ในการประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมายนิรโทษกรรมวาระที่สอง ในวันที่ 18 ตุลาคม ที่ผ่านมา เสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุมได้ลงมติสนับสนุนให้เป็นไปตามร่างการแปรญัตติที่นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ สส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย เสนอ ซึ่งใจความสำคัญ อยู่ที่มาตรา 3 ซึ่งมีข้อความคือ
"ให้บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลหรือประชาชนที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง หรือความขัดแย้งทางการเมือง หรือที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำผิดโดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ถึงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2556 ไม่ว่าผู้กระทำจะได้กระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง การกระทำในวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112"
การลงมติในลักษณะเช่นนี้เป็นการปรับแก้หลักการของร่างกฎหมายนิรโทษกรรมเดิมที่เสนอโดย นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ และคณะ ซึ่งก่อให้เกิดผลที่แตกต่างกับร่างที่ผ่านวาระแรก 4 ข้อ คือ ประการแรก เป็นการนิรโทษกรรมให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในคดีทั้งหมด ประการที่สอง เป็นการนิรโทษกรรมแกนนำทุกฝ่าย ทั้งฝ่าย นปช.และฝ่ายพันธมิตร ประการที่สาม คือ นิรโทษกรรมให้กับทหารที่สลายการชุมนุมเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 รวมถึงอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ สุเทพ เทือกสุบรรณ รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐที่ใช้ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในช่วงเวลา 9 ปี ประการที่สี่ เป็นการระบุชัดถึงการทอดทิ้งเหยื่อของมาตรา 112 ซึ่งเป็นข้อหาที่ไร้ความเป็นธรรมและละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุดในยุคสมัยปัจจุบัน ทั้งที่ในร่างเดิมไม่มีการระบุชัดเช่นนี้
ในเรื่องยกเว้นมาตรา 112 เป็นการบ่งชี้ว่า นี่ยังไม่ใช่เป็นนิรโทษแบบเหมาเข่งสุดซอยอย่างแท้จริง แต่เป็นการสะท้อนทัศนะยอมจำนนของฝ่ายกรรมาธิการเสียงข้างมากต่อฝ่ายอนุรักษ์นิยมเจ้า ทั้งที่เหยื่อมาตรา 112 ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคุณดารณี ชาญเชิงศิลปะกุล สมยศ พฤกษาเกษมสุข เอกชัย หงส์กังวาน ปภัสชนัญญ์ ฉิ่งอินทร์ และคนอื่น ต่างก็ต้องคดีเพราะเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งทางการเมืองหลังรัฐประหาร พ.ศ.2549 ทั้งสิ้น ดังนั้นจึงต้องถือว่า เป็นการนิรโทษกรรมในลักษณะ”เหล้าพ่วงเบียร์” คือ นำเอาการนิรโทษกรรม พ.ต.ท.ทักษิณ และนิรโทษกรรมทหาร มาผูกพ่วงกับการนิรโทษกรรมประชาชนที่ปราศจากความผิด
นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมได้พยายามอธิบายในวันที่ 21 ตุลาคมว่า การเสนอแปรญัตติดังกล่าวเพราะกรรมาธิการต้องการแก้ไขผลพวงความไม่เป็นธรรมและความวุ่นวายที่เกิดจากการรัฐประหาร และยึดหลักการให้ทุกฝ่ายได้รับความเสมอภาคทางกฎหมายเท่าเทียมกัน และว่า การปรองดองแห่งชาติต้องเริ่มต้นจากทุกฝ่ายให้อภัยกันก่อน การออกกฎหมายนิรโทษกรรมแก่ทุกฝ่ายเป็นหลักการเดียวที่ทั่วโลกพึงปฏิบัติ เพื่อให้ประเทศชาติกลับมาสงบ แม้กระทั่ง น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล ที่เดิมทีก็ไม่ยอมให้มีการนิรโทษกรรม แต่ภายหลังก็ยอมเสียสละ เพื่อให้ประเทศชาติเดินต่อไปได้ เพราะหากยังมีความทิฐิอยู่ ก็ไม่เกิดการนิรโทษกรรมได้สำเร็จ
