ท่ามกลางการผลักดัน "นิรโทษสุดซอย" ที่ทำท่าจะพารัฐบาลเดินสู่ทางตันมากกว่า นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ได้เสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 309 เพราะเชื่อว่าจะเป็นการช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ได้กลับบ้านอย่างสง่างามและชอบธรรมมากกว่า
การแก้มาตรา 309 จะใช่ทางออกหรือไม่ มีความเห็นจากนักวิชาการ และส.ว.
นันทวัฒน์ บรมานันท์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
การแก้รัฐธรรมนูญต้องแยกกับการแก้กฎหมายนิรโทษกรรม เพราะการแก้รัฐธรรมนูญต้องตั้งกระบวนการขึ้นมาใหม่ แต่วันนี้มีกฎหมายนิรโทษอยู่ในสภาแล้ว
เมื่อมีร่างพ.ร.บ.ที่เสนอโดยนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทร ปราการ ค้างการพิจารณาอยู่ ก็ต้องทำให้เสร็จ ซึ่งกฎหมายนี้จะสำเร็จมาในรูปแบบไหนไม่ทราบ แต่หลักคือต้องเคารพหลักการเดิม
เมื่อมีการแปรญัตติเกิดขึ้นคนที่แปรญัตติต้องเข้าใจประเด็นซึ่งเป็นข้อถกเถียงของสังคม เพราะมีความอ่อนไหว
ส่วนตัวมองว่าการแปรญัตติมาตรา 3 ที่กลายเป็นเรื่องเป็นราวในขณะนี้ ครั้งนี้ไม่ใช่การโยนหินถามทาง ถ้าเป็นการโยนหินต้องมีการพูดคุยกันเกิดขึ้นแต่นี่มีการทำเป็นร่างกฎหมายขึ้นมาแล้ว เป็นการตัดเชือกและพร้อมชน
พ.ร.บ.นิรโทษกรรมต้องเดินหน้าต่อให้จบ ถ้าไม่อยากกดดันก็ต้องกลับไปใช้ร่างเดิม
ส่วนการแก้มาตรา 309 เป็นอีกเรื่องหนึ่ง วันนี้จะเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญยังมีอีกหลายประเด็น มาตรา 190 ก็รออยู่ และยังมีประเด็นการแก้ไขมาตรา 68 และ 239 ที่ต้องเข้ากระบวนการของสภาอีก
ส่วนตัวเห็นด้วยว่าควรยกเลิกมาตรา 309 เพราะมาตรานี้ไม่ควรมีอยู่ตั้งแต่ต้นเพราะเป็นการทำลายรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
เราผ่านการรัฐประหารปี 2549 จนได้รัฐธรรมนูญ 2550 มาถึง 6 ปีแล้ว แต่บทบัญญัติมาตรา 309 ยังอยู่ ทั้งที่มาตรานี้ไม่ควรมี ผลของการรัฐประหารควรจบในตัวของมันเอง
ผ่านมาถึงวันนี้ ข้อกล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ และมีเรื่องอีกจำนวนหนึ่งค้างอยู่ในองค์กรตรวจสอบต่างๆ มีการกล่าวหาอดีตนายกฯ ทั้งที่ข้อกล่าวหาควรยุติเร็ววันที่สุดหลังการรัฐประหาร แต่วันนี้ทุกอย่างยังอยู่
ในต่างประเทศจะไม่ปล่อยให้คดีความต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังการรัฐประหารคาอยู่เนิ่นนานอย่างนี้ แต่จะรีบดำเนินการให้เสร็จ
แต่ถ้าจะบอกว่าการแก้มาตรา 309 เพื่อจะไม่ถูกต่อต้านเหมือนการแก้พ.ร.บ.นิรโทษกรรม คงไม่ใช่ เพราะไม่ว่าจะแก้กฎหมายอะไรก็โดนต้าน ถ้าจะลบมาตรา 309 ก็จะถูกมองว่าจะไปช่วยพ.ต.ท.ทักษิณให้หลุดคดีความ ซึ่งเป็นการมองด้านเดียว มองแค่ปลายเหตุ
อย่างไรก็ตาม กระบวนการแก้มาตรา 309 กว่าจะเสร็จอีกนาน เพราะต้องเริ่มกระบวนการใหม่
สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่
