คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
พิลังกาสา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ardisia polycephala Wall.
วงศ์ : MYRSINACEAE
ชื่ออื่น : ตีนจำ (เลย) ผักจำ ผักจ้ำแดง (เชียงใหม่, เชียงราย)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดย่อม สูง 2-3 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับกันเป็นคู่ ๆ ตามข้อต้น ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ปลายแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ไม่มีจักร ใบจะหนา ใหญ่ มีสีเขียวเป็นมัน ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามปลายกิ่ง หรือตามส่วนยอด ดอกมีสีชมพูอมขาว ผลโตเท่าขนาดเม็ดนุ่น เมื่อยังอ่อนเป็นสีแดง ผลแก่จะเป็นสีม่วงดำ
ส่วนที่ใช้ และสรรพคุณ :
ใบ - แก้โรคตับพิการ แก้ท้องเสีย แก้ไอ แก้ลม
ดอก - ฆ่าเชื้อโรค แก้พยาธิ
เมล็ด - แก้ลมพิษ
ราก - แก้กามโรค และหนองใน พอกปิดแผล ถอนพิษงู
ต้น - แก้โรคผิวหนัง โรคเรื้อน
สารที่พบ : α - amyrin, rapanone ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา - ต้านเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้ง platelet activating factor receptor binding
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ardisia polycephala Wall.
วงศ์ : MYRSINACEAE
ชื่ออื่น : ตีนจำ (เลย) ผักจำ ผักจ้ำแดง (เชียงใหม่, เชียงราย)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดย่อม สูง 2-3 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับกันเป็นคู่ ๆ ตามข้อต้น ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ปลายแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ไม่มีจักร ใบจะหนา ใหญ่ มีสีเขียวเป็นมัน ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามปลายกิ่ง หรือตามส่วนยอด ดอกมีสีชมพูอมขาว ผลโตเท่าขนาดเม็ดนุ่น เมื่อยังอ่อนเป็นสีแดง ผลแก่จะเป็นสีม่วงดำ
ส่วนที่ใช้ และสรรพคุณ :
ใบ - แก้โรคตับพิการ แก้ท้องเสีย แก้ไอ แก้ลม
ดอก - ฆ่าเชื้อโรค แก้พยาธิ
เมล็ด - แก้ลมพิษ
ราก - แก้กามโรค และหนองใน พอกปิดแผล ถอนพิษงู
ต้น - แก้โรคผิวหนัง โรคเรื้อน
สารที่พบ : α - amyrin, rapanone ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา - ต้านเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้ง platelet activating factor receptor binding
แสดงความคิดเห็น
ต้นพิลังกาสา