าสนาม เค้ามีสิทธิ์เลือกว่าเค้าอยากขายผ่านพ่อค้าคนกลางคนไหนก็ได้แต่ปัจจุบัน พวกเค้าไม่มีสิทธิ์เลือกเหมือนเมื่อก่อน พวกเค้าไม่รู้จะทำอย่างไรให้ไปสู้คู่แข่งได้ จะลดต้นทุนอย่างไร
7. พื้นที่ในการปลูกหญ้าขายก็เริ่มน้อยลง
เพราะมีความเจริญเข้ามาแทนที่มากขึ้น บวกกับชาวบ้านบางกลุ่มเห็นว่ารายได้น้อยลง ก็เริ่มขายที่ให้นายทุนทำโรงงานแทน
แต่คนที่ยังอนุรักษ์อาชีพนี้ไว้ พวกพี่เค้ามีเป้าหมายนะคะ ว่าอยากให้พื้นที่นี้มีสีเขียวอยู่บ้าง อยากให้อาชีพนี้อยู่กับลูกหลานไปนานๆ ให้สมกับคำขวัญเขตคะ
8.น้ำท่วมทุกปี
พี่ชาวบ้านบอกเลยคะ ว่าปัญหานี้ใหญ่สุด เค้าบอกว่าโดยเฉลี่ยแล้วทุกๆ5ปี จะมีน้ำท่วมใหญ่1ครั้ง และปีอื่นๆก็จะโดนน้ำท่วม แต่ถึงจะท่วมไม่มาก แต่ทุกครั้งที่อยู่ในหน้าฝน
พวกเค้าต้องเสียเงินไปกับการสร้างคันกั้นน้ำ(เฉลี่ยอยู่ที่หลักหมื่นต้นๆ)ทุกๆปี โดยที่รายได้พวกเค้าก็เท่าเดิม แต่ต้นทุนพวกเค้ากลับเพิ่มขึ้น
และตอนที่น้ำท่วมปี 54 เกษตรกรน่าสงสารมากนะคะ คือพวกเค้าบอกหนูว่า ต้นหญ้าต่อตรม.เนี้ย 7-8บาท แล้วตอนนั้นโดนน้ำหมด
ขาดทุนยับเยินกันไปหมด รัฐเยียวยาพวกเค้าโดยจ่ายตรม.ละบาท ละก็มีพืชผลที่เสียหายอีก ก็ไม่ได้รับเงินช่วยเช่นกัน
ที่กล่าวมานี้ เป็นปัญหาหลักๆที่พวกพี่ๆชาวบ้านเล่าให้ฟังคะ แล้วสิ่งที่พวกพี่ๆเค้าอยากให้เกิดแก่ชุชมพวกเค้า ก็คือ
1.เครื่องปลูกหญ้า
พวกพี่ชาวบ้านเค้าบอกว่า ถ้ามีเครื่องปลูกหญ้าอาจจะทำให้ไม่ต้องมีต้นทุนในเรื่องค่าจ้างคนปลูก ประหยัดเวลามากขึ้น(ผลผลิตก็จะมากขึ้น)คนอาจจะสนใจกลับมาทำอาชีพนี้มากขึ้น ก็จะทำให้ขายหญ้าได้มากขึ้น ซึงหนูก็กำลังเริ่มหาอยู่ว่าที่ม.ไหนมีงานวิจัยเรื่องนี้บ้าง หรือมันมีผลิตขึ้นแล้วจริงๆ จะคุ้มมั้ยถ้าเอาเครื่องปลูกหญ้ามาใช้ ฯลฯ
2.เกษตรเชิงท่องเที่ยว
พวกพี่ๆเค้าบอกว่า พวกเค้าก็ไม่ได้ไกลจากสุวรรณภูมิสักเท่าไหร่ ถ้าพวกเค้ามีความรู้เพิ่มขึ้น มีรายได้พร้อมที่พัฒนาชุมชนมากขึ้น พวกเค้าก็อยากที่จะเปิดชุมชนของพวกเค้าเป็นแหล่งเรียนรู้"การปลูกหญ้าครบวงจร"อารมณ์คล้ายๆศูนย์ศิลปาชีพคะ ที่มีหลายๆโซน โซนดูวิธีปลูกหญ้า โซนวิถีชาวบ้าน โซนขายของที่ระลึก แต่ข้อนี้หนูคิดว่าน่าจะใช้เวลาพอสมควรคะ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป๋นไปไม่ได้นะค่ะ
