‘หญ้าเลี้ยงช้าง’ความมั่นคงพลังงานผวาปั่นราคากระทบพื้นที่ปลูกข้าว

‘หญ้าเลี้ยงช้าง’ความมั่นคงพลังงานผวาปั่นราคากระทบพื้นที่ปลูกข้าว


สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) จัดทำ “โครงการศึกษาสภาวะที่ เหมาะสมในการผลิตก๊าซชีวภาพจากหญ้าชนิดต่างๆ ในประเทศไทย” โดยการสนับสนุนงบประมาณจาก กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 10.7 ล้านบาท เพื่อศึกษาศักยภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพจากหญ้าชนิดต่างๆ ในประเทศไทย และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพจากหญ้าเลี้ยงช้างเพื่อนำไปใช้เป็นพลัง งานทดแทนนั้น


รศ.ประเสริฐ ฤกษ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลัง งานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยกับ “สยามธุรกิจ” ว่า หลังจาก พบว่า หญ้าเลี้ยงช้างให้ผลผลิตต่อไร่สูงสุดแล้วมีการนำไปทดลองผลิตก๊าซชีวภาพสามารถใช้กับรถยนต์ได้ ขณะนี้กำลังเปิดให้ประชาชนที่สนใจนำรถยนต์มาทดลองใช้ก๊าซ CBG ทดแทน NGV ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2556 เพื่อเก็บข้อมูลความพึงพอใจ ก่อนที่จะนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ต่อไป ซึ่งตามแผนของกระทรวงพลังงานต้อง การให้มีการใช้ CBG 5% ของจำนวนผู้ใช้ NGV และมีการสร้างปั๊มบริการจำนวน 1,000 แห่งไว้รองรับแล้ว


นอกจากนี้ ทางสถาบันฯ ยังอยู่ระหว่างทำวิจัยการอัดก๊าซลงถังเพื่อผลิตก๊าซ LPG ใช้ในครัวเรือน ซึ่งจะต้องใช้ถังใหญ่และความดันสูง เพื่อให้ได้เนื้อแก๊สมากเพียงพอให้ประชาชนใช้ในครัวเรือนได้ตามปกติ คาดว่าจะใช้เวลา 2-3 เดือนจะได้ข้อสรุป


“ราคาหญ้าเลี้ยงช้างอยู่ที่ 350 บาทต่อตัน เกษตรกรปลูกจะทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้นประมาณ 8 บาท เมื่อนำไปผลิตเป็น CBG จะทำให้ราคาก๊าซอยู่ที่ 20 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งถือ ว่าราคาไม่สูงนักถ้าพื้นที่ผลิตอยู่ที่ชนบทที่ก๊าซ NGVไม่สามารถส่งได้ถึง”


รศ.ประเสริฐ กล่าวว่า ขณะนี้หญ้าเลี้ยงช้างมีราคา 7-8 หมื่นบาทต่อไร่ ต้นทุนอยู่ที่ 7,000 บาทต่อไร่ ถือว่าคุ้มค่ามากถ้าเกษตรกรจะเพาะปลูก เพราะได้ราคาดีกว่าข้าว อ้อย และมันสำปะหลัง ตนจึงเป็นห่วงจะมีการปั่นราคาให้สูงไปกว่านี้ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ปลูกข้าว แม้ว่าพื้นที่เหมาะสมการปลูกช้างเลี้ยงช้างจะไม่ชอบน้ำท่วมขังเหมือน ข้าวก็ตาม


“การส่งเสริมปลูกหญ้าเลี้ยงช้างที่เป็นผลผลิตในประเทศ เมื่อนำไปผลิตเป็นพลังงานทดแทนที่ใช้เทคโน โลยีในประเทศเช่นเดียวกันจะทำให้เกิดความมั่นคงทางด้านพลังงาน เพราะไม่ต้องพึ่งแสงแดด ลม เหมือน พลังงานทดแทนประเภทอื่น ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมพืชเศรษฐกิจในชุมชน หรือสังคมชนบท และไม่ก่อมลภาวะ ไม่มีของเสีย จนทำให้ชุมชนต่อต้าน” รศ.ประเสริฐ กล่าวในที่สุด
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่