กสม.ร่อนแถลงการณ์ กรณี 2 นักข่าว แนะตร. ต้องไม่สร้างความหวาดวิตก ต่อการเสนอข่าว
https://www.matichon.co.th/politics/news_4425650
กสม. ร่อนแถลงการณ์ กรณีนักข่าวโดนจับ แนะตร. ไม่สร้างความหวาดวิตก ต่อการเสนอข่าว
เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้ออกแถลงการณ์ความห่วงใยเกี่ยวกับเสรีภาพของสื่อมวลชน กรณีการจับกุมนักข่าวและช่างภาพ โดยมีเนื้อหาดังนี้
กรณีผู้สื่อข่าวสำนักข่าวออนไลน์ และช่างภาพ ถูกจับกุมตามหมายจับในฐานความผิดให้การสนับสนุนในการทำให้โบราณสถานเสียหายตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 จากการปฏิบัติหน้าที่ในการรายงานข่าวนักกิจกรรมทางการเมืองพ่นสีบนกำแพงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 28
มีนาคม 2566 ซึ่งต่อมาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างการสอบสวนโดยใช้หลักทรัพย์เป็นประกันนั้น
กสม. ขอเน้นย้ำและยืนยันในหลักเสรีภาพของสื่อมวลชนที่ได้รับการรับรองและให้ความคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวสารหรือแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights: ICCPR) ที่ประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตาม
จากการติดตามสถานการณ์เสรีภาพของสื่อมวลชน ในปี 2566 พบว่า สื่อมวลชนยังคงถูกคุกคามการปฏิบัติหน้าที่ทั้งการข่มขู่ทำร้ายร่างกายหรือดำเนินคดีในฐานต่าง ๆ ซึ่งรัฐต้องให้การคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออก การรับและส่งต่อข้อมูลใด ๆ โดยอาจจำกัดเสรีภาพดังกล่าวได้ตามที่กฎหมายบัญญัติเท่านั้น อย่างไรก็ดี ความเห็นทั่วไปฉบับที่ 34 ของคณะกรรมการประจำกติกา ICCPR ย้ำว่าการออกกฎหมายจำกัดเสรีภาพดังกล่าวต้องมีความสมดุลกับการคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพในการรับและส่งต่อข้อมูล รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายเพื่อจำกัดเสรีภาพดังกล่าวยังต้องมีความจำเป็นและได้สัดส่วนตามกฎหมาย โดยไม่กระทบสาระสำคัญของการทำหน้าที่สื่อมวลชน
นอกจากนี้ ในการจับกุมและควบคุมตัวบุคคล รัฐมีหน้าที่ที่ต้องรับประกันสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาที่จะต้องได้รับทราบข้อกล่าวหาและได้รับการพิจารณาคดีโดยพลัน โดยมิให้ถือเป็นหลักทั่วไปว่าจะต้องควบคุมบุคคลในระหว่างการพิจารณาคดี ทั้งยังต้องมีสิทธิในการได้รับการประกันตัวตามหลักสันนิษฐานว่าบุคคลทุกคนเป็นผู้บริสุทธิ์ (Presumption of Innocence) ด้วย
กสม. เห็นว่า รัฐบาลโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำชับผู้บังคับใช้กฎหมายให้เคารพต่อการใช้เสรีภาพของสื่อมวลชน การจำกัดหรือระงับเสรีภาพไม่ว่าด้วยวิธีการใดจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดโดยเฉพาะการตั้งข้อกล่าวหาหรือดำเนินคดีต้องไม่สร้างข้อจำกัดหรือก่อให้เกิดความหวาดวิตกในการนำเสนอข่าวต่อสาธารณะและประชาชน ซึ่งต้องมีความเป็นอิสระ หลากหลาย และเป็นสิ่งจำเป็นในสังคมประชาธิปไตย ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี
‘ชัยธวัช’ ย้ำนิรโทษไม่ได้สร้างบรรทัดฐานให้คนทำผิด ‘ขัตติยา’ ดีใจนิรโทษกรรมกลับมาหลังผ่านไป 10 ปี
https://www.matichon.co.th/politics/news_4425465
กิจกรรม ‘ส่งรักให้ถึงสภา ถามหาความยุติธรรม เพื่อนิรโทษกรรมประชาชน‘ ปิดยอด 35,905 รายชื่อร่วมเสนอ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับ ปชช. เข้าสภา ด้าน ’ชัยธวัช’ ย้ำไม่ได้สร้างบรรทัดฐานให้คนทำผิด ขณะ ‘ขัตติยา’ ดีใจนิรโทษกรรมกลับมาหลังผ่านไป 10 ปี หวัง กมธ.วิสามัญฯ หาทางออกที่ไม่นำสู่ขัดแย้ง
เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ที่ลานประชาชน รัฐสภา ในงานกิจกรรม ‘
