การเมือง ซับซ้อน ต้องแยกมิตร แยกศัตรู ให้แม่นยำ แจ่มชัด วิเคราะห์ มติชนออนไลน์

กระทู้สนทนา
พลันที่มีการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม มาตรา 3 ให้ถือเอารัฐประหารเดือน
กันยายน 2549 เป็นตัวตั้งคู่ความขัดแย้งก็เริ่มแปรเปลี่ยน

มิได้เป็นความขัดแย้งระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์

หากแต่ปรากฏคู่ความขัดแย้งใหม่ปรากฏขึ้น กลายเป็นความขัดแย้งระหว่างพรรคเพื่อไทยกับ
นปช.เพราะไม่เห็นด้วยที่มาตรา 3 จะทำให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ
ได้รับการนิรโทษกรรมไปด้วย


ขณะเดียวกัน ความขัดแย้งระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ก็ยังดำรงอยู่

อย่างไรก็ตาม แม้ นปช.จะแสดงความไม่เห็นด้วยกับร่างแก้ไขใหม่โดยคณะกรรมาธิการ แต่ก็มิได้
หมายความว่า นปช.จะเป็นพวกเดียวกับพรรคประชาธิปัตย์


กระนั้น ก็ต้องยอมรับว่าท่าทีของ นปช.อันปรากฏผ่านแถลงการณ์ ทำให้ นปช.มายืนอยู่ในจุดเดียว
กันกับพรรคประชาธิปัตย์โดยพื้นฐาน แม้จะแตกต่างในทางเนื้อหาก็ตาม


นั่นก็คือ คัดค้านต่าง พ.ร.บ.ฉบับกรรมาธิการ

จุดร่วมเป็นอย่างมากของ นปช.กับพรรคประชาธิปัตย์ ก็คือ มีลักษณะ "สุดขั้ว" เหมือนกัน นั่นก็คือ
ไม่ยอมลดราวาศอกให้กันและกัน


ขณะที่ "เพื่อไทย" กลับ "ประนีประนอม"


โจทย์การเมืองอันเนื่องแต่ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมมากด้วยความสลับซับซ้อน อันเป็นไปตาม
กระสวนของความขัดแย้ง แตกแยกที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่

ดำรงอยู่อย่างเด่นชัดก่อนและหลังรัฐประหารเดือนกันยายน 2549

บทสรุปซึ่งเกิดขึ้นจากสถานการณ์การปะทะและต่อสู้กันตลอด 7 ปีที่ผ่านมายืนยันให้เห็นเป็นลำดับ
ว่าที่ขัดแย้งกันจริงๆ

คือ กลุ่มอำนาจเก่า ทุนเก่า กับ กลุ่มทุนใหม่ซึ่งอิงกระแสโลกาภิวัตน์

ที่แสดงออกผ่านพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเสมอเป็นเพียง "ตัวแทน" ที่แสดงออกผ่าน
พรรคประชาธิปัตย์เสมอเป็นเพียง "ตัวแทน"

เช่นเดียวกับ นปช. เช่นเดียวกับพรรคเพื่อไทย

เมื่อต่อสู้กันมาระยะหนึ่ง ปรากฏความสูญเสียให้เห็นที่คนจำนวนไม่น้อยรู้สึกร่วมกันก็คือ ประเทศเดิน
หน้าไม่ได้ ตกอยู่ในสภาพอย่างที่โบราณสรุป

นั่นก็คือ "ยักตื้นติดกึก ยักลึกติดกัก"

อารมณ์ร่วมที่มีขึ้นและแผ่กว้างขวางลึกซึ้งมากเป็นลำดับ คือ อารมณ์ร่วมที่ต้องการเห็นความ
ปรองดอง สมานฉันท์ อย่างที่ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ สรุปว่าต้องเซตซีโร่ นับ 1 เริ่มต้นกันใหม่

ตรงนี้แหละที่ปรากฏผ่าน มาตรา 3 ใหม่ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม

ปฏิกิริยาอันสะท้อนออกมาจากพรรคเพื่อไทย อันสะท้อนออกมาจากแถลงการณ์ นปช.อันสะท้อน
ออกมาจากพรรคประชาธิปัตย์

ทำให้มองเห็นว่าใครเป็นใคร

พรรคเพื่อไทย ไม่ว่า นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ หัวหน้า ไม่ว่า นายภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการ
ต้องการปรองดอง

หนุนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับกรรมาธิการแก้ไขใหม่เต็มที่

พันธมิตรของพรรคเพื่อไทย คือ นปช.โดยเฉพาะแกนนำใน กทม.ออกแถลงการณ์แสดงความไม่
เห็นด้วย ไม่ยอมให้มีการนิรโทษกรรมคนที่สั่งฆ่าประชาชนอย่างเด็ดขาด


ขณะเดียวกัน ปฏิกิริยาอันมาจากพรรคประชาธิปัตย์และพันธมิตรก็เด่นชัด

ไม่ยอมให้มีการนิรโทษกรรมครอบคลุมถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ยอมให้มีการนิรโทษกรรม
แกนนำ นปช.ซึ่งอยู่ในคดีผู้ก่อการร้าย เผาบ้าน เผาเมือง อาศัยเงื่อนไขนี้มาปลุกระดมและเตรียม
เป่านกหวีดครั้งใหญ่


ปฏิเสธอำนาจรัฐ ปฏิเสธรัฐบาล

ความซับซ้อนของสถานการณ์อยู่ตรงที่แม้จะยืนคนละฟาก แต่ นปช.ก็มีสภาพเป็นพันธมิตรใน
แนวร่วมของพรรคประชาธิปัตย์ไปโดยพื้นฐาน

เป้าอยู่ที่รัฐบาล เป้าอยู่ที่พรรคเพื่อไทย

สถานการณ์และความขัดแย้งทางการเมืองเนื่องแต่ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมจึงมากด้วยความ
แหลมคม

แหลมคมต่อ 1 การทำความเข้าใจต่อสภาพ 1 ต่อการวิเคราะห์ 1 ต่อการแยกหลัก แยกรอง 1
ต่อการแยกมิตร แยกศัตรู อันจะนำไปสู่ทางเลือกที่สำคัญว่าจะเป็นพันธมิตรกับใคร เป็นศัตรูกับใคร

ศัตรูเฉพาะหน้า ศัตรูระยะยาว


(ที่มา:มติชนรายวัน 25 ต.ค.2556)

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟซบุ๊กกับมติชนออนไลน์
www.facebook.com/MatichonOnline

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1382678495&grpid=01&catid=&subcatid=

สถานะการณ์พาไป แม้จะปฏิเสธว่าไม่ใช่  ไม่มีทาง   แต่มันก็เป็นไปแล้ว หัวเราะ



สาวแว่น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่