💉💉มาลาริน/พาณิชย์ปลื้ม ร้านธงฟ้าช่วยเกษตรกรขายสินค้าชุมชน กะปิ น้ำปลา ผลไม้ ข้าวสารขายดีอันดับ1 ความสุขเกษตรกรไทยเพิ่ม


ร้านค้าธงฟ้าช่วยเกษตรกร-ผู้ผลิตชุมชน เผยข้าวสาร-กะปิ-น้ำปลา-ผลไม้ยอดขายพุ่ง



พาณิชย์’ปลื้ม ร้านธงฟ้าประชารัฐช่วย เกษตรกร-สินค้าชุมชน มีช่องทางจำหน่ายสินค้าทำรายได้เพิ่มขึ้น จากการจับจ่ายของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เผยสินค้าขายดี ข้าวสาร กะปิ น้ำปลา ไข่ไก่ อาหารแปรรูป ผลไม้

นายสมศักดิ์ เกียรติชัยลักษณ์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เปิดเผยว่า ผลการจำหน่ายสินค้าในร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ ทั้งแบบใช้เครื่องรูดบัตร (EDC) และแบบใช้แอปพลิเคชัน “ถุงเงินประชารัฐ” ที่ปัจจุบันมีอยู่ 7 หมื่นร้านทั่วประเทศ พบว่ามีการใช้จ่ายรวมของผู้ถือบัตรแล้วเกือบ 5 หมื่นล้านบาท ตั้งแต่เริ่มโครงการ 1 ต.ค.2560 จนถึงปัจจุบัน สินค้าที่ขายดีส่วนใหญ่ เป็นสินค้าของเกษตรกร ผู้ผลิตในชุมชน สัดส่วนกว่า 50% ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรและผู้ผลิตสินค้าชุมชนมากกว่า 25,000 ล้านบาท

สำหรับสินค้าที่จำหน่ายได้ดี ได้รับความนิยมมาก ได้แก่ ข้าวสาร ข้าวบรรจุถุง ขายดีอันดับหนึ่ง ในร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ สินค้าอื่นๆ รองลงมา สินค้าเกษตร ผลผลิตการเกษตร อาหารแปรรูป เช่น กะปิ น้ำปลา น้ำพริก หอมแดง กระเทียม ผลไม้ เช่น สับปะรด ลำไย มะพร้าว เป็นต้น

นอกจากนี้ กลไกร้านธงฟ้าประชารัฐ ทำให้มีสินค้าข้ามจังหวัดหรือข้ามภาคมาจำหน่าย ที่นิยมไม่แพ้กัน เช่น ลำไยจากภาคเหนือ เอาไปจำหน่ายที่ภาคใต้ ลองกองจากภาคใต้ เอาไปจำหน่ายภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กะปิ จากกระบี่ พังงา ภูเก็ต เอาไปขายยังภาคต่างๆ ทั่วประเทศ

“แต่ละเดือน รัฐบาลใส่เงินเข้าไปในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เดือนละกว่า 4,000 ล้านบาท ให้ผู้ถือบัตรฯ นำไปใช้จ่ายในร้านธงฟ้าประชารัฐ ทั้งเครื่องรูดบัตรและแอปฯ เงินเหล่านี้จะกระจายเข้าสู่ร้านค้าในท้องถิ่น ช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ช่วยให้สินค้าเกษตร สินค้าชุมชน ขายได้มากขึ้น และผู้ถือบัตร มีทางเลือกในการซื้อสินค้าได้หลากหลายขึ้น” นายสมศักดิ์กล่าว

https://www.khaosod.co.th/economics/news_1999508


ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. เผยผลสำรวจความสุขเกษตรกรไทยเพิ่มขึ้น



นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. ได้สำรวจความคิดเห็นของเกษตรกรจากทุกภาคทั่วประเทศ ภายใต้หัวข้อ “ระดับความสุขของเกษตรกรไทย” จากกลุ่มตัวอย่าง 1,650 ราย ซึ่งเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 24 กันยายน - 10 ตุลาคม 2561 พบว่า ความสุขมวลรวมของเกษตรกรไทยอยู่ในระดับมากที่สุด (คะแนนเฉลี่ย 82.57 จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน)  เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.37 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อันเนื่องมาจากเศรษฐกิจภาคเกษตรมีการขยายตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 6.1 ในไตรมาสที่ 2/2561 จากเดิมที่ขยายตัวติดลบร้อยละ 2.1 ในไตรมาสที่ 1/2561 โดยราคาสินค้าเกษตรหลายรายการปรับตัวเพิ่มขึ้น อาทิ ข้าวเปลือก มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และผลไม้ ประกอบกับได้รับความช่วยเหลือจากนบายรัฐบาล เช่น มาตรการช่วยเหลือผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ให้ส่วนงานที่เกี่ยวข้องจัดอบรมวิชาชีพตามมาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อสร้างอาชีพใหม่ให้กับเกษตรกร โครงการเกษตรแปลงใหญ่ และมาตรการเกษตรประชารัฐเพื่อลดต้นทุน   การผลิตให้กับเกษตรกร ตลอดจนนโยบายช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยของ ธ.ก.ส. ผ่าน 3 มาตรการ 9 โครงการ ล้วนมีบทบาทในการสนับสนุนให้ครัวเรือนเกษตรกรมีช่องทางในการสร้างรายได้เพิ่ม ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต  ทำให้รายได้เกษตรกรโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ คือ สังคมของครัวเรือนชนบทยังคงมีวิถีชีวิตการพึ่งพาอาศัยระหว่างกัน ส่งผลให้ระดับความสุขมวลรวมของเกษตรกรเพิ่มขึ้น

สำหรับความสุขของเกษตรกรไทยในมิติชี้วัดความสุข 6 มิติ พบว่า มิติครอบครัวดีมีคะแนนเฉลี่ยความสุขสูงที่สุด ร้อยละ 88.29 รองลงมาคือ มิติสังคมดี ร้อยละ 86.55  มิติสุขภาพดี ร้อยละ 84.51 มิติการงานดี ร้อยละ 82.17  มิติใฝ่รู้ดี ร้อยละ 78.31 และมิติสุขภาพเงินดี ร้อยละ 75.11 โดยทุกมิติมีความสุขอยู่ในระดับมากที่สุด (Very Happy) และเมื่อจำแนกเป็นรายอาชีพ พบว่า เกษตรกรที่ประกอบอาชีพการเกษตรหลักทุกประเภทมีความสุขอยู่ในระดับมากที่สุด (Very Happy) โดยเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้มีคะแนนเฉลี่ยความสุขสูงที่สุด รองลงมาคือ เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากราคาผลไม้ที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์สูงทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น สร้างความพึงพอใจให้กับเกษตรกร ส่วนราคามันสำปะหลังปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากเฉลี่ยร้อยละ 93.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 39.3 จากความต้องการใช้เพื่อผลิตอาหารสัตว์ภายในประเทศที่ขยายตัว สำหรับอาชีพรับจ้างทางการเกษตร มีคะแนนเฉลี่ยความสุขน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับอาชีพการเกษตรอื่น

ความสุขของเกษตรกรไทย จำแนกเป็นรายภาค พบว่า เกษตรกรทุกภาคมีความสุขอยู่ในระดับมากที่สุด (Very Happy) โดยเกษตรกรภาคตะวันออกมีคะแนนเฉลี่ยระดับความสุขสูงที่สุด ร้อยละ 84.99 เนื่องจากพื้นที่ภาคตะวันออกเป็นพื้นที่หลักในการปลูกผลไม้ โดยราคาผลไม้ในปี 2561 ปรับตัวสูงขึ้นมาก จากความต้องการทั้งภายในและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นมากกว่าปริมาณผลไม้ที่ออกสู่ตลาด ซึ่งเป็นระดับราคาที่เกษตรกรพึงพอใจ รองลงมา คือ เกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคเหนือตอนล่าง ร้อยละ 84.44 และ 84.29 ตามลำดับ ซึ่งเป็นพื้นที่หลักในการปลูก มันสำปะหลัง เนื่องจากราคามันสำปะหลังได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเกษตรกรในภาคใต้ตอนล่างมีคะแนนเฉลี่ยระดับความสุขน้อยที่สุด ร้อยละ 79.55 เมื่อเทียบกับเกษตรกรในภาคอื่น

ทั้งนี้ ธ.ก.ส. มีแนวทางสนับสนุนครัวเรือนเกษตรกรในเรื่อง การบริหารจัดการหนี้ การปรับเปลี่ยนการผลิต การลดค่าใช้จ่ายในการผลิต เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ผ่านมาตรการลดภาระหนี้เพื่อสนับสนุนการปฏิรูปภาคการเกษตรตามแนวทางเกษตรประชารัฐ เช่น โครงการลดดอกเบี้ยเงินกู้ โครงการขยายระยะเวลาชำระหนี้เงินกู้ (3 ปี) มาตรการหนี้นอกระบบเป็นศูนย์ โดยช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้นอกระบบและการช่วยเหลือลูกค้าที่มีหนี้อันเป็นภาระหนัก ส่งผลให้ฐานะทางการเงินปรับตัวดีขึ้น โดยคาดว่าจะเป็นปัจจัยทำให้ระดับความสุขมวลรวมของเกษตรกรเพิ่มขึ้น นายอภิรมย์กล่าว

http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/822264


สินค้าชุมชนขายดี  แสดงว่าเกษตรกรก็มีรายได้เพิ่มขึ้นสิคะ

มิน่าล่ะ ผลสำรวจถึงมีความสุขเพิ่ม

ยินดีด้วยนะคะ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่