ส่งรักให้ถึงสภา ถามหาความยุติธรรม เพื่อนิรโทษกรรมประชาชน‘ โดยเครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน 23 องค์กร พร้อมด้วยกลุ่มนักกิจกรรมและอาสาสมัคร รวบรวมรายชื่อของประชาชนเพื่อนำเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม ฉบับประชาชน เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา และได้มีการเชิญชวนประชาชน มาร่วมกันลงรายชื่อ เพื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และร่วมกันถามหาความยุติธรรม กับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แก้ไขสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นให้ถูกต้อง เพื่อให้การนิรโทษกรรมประชาชนทุกฝ่าย ทุกข้อหา เป็นไปได้จริง
โดยนาย
วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร มอบหมายให้นาย
ปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนหนึ่ง เป็นผู้กล่าวเปิดงาน ว่า เมื่อร่างกฎหมายของภาคประชาชน ผ่านวาระทึ่ 1 ประชาชนก็จะเป็นตัวแทนเข้าไปพูดคุยแสดงความคิดเห็นในวาระที่ 2 ซึ่งเป็นชั้นกรรมาธิการ (กมธ.) และประชาชนจะมีบทบาทในการตรากฎหมายของตนเอง หวังว่าจะมีประชาชนเข้าไปแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง และขอขอบคุณทุกคนที่ร่วมกันล่ารายชื่อ และเนื่องจากในปัจจุบันมีระบบดิจิทัลที่สามารถใช้ในการยืนยันตัวตน และรวบรวมรายชื่อ ทำให้มีความรวดเร็วมากขึ้น มีกฎหมายภาคประชาชนเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
นาย
ปดิพัทธ์ กล่าวต่อว่า ขอให้ทุกฝ่าย และประชาชนทุกคนในที่นี้ ช่วยกันใช้พื้นที่เรียกร้องสิ่งที่ประชาชนต้องการ และขอสื่อสารถึงกลุ่มอนุรักษ์ให้มาใช้พื้นที่ลานประชาชน เพื่อจะได้ฟังความเห็นอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะมีความคิดเห็นด้วยหรือเห็นต่างกับใคร เชื่อว่าการฟังและแลกเปลี่ยนความเห็นกัน จะนำมาซึ่งอารยะในการอยู่ร่วมกันโดยไม่ทำร้ายกัน
อย่างไรก็ตาม ขอให้กำลังใจนักโทษทางการเมืองทุกคน ซึ่งตนก็มีความเป็นห่วงและกังวล ขอให้ทุกคนได้รับความยุติธรรมโดยเร็ว
ต่อมา เป็นการเสวนาเรื่อง ‘ปัญหาและผลกระทบจากการดำเนินคดีการเมือง‘ ซึ่งประกอบด้วย รศ.ดร.
พวงทอง ภวัครพันธุ์ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นางสาว
คุ้มเกล้า ส่งสมบูรณ์ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และมารดาของนาย
โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง นักโทษคดีกฎหมายอาญามาตรา 112 ร่วมเสวนา และการนำเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน ซึ่งมีนางสาว
พูนสุข พูนสุขเจริญ ศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชน และนาย
รัชพงษ์ แจ่มจิรไชยกุล โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) เป็นผู้
จากนั้น เป็นการแสดงดนตรีจากวงสามัญชน และการนำเสนอเรื่องราวและบทสรุป ‘
การเดินทางของรายชื่อและความร่วมมือของประชาชน’ โดยอาสาสมัครและเครือข่ายทั่วประเทศ ซึ่งจะมีการนับถอยหลังปิดรับรายชื่อจากประชาชนในเวลา 19.00 น. ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 39,509 รายชื่อ
ทั้งนี้ ภายหลังการปิดรับรายชื่อ เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน ได้ส่งมอบร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับประชาชนให้กับหัวหน้าพรรคการเมืองที่ส่งตัวแทนมารับ ได้แก่ พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล และพรรคเป็นธรรม
และได้ให้ตัวแทนหัวหน้าพรรคการเมืองของแต่ละพรรค ร่วมแสดงความคิดเห็น ต่อร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับประชาชน ประกอบด้วย น.ส.
