28 สิ่งที่ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับการรักษาโรคภูมิแพ้
#นายอุ๊ย!!
เมื่อช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ผมได้ไปเข้ารักษาอาการภูมิแพ้ที่คลินิกแห่งหนึ่งแถวประชาชื่น
เป็นการรักษาอาการไซนัสอักเสบประมาณ 3 อาทิตย์ ส่วนอีก 1 อาทิตย์เป็นกระบวนการทดสอบภูมิแพ้ (Allergy Skin Test)
ปกติผมไม่ค่อยเขียนเรื่องมีสาระนะ แต่เนื่องจากคราวนี้หมดเงินไปหลายพัน ก็เลยคิดว่าควรเขียนอะไรซักอย่างให้คนอื่น ๆ ได้อ่านและนำไปใช้บ้าง ทุก ๆ หนึ่งบาทที่ผมเสียไปจะได้คุ้มค่ามากขึ้น
28 สิ่งที่ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับการรักษาโรคภูมิแพ้ตลอด 1 เดือนที่ผ่านมา มีดังนี้
- โรคภูมิแพ้เป็นภาวะที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายขยันทำงานเกินกว่าปกติ เหมือนดื่มดีนากาบาเกินขนาด ทำให้มันขยันทำงานมากกว่าคนทั่วไป คือปกติภูมิคุ้มกันในร่างกายจะต่อต้านเฉพาะพวกเชื้อโรคที่เป็นอันตราย แต่คนที่เป็นโรคภูมิแพ้ อิภูมิคุ้มกันนี่จะไม่ค่อยมีวิจารณญาณ สารบางอย่างไม่มีอันตราย เช่น ฝุ่น ไรฝุ่น โปรตีนจากหมาแมว อาหารทะเล ฯลฯ มันก็ต่อต้าน ประมาณว่าอันตรายรึเปล่าไม่รู้ กรูต่อต้านไว้ก่อน
- ตรงข้ามกับคนที่เป็นโรคเอดส์ พวกนั้นภูมิคุ้มกันบกพร่อง เชื้อโรคเข้ามาแล้ว เมิงก็ไม่ทำอะไร กรณีนั้นจะภูมิคุ้มกันจะขี้เกียจทำงาน
- ภูมิคุ้มกันมันเหมือนมนุษย์เนอะ ไม่ค่อยมีความพอดี
- เท่าที่ผมเข้าใจ การรักษาโรคภูมิแพ้มีอยู่ 3 วิธี ได้แก่ กินยา หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ และ ฉีดวัคซีน
- การกินยา เป็นแค่การกดอาการไว้เฉย ๆ เช่น ไม่ให้จมูกบวม ไม่ให้น้ำมูกไหล ไม่ให้อักเสบ เวลาที่เจอกับสารที่เราแพ้ เป็นวิธีแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ต้องกินยาไปเรื่อย ๆ ไม่มีทางหาย
- การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ เป็นการป้องกันที่ต้นเหตุ คือหลังจากที่เรารู้แล้วว่าแพ้อะไร ก็พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น เช่น แพ้แมวก็อย่าไปใกล้แมว แพ้อาหารทะเลก็อย่าไปกิน วิธีนี้จะประหยัดและง่ายที่สุด
- ส่วนการฉีดวัคซีน จะทำให้เราไม่แพ้สารก่อภูมิแพ้นั้น ๆ แต่ขั้นตอนการฉัดวัคซีนจะยุ่งยาก ต้องฉีดวัคซีนต่อเนื่องกันเป็นเวลา 3 ปี โดยปีแรกต้องไปฉีดทุกอาทิตย์ (ปีอื่น ๆ ผมไม่แน่ใจนะครับ คุณหมอไม่ได้บอก)
- นอกจากขั้นตอนการฉีดวัคซีนจะยุ่งยากแล้ว ค่าใช้จ่ายก็คงเยอะเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน
- วิธีสุดท้ายนี้เหมาะกับคนที่หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ไม่ได้ เช่น สัตวแพทย์ที่แพ้หมาแมว ในเมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องใช้วิธีฉีดวัคซีนรักษา
- แต่ถ้าหลีกเลี่ยงได้ก็หลีกเลี่ยงแบบวิธีที่สองเถอะครับ น่าจะประหยัดเงิน ประหยัดเวลากว่าเยอะ
- การทดสอบภูมิแพ้ คุณหมอจะหยดสารที่เป็นตัวแทนของสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น โปรตีนจากสัตว์ หรือพืชต่าง ๆ มาหยดที่แขนหรือแผ่นหลังของเรา แล้วก็จะสะกิดให้เลือดออก หลังจากนั้นก็จะดูว่าผิวหนังเรามีท่าทีแปลก ๆ กับสารใดบ้าง
