บริษัท ยานภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) หรือ YNP ออกแถลงถึงเหตุผลการเลิกจ้างพนักงานทั้งบริษัทร่วม 900 ชีวิต ชี้ พยายามยื้อทุกทางแล้ว แต่ไม่มีกระแสเงินสด เพราะขาดรายได้หลักมาตั้งแต่ยุคโควิด 19
จากกรณีที่โรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ย่านกิ่งแก้ว ประกาศเลิกจ้างรวดเดียว 900 คนมีผลทันที สร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่เกี่ยวกับธุรกิจโรงงาน แม้กระทั่งทำงาน 19 ปี ก็ยังโดนเลย์ออฟ
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 บริษัท ยานภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) หรือ YNP มีการประกาศเรื่อง การเลิกจ้างพนักงาน มีรายละเอียดทั้งหมดดังนี้
ทั้งนี้ ทางโรงงานระบุว่า สาเหตุของการเลิกจ้างในครั้งนี้ เป็นผลมาจาก สภาพเศรษฐกิจอุตสาหกรรมยานยนต์และวิกฤตโควิด 19 อันส่งผลให้บริษัทประสบปัญหาการเงิน ขาดเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการ ทางบริษัทพยายามทำทุกอย่างเพื่อแก้ไขปัญหาการเงินให้ได้ รวมถึงยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง เพื่อให้บริษัทแก้ปัญหาทางการเงิน ดำรงไว้ซึ่งกิจการบริษัทต่อไปได้
อย่างไรก็ตาม ศาลล้มละลายกลางได้พิจารณาและไม่ได้มีคำสั่งให้บริษัทฟื้นฟูกิจการ ทำให้บริษัทไม่มีหนทางแก้ปัญหาทางการเงินได้ แม้บริษัทจะยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลล้มละลายแล้ว แต่ด้วยระยะเวลาที่รอคำพิพากษา บริษัทไม่ได้รับการพักชำระหนี้ตามกฎหมาย และประสบปัญหารายได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งผู้จัดหาวัตถุดิบ ยังได้หยุดส่งวัตถุดิบแก่บริษัท อันทำให้บริษัทไม่สามารถผลิตงานได้ตามปกติ ส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงินอย่างมีสาระสำคัญ
บริษัท พยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าว และประกาศหยุดงาน มาตรา 75 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ในเดือนพฤศจิกายน 2567 (เป็นการชั่วคราว) รวมถึงพยายามแก้ปัญหาและหาหนทางที่จะหลีกเลี่ยงการเลิกจ้างพนักงานทุกท่านอย่างถึงที่สุดแล้ว แต่ในปัจจุบันกระแสเงินสดของบริษัท ไม่เพียงพอต่อรายจ่ายที่เกิดขึ้น อันทำให้บริษัทต้องเลิกจ้างพนักงานทุกคน มีผลทันทีตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งบริษัทจะจ่ายค่าชดเชยให้กับพนักงานตามที่หารือร่วมต่อไป
เครดิตจาก kapook .com
https://hilight.kapook.com/view/244490
รู้สาเหตุโรงงาน YNP ยานภัณฑ์ เลิกจ้างทุกคน 900 คน โดนทุกระดับ สุดจะยื้อแล้ว
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 บริษัท ยานภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) หรือ YNP มีการประกาศเรื่อง การเลิกจ้างพนักงาน มีรายละเอียดทั้งหมดดังนี้
ทั้งนี้ ทางโรงงานระบุว่า สาเหตุของการเลิกจ้างในครั้งนี้ เป็นผลมาจาก สภาพเศรษฐกิจอุตสาหกรรมยานยนต์และวิกฤตโควิด 19 อันส่งผลให้บริษัทประสบปัญหาการเงิน ขาดเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการ ทางบริษัทพยายามทำทุกอย่างเพื่อแก้ไขปัญหาการเงินให้ได้ รวมถึงยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง เพื่อให้บริษัทแก้ปัญหาทางการเงิน ดำรงไว้ซึ่งกิจการบริษัทต่อไปได้
อย่างไรก็ตาม ศาลล้มละลายกลางได้พิจารณาและไม่ได้มีคำสั่งให้บริษัทฟื้นฟูกิจการ ทำให้บริษัทไม่มีหนทางแก้ปัญหาทางการเงินได้ แม้บริษัทจะยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลล้มละลายแล้ว แต่ด้วยระยะเวลาที่รอคำพิพากษา บริษัทไม่ได้รับการพักชำระหนี้ตามกฎหมาย และประสบปัญหารายได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งผู้จัดหาวัตถุดิบ ยังได้หยุดส่งวัตถุดิบแก่บริษัท อันทำให้บริษัทไม่สามารถผลิตงานได้ตามปกติ ส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงินอย่างมีสาระสำคัญ
บริษัท พยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าว และประกาศหยุดงาน มาตรา 75 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ในเดือนพฤศจิกายน 2567 (เป็นการชั่วคราว) รวมถึงพยายามแก้ปัญหาและหาหนทางที่จะหลีกเลี่ยงการเลิกจ้างพนักงานทุกท่านอย่างถึงที่สุดแล้ว แต่ในปัจจุบันกระแสเงินสดของบริษัท ไม่เพียงพอต่อรายจ่ายที่เกิดขึ้น อันทำให้บริษัทต้องเลิกจ้างพนักงานทุกคน มีผลทันทีตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งบริษัทจะจ่ายค่าชดเชยให้กับพนักงานตามที่หารือร่วมต่อไป
เครดิตจาก kapook .com
https://hilight.kapook.com/view/244490