3.ความรู้เรื่องหญ้า และเรื่องอื่นๆที่ช่วยพัฒนาพวกเค้าให้ดีกว่าเดิม
4. ช่องทางที่จะทำให้พวกพี่ๆเค้าอยู่อย่างยั่งยืนแบบไม่โดนกดขี่เหมือนปัจจุบันนี้
สิ่งที่พวกหนูจะช่วยพวกพี่ๆเค้า พวกหนูช่วยกันคิดกัน เริ่มวางแผนไว้บ้างแล้วคะ แต่คาดว่าคงไม่เพียงพอต่อการช่วยเหลือพวกพี่ๆเค้า หรืออาจจะไม่ถึงฝันของพวกพี่เค้า เนื่องจากพวกหนูยังไม่มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาบนโลกธุรกิจของจริง พวกหนูจึงมาขอความเห็นจากพี่ๆเพื่อนๆชาวพันทิปที่มีไอเดีย หรือข้อเสนอต่างๆในการช่วยพี่ๆชาวบ้านกลุ่มนี้ ตอนที่หนูคุยกับพวกพี่ๆเค้า หนูเห็นสายตาที่ไม่ยอมแพ้กับปัญหา และมุ่งมั่นที่จะรักษาอาชีพนี้ให้อยู่กับชุมชนไปนานๆ พวกพี่เค้าก็บอกนะคะว่า เค้าเป็นเกษตรกรที่ผลิตสินค้าอาหารตา ไม่ใช่อาหารกิน ปัญหาของพวกเค้าก็เลยไม่ค่อยสำคัญมากนักต่อภาครัฐ ฟังแล้วก็แอบหดหู่ใจนะคะ พวกหนูก็เลยอยากช่วยพวกพี่ๆเค้าอย่างเต็มที่เท่าที่จะทำได้คะ ณ จุดนี้ หนูว่าให้มันมากกว่าคำว่าวิชาแล้วคะ มันเป็นอะไรที่เป็นปัญหาจริงๆ สงสารเกษตรกรไทยจริงๆคะ
ปล.
-หนูเก็บดินตัวอย่างมา วันพุธจะเอาไปให้กรมพัฒนาที่ดินช่วยตรวจสอบ พิจารณาจ้า
-ใครมีอะไรแนะนำ เชิญนะคะ ยินดีรับฟังทั้งเรื่องแนวทางการเกษตร การตลาด การจัดการ ฯลฯ
ขอบคุณที่อ่านจนจบนะคะ ขอบคุณจากใจจริงคะ
ไม่อยากให้มองข้ามเกษตรกรปลูกหญ้าเลยคะ (ยาวหน่อยนะคะ)
ขอเล่าเกี่ยวกับโครงการให้ฟังก่อนนะคะ คือโครงการที่พวกหนูได้รับมอบหมาย คือพัฒนาชุมชนที่"ปลูกหญ้าสนาม"ให้เกิดความยั่งยืน
วันนี้ พวกหนูก็ได้ไปลงพื้นที่มาคะ ชุมชนนี้อยู่ร่มเกล้า เขตมีนบุรี (ซึ่งมีคำขวัญว่า "ปลาดัง หญ้าเด่น จังหวัดเก่า")พี่ๆชาวบ้านในชุมชนประมาณ 50-60%ทำเกษตรกรรม(ปลูกหญ้าสนามมากที่สุด)
และปัญหาที่ทางชุมชนเผชิญอยู่ ก็เป็นปัญหาที่เกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศประสบปัญหาเช่นกันคะ แต่หนูขอแจกแจงให้ฟังนะคะ