- ผมแพ้ ไรฝุ่น มากที่สุด (ตอนทดสอบนี่บวมและคันยิบเลย) ที่แพ้รองลงมาคือ ฝุ่น เศษแมลงสาบ และ แมว แต่ไม่มากนัก ก็ขออนุญาตโฟกัสที่ 3 – 4 ตัวนี้แล้วกันนะครับ
- ไรฝุ่น ไม่ใช่ฝุ่น แล้วก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับฝุ่น แต่เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ตอนเด็กมี 6 ขา โตมามี 8 ขา จึงไม่ถือว่าเป็นแมลง
- ไรฝุ่นชอบอาศัยอยู่ตามผ้าที่ไม่เรียบลื่น เช่น หมอน ผ้าห่ม ที่นอน ตุ๊กตา ผ้าม่าน พรม แต่ถ้าเป็นวัสดุเรียบ ๆ เช่น ผ้าแพร หนังหรือไม้ ไรฝุ่นจะอยู่ไม่ค่อยได้นะจ๊ะ
- การหลีกเลี่ยงไรฝุ่น พวกพรมและตุ๊กตาให้เอาออกจากบ้านไปให้หมด อย่าให้ไรฝุ่นมาเช่าอยู่ได้ ส่วนผ้าม่าน ถ้าเป็นไปได้ก็ควรใช้แบบบานเกล็ดมากกว่า
- ควรใช้หมอนที่ทำจากยางพาราหรือใยสังเคราะห์ หลีกเลี่ยงวัสดุพวกนุ่น ขนสัตว์หรือฟองน้ำ ที่ไรฝุ่นชอบอาศัย
- ไม่มีหรือที่นอนที่ไม่มีไรฝุ่นแบบ 100% มีแต่ผ้าที่สามารถกันไม่ให้ไรฝุ่นจากหมอนหรือที่นอนทะลุขึ้นมาได้ ถ้าเอาผ้าพวกนี้มาครอบปลอกหมอนหรือที่นอนไว้ก็จะพอช่วยได้
- เครื่องฟอกอากาศไม่ได้ช่วยกำจัดไรฝุ่น เพราะไรฝุ่นลอยอยู่ในอากาศไม่ได้ ดังนั้นเครื่องนี้จะใช้ได้ผลเฉพาะกับพวกคนที่แพ้ละอองเกสรดอกไม้หรือสารที่สามารถลอยในอากาศได้เท่านั้น อย่าหลงคำโฆษณามากเกินไป
- การกำจัดไรฝุ่นด้วยลำแสงต่าง ๆ ก็ไม่ได้ช่วยอะไร เพราะหลังจากกำจัดเสร็จ ไรฝุ่นที่เหลือก็จะแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วกลับมาเท่าเดิมอีกครั้ง
- ไรฝุ่นมีอายุประมาณ 2 เดือน ออกไข่ครั้งละ 20 – 50 ฟอง สามารถเพิ่มจำนวนเป็นสองเท่าภายในเวลา 3 เดือน
- การซักผ้าด้วยน้ำปกติไม่สามารถฆ่าไรฝุ่นได้ ควรซักด้วยน้ำร้อน 55 – 60 องศาและแช่ไว้ 20 นาที จะสามารถฆ่าไรฝุ่นได้
- การแพ้ขนแมวไม่มีจริง มีแต่การแพ้โปรตีนที่มาจากแมว อาจจะเป็นโปรตีนจากน้ำลาย เศษผิวหนัง ฯลฯ
- ดังนั้น แม้ว่าจะไม่ได้สัมผัสกับตัวแมวโดยตรง แค่ไปที่ที่แมวเคยอยู่ก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้
- กรณีของหมาก็น่าจะเหมือนกันนะ
- ถึงผมจะแพ้แมว แต่ก็สามารถดูแลแฟนที่ชื่อ เหมียว หรือ แคท ได้เหมือนคนภูมิคุ้มกันปกตินะครับ อาจจะดูแลได้ดีกว่าด้วยซ้ำ
- สำหรับสารก่อภูมิแพ้อื่น ๆ ก็พยายามหลีกเลี่ยงกันไปเนอะ
- ตอนนี้ผมอาการดีขึ้นมากเพราะได้จัดห้องนอนใหม่ มีกินยาและพ่นจมูกบ้างแต่ก็เฉพาะตอนที่มีอาการ เพิ่งกินไปเม็ดเดียวเองมั้ง
- สรุปคือ “ทดสอบว่าแพ้อะไร” และ “พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น” น่าจะเป็นวิธีที่ประหยัดและได้ผลมากที่สุดครับ
แหม วันนี้เขียนเหมือนคุณหมออุ๊ยมาเองเลย ถ้าผิดพลาดยังไงก็ขออภัยด้วยนะครับ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย
ป.ล. บทความนี้รวบรวมจากสิ่งที่ผมได้เห็น ได้ยิน ได้ฟังจากคุณหมอที่คลินิกเวชกรรมบ้านคุณหมอประชาชื่นนะครับ อาจจะเข้าใจถูกบ้างเข้าใจผิดบ้าง ถ้าผิดพลาดประการใดก็ขออภัยอีกครั้งนะครับ
Credit: นายอุ๊ย!!