ขัตติยา สวัสดิผล สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย, นาย
ชัยธวัช ตุลาธน สส.แบบบัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล, นาย
กัณวีร์ สืบแสง สส.แบบบัญชีรายชื่อ เลขาธิการพรรคเป็นธรรม
โดย น.ส.
ขัตติยา กล่าวว่า ในที่สุดวันนี้ก็มีการเสนอแล้วพูดถึงการนิรโทษกรรมในสังคมไทยอีกครั้งหนึ่งจากเดิมที่มีการพูดถึงเรื่องนี้มาแล้วเมื่อ 10 กว่าปีก่อน แต่การพูดในครั้งนั้นกลับนำไปสู่เงื่อนไขอันทำให้เกิดการรัฐประหาร 10 ปีผ่านไป วันนี้มีการพูดถึงเรื่องนี้นิรโทษกรรมกันอีกครั้ง มีการเสนอร่างกฎหมายจากหลายพรรคการเมือง รวมถึงวันนี้ 39,509 รายชื่อ เสนอเป็นร่างประชาชนเข้ามา
ในแต่ละร่างจะเห็นถึงความแตกต่างในหลักการ ที่แต่ละพรรคแต่ละฝ่ายเสนอเข้ามา ความแตกต่างเหล่านี้เป็นสาเหตุให้พรรคเพื่อไทยตัดสินใจยื่นญัตติเสนอกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตรากฎหมายนิรโทษกรรม เพื่อหาแนวทางอันเป็นสารตั้งต้นให้หลายๆ พรรคการเมือง นำไปร่างเป็นกฎหมายนิรโทษกรรมขึ้นมา เพื่อไม่ให้นำไปสู่ความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต
“
กรรมาธิการฯ ชุดนี้ตั้งใจให้มีการพูดคุยกับทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายที่อยากให้มีนิรโทษกรรม รวมถึงฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมรวมถึงหลากหลายอนาคตคิด ว่าคดีอะไรบ้างสมควรได้รับการนิรโทษกรรม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ การพูดคุยและรับฟังความเห็นของทุกฝ่ายเป็นสิ่งสำคัญเพราะเราไม่อยากให้การนิรโทษกรรมครั้งนี้ มองไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายทาง หลายคนอยากเห็นการนิรโทษกรรมเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นนักโทษทางความคิดหรือนักโทษทางการเมืองที่ใช้เสรีภาพของตนในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง หลายฝ่ายอาจยังไม่ยอมรับการนิรโทษกรรมในวันนี้ แต่เวทีสภากรรมาธิการวิสามัญชุดนี้จะทำหน้าที่กันอย่างเต็มที่ เพื่อรับฟังความเห็นของทุกฝ่าย ไม่ให้การนิรโทษกรรมในวันนี้นำไปสู่ความขัดแย้งในอนาคตเหมือนในอดีตที่ผ่านมา” น.ส.
ขัตติยา กล่าว
ด้าน นาย
ชัยธวัช หวังว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ที่สภาได้ตั้งขึ้น จะเป็นเวทีสำคัญที่เราจะสามารถรวบรวมหลายๆ ความเห็นมาปรึกษา เปรียบเทียบ เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจ งของผู้แทนราษฎรของเราได้
นาย
ชัยธวัช กล่าวต่อไปว่า โดยเบื้องต้น ในฐานะหัวหน้าพรรคก้าวไกล สนับสนุนการนิรโทษกรรมอยู่แล้ว และใช้หลายโอกาสในการผลักดันเรื่องนี้ และยังยืนยันว่าการนิรโทษกรรม ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่ที่ผิด เพราะหลายคนอาจไม่เห็นด้วย แล้วมองว่าเรื่องนี้เป็นการสนับสนุนให้คนกระทำผิดไปเรื่อยๆ
“ต้
องยอมรับว่าในข้อเท็จจริงมีคนกระทำผิดรวมถึงผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด วันนี้คิดว่าถ้าเราจะหาทางออกให้บ้านเมืองเราไม่สามารถมองคดีความเหล่านี้ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับความขัดแย้งทางการเมือง มีเหตุจูงใจทางการเมืองอย่างแยกไม่ออก เราไม่สามารถมองคดีเหล่านี้เป็นอาชญากรรมได้ แต่ต้องมองเป็นปัญหาทางการเมืองและความขัดแย้งทางความคิด”
อย่างไรก็ตาม นาย
ชัยธวัช ย้ำว่า ลำพังการนิรโทษกรรมอย่างเดียว ไม่สามารถแก้ปัญหาทางการเมืองทั้งหมดได้ ยังคงต้องพูดคุยกันอีกเยอะหลายเรื่องว่าควรมีอะไรต้องทำบ้าง ทั้งก่อนและหลังจากนิรโทษกรรม เป็นโจทย์ที่หวังว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญ จะสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการรวบรวมข้อเสนอ
นาย
ชัยธวัช ยังเสนอแนวทางการเมืองแห่งความรัก ที่ไม่ใช่ว่าเราจะรักกันทุกคน แต่เป็นการเมืองที่มีความเข้าอกเข้าใจกัน ยืนอยู่บนพื้นฐานความปรารถนาดีต่อส่วนรวม แม้ว่าเราอาจไม่ได้เห็นตรงกันทุกเรื่อง แต่อยากให้ทุกอย่างร่วมสร้างความเปลี่ยนแปลงด้วยการเมืองแห่งความรัก
ขณะที่ นาย
กัณวีร์ มองว่า การนิรโทษกรรมเป็นการเมืองที่ให้อภัยและการต้องเปลี่ยนผ่าน เป็นสิ่งที่เราต้องการและขอฝากคณะกรรมาธิการชุดนี้ ตั้งเป้าหมายได้ว่าจุดมุ่งหมายของการนิรโทษกรรมคืออะไร กลุ่มเป้าหมายคือใคร ต้องดูว่าใครที่ทำผิดก็ต้องได้รับโทษ ใครที่ไม่ได้ผิด แต่ถูกบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่ถูกต้อง ก็ต้องถูกปล่อยออกมา
JJNY : กสม.แถลงกรณี 2นักข่าว│‘ชัยธวัช’ย้ำนิรโทษ ‘ขัตติยา’ดีใจ│ราคาน้ำมันโลกร่วง│ศรีลังกาเตรียมบรรจุหลักสูตรปัญญาประดิษฐ์
https://www.matichon.co.th/politics/news_4425650
กสม. ร่อนแถลงการณ์ กรณีนักข่าวโดนจับ แนะตร. ไม่สร้างความหวาดวิตก ต่อการเสนอข่าว
เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้ออกแถลงการณ์ความห่วงใยเกี่ยวกับเสรีภาพของสื่อมวลชน กรณีการจับกุมนักข่าวและช่างภาพ โดยมีเนื้อหาดังนี้
กรณีผู้สื่อข่าวสำนักข่าวออนไลน์ และช่างภาพ ถูกจับกุมตามหมายจับในฐานความผิดให้การสนับสนุนในการทำให้โบราณสถานเสียหายตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 จากการปฏิบัติหน้าที่ในการรายงานข่าวนักกิจกรรมทางการเมืองพ่นสีบนกำแพงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 28
มีนาคม 2566 ซึ่งต่อมาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างการสอบสวนโดยใช้หลักทรัพย์เป็นประกันนั้น
กสม. ขอเน้นย้ำและยืนยันในหลักเสรีภาพของสื่อมวลชนที่ได้รับการรับรองและให้ความคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวสารหรือแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights: ICCPR) ที่ประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตาม
จากการติดตามสถานการณ์เสรีภาพของสื่อมวลชน ในปี 2566 พบว่า สื่อมวลชนยังคงถูกคุกคามการปฏิบัติหน้าที่ทั้งการข่มขู่ทำร้ายร่างกายหรือดำเนินคดีในฐานต่าง ๆ ซึ่งรัฐต้องให้การคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออก การรับและส่งต่อข้อมูลใด ๆ โดยอาจจำกัดเสรีภาพดังกล่าวได้ตามที่กฎหมายบัญญัติเท่านั้น อย่างไรก็ดี ความเห็นทั่วไปฉบับที่ 34 ของคณะกรรมการประจำกติกา ICCPR ย้ำว่าการออกกฎหมายจำกัดเสรีภาพดังกล่าวต้องมีความสมดุลกับการคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพในการรับและส่งต่อข้อมูล รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายเพื่อจำกัดเสรีภาพดังกล่าวยังต้องมีความจำเป็นและได้สัดส่วนตามกฎหมาย โดยไม่กระทบสาระสำคัญของการทำหน้าที่สื่อมวลชน
นอกจากนี้ ในการจับกุมและควบคุมตัวบุคคล รัฐมีหน้าที่ที่ต้องรับประกันสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาที่จะต้องได้รับทราบข้อกล่าวหาและได้รับการพิจารณาคดีโดยพลัน โดยมิให้ถือเป็นหลักทั่วไปว่าจะต้องควบคุมบุคคลในระหว่างการพิจารณาคดี ทั้งยังต้องมีสิทธิในการได้รับการประกันตัวตามหลักสันนิษฐานว่าบุคคลทุกคนเป็นผู้บริสุทธิ์ (Presumption of Innocence) ด้วย
กสม. เห็นว่า รัฐบาลโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำชับผู้บังคับใช้กฎหมายให้เคารพต่อการใช้เสรีภาพของสื่อมวลชน การจำกัดหรือระงับเสรีภาพไม่ว่าด้วยวิธีการใดจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดโดยเฉพาะการตั้งข้อกล่าวหาหรือดำเนินคดีต้องไม่สร้างข้อจำกัดหรือก่อให้เกิดความหวาดวิตกในการนำเสนอข่าวต่อสาธารณะและประชาชน ซึ่งต้องมีความเป็นอิสระ หลากหลาย และเป็นสิ่งจำเป็นในสังคมประชาธิปไตย ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี
‘ชัยธวัช’ ย้ำนิรโทษไม่ได้สร้างบรรทัดฐานให้คนทำผิด ‘ขัตติยา’ ดีใจนิรโทษกรรมกลับมาหลังผ่านไป 10 ปี
https://www.matichon.co.th/politics/news_4425465
กิจกรรม ‘ส่งรักให้ถึงสภา ถามหาความยุติธรรม เพื่อนิรโทษกรรมประชาชน‘ ปิดยอด 35,905 รายชื่อร่วมเสนอ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับ ปชช. เข้าสภา ด้าน ’ชัยธวัช’ ย้ำไม่ได้สร้างบรรทัดฐานให้คนทำผิด ขณะ ‘ขัตติยา’ ดีใจนิรโทษกรรมกลับมาหลังผ่านไป 10 ปี หวัง กมธ.วิสามัญฯ หาทางออกที่ไม่นำสู่ขัดแย้ง
เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ที่ลานประชาชน รัฐสภา ในงานกิจกรรม ‘ส่งรักให้ถึงสภา ถามหาความยุติธรรม เพื่อนิรโทษกรรมประชาชน‘ โดยเครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน 23 องค์กร พร้อมด้วยกลุ่มนักกิจกรรมและอาสาสมัคร รวบรวมรายชื่อของประชาชนเพื่อนำเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม ฉบับประชาชน เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา และได้มีการเชิญชวนประชาชน มาร่วมกันลงรายชื่อ เพื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และร่วมกันถามหาความยุติธรรม กับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แก้ไขสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นให้ถูกต้อง เพื่อให้การนิรโทษกรรมประชาชนทุกฝ่าย ทุกข้อหา เป็นไปได้จริง
โดยนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร มอบหมายให้นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนหนึ่ง เป็นผู้กล่าวเปิดงาน ว่า เมื่อร่างกฎหมายของภาคประชาชน ผ่านวาระทึ่ 1 ประชาชนก็จะเป็นตัวแทนเข้าไปพูดคุยแสดงความคิดเห็นในวาระที่ 2 ซึ่งเป็นชั้นกรรมาธิการ (กมธ.) และประชาชนจะมีบทบาทในการตรากฎหมายของตนเอง หวังว่าจะมีประชาชนเข้าไปแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง และขอขอบคุณทุกคนที่ร่วมกันล่ารายชื่อ และเนื่องจากในปัจจุบันมีระบบดิจิทัลที่สามารถใช้ในการยืนยันตัวตน และรวบรวมรายชื่อ ทำให้มีความรวดเร็วมากขึ้น มีกฎหมายภาคประชาชนเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
นายปดิพัทธ์ กล่าวต่อว่า ขอให้ทุกฝ่าย และประชาชนทุกคนในที่นี้ ช่วยกันใช้พื้นที่เรียกร้องสิ่งที่ประชาชนต้องการ และขอสื่อสารถึงกลุ่มอนุรักษ์ให้มาใช้พื้นที่ลานประชาชน เพื่อจะได้ฟังความเห็นอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะมีความคิดเห็นด้วยหรือเห็นต่างกับใคร เชื่อว่าการฟังและแลกเปลี่ยนความเห็นกัน จะนำมาซึ่งอารยะในการอยู่ร่วมกันโดยไม่ทำร้ายกัน
อย่างไรก็ตาม ขอให้กำลังใจนักโทษทางการเมืองทุกคน ซึ่งตนก็มีความเป็นห่วงและกังวล ขอให้ทุกคนได้รับความยุติธรรมโดยเร็ว
ต่อมา เป็นการเสวนาเรื่อง ‘ปัญหาและผลกระทบจากการดำเนินคดีการเมือง‘ ซึ่งประกอบด้วย รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นางสาวคุ้มเกล้า ส่งสมบูรณ์ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และมารดาของนายโสภณ สุรฤทธิ์ธำรง นักโทษคดีกฎหมายอาญามาตรา 112 ร่วมเสวนา และการนำเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน ซึ่งมีนางสาวพูนสุข พูนสุขเจริญ ศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชน และนายรัชพงษ์ แจ่มจิรไชยกุล โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) เป็นผู้
จากนั้น เป็นการแสดงดนตรีจากวงสามัญชน และการนำเสนอเรื่องราวและบทสรุป ‘การเดินทางของรายชื่อและความร่วมมือของประชาชน’ โดยอาสาสมัครและเครือข่ายทั่วประเทศ ซึ่งจะมีการนับถอยหลังปิดรับรายชื่อจากประชาชนในเวลา 19.00 น. ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 39,509 รายชื่อ
ทั้งนี้ ภายหลังการปิดรับรายชื่อ เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน ได้ส่งมอบร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับประชาชนให้กับหัวหน้าพรรคการเมืองที่ส่งตัวแทนมารับ ได้แก่ พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล และพรรคเป็นธรรม
และได้ให้ตัวแทนหัวหน้าพรรคการเมืองของแต่ละพรรค ร่วมแสดงความคิดเห็น ต่อร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับประชาชน ประกอบด้วย น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย, นายชัยธวัช ตุลาธน สส.แบบบัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล, นายกัณวีร์ สืบแสง สส.แบบบัญชีรายชื่อ เลขาธิการพรรคเป็นธรรม
โดย น.ส.ขัตติยา กล่าวว่า ในที่สุดวันนี้ก็มีการเสนอแล้วพูดถึงการนิรโทษกรรมในสังคมไทยอีกครั้งหนึ่งจากเดิมที่มีการพูดถึงเรื่องนี้มาแล้วเมื่อ 10 กว่าปีก่อน แต่การพูดในครั้งนั้นกลับนำไปสู่เงื่อนไขอันทำให้เกิดการรัฐประหาร 10 ปีผ่านไป วันนี้มีการพูดถึงเรื่องนี้นิรโทษกรรมกันอีกครั้ง มีการเสนอร่างกฎหมายจากหลายพรรคการเมือง รวมถึงวันนี้ 39,509 รายชื่อ เสนอเป็นร่างประชาชนเข้ามา
ในแต่ละร่างจะเห็นถึงความแตกต่างในหลักการ ที่แต่ละพรรคแต่ละฝ่ายเสนอเข้ามา ความแตกต่างเหล่านี้เป็นสาเหตุให้พรรคเพื่อไทยตัดสินใจยื่นญัตติเสนอกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตรากฎหมายนิรโทษกรรม เพื่อหาแนวทางอันเป็นสารตั้งต้นให้หลายๆ พรรคการเมือง นำไปร่างเป็นกฎหมายนิรโทษกรรมขึ้นมา เพื่อไม่ให้นำไปสู่ความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต
“กรรมาธิการฯ ชุดนี้ตั้งใจให้มีการพูดคุยกับทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายที่อยากให้มีนิรโทษกรรม รวมถึงฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมรวมถึงหลากหลายอนาคตคิด ว่าคดีอะไรบ้างสมควรได้รับการนิรโทษกรรม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ การพูดคุยและรับฟังความเห็นของทุกฝ่ายเป็นสิ่งสำคัญเพราะเราไม่อยากให้การนิรโทษกรรมครั้งนี้ มองไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายทาง หลายคนอยากเห็นการนิรโทษกรรมเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นนักโทษทางความคิดหรือนักโทษทางการเมืองที่ใช้เสรีภาพของตนในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง หลายฝ่ายอาจยังไม่ยอมรับการนิรโทษกรรมในวันนี้ แต่เวทีสภากรรมาธิการวิสามัญชุดนี้จะทำหน้าที่กันอย่างเต็มที่ เพื่อรับฟังความเห็นของทุกฝ่าย ไม่ให้การนิรโทษกรรมในวันนี้นำไปสู่ความขัดแย้งในอนาคตเหมือนในอดีตที่ผ่านมา” น.ส.ขัตติยา กล่าว
ด้าน นายชัยธวัช หวังว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ที่สภาได้ตั้งขึ้น จะเป็นเวทีสำคัญที่เราจะสามารถรวบรวมหลายๆ ความเห็นมาปรึกษา เปรียบเทียบ เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจ งของผู้แทนราษฎรของเราได้
นายชัยธวัช กล่าวต่อไปว่า โดยเบื้องต้น ในฐานะหัวหน้าพรรคก้าวไกล สนับสนุนการนิรโทษกรรมอยู่แล้ว และใช้หลายโอกาสในการผลักดันเรื่องนี้ และยังยืนยันว่าการนิรโทษกรรม ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่ที่ผิด เพราะหลายคนอาจไม่เห็นด้วย แล้วมองว่าเรื่องนี้เป็นการสนับสนุนให้คนกระทำผิดไปเรื่อยๆ
“ต้องยอมรับว่าในข้อเท็จจริงมีคนกระทำผิดรวมถึงผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด วันนี้คิดว่าถ้าเราจะหาทางออกให้บ้านเมืองเราไม่สามารถมองคดีความเหล่านี้ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับความขัดแย้งทางการเมือง มีเหตุจูงใจทางการเมืองอย่างแยกไม่ออก เราไม่สามารถมองคดีเหล่านี้เป็นอาชญากรรมได้ แต่ต้องมองเป็นปัญหาทางการเมืองและความขัดแย้งทางความคิด”
อย่างไรก็ตาม นายชัยธวัช ย้ำว่า ลำพังการนิรโทษกรรมอย่างเดียว ไม่สามารถแก้ปัญหาทางการเมืองทั้งหมดได้ ยังคงต้องพูดคุยกันอีกเยอะหลายเรื่องว่าควรมีอะไรต้องทำบ้าง ทั้งก่อนและหลังจากนิรโทษกรรม เป็นโจทย์ที่หวังว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญ จะสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการรวบรวมข้อเสนอ
นายชัยธวัช ยังเสนอแนวทางการเมืองแห่งความรัก ที่ไม่ใช่ว่าเราจะรักกันทุกคน แต่เป็นการเมืองที่มีความเข้าอกเข้าใจกัน ยืนอยู่บนพื้นฐานความปรารถนาดีต่อส่วนรวม แม้ว่าเราอาจไม่ได้เห็นตรงกันทุกเรื่อง แต่อยากให้ทุกอย่างร่วมสร้างความเปลี่ยนแปลงด้วยการเมืองแห่งความรัก
ขณะที่ นายกัณวีร์ มองว่า การนิรโทษกรรมเป็นการเมืองที่ให้อภัยและการต้องเปลี่ยนผ่าน เป็นสิ่งที่เราต้องการและขอฝากคณะกรรมาธิการชุดนี้ ตั้งเป้าหมายได้ว่าจุดมุ่งหมายของการนิรโทษกรรมคืออะไร กลุ่มเป้าหมายคือใคร ต้องดูว่าใครที่ทำผิดก็ต้องได้รับโทษ ใครที่ไม่ได้ผิด แต่ถูกบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่ถูกต้อง ก็ต้องถูกปล่อยออกมา