แต่กระนั้น นายปิยะบุตร แสงกนกกุล นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ ได้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การนิรโทษกรรมลักษณะนี้ ก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางการเมืองและในทางกฎหมาย โดยเฉพาะเรื่องการแปรญัตติในระดับกรรมาธิการที่กระทำขัดกับหลักการที่สภารับในวาระแรก จะถูกฟ้องให้การแปรญัตตินี้เป็นโมฆะ นอกจากนี้ ก็คือ การไม่ระบุชัดว่า คดีในลักษณะใดที่จะได้รับการนิรโทษกรรม ก็จะกลายเป็นการเป็นที่ถกเถียงว่า เรื่องไหนเข้าข่ายนิรโทษ ทำให้การตัดสินสุดท้ายไปอยู่ที่ศาล กลายเป็นการเปิดทางให้ศาลผูกขาดการตีความเงื่อนไขการนิรโทษกรรม
ฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มเสื้อเหลืองสลิ่มฝ่ายขวา ก็โจมตีการนิรโทษกรรมลักษณะนี้ โดยมุ่งไปที่ปัญหาที่ว่า จะเป็นการนิรโทษกรรมข้อหาทุจริตคอรับชั่น ซึ่งจะเท่ากับนิรโทษกรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในหลายคดีทั้งที่ตัดสินไปแล้วและยังคั่งค้างอยู่ในศาล แล้วยังจะนำไปสู่การคืนทรัพย์สิน 4.6 หมื่นล้าน ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ศาลสั่งให้ยึดมา ทั้งยังยืนยันในข้ออ้างเดิมว่า การนิรโทษกรรมจะเป็นการทำลาย”หลักนิติรัฐและนิติธรรม” โดยเฉพาะกลุ่มผู้นำการประท้วงรัฐบาล ยังคาดหมายว่า ประเด็นเรื่องนิรโทษกรรมนี้ จะเป็นประเด็น”จุดติด”ที่นำมวลชนมาต่อต้านรัฐบาลได้สำเร็จ
แต่กรณีของกลุ่มคนเสื้อแดง ประเด็นที่ไม่เป็นที่ยอมรับคือ การนิรโทษกรรมที่ยกเข่งให้กับฝ่ายทหาร ศอฉ. พ้นจากความผิด และยังยกความผิดให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ สุเทพ เทือกสุบรรณ ที่เป็นตัวการในการเข่นฆ่าสังหารประชาชน ซึ่งจนถึงขณะนี้ก็ยังใช้วิธีการโกหกรายวันใส่ร้ายป้ายสีคนเสื้อแดง เพื่อเอาตัวรอด และยังไม่เคยแสดงท่าทีในการสำนึกในโทษกรรมของตนเองเลย
ความจริงแล้ว กลุ่มคนเสื้อแดงไม่ได้ติดใจเรื่อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องถือด้วยซ้ำว่า กรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นเรื่องของความอยุติธรรมที่ได้รับผลพวงจากการรัฐประหาร การหาเหตุมาเล่นงาน พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วยคดีของ คตส.(คณะกรรมการการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ) ที่ตั้งโดยคณะรัฐประหารเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องทั้งหมด กระบวนการยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณก็เป็นเรื่องอันไร้เหตุผล เพียงแต่ว่าจะเป็นการดีกว่านี้ ถ้าจะไม่เอาเรื่องการขอนิรโทษกรรม พ.ต.ท.ทักษิณมาพ่วงกับกฎหมายนิรโทษกรรมประชาชน ปัญหาของกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ มีวิธีการแก้ไขที่ง่ายกว่าและเป็นธรรม นั่นคือการยกเลิกผลพวงคณะรัฐประหาร พ.ศ.2549 ทั้งหมด ให้กฎหมายและคำสั่งที่ออกโดยคณะรัฐประหารเป็นโมฆะ แล้วนำ พ.ต.ท.ทักษิณมาพิจารณาด้วยกฎหมายธรรมดา
ดังนั้น ในวันที่ 19 ตุลาคม แกนนำของกลุ่ม นปช. เช่น จตุพร พรหมพันธุ์ ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ และ วิภูแถลง พัฒนภูมิไท เป็นต้น ก็ได้แสดงท่าทีอย่างเป็นทางการไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมลักษณะเช่นนี้ ดังเช่นที่ ธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช.ยืนยันว่า ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมฝ่ายฆาตกร ด้วยเหตุผลที่ไม่ต้องการให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย และไม่ต้องการทรยศประชาชนหากการฆ่าบนท้องถนนเกิดขึ้นได้โดยไม่มีใครต้องรับผิดชอบ และคิดว่าคนเสื้อแดง แม้เขาจะรักคุณทักษิณแต่เขาไม่เห็นด้วย ที่จะทำให้ประวัติศาสตร์หน้านี้หายไปเฉยๆ ไม่ได้ และอธิบายว่า กลุ่ม ส.ส.พรรคเพื่อไทย ส่วนที่พยายามทำเช่นนี้ เพราะมองแบบนักการเมือง คิดว่าถ้าสามารถเจรจากันแล้วจะอยู่ร่วมกันต่อไปได้ แต่มวลชนที่เติบโตมาจากการต่อสู้จะไม่คิดเช่นนั้น เพราะจะคิดในมิติของความเป็นธรรมที่ว่า ฆาตกรจะต้องถูกลงโทษ ส่วนนายแพทย์เหวง โตจิราการ ก็ประกาศจุดยืนว่า ยังยืนยันที่จะนิรโทษเฉพาะประชาชนเท่านั้น ไม่นิรโทษให้แกนนำและผู้สั่งการฆ่าประชาชนเด็ดขาด หากพรรคยืนยันให้นิรโทษ "ยกเข่ง"ก็จะขอสงวนความเห็น
สำหรับนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้นำเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ กล่าวว่า ตนยังมีท่าทีเช่นเดิมคือไม่ต้องการให้มีการนิรโทษพวกตนและแกนนำคนเสื้อแดง แกนนำเสื้อเหลือง รวมถึงนายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ และได้ขอสงวนคำแปรญัตติไว้แล้ว เพื่อยืนยันเนื้อหาในร่างเดิม
สรุปแล้ว ร่างกฎหมายนิรโทษกรรมเหล่าพ่วงเบียร์เช่นนี้ ย่อมไม่อาจเป็นที่ยอมรับ ฝ่ายพรรคเพื่อไทยควรจะต้องกลับไปพิจารณาใหม่ และนำกลับมาสู่หลักการของร่างเดิมที่ผ่านวาระแรกน่าจะเป็นการดีกว่า
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
[บทความของ อ.ยิ้ม โลกวันนี้มีสุข
http://prachatai.com/journal/2013/10/49405?utm_source=feedburner&utm_medium=feed&utm_campaign=Feed%3A+prachatai+%28%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97+Prachatai.com%29
@@@ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: นิรโทษกรรมฉบับเหล้าพ่วงเบียร์ @@@
ในการประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมายนิรโทษกรรมวาระที่สอง ในวันที่ 18 ตุลาคม ที่ผ่านมา เสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุมได้ลงมติสนับสนุนให้เป็นไปตามร่างการแปรญัตติที่นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ สส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย เสนอ ซึ่งใจความสำคัญ อยู่ที่มาตรา 3 ซึ่งมีข้อความคือ
"ให้บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลหรือประชาชนที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง หรือความขัดแย้งทางการเมือง หรือที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำผิดโดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ถึงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2556 ไม่ว่าผู้กระทำจะได้กระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง การกระทำในวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112"
การลงมติในลักษณะเช่นนี้เป็นการปรับแก้หลักการของร่างกฎหมายนิรโทษกรรมเดิมที่เสนอโดย นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ และคณะ ซึ่งก่อให้เกิดผลที่แตกต่างกับร่างที่ผ่านวาระแรก 4 ข้อ คือ ประการแรก เป็นการนิรโทษกรรมให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในคดีทั้งหมด ประการที่สอง เป็นการนิรโทษกรรมแกนนำทุกฝ่าย ทั้งฝ่าย นปช.และฝ่ายพันธมิตร ประการที่สาม คือ นิรโทษกรรมให้กับทหารที่สลายการชุมนุมเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 รวมถึงอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ สุเทพ เทือกสุบรรณ รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐที่ใช้ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในช่วงเวลา 9 ปี ประการที่สี่ เป็นการระบุชัดถึงการทอดทิ้งเหยื่อของมาตรา 112 ซึ่งเป็นข้อหาที่ไร้ความเป็นธรรมและละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุดในยุคสมัยปัจจุบัน ทั้งที่ในร่างเดิมไม่มีการระบุชัดเช่นนี้