1.ปัญหาแรงงานน้อยลง
ปัจจุบัน คนที่ทำอาชีพนี้ ส่วนใหญ่เป็นคนสูงอายุ ตามมาด้วยคนว่างงาน กับคนที่เคยทำอาชีพนี้ดั่งเดิม พี่ชาวบ้านบอกว่า พวกพี่เค้าอยากให้ลูกหลานสืบทอดต่อ ให้สมดังคำขวัญของเขต แต่เนื่องจากมีโรงงานมาเปิดมากขึ้น
คนหนุ่มสาวจึงหันไปสนใจงงานโรงงานมากกว่า เพราะ สบายกว่า และค่าแรงดีกว่า
2.ปัญหาต้นทุนที่สูงขึ้น
ราคาปุ๋ย ดิน หรือวัตถุดิบต่างๆสูงขึ้นตามเศรษฐกิจ แต่ราคาหญ้ากลับไม่ขึ้นตาม
3.ชาวบ้านมีความรู้เรื่องเกษตรไม่เพียงพอ
จากที่พวกหนูถามพี่ชาวบ้านเรื่องการใช้ดิน ปุ๋ย ว่าใช้สูตรไหนอะไรยังไง พี่ๆชาวบ้านบอกพวกหนูว่า ไม่รู้หรอก ว่าอันไหนใช้ยังไง ลองผิดลองถูก ใช้อันไหนแล้วหญ้าไม่ตาย ก็ใช้อันไหน แล้วก็ พวกหญ้าเปลี่ยนสีเป็นสีส้ม สีม่วง พวกเค้าก็ไม่ทราบสาเหตุว่าใบติดโรคจากดิน ปุ๋ย หรือน้ำ แล้วพวกเค้าก็ปลูกหญ้าขายอย่างเดียวจริงๆนะคะ คือไม่แซะเอง(คนแซะหญ้า คือคนที่พ่อค้าคนกลางต้องหามาเอง)ไม่ได้รับปูหญ้าตามบ้าน ออฟฟิศ(ยกเว้นคนรู้จักกันจะมาติดต่อ)ซึ่งตรงนี้ ทางพวกเค้าก็อยากที่จะได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดสวน เพื่อที่จะได้เพิ่มโอกาสในการหารายได้มากขึ้น
4.ปัญหาพ่อค้าคนกลาง
พ่อค้าคนกลางของชุมชนนี้ส่วนใหญ่เป็นคนละแวกชุมชนคะ ชาวบ้านไม่มีอำนาจต่อรอง เวลาปลูกหญ้าก็ปลูกตามorderที่ได้รับคะ
แต่คือพวกหนูฟังแล้วรู้สึกหดหู่ใจ คือมีบางเคส พี่ชาวบ้านบอกว่าพวกเค้าได้รับออเดอร์เสร็จว่าเอาพันธุ์นี้นะ พอถึงเวลาจะเซาะหญ้าไปขาย พ่อค้าคนกลางก็จะบอกว่า ทางลูกค้าเปลี่ยน เอาอีกพันธุ์ พวกพี่ชาวบ้านก็ต้องปลูกพันธุ์ใหม่ แต่พ่อค้าคนกลางก็เอาพันธุ์แรกด้วยนะคะ แต่ราคาจะถูกบีบลงมาอีก ซึ่งชาวบ้านก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะถ้าเค้าไม่ทำตามที่ลูกค้าสั่ง รายได้เค้าก็ไม่มี ก็เลยต้องทำคะ แล้วรายได้ที่เค้าจะได้รับก็ยังไม่ได้จากพ่อค้าคนกลางนะคะ ต้องรอทางลูกค้าจ่ายก่อนถึงจะได้ (หนูว่าคำว่านายหน้า น่าจะเหมาะกว่านะคะ)
5. ชาวบ้านไม่มีสัญญาการซื้อขาย และไม่ทำบัญชีใดๆทั้งสิ้น
อันนี้พวกหนูพยายามหาวิธีว่าจะทำอย่างไรให้พวกพี่เค้ากล้าทำสัญญา กล้าทำบัญชี คือจากที่พวกหนูคุย มีบางคนเค้าบอกว่า เวลาเห็นตัวเลขขาดทุน แล้วเค้าหมดกำลังใจ ไม่อยากทำต่อแล้ว อะไรแระมาณนี้คะ
6. คู่แข่งที่มีมากขึ้น และราคาคู่แข่งตำกว่า
จากที่หนูฟังชาวบ้านเล่ามา พี่เค้าบอกว่าสมัยก่อน พวกเค้ามีฐานะกัน(บ้านแต่ละคน ใหญ่จริงคะ)เพราะเหมือนเค้าเป็นเจ้าตลาดเรื่องหญ้าสนาม เค้ามีสิทธิ์เลือกว่าเค้าอยากขายผ่านพ่อค้าคนกลางคนไหนก็ได้แต่ปัจจุบัน พวกเค้าไม่มีสิทธิ์เลือกเหมือนเมื่อก่อน พวกเค้าไม่รู้จะทำอย่างไรให้ไปสู้คู่แข่งได้ จะลดต้นทุนอย่างไร
7. พื้นที่ในการปลูกหญ้าขายก็เริ่มน้อยลง
เพราะมีความเจริญเข้ามาแทนที่มากขึ้น บวกกับชาวบ้านบางกลุ่มเห็นว่ารายได้น้อยลง ก็เริ่มขายที่ให้นายทุนทำโรงงานแทน
แต่คนที่ยังอนุรักษ์อาชีพนี้ไว้ พวกพี่เค้ามีเป้าหมายนะคะ ว่าอยากให้พื้นที่นี้มีสีเขียวอยู่บ้าง อยากให้อาชีพนี้อยู่กับลูกหลานไปนานๆ ให้สมกับคำขวัญเขตคะ
8.น้ำท่วมทุกปี
พี่ชาวบ้านบอกเลยคะ ว่าปัญหานี้ใหญ่สุด เค้าบอกว่าโดยเฉลี่ยแล้วทุกๆ5ปี จะมีน้ำท่วมใหญ่1ครั้ง และปีอื่นๆก็จะโดนน้ำท่วม แต่ถึงจะท่วมไม่มาก แต่ทุกครั้งที่อยู่ในหน้าฝน
พวกเค้าต้องเสียเงินไปกับการสร้างคันกั้นน้ำ(เฉลี่ยอยู่ที่หลักหมื่นต้นๆ)ทุกๆปี โดยที่รายได้พวกเค้าก็เท่าเดิม แต่ต้นทุนพวกเค้ากลับเพิ่มขึ้น
และตอนที่น้ำท่วมปี 54 เกษตรกรน่าสงสารมากนะคะ คือพวกเค้าบอกหนูว่า ต้นหญ้าต่อตรม.เนี้ย 7-8บาท แล้วตอนนั้นโดนน้ำหมด
ขาดทุนยับเยินกันไปหมด รัฐเยียวยาพวกเค้าโดยจ่ายตรม.ละบาท ละก็มีพืชผลที่เสียหายอีก ก็ไม่ได้รับเงินช่วยเช่นกัน
ที่กล่าวมานี้ เป็นปัญหาหลักๆที่พวกพี่ๆชาวบ้านเล่าให้ฟังคะ แล้วสิ่งที่พวกพี่ๆเค้าอยากให้เกิดแก่ชุชมพวกเค้า ก็คือ
1.เครื่องปลูกหญ้า