หลักการการแก้มาตรา 309 ที่ผ่านมาจะพบว่าผู้เสนอต้อง การให้ยกเลิกกฎหมาย หรือคำสั่งต่างๆ ที่มีผลพวงมาจากการทำรัฐประหาร เมื่อปี 2549 เช่น คำสั่งของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ที่ตรวจสอบการทุจริตของรัฐบาลทักษิณ ซึ่งปัจจุบันคณะหรือองค์กรต่างๆ ที่ก่อตั้งขึ้นจากการรัฐประหารยังคงมีอำนาจตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้
หากมีการแก้ไขมาตรานี้จะส่งผลให้คำสั่งจากคณะหรือองค์กรที่เกิดขึ้นจากการทำรัฐประหารก็เป็นอันโมฆะ พ.ต.ท.ทักษิณจะได้รับอานิสงส์จากการแก้ไขด้วย
ถ้ามองในมุมที่รัฐบาลต้องการช่วยเหลือพ.ต.ท.ทักษิณ จริงๆ การแก้มาตรา 309 ดูแล้วยังจะมีความชอบธรรมมากกว่าการออกกฎหมายนิรโทษกรรมที่ครอบคลุมไปถึงพ.ต.ท.ทักษิณ
ยิ่งในขณะนี้กฎหมายนิรโทษกรรมได้เปลี่ยน แปลงไปจากหลักการเดิม ฉบับของนายวรชัย เหมะ มีจุดประสงค์เพื่อต้องการให้ช่วยเหลือประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อและเป็นนักโทษทางการเมืองให้พ้นความผิด
แต่การแก้ไขมาตรา 3 ในชั้นกรรมาธิการทำให้กฎหมายนิรโทษกรรมนี้กลายเป็นกฎหมายสุดซอย กรณีทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะมีปัญหาในเรื่องของความชอบธรรมของรัฐบาล
ที่สำคัญ การแก้มาตรา 309 คือการยกเลิกอำนาจที่เกิดจากการทำรัฐประหาร และไม่ได้หมายความว่าพ.ต.ท.ทักษิณจะพ้นจากความผิด เพียงแค่กระบวนการตรวจสอบต่างๆ จะกลับไปสู่จุดเริ่มต้นใหม่
การตรวจสอบจะเป็นไปตามองค์กรที่ก่อตั้งจากรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เกิดจากการรัฐประหาร กฎหมายก็จะเป็นตามระบอบประชาธิปไตยที่มากขึ้น
อีกทั้งยังเป็นการเตือนให้รู้ว่า หากบุคคลใดที่คิดจะทำรัฐประหารต้องระมัดระวังตัวยิ่งกว่าเดิมเพราะกฎหมายมันสามารถเปลี่ยนแปลงได้
อย่างไรก็ตามต้องอย่าลืมว่ารัฐธรรมนูญมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองสูง และในสถานการณ์เช่นนี้หากรัฐบาลเข้าไปแตะหรือดำเนินการเกี่ยวกับมาตรา 309 ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐบาลอาจเดินหน้าไปพบกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น
ยิ่งการออกกฎหมายนิรโทษกรรมที่กำลังเป็นปัญหา หากเข้าไปแตะเรื่องมาตรา 309 ตอนนี้ รัฐบาลก็จะถูกมองว่ามีปัญหาในเรื่องของความชอบธรรม เอื้อประโยชน์ให้แก่พวกพ้อง
แม้ในข้อเท็จจริงการแก้มาตรา 309 เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ แต่รัฐบาลต้องคำนึงว่าการแก้ไขกฎหมายที่มีความเสี่ยงนั้นต้องให้สังคมเป็นตัวตั้ง หรือตัวผลักดัน
รัฐบาลอาจทำให้หลายวิธี เช่น ฟังความเห็นประชาชน หรือดูบริบทของสังคมในขณะนั้น และดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป
หากรัฐบาลเอาตัวเองเป็นที่ตั้งแล้วและเร่งดำเนินการจนเกินไป ย่อมพบกับแรงต้านที่เพิ่มขึ้น
พิเชต สุนทรพิพิธ ส.ว.สรรหา
อะไรก็แล้วแต่ที่เพิ่มมาจากการเสนอร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนายวรชัย เหมะ ย่อมไม่ดีทั้งนั้น พูดง่ายๆ คือ ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ หรือการเสนอแก้มาตรา 309 ไม่ใช่ทางออกที่ดี
ทางออกที่เหมาะสมคือ การกลับไปยึดตามร่างเดิม ซึ่งประชาชนจะยอมรับได้มากกว่า
เพราะก่อนที่จะเสนอร่างจนเข้าสู่กระบวนการวาระ 1 พรรคเพื่อไทยและคนเสื้อแดงเองก็ออกมาพูดเสียงเดียวว่าร่างฉบับดังกล่าวจะเอื้อแค่ประชาชนผู้ร่วมชุมนุมทางการเมืองที่บริสุทธิ์เท่านั้น ไม่รวมผู้สั่งการ แกนนำ ทุกคนก็เห็นว่ามีความเข้มแข็งในการเสนอร่าง
ขณะเดียวกัน ประชาชนก็เข้าใจในระดับหนึ่งแล้ว ส่วนตัวก็ยังโหวตวาระ 1 ให้ เพราะเห็นแก่การสร้างความปรองดองชาติ แต่กลับเกิดการพลิกเกมในชั้นคณะกรรมาธิการ
ก็ยังเดาไม่ออกว่าเป็นการเตี๊ยมกับคนเสื้อแดงให้ออกมาหยั่งเชิงเสียงอีกแนวหนึ่ง หรือเป็นตัวล่อ ส่วนพรรคเพื่อไทยก็เดินหน้าอีกทาง แต่ในที่สุดอาจจะเดินตามทางล้างผิดทุกคดีให้กับพ.ต.ท.ทักษิณก็เป็นได้
แม้ว่าการเสนอแก้มาตรา 309 จะดูดีกว่าร่างฉบับนายประยุทธ์ แต่ก็ต้องไปพัวพันกับช่วงรัฐประหาร ลากยาวไปถึงองค์กรทหาร คิดว่าอาจจะเป็นเรื่องยากลำบากเข้าไปอีก เพราะแค่ร่างที่เป็นอยู่ตอนนี้ก็เรียกแขกได้มากอยู่แล้ว
ไม่ทราบว่ารัฐบาลคิดอย่างไรที่หมั่นเติมฟืนเข้ากองไฟ ทั้งที่รัฐบาลเกือบจะได้เครดิตหากให้ดำเนินไปตามปกติจนผ่านวาระ 2 และวาระ 3 แต่มาเรียกเสียงต่อต้านเพิ่มขึ้น
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@2
เอามาแปะให้อ่านกันครับ คลายเครียดครับ
แก้ "ม.309"แทนพรบ.สุดซอย?
การแก้มาตรา 309 จะใช่ทางออกหรือไม่ มีความเห็นจากนักวิชาการ และส.ว.
นันทวัฒน์ บรมานันท์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
การแก้รัฐธรรมนูญต้องแยกกับการแก้กฎหมายนิรโทษกรรม เพราะการแก้รัฐธรรมนูญต้องตั้งกระบวนการขึ้นมาใหม่ แต่วันนี้มีกฎหมายนิรโทษอยู่ในสภาแล้ว
เมื่อมีร่างพ.ร.บ.ที่เสนอโดยนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทร ปราการ ค้างการพิจารณาอยู่ ก็ต้องทำให้เสร็จ ซึ่งกฎหมายนี้จะสำเร็จมาในรูปแบบไหนไม่ทราบ แต่หลักคือต้องเคารพหลักการเดิม
เมื่อมีการแปรญัตติเกิดขึ้นคนที่แปรญัตติต้องเข้าใจประเด็นซึ่งเป็นข้อถกเถียงของสังคม เพราะมีความอ่อนไหว
ส่วนตัวมองว่าการแปรญัตติมาตรา 3 ที่กลายเป็นเรื่องเป็นราวในขณะนี้ ครั้งนี้ไม่ใช่การโยนหินถามทาง ถ้าเป็นการโยนหินต้องมีการพูดคุยกันเกิดขึ้นแต่นี่มีการทำเป็นร่างกฎหมายขึ้นมาแล้ว เป็นการตัดเชือกและพร้อมชน
พ.ร.บ.นิรโทษกรรมต้องเดินหน้าต่อให้จบ ถ้าไม่อยากกดดันก็ต้องกลับไปใช้ร่างเดิม
ส่วนการแก้มาตรา 309 เป็นอีกเรื่องหนึ่ง วันนี้จะเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญยังมีอีกหลายประเด็น มาตรา 190 ก็รออยู่ และยังมีประเด็นการแก้ไขมาตรา 68 และ 239 ที่ต้องเข้ากระบวนการของสภาอีก
ส่วนตัวเห็นด้วยว่าควรยกเลิกมาตรา 309 เพราะมาตรานี้ไม่ควรมีอยู่ตั้งแต่ต้นเพราะเป็นการทำลายรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
เราผ่านการรัฐประหารปี 2549 จนได้รัฐธรรมนูญ 2550 มาถึง 6 ปีแล้ว แต่บทบัญญัติมาตรา 309 ยังอยู่ ทั้งที่มาตรานี้ไม่ควรมี ผลของการรัฐประหารควรจบในตัวของมันเอง
ผ่านมาถึงวันนี้ ข้อกล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ และมีเรื่องอีกจำนวนหนึ่งค้างอยู่ในองค์กรตรวจสอบต่างๆ มีการกล่าวหาอดีตนายกฯ ทั้งที่ข้อกล่าวหาควรยุติเร็ววันที่สุดหลังการรัฐประหาร แต่วันนี้ทุกอย่างยังอยู่
ในต่างประเทศจะไม่ปล่อยให้คดีความต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังการรัฐประหารคาอยู่เนิ่นนานอย่างนี้ แต่จะรีบดำเนินการให้เสร็จ
แต่ถ้าจะบอกว่าการแก้มาตรา 309 เพื่อจะไม่ถูกต่อต้านเหมือนการแก้พ.ร.บ.นิรโทษกรรม คงไม่ใช่ เพราะไม่ว่าจะแก้กฎหมายอะไรก็โดนต้าน ถ้าจะลบมาตรา 309 ก็จะถูกมองว่าจะไปช่วยพ.ต.ท.ทักษิณให้หลุดคดีความ ซึ่งเป็นการมองด้านเดียว มองแค่ปลายเหตุ
อย่างไรก็ตาม กระบวนการแก้มาตรา 309 กว่าจะเสร็จอีกนาน เพราะต้องเริ่มกระบวนการใหม่
สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่
หลักการการแก้มาตรา 309 ที่ผ่านมาจะพบว่าผู้เสนอต้อง การให้ยกเลิกกฎหมาย หรือคำสั่งต่างๆ ที่มีผลพวงมาจากการทำรัฐประหาร เมื่อปี 2549 เช่น คำสั่งของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ที่ตรวจสอบการทุจริตของรัฐบาลทักษิณ ซึ่งปัจจุบันคณะหรือองค์กรต่างๆ ที่ก่อตั้งขึ้นจากการรัฐประหารยังคงมีอำนาจตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้
หากมีการแก้ไขมาตรานี้จะส่งผลให้คำสั่งจากคณะหรือองค์กรที่เกิดขึ้นจากการทำรัฐประหารก็เป็นอันโมฆะ พ.ต.ท.ทักษิณจะได้รับอานิสงส์จากการแก้ไขด้วย
ถ้ามองในมุมที่รัฐบาลต้องการช่วยเหลือพ.ต.ท.ทักษิณ จริงๆ การแก้มาตรา 309 ดูแล้วยังจะมีความชอบธรรมมากกว่าการออกกฎหมายนิรโทษกรรมที่ครอบคลุมไปถึงพ.ต.ท.ทักษิณ
ยิ่งในขณะนี้กฎหมายนิรโทษกรรมได้เปลี่ยน แปลงไปจากหลักการเดิม ฉบับของนายวรชัย เหมะ มีจุดประสงค์เพื่อต้องการให้ช่วยเหลือประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อและเป็นนักโทษทางการเมืองให้พ้นความผิด
แต่การแก้ไขมาตรา 3 ในชั้นกรรมาธิการทำให้กฎหมายนิรโทษกรรมนี้กลายเป็นกฎหมายสุดซอย กรณีทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะมีปัญหาในเรื่องของความชอบธรรมของรัฐบาล
ที่สำคัญ การแก้มาตรา 309 คือการยกเลิกอำนาจที่เกิดจากการทำรัฐประหาร และไม่ได้หมายความว่าพ.ต.ท.ทักษิณจะพ้นจากความผิด เพียงแค่กระบวนการตรวจสอบต่างๆ จะกลับไปสู่จุดเริ่มต้นใหม่
การตรวจสอบจะเป็นไปตามองค์กรที่ก่อตั้งจากรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เกิดจากการรัฐประหาร กฎหมายก็จะเป็นตามระบอบประชาธิปไตยที่มากขึ้น
อีกทั้งยังเป็นการเตือนให้รู้ว่า หากบุคคลใดที่คิดจะทำรัฐประหารต้องระมัดระวังตัวยิ่งกว่าเดิมเพราะกฎหมายมันสามารถเปลี่ยนแปลงได้
อย่างไรก็ตามต้องอย่าลืมว่ารัฐธรรมนูญมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองสูง และในสถานการณ์เช่นนี้หากรัฐบาลเข้าไปแตะหรือดำเนินการเกี่ยวกับมาตรา 309 ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐบาลอาจเดินหน้าไปพบกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น
ยิ่งการออกกฎหมายนิรโทษกรรมที่กำลังเป็นปัญหา หากเข้าไปแตะเรื่องมาตรา 309 ตอนนี้ รัฐบาลก็จะถูกมองว่ามีปัญหาในเรื่องของความชอบธรรม เอื้อประโยชน์ให้แก่พวกพ้อง
แม้ในข้อเท็จจริงการแก้มาตรา 309 เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ แต่รัฐบาลต้องคำนึงว่าการแก้ไขกฎหมายที่มีความเสี่ยงนั้นต้องให้สังคมเป็นตัวตั้ง หรือตัวผลักดัน
รัฐบาลอาจทำให้หลายวิธี เช่น ฟังความเห็นประชาชน หรือดูบริบทของสังคมในขณะนั้น และดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป
หากรัฐบาลเอาตัวเองเป็นที่ตั้งแล้วและเร่งดำเนินการจนเกินไป ย่อมพบกับแรงต้านที่เพิ่มขึ้น
พิเชต สุนทรพิพิธ ส.ว.สรรหา
อะไรก็แล้วแต่ที่เพิ่มมาจากการเสนอร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนายวรชัย เหมะ ย่อมไม่ดีทั้งนั้น พูดง่ายๆ คือ ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ หรือการเสนอแก้มาตรา 309 ไม่ใช่ทางออกที่ดี
ทางออกที่เหมาะสมคือ การกลับไปยึดตามร่างเดิม ซึ่งประชาชนจะยอมรับได้มากกว่า
เพราะก่อนที่จะเสนอร่างจนเข้าสู่กระบวนการวาระ 1 พรรคเพื่อไทยและคนเสื้อแดงเองก็ออกมาพูดเสียงเดียวว่าร่างฉบับดังกล่าวจะเอื้อแค่ประชาชนผู้ร่วมชุมนุมทางการเมืองที่บริสุทธิ์เท่านั้น ไม่รวมผู้สั่งการ แกนนำ ทุกคนก็เห็นว่ามีความเข้มแข็งในการเสนอร่าง
ขณะเดียวกัน ประชาชนก็เข้าใจในระดับหนึ่งแล้ว ส่วนตัวก็ยังโหวตวาระ 1 ให้ เพราะเห็นแก่การสร้างความปรองดองชาติ แต่กลับเกิดการพลิกเกมในชั้นคณะกรรมาธิการ
ก็ยังเดาไม่ออกว่าเป็นการเตี๊ยมกับคนเสื้อแดงให้ออกมาหยั่งเชิงเสียงอีกแนวหนึ่ง หรือเป็นตัวล่อ ส่วนพรรคเพื่อไทยก็เดินหน้าอีกทาง แต่ในที่สุดอาจจะเดินตามทางล้างผิดทุกคดีให้กับพ.ต.ท.ทักษิณก็เป็นได้
แม้ว่าการเสนอแก้มาตรา 309 จะดูดีกว่าร่างฉบับนายประยุทธ์ แต่ก็ต้องไปพัวพันกับช่วงรัฐประหาร ลากยาวไปถึงองค์กรทหาร คิดว่าอาจจะเป็นเรื่องยากลำบากเข้าไปอีก เพราะแค่ร่างที่เป็นอยู่ตอนนี้ก็เรียกแขกได้มากอยู่แล้ว
ไม่ทราบว่ารัฐบาลคิดอย่างไรที่หมั่นเติมฟืนเข้ากองไฟ ทั้งที่รัฐบาลเกือบจะได้เครดิตหากให้ดำเนินไปตามปกติจนผ่านวาระ 2 และวาระ 3 แต่มาเรียกเสียงต่อต้านเพิ่มขึ้น
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@2
เอามาแปะให้อ่านกันครับ คลายเครียดครับ