ในเรื่องยกเว้นมาตรา 112 เป็นการบ่งชี้ว่า นี่ยังไม่ใช่เป็นนิรโทษแบบเหมาเข่งสุดซอยอย่างแท้จริง แต่เป็นการสะท้อนทัศนะยอมจำนนของฝ่ายกรรมาธิการเสียงข้างมากต่อฝ่ายอนุรักษ์นิยมเจ้า ทั้งที่เหยื่อมาตรา 112 ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคุณดารณี ชาญเชิงศิลปะกุล สมยศ พฤกษาเกษมสุข เอกชัย หงส์กังวาน ปภัสชนัญญ์ ฉิ่งอินทร์ และคนอื่น ต่างก็ต้องคดีเพราะเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งทางการเมืองหลังรัฐประหาร พ.ศ.2549 ทั้งสิ้น ดังนั้นจึงต้องถือว่า เป็นการนิรโทษกรรมในลักษณะ”เหล้าพ่วงเบียร์” คือ นำเอาการนิรโทษกรรม พ.ต.ท.ทักษิณ และนิรโทษกรรมทหาร มาผูกพ่วงกับการนิรโทษกรรมประชาชนที่ปราศจากความผิด
นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมได้พยายามอธิบายในวันที่ 21 ตุลาคมว่า การเสนอแปรญัตติดังกล่าวเพราะกรรมาธิการต้องการแก้ไขผลพวงความไม่เป็นธรรมและความวุ่นวายที่เกิดจากการรัฐประหาร และยึดหลักการให้ทุกฝ่ายได้รับความเสมอภาคทางกฎหมายเท่าเทียมกัน และว่า การปรองดองแห่งชาติต้องเริ่มต้นจากทุกฝ่ายให้อภัยกันก่อน การออกกฎหมายนิรโทษกรรมแก่ทุกฝ่ายเป็นหลักการเดียวที่ทั่วโลกพึงปฏิบัติ เพื่อให้ประเทศชาติกลับมาสงบ แม้กระทั่ง น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล ที่เดิมทีก็ไม่ยอมให้มีการนิรโทษกรรม แต่ภายหลังก็ยอมเสียสละ เพื่อให้ประเทศชาติเดินต่อไปได้ เพราะหากยังมีความทิฐิอยู่ ก็ไม่เกิดการนิรโทษกรรมได้สำเร็จ
แต่กระนั้น นายปิยะบุตร แสงกนกกุล นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ ได้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การนิรโทษกรรมลักษณะนี้ ก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางการเมืองและในทางกฎหมาย โดยเฉพาะเรื่องการแปรญัตติในระดับกรรมาธิการที่กระทำขัดกับหลักการที่สภารับในวาระแรก จะถูกฟ้องให้การแปรญัตตินี้เป็นโมฆะ นอกจากนี้ ก็คือ การไม่ระบุชัดว่า คดีในลักษณะใดที่จะได้รับการนิรโทษกรรม ก็จะกลายเป็นการเป็นที่ถกเถียงว่า เรื่องไหนเข้าข่ายนิรโทษ ทำให้การตัดสินสุดท้ายไปอยู่ที่ศาล กลายเป็นการเปิดทางให้ศาลผูกขาดการตีความเงื่อนไขการนิรโทษกรรม
ฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มเสื้อเหลืองสลิ่มฝ่ายขวา ก็โจมตีการนิรโทษกรรมลักษณะนี้ โดยมุ่งไปที่ปัญหาที่ว่า จะเป็นการนิรโทษกรรมข้อหาทุจริตคอรับชั่น ซึ่งจะเท่ากับนิรโทษกรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในหลายคดีทั้งที่ตัดสินไปแล้วและยังคั่งค้างอยู่ในศาล แล้วยังจะนำไปสู่การคืนทรัพย์สิน 4.6 หมื่นล้าน ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ศาลสั่งให้ยึดมา ทั้งยังยืนยันในข้ออ้างเดิมว่า การนิรโทษกรรมจะเป็นการทำลาย”หลักนิติรัฐและนิติธรรม” โดยเฉพาะกลุ่มผู้นำการประท้วงรัฐบาล ยังคาดหมายว่า ประเด็นเรื่องนิรโทษกรรมนี้ จะเป็นประเด็น”จุดติด”ที่นำมวลชนมาต่อต้านรัฐบาลได้สำเร็จ
แต่กรณีของกลุ่มคนเสื้อแดง ประเด็นที่ไม่เป็นที่ยอมรับคือ การนิรโทษกรรมที่ยกเข่งให้กับฝ่ายทหาร ศอฉ. พ้นจากความผิด และยังยกความผิดให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ สุเทพ เทือกสุบรรณ ที่เป็นตัวการในการเข่นฆ่าสังหารประชาชน ซึ่งจนถึงขณะนี้ก็ยังใช้วิธีการโกหกรายวันใส่ร้ายป้ายสีคนเสื้อแดง เพื่อเอาตัวรอด และยังไม่เคยแสดงท่าทีในการสำนึกในโทษกรรมของตนเองเลย
ความจริงแล้ว กลุ่มคนเสื้อแดงไม่ได้ติดใจเรื่อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องถือด้วยซ้ำว่า กรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นเรื่องของความอยุติธรรมที่ได้รับผลพวงจากการรัฐประหาร การหาเหตุมาเล่นงาน พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วยคดีของ คตส.(คณะกรรมการการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ) ที่ตั้งโดยคณะรัฐประหารเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องทั้งหมด กระบวนการยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณก็เป็นเรื่องอันไร้เหตุผล เพียงแต่ว่าจะเป็นการดีกว่านี้ ถ้าจะไม่เอาเรื่องการขอนิรโทษกรรม พ.ต.ท.ทักษิณมาพ่วงกับกฎหมายนิรโทษกรรมประชาชน ปัญหาของกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ มีวิธีการแก้ไขที่ง่ายกว่าและเป็นธรรม นั่นคือการยกเลิกผลพวงคณะรัฐประหาร พ.ศ.2549 ทั้งหมด ให้กฎหมายและคำสั่งที่ออกโดยคณะรัฐประหารเป็นโมฆะ แล้วนำ พ.ต.ท.ทักษิณมาพิจารณาด้วยกฎหมายธรรมดา
ดังนั้น ในวันที่ 19 ตุลาคม แกนนำของกลุ่ม นปช. เช่น จตุพร พรหมพันธุ์ ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ และ วิภูแถลง พัฒนภูมิไท เป็นต้น ก็ได้แสดงท่าทีอย่างเป็นทางการไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมลักษณะเช่นนี้ ดังเช่นที่ ธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช.ยืนยันว่า ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมฝ่ายฆาตกร ด้วยเหตุผลที่ไม่ต้องการให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย และไม่ต้องการทรยศประชาชนหากการฆ่าบนท้องถนนเกิดขึ้นได้โดยไม่มีใครต้องรับผิดชอบ และคิดว่าคนเสื้อแดง แม้เขาจะรักคุณทักษิณแต่เขาไม่เห็นด้วย ที่จะทำให้ประวัติศาสตร์หน้านี้หายไปเฉยๆ ไม่ได้ และอธิบายว่า กลุ่ม ส.ส.พรรคเพื่อไทย ส่วนที่พยายามทำเช่นนี้ เพราะมองแบบนักการเมือง คิดว่าถ้าสามารถเจรจากันแล้วจะอยู่ร่วมกันต่อไปได้ แต่มวลชนที่เติบโตมาจากการต่อสู้จะไม่คิดเช่นนั้น เพราะจะคิดในมิติของความเป็นธรรมที่ว่า ฆาตกรจะต้องถูกลงโทษ ส่วนนายแพทย์เหวง โตจิราการ ก็ประกาศจุดยืนว่า ยังยืนยันที่จะนิรโทษเฉพาะประชาชนเท่านั้น ไม่นิรโทษให้แกนนำและผู้สั่งการฆ่าประชาชนเด็ดขาด หากพรรคยืนยันให้นิรโทษ "ยกเข่ง"ก็จะขอสงวนความเห็น
สำหรับนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้นำเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ กล่าวว่า ตนยังมีท่าทีเช่นเดิมคือไม่ต้องการให้มีการนิรโทษพวกตนและแกนนำคนเสื้อแดง แกนนำเสื้อเหลือง รวมถึงนายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ และได้ขอสงวนคำแปรญัตติไว้แล้ว เพื่อยืนยันเนื้อหาในร่างเดิม
สรุปแล้ว ร่างกฎหมายนิรโทษกรรมเหล่าพ่วงเบียร์เช่นนี้ ย่อมไม่อาจเป็นที่ยอมรับ ฝ่ายพรรคเพื่อไทยควรจะต้องกลับไปพิจารณาใหม่ และนำกลับมาสู่หลักการของร่างเดิมที่ผ่านวาระแรกน่าจะเป็นการดีกว่า
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
[บทความของ อ.ยิ้ม โลกวันนี้มีสุข
http://prachatai.com/journal/2013/10/49405?utm_source=feedburner&utm_medium=feed&utm_campaign=Feed%3A+prachatai+%28%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97+Prachatai.com%29