พวกพี่ชาวบ้านเค้าบอกว่า ถ้ามีเครื่องปลูกหญ้าอาจจะทำให้ไม่ต้องมีต้นทุนในเรื่องค่าจ้างคนปลูก ประหยัดเวลามากขึ้น(ผลผลิตก็จะมากขึ้น)คนอาจจะสนใจกลับมาทำอาชีพนี้มากขึ้น ก็จะทำให้ขายหญ้าได้มากขึ้น ซึงหนูก็กำลังเริ่มหาอยู่ว่าที่ม.ไหนมีงานวิจัยเรื่องนี้บ้าง หรือมันมีผลิตขึ้นแล้วจริงๆ จะคุ้มมั้ยถ้าเอาเครื่องปลูกหญ้ามาใช้ ฯลฯ
2.เกษตรเชิงท่องเที่ยว
พวกพี่ๆเค้าบอกว่า พวกเค้าก็ไม่ได้ไกลจากสุวรรณภูมิสักเท่าไหร่ ถ้าพวกเค้ามีความรู้เพิ่มขึ้น มีรายได้พร้อมที่พัฒนาชุมชนมากขึ้น พวกเค้าก็อยากที่จะเปิดชุมชนของพวกเค้าเป็นแหล่งเรียนรู้"การปลูกหญ้าครบวงจร"อารมณ์คล้ายๆศูนย์ศิลปาชีพคะ ที่มีหลายๆโซน โซนดูวิธีปลูกหญ้า โซนวิถีชาวบ้าน โซนขายของที่ระลึก แต่ข้อนี้หนูคิดว่าน่าจะใช้เวลาพอสมควรคะ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป๋นไปไม่ได้นะค่ะ
3.ความรู้เรื่องหญ้า และเรื่องอื่นๆที่ช่วยพัฒนาพวกเค้าให้ดีกว่าเดิม
4. ช่องทางที่จะทำให้พวกพี่ๆเค้าอยู่อย่างยั่งยืนแบบไม่โดนกดขี่เหมือนปัจจุบันนี้
สิ่งที่พวกหนูจะช่วยพวกพี่ๆเค้า พวกหนูช่วยกันคิดกัน เริ่มวางแผนไว้บ้างแล้วคะ แต่คาดว่าคงไม่เพียงพอต่อการช่วยเหลือพวกพี่ๆเค้า หรืออาจจะไม่ถึงฝันของพวกพี่เค้า เนื่องจากพวกหนูยังไม่มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาบนโลกธุรกิจของจริง พวกหนูจึงมาขอความเห็นจากพี่ๆเพื่อนๆชาวพันทิปที่มีไอเดีย หรือข้อเสนอต่างๆในการช่วยพี่ๆชาวบ้านกลุ่มนี้ ตอนที่หนูคุยกับพวกพี่ๆเค้า หนูเห็นสายตาที่ไม่ยอมแพ้กับปัญหา และมุ่งมั่นที่จะรักษาอาชีพนี้ให้อยู่กับชุมชนไปนานๆ พวกพี่เค้าก็บอกนะคะว่า เค้าเป็นเกษตรกรที่ผลิตสินค้าอาหารตา ไม่ใช่อาหารกิน ปัญหาของพวกเค้าก็เลยไม่ค่อยสำคัญมากนักต่อภาครัฐ ฟังแล้วก็แอบหดหู่ใจนะคะ พวกหนูก็เลยอยากช่วยพวกพี่ๆเค้าอย่างเต็มที่เท่าที่จะทำได้คะ ณ จุดนี้ หนูว่าให้มันมากกว่าคำว่าวิชาแล้วคะ มันเป็นอะไรที่เป็นปัญหาจริงๆ สงสารเกษตรกรไทยจริงๆคะ
ปล.
-หนูเก็บดินตัวอย่างมา วันพุธจะเอาไปให้กรมพัฒนาที่ดินช่วยตรวจสอบ พิจารณาจ้า
-ใครมีอะไรแนะนำ เชิญนะคะ ยินดีรับฟังทั้งเรื่องแนวทางการเกษตร การตลาด การจัดการ ฯลฯ
ขอบคุณที่อ่านจนจบนะคะ ขอบคุณจากใจจริงคะ