"กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เป็นไปตามมาตรา 68 หรือไม่นั้น กว่าที่ศาลรัฐธรรมนูญจะลงมติรับคำร้องใช้เวลาถกเถียงกันนานถึง 2 ชั่วโมงกว่า ตอนแรกถ้าไม่รับ สบาย ถ้ารับ เป็นเรื่อง แต่ก็กัดฟันรับไว้ก่อน เพื่อไต่สวนข้อเท็จจริง ไต่สวนและไม่มีไรก็จบ แต่ยอมรับว่าบางครั้งศาลก็ทำงานชุ่ยเกินไป สังเกตได้ว่าช่วงที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งรับก็ด่าคนรับทันที ไม่เห็นว่าจะด่าคนยื่น พอศาลอาญารับเรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญยื่นฟ้องแกนนำ นปช.กลับด่าคนยื่น นี่คือสองมาตรฐานชัดเจน
เราคำนึงถึงสังคมว่าไม่ควรมานั่งฟังคำวินิจฉัยของศาล แต่บางครั้งคำวินิจฉัยนั้นเข้าใจยาก เหมือนอย่าง "สุกเอาเผากิน" ดังนั้น คำวินิจฉัยต้องมีการอ่านในวันนั้น และเจ้าหน้าที่ก็ต้องยกร่างคำวินิจฉัย ณ วันนั้น ต้องเร่งทำคำวินิจฉัย ทำให้มีข้อผิดพลาดได้ง่าย อย่างคำวินิจฉัยในคดีของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ในคดีจัดรายการอาหาร "ชิมไปบ่นไป" จึงมีข้อผิดพลาด หลังจากนั้น ผมจึงเห็นว่าคำวินิจฉัยที่ถูกต้อง ต้องมีคำวินิจฉัยที่มีความจริงยุติก่อน และค่อยตามด้วยข้อกฎหมาย แต่ที่ผ่านมากลับนำเอาข้อกฎหมายขึ้นมาวินิจฉัยก่อน แล้วค่อยมาเป็นถกเถียงในเรื่องข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เราจึงไม่ต้องการเอาแบบ "สุกเอาเผากิน" และเมื่อได้มติเสียงข้างมากในห้องประชุม ก็เอาคำวินิจฉัยมาปรับปรุงและนำมาเขียนเป็นร่างคำวินิจฉัย ซึ่งจะดูเนียนกว่าเดิมและเร็วขึ้นด้วย เพราะหลังจากอ่านคำวินิจฉัยผู้ร้องและผู้ถูกร้องสามารถมาคัดลอกคำวินิจฉัยได้อีก 15 วันถัดมา ตรงกับวิธีการของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จึงอ่านได้ทันและเร็วขึ้น เพราะมีการเตรียมการล่วงหน้า แต่ไม่ใช่เป็นการฟันธงไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะมีการเขียนคำวินิจฉัยไว้หลายๆ แบบ หากผลคำวินิจฉัยที่มีการถกเถียงกันออกมาเป็นอย่างไร ค่อยนำร่างที่ร่างไว้มาเขียนเป็นคำวินิจฉัย แต่ในบางครั้งคนเราหรือแม้กระทั่งตัวตุลาการแต่ละท่านมีความเข้าใจในคำวินิจฉัยแตกต่างกัน ดังนั้นจึงมีทีมโฆษกไว้ตอบคำถามสื่อมวลชน เพื่อให้หายข้อข้องใจ แต่สื่อมวลชนต้องพยายามที่จะเข้าใจ
.
"
อ่านต่อ มติชน :
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1363401425&grpid=01&catid=01
@@@@@@@@@
ต้องยอมรับว่า ระบบยุติธรรมไทย มีส่วนทำให้ชาติวุ่นวาย
ไม่ว่าจะในสถานการณ์ใด ท่านต้องเที่ยงธรรมอย่างเด็ดเดี่ยว
อย่าให้ประชาชน รู้สึกว่าถูกกดขี่ จากความไม่เป็นธรรม
ย้อนดู "วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ "คำต่อคำ ศาลรัฐธรรมนูญพลาด !
เราคำนึงถึงสังคมว่าไม่ควรมานั่งฟังคำวินิจฉัยของศาล แต่บางครั้งคำวินิจฉัยนั้นเข้าใจยาก เหมือนอย่าง "สุกเอาเผากิน" ดังนั้น คำวินิจฉัยต้องมีการอ่านในวันนั้น และเจ้าหน้าที่ก็ต้องยกร่างคำวินิจฉัย ณ วันนั้น ต้องเร่งทำคำวินิจฉัย ทำให้มีข้อผิดพลาดได้ง่าย อย่างคำวินิจฉัยในคดีของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ในคดีจัดรายการอาหาร "ชิมไปบ่นไป" จึงมีข้อผิดพลาด หลังจากนั้น ผมจึงเห็นว่าคำวินิจฉัยที่ถูกต้อง ต้องมีคำวินิจฉัยที่มีความจริงยุติก่อน และค่อยตามด้วยข้อกฎหมาย แต่ที่ผ่านมากลับนำเอาข้อกฎหมายขึ้นมาวินิจฉัยก่อน แล้วค่อยมาเป็นถกเถียงในเรื่องข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เราจึงไม่ต้องการเอาแบบ "สุกเอาเผากิน" และเมื่อได้มติเสียงข้างมากในห้องประชุม ก็เอาคำวินิจฉัยมาปรับปรุงและนำมาเขียนเป็นร่างคำวินิจฉัย ซึ่งจะดูเนียนกว่าเดิมและเร็วขึ้นด้วย เพราะหลังจากอ่านคำวินิจฉัยผู้ร้องและผู้ถูกร้องสามารถมาคัดลอกคำวินิจฉัยได้อีก 15 วันถัดมา ตรงกับวิธีการของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จึงอ่านได้ทันและเร็วขึ้น เพราะมีการเตรียมการล่วงหน้า แต่ไม่ใช่เป็นการฟันธงไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะมีการเขียนคำวินิจฉัยไว้หลายๆ แบบ หากผลคำวินิจฉัยที่มีการถกเถียงกันออกมาเป็นอย่างไร ค่อยนำร่างที่ร่างไว้มาเขียนเป็นคำวินิจฉัย แต่ในบางครั้งคนเราหรือแม้กระทั่งตัวตุลาการแต่ละท่านมีความเข้าใจในคำวินิจฉัยแตกต่างกัน ดังนั้นจึงมีทีมโฆษกไว้ตอบคำถามสื่อมวลชน เพื่อให้หายข้อข้องใจ แต่สื่อมวลชนต้องพยายามที่จะเข้าใจ
.
"
อ่านต่อ มติชน : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1363401425&grpid=01&catid=01
@@@@@@@@@
ต้องยอมรับว่า ระบบยุติธรรมไทย มีส่วนทำให้ชาติวุ่นวาย
ไม่ว่าจะในสถานการณ์ใด ท่านต้องเที่ยงธรรมอย่างเด็ดเดี่ยว
อย่าให้ประชาชน รู้สึกว่าถูกกดขี่ จากความไม่เป็นธรรม