หลายวันมานี้ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็เจอแต่ข่าว
“น้ำท่วม” กับข่าว
“ชุมนุมประท้วง”
พายุเข้า ฝนตกหนัก ระบบระบายน้ำแย่ น้ำไหลออกไม่ทัน น้ำเริ่มขัง และ ท่วมเมืองในที่สุด
ความไม่พอใจ ความไม่เข้าใจ ความไม่เป็นธรรม ส่งให้ฝูงชนหลากสี ลุกฮือขึ้นมาประท้วง
วิกฤตเหล่านี้บางทีเราก็คาดการณ์มันไม่ได้ … บ่อยครั้งเมื่อรู้ตัวอีกที่ก็ไม่ทันการณ์
เมื่อน้ำมาครั้งแรกถึงขอบประตูบ้าน จะขนของออกก็คงไม่ทันเวลา และ ทำได้ยาก
หลายกิจการจึงต้องรับชะตากรรม ... ทรัพย์สินข้าวของเสียหาย จมไปกับน้ำ
ม็อบประท้วงปิดเส้นทาง ปิดหน้าร้าน ค้าขายลำบากลูกค้าไม่เข้าส่งสินค้าติดขัด
เมื่อเกิดเหตุเช่นนี้ก็ได้แต่แก้ไขไปตามสถานการณ์
เหตุการณ์เหล่านี้ไม่ใช่พึ่งเคยเกิดขึ้นครั้งแรก เพราะหลายพื้นที่เกิดเหตุเหล่านี้ซ้ำซาก
จุดที่น้ำมันท่วมก็ท่วมเรื่อยไป จุดที่คนชอมมาประท้วงก็มาจุดนี้เรื่อยไป
เมื่อเกิดภาวะซ้ำซากเช่นนี้
... จงเตรียมเงินและเตรียมใจให้พร้อม
เตรียมเงิน ... ในกิจการที่เผชิญกับภาวะเช่นนี้
“เงินสด” เป็นสำคัญ
รายจ่าย ดอกเบี้ย ค่างวด ... มันไม่ได้หยุด เมื่อน้ำมา ไม่ได้หยุดเมื่อม็อบเดินขบวน
แต่ในทางกลับกัน รายได้กลับหดหายเมื่อม็อบเดินขบวน ไม่มีรายได้เลยเมื่อ เมื่อน้ำมา
ดังนั้น จงเตรียมพร้อม “เตรียมเงินสดให้มากพอต่อรายจ่าย” กำหนดเกณฑ์ให้เหมาะสม
เช่น กิจการควรมีเงินสดสำรองให้เพียงพอต่อรายจ่ายอย่างน้อยสัก 3 เดือน
เพราะถ้าเรามีเงินสดไม่มากพอ จะทำให้วิกฤตน้ำกลายเป็นวิกฤตของกิจการได้
เตรียมใจ ... เกิดวิกฤตครั้งใด ใจต้องแข็งครับ
อย่าปล่อยให้หัวใจไหลไปกับสายน้ำ อย่าให้ความหวังหมดไปกับฝูงชน
ถ้าใจไม่สู้ ทุกอย่างก็จบลง ... วิกฤตผ่านมาแล้วก็จะผ่านไป เราต้องเรียนรู้จากมัน
ผมมีสองตัวอย่างของสองกิจการที่เขาใช้รับมือกับวิกฤตเหล่านี้
รุ่นน้องผมคนหนึ่งทำโฮสเทลในกทม.ให้ชาวต่างเข้าชาติพักขนาดยี่สิบห้อง
บ่อยครั้งที่เขาได้รับผลกระทบจากการประท้วง ชุมนุมกันทีหนึ่งแทบจะไม่มีลูกค้าเข้าพักเลย
เขาเตรียมเงินสำรองสำหรับผลกระทบจากการชุมนุมโดยเฉพาะ เป็นกิจจะลักษณะเลย
นอกจากนั้นเขายังกันสำรองฉุกเฉินพิเศษอีกจำนวนหนึ่งจ่ายเขายังกันสำรอง
พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ... รุ่นน้องผมคนนี้ต้องอยู่ดูแลที่โฮสเทลนี้เกือบทุกวันตลอดปี
แทบไม่ได้กระดิกตัวไปไหนเลย ... แต่เมื่อม็อบมา ลูกค้าก็น้อยจึงใช้เวลานี้ออกเดินทาง