*** ติดตามเรื่องราวสนุก ๆ ได้ที่เพจ นายอุ๊ย!! นะครับ -->
https://www.facebook.com/lovenaioui ***
28 สิ่งที่ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับการรักษาโรคภูมิแพ้
#นายอุ๊ย!!
เมื่อช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ผมได้ไปเข้ารักษาอาการภูมิแพ้ที่คลินิกแห่งหนึ่งแถวประชาชื่น
เป็นการรักษาอาการไซนัสอักเสบประมาณ 3 อาทิตย์ ส่วนอีก 1 อาทิตย์เป็นกระบวนการทดสอบภูมิแพ้ (Allergy Skin Test)
ปกติผมไม่ค่อยเขียนเรื่องมีสาระนะ แต่เนื่องจากคราวนี้หมดเงินไปหลายพัน ก็เลยคิดว่าควรเขียนอะไรซักอย่างให้คนอื่น ๆ ได้อ่านและนำไปใช้บ้าง ทุก ๆ หนึ่งบาทที่ผมเสียไปจะได้คุ้มค่ามากขึ้น
28 สิ่งที่ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับการรักษาโรคภูมิแพ้ตลอด 1 เดือนที่ผ่านมา มีดังนี้
- โรคภูมิแพ้เป็นภาวะที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายขยันทำงานเกินกว่าปกติ เหมือนดื่มดีนากาบาเกินขนาด ทำให้มันขยันทำงานมากกว่าคนทั่วไป คือปกติภูมิคุ้มกันในร่างกายจะต่อต้านเฉพาะพวกเชื้อโรคที่เป็นอันตราย แต่คนที่เป็นโรคภูมิแพ้ อิภูมิคุ้มกันนี่จะไม่ค่อยมีวิจารณญาณ สารบางอย่างไม่มีอันตราย เช่น ฝุ่น ไรฝุ่น โปรตีนจากหมาแมว อาหารทะเล ฯลฯ มันก็ต่อต้าน ประมาณว่าอันตรายรึเปล่าไม่รู้ กรูต่อต้านไว้ก่อน
- ตรงข้ามกับคนที่เป็นโรคเอดส์ พวกนั้นภูมิคุ้มกันบกพร่อง เชื้อโรคเข้ามาแล้ว เมิงก็ไม่ทำอะไร กรณีนั้นจะภูมิคุ้มกันจะขี้เกียจทำงาน
- ภูมิคุ้มกันมันเหมือนมนุษย์เนอะ ไม่ค่อยมีความพอดี
- เท่าที่ผมเข้าใจ การรักษาโรคภูมิแพ้มีอยู่ 3 วิธี ได้แก่ กินยา หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ และ ฉีดวัคซีน
- การกินยา เป็นแค่การกดอาการไว้เฉย ๆ เช่น ไม่ให้จมูกบวม ไม่ให้น้ำมูกไหล ไม่ให้อักเสบ เวลาที่เจอกับสารที่เราแพ้ เป็นวิธีแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ต้องกินยาไปเรื่อย ๆ ไม่มีทางหาย
- การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ เป็นการป้องกันที่ต้นเหตุ คือหลังจากที่เรารู้แล้วว่าแพ้อะไร ก็พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น เช่น แพ้แมวก็อย่าไปใกล้แมว แพ้อาหารทะเลก็อย่าไปกิน วิธีนี้จะประหยัดและง่ายที่สุด
- ส่วนการฉีดวัคซีน จะทำให้เราไม่แพ้สารก่อภูมิแพ้นั้น ๆ แต่ขั้นตอนการฉัดวัคซีนจะยุ่งยาก ต้องฉีดวัคซีนต่อเนื่องกันเป็นเวลา 3 ปี โดยปีแรกต้องไปฉีดทุกอาทิตย์ (ปีอื่น ๆ ผมไม่แน่ใจนะครับ คุณหมอไม่ได้บอก)
- นอกจากขั้นตอนการฉีดวัคซีนจะยุ่งยากแล้ว ค่าใช้จ่ายก็คงเยอะเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน
- วิธีสุดท้ายนี้เหมาะกับคนที่หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ไม่ได้ เช่น สัตวแพทย์ที่แพ้หมาแมว ในเมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องใช้วิธีฉีดวัคซีนรักษา
- แต่ถ้าหลีกเลี่ยงได้ก็หลีกเลี่ยงแบบวิธีที่สองเถอะครับ น่าจะประหยัดเงิน ประหยัดเวลากว่าเยอะ
- การทดสอบภูมิแพ้ คุณหมอจะหยดสารที่เป็นตัวแทนของสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น โปรตีนจากสัตว์ หรือพืชต่าง ๆ มาหยดที่แขนหรือแผ่นหลังของเรา แล้วก็จะสะกิดให้เลือดออก หลังจากนั้นก็จะดูว่าผิวหนังเรามีท่าทีแปลก ๆ กับสารใดบ้าง
- ผมแพ้ ไรฝุ่น มากที่สุด (ตอนทดสอบนี่บวมและคันยิบเลย) ที่แพ้รองลงมาคือ ฝุ่น เศษแมลงสาบ และ แมว แต่ไม่มากนัก ก็ขออนุญาตโฟกัสที่ 3 – 4 ตัวนี้แล้วกันนะครับ
- ไรฝุ่น ไม่ใช่ฝุ่น แล้วก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับฝุ่น แต่เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ตอนเด็กมี 6 ขา โตมามี 8 ขา จึงไม่ถือว่าเป็นแมลง
- ไรฝุ่นชอบอาศัยอยู่ตามผ้าที่ไม่เรียบลื่น เช่น หมอน ผ้าห่ม ที่นอน ตุ๊กตา ผ้าม่าน พรม แต่ถ้าเป็นวัสดุเรียบ ๆ เช่น ผ้าแพร หนังหรือไม้ ไรฝุ่นจะอยู่ไม่ค่อยได้นะจ๊ะ
- การหลีกเลี่ยงไรฝุ่น พวกพรมและตุ๊กตาให้เอาออกจากบ้านไปให้หมด อย่าให้ไรฝุ่นมาเช่าอยู่ได้ ส่วนผ้าม่าน ถ้าเป็นไปได้ก็ควรใช้แบบบานเกล็ดมากกว่า
- ควรใช้หมอนที่ทำจากยางพาราหรือใยสังเคราะห์ หลีกเลี่ยงวัสดุพวกนุ่น ขนสัตว์หรือฟองน้ำ ที่ไรฝุ่นชอบอาศัย
- ไม่มีหรือที่นอนที่ไม่มีไรฝุ่นแบบ 100% มีแต่ผ้าที่สามารถกันไม่ให้ไรฝุ่นจากหมอนหรือที่นอนทะลุขึ้นมาได้ ถ้าเอาผ้าพวกนี้มาครอบปลอกหมอนหรือที่นอนไว้ก็จะพอช่วยได้
- เครื่องฟอกอากาศไม่ได้ช่วยกำจัดไรฝุ่น เพราะไรฝุ่นลอยอยู่ในอากาศไม่ได้ ดังนั้นเครื่องนี้จะใช้ได้ผลเฉพาะกับพวกคนที่แพ้ละอองเกสรดอกไม้หรือสารที่สามารถลอยในอากาศได้เท่านั้น อย่าหลงคำโฆษณามากเกินไป
- การกำจัดไรฝุ่นด้วยลำแสงต่าง ๆ ก็ไม่ได้ช่วยอะไร เพราะหลