Smart Farmer ความหวังและโอกาสของประเทศไทย

แนวโน้มความต้องการบริโภคผลผลิตทางการเกษตรในโลกเพิ่มขึ้นมาก ในขณะที่พื้นที่เพาะปลูกคงที่ การทำการเกษตรในอนาคตจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อการเลี้ยงประชากรโลก อีกทั้งช่วยเพิ่มมูลค่าการส่งออกสินค้าการเกษตรของไทยอีกด้วยการทำการเกษตรด้วยวิธีเดิมจะไม่สามารถให้ผลผลิตที่เพียงพอต่อการเลี้ยงประชากรโลกได้ ด้วยความต้องการบริโภคผลผลิตทางเกษตรที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่พื้นที่เพาะปลูกของโลกมีแนวโน้มคงที่ เกษตรกรจึงต้องหาวิธีในการเพาะปลูกแบบใหม่เพื่อที่จะเพิ่มผลผลิตต่อไร่ โดยปัจจุบันการทำการเกษตรทั่วโลกยังไม่มีประสิทธิภาพมากนัก โดยระบบการจัดการน้ำคาดว่ายังมีการใช้น้ำอย่างไม่เกิดประโยชน์ถึง 90% อีกทั้งฟาร์มทั่วโลกกว่า 40% ใช้ปุ๋ยและสารเคมีมากเกินไป ทำให้ดินเสียและส่งผลกระทบต่อผลผลิตต่อไร่ในอนาคต

ปัญหาการที่จะเป็น Smart Farmer
     เกษตรกรรมในประเทศไทยยังประสบปัญหาหลายด้าน โดยเฉพาะในมิติของผลิตภาพ (Productivity)ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูงและรายได้เกษตรกรมีอัตราเฉลี่ยต่ำ เนื่องจากเกษตรกรไม่มีความรู้เพียงพอ ขาดข้อมูลเชิงลึกด้านการตลาดสำหรับวางแผนการผลิต รวมทั้งความรู้ในการผลิตสินค้าเกษตรคุณภาพสูงที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประเด็นปัญหาดังกล่าวสะท้อนว่าอาชีพเกษตรกรยังขาดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการสร้างความเข้มแข็งให้สามารถพึ่งตนเองได้ในระยะยาว ซึ่งจะท าให้ภาครัฐไม่จำเป็นต้องกำหนดนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและโอบอุ้มเกษตรกร แนวคิด “สมาร์ทฟาร์มเมอร์” จึงเป็นกลไกสำคัญในการตอบโจทย์การพัฒนาดังกล่าว

หลักการและแนวคิด
     แนวคิดหลักของสมาร์ทฟาร์มคือการใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ รวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการพัฒนาทั้งห่วงโซ่อุปทาน สินค้าเกษตรเพื่อยกระดับผลิตภาพ มาตรฐาน สินค้า และลดต้นทุน โดยการพัฒนาเกษตรกรรมใน 4 ด้านได้แก่
1) ลดต้นทุน
2) เพิ่มคุณภาพการผลิตและ มาตรฐานสินค้า
3) ลดความเสี่ยงจากศัตรูพืชและภัยธรรมชาติ  
4) การจัดการและส่งผ่านความรู้

การดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย
-หลักการสำคัญในการพัฒนา “สมาร์ทฟาร์มเมอร์” คือการสร้างองค์ความรู้ให้กับเกษตรกร อาทิการ
-ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผสมผสานกับภูมิปัญญาชาวบ้าน การทำการเกษตรตาม
-ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความรู้ด้านบัญชีต้นทุนอาชีพ ตลอดจนการเพิ่มความสามารถและช่องทางการเข้าถึง
-ข้อมูลข่าวสารที่ทันเหตุการณ์และความรู้ในหลากหลายมิติที่เกี่ยวข้องผ่านฐานข้อมูลชุมชนด้านการเกษตร
     แต่การดำเนินงานที่สำคัญคือ การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเกษตร (War Room) เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลจากทุก ภาคส่วนให้ครอบคลุมทั้งในด้านของแหล่งผลิต ฤดูกาลที่ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณผลผลิต สภาพภูมิอากาศ รวมทั้งราคาสินค้าทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น นอกจากนั้น ในระดับท้องที่ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดมีการ จัดทำแผนพัฒนาระดับจังหวัด โดยรวบรวมข้อมูลโซนนิ่งสินค้าเกษตร ทะเบียนเกษตรกร ที่ตั้งฟาร์ม แหล่ง รวบรวมผลผลิต/กระจายสินค้า ตลาดภายในและภายนอกจังหวัด แหล่งแปรรูป ต้นทุน ราคา การตลาด สภาพ ดิน และแหล่งน้ำ เป็นต้น เพื่อวางแผนโซนนิ่งสินค้าเกษตร พร้อมทั้งนำข้อมูลไปเผยแพร่ต่อเกษตรกร เพื่อให้ แนวคิด “สมาร์ทฟาร์มเมอร์” สามารถก่อให้เกิดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม

ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นข้อคิดว่าความสำเร็จของการที่จะเป็น Smart Farmer และยังคงมีอีกหลายๆปัจจัยอื่นๆอีกและนั้นมันจะมีโอกาสเป็นไปได้หรือไม่
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่