ไปต่างจังหวัดหรือไปต่างประเทศไปทดลองให้บริการโรงแรมหรือโฮสเทลเพื่อเก็บประสบการณ์
เพื่อนำประสบการณ์เหล่านั้นกลับมาปรับใช้กับธุรกิจของเขา
บ้านแม่ยายของผมตั้งอยู่พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ปีนี้ท่วมระดับอกแล้วสามรอบ
แต่เสียหายไม่มาก เพราะ เตรียมการป้องกันไว้ก่อนหนุนข้าวของไว้สูง สินค้านำไปวางไว้ชั้นสอง
น้ำมาก็เพียงแค่เก็บเอกสาร ข้าวของสำคัญบางส่วน ก็ทันท่วงที การป้องกันทำให้ลดความเสียหายได้มา
พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ... น้ำท่วมค้าขายลำบาก ตัวแม่ยายเองเลยมาเยี่ยมลูกสาว
มาเลี้ยงหลานอยู่ที่ต่างจังหวัด ถ้าเวลาปกติน่าจะหาเวลายากเพราะแกเองก็ขายดี
น้ำท่วมทั้งทีเลยถือโอกาสมาเยี่มลูกเลี้ยงหลายเสียเลยก็ดีเหมือนกันแก้เครียด
เพื่อให้พร้อมรับกับทุกสถานการณ์ เราจึงควรเตรียมเงินและเตรียมใจให้พร้อมครับ
ถ้าเราเตรียมตัวไว้เราก็จะอยู่ได้ และพยายามทำใจร่มๆ คิดในแง่บวก
เพราะในทุกวิกฤต ย่อมมีโอกาสแฝงอยู่เสมอ ...
สุดท้ายนี้ ...
ขอเป็นกำลังใจให้กับพ่อค้าแม่ขายและผู้ประกอบการทุกท่านที่กำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤตครับ
...[^_^]...
เมื่อกิจการเจอวิกฤตที่ยากคาดเดาแบบนี้!!! ... แล้วมันจะเจ้งมั้ยเนี่ย!!!
พายุเข้า ฝนตกหนัก ระบบระบายน้ำแย่ น้ำไหลออกไม่ทัน น้ำเริ่มขัง และ ท่วมเมืองในที่สุด
ความไม่พอใจ ความไม่เข้าใจ ความไม่เป็นธรรม ส่งให้ฝูงชนหลากสี ลุกฮือขึ้นมาประท้วง
วิกฤตเหล่านี้บางทีเราก็คาดการณ์มันไม่ได้ … บ่อยครั้งเมื่อรู้ตัวอีกที่ก็ไม่ทันการณ์
เมื่อน้ำมาครั้งแรกถึงขอบประตูบ้าน จะขนของออกก็คงไม่ทันเวลา และ ทำได้ยาก
หลายกิจการจึงต้องรับชะตากรรม ... ทรัพย์สินข้าวของเสียหาย จมไปกับน้ำ
ม็อบประท้วงปิดเส้นทาง ปิดหน้าร้าน ค้าขายลำบากลูกค้าไม่เข้าส่งสินค้าติดขัด
เมื่อเกิดเหตุเช่นนี้ก็ได้แต่แก้ไขไปตามสถานการณ์
เหตุการณ์เหล่านี้ไม่ใช่พึ่งเคยเกิดขึ้นครั้งแรก เพราะหลายพื้นที่เกิดเหตุเหล่านี้ซ้ำซาก
จุดที่น้ำมันท่วมก็ท่วมเรื่อยไป จุดที่คนชอมมาประท้วงก็มาจุดนี้เรื่อยไป
เมื่อเกิดภาวะซ้ำซากเช่นนี้ ... จงเตรียมเงินและเตรียมใจให้พร้อม
เตรียมเงิน ... ในกิจการที่เผชิญกับภาวะเช่นนี้ “เงินสด” เป็นสำคัญ
รายจ่าย ดอกเบี้ย ค่างวด ... มันไม่ได้หยุด เมื่อน้ำมา ไม่ได้หยุดเมื่อม็อบเดินขบวน
แต่ในทางกลับกัน รายได้กลับหดหายเมื่อม็อบเดินขบวน ไม่มีรายได้เลยเมื่อ เมื่อน้ำมา
ดังนั้น จงเตรียมพร้อม “เตรียมเงินสดให้มากพอต่อรายจ่าย” กำหนดเกณฑ์ให้เหมาะสม
เช่น กิจการควรมีเงินสดสำรองให้เพียงพอต่อรายจ่ายอย่างน้อยสัก 3 เดือน
เพราะถ้าเรามีเงินสดไม่มากพอ จะทำให้วิกฤตน้ำกลายเป็นวิกฤตของกิจการได้
เตรียมใจ ... เกิดวิกฤตครั้งใด ใจต้องแข็งครับ
อย่าปล่อยให้หัวใจไหลไปกับสายน้ำ อย่าให้ความหวังหมดไปกับฝูงชน
ถ้าใจไม่สู้ ทุกอย่างก็จบลง ... วิกฤตผ่านมาแล้วก็จะผ่านไป เราต้องเรียนรู้จากมัน
ผมมีสองตัวอย่างของสองกิจการที่เขาใช้รับมือกับวิกฤตเหล่านี้
รุ่นน้องผมคนหนึ่งทำโฮสเทลในกทม.ให้ชาวต่างเข้าชาติพักขนาดยี่สิบห้อง
บ่อยครั้งที่เขาได้รับผลกระทบจากการประท้วง ชุมนุมกันทีหนึ่งแทบจะไม่มีลูกค้าเข้าพักเลย
เขาเตรียมเงินสำรองสำหรับผลกระทบจากการชุมนุมโดยเฉพาะ เป็นกิจจะลักษณะเลย
นอกจากนั้นเขายังกันสำรองฉุกเฉินพิเศษอีกจำนวนหนึ่งจ่ายเขายังกันสำรอง
พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ... รุ่นน้องผมคนนี้ต้องอยู่ดูแลที่โฮสเทลนี้เกือบทุกวันตลอดปี
แทบไม่ได้กระดิกตัวไปไหนเลย ... แต่เมื่อม็อบมา ลูกค้าก็น้อยจึงใช้เวลานี้ออกเดินทาง
ไปต่างจังหวัดหรือไปต่างประเทศไปทดลองให้บริการโรงแรมหรือโฮสเทลเพื่อเก็บประสบการณ์
เพื่อนำประสบการณ์เหล่านั้นกลับมาปรับใช้กับธุรกิจของเขา
บ้านแม่ยายของผมตั้งอยู่พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ปีนี้ท่วมระดับอกแล้วสามรอบ
แต่เสียหายไม่มาก เพราะ เตรียมการป้องกันไว้ก่อนหนุนข้าวของไว้สูง สินค้านำไปวางไว้ชั้นสอง
น้ำมาก็เพียงแค่เก็บเอกสาร ข้าวของสำคัญบางส่วน ก็ทันท่วงที การป้องกันทำให้ลดความเสียหายได้มา
พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ... น้ำท่วมค้าขายลำบาก ตัวแม่ยายเองเลยมาเยี่ยมลูกสาว
มาเลี้ยงหลานอยู่ที่ต่างจังหวัด ถ้าเวลาปกติน่าจะหาเวลายากเพราะแกเองก็ขายดี
น้ำท่วมทั้งทีเลยถือโอกาสมาเยี่มลูกเลี้ยงหลายเสียเลยก็ดีเหมือนกันแก้เครียด
เพื่อให้พร้อมรับกับทุกสถานการณ์ เราจึงควรเตรียมเงินและเตรียมใจให้พร้อมครับ
ถ้าเราเตรียมตัวไว้เราก็จะอยู่ได้ และพยายามทำใจร่มๆ คิดในแง่บวก
เพราะในทุกวิกฤต ย่อมมีโอกาสแฝงอยู่เสมอ ...
สุดท้ายนี้ ...
ขอเป็นกำลังใจให้กับพ่อค้าแม่ขายและผู้ประกอบการทุกท่านที่กำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤตครับ
...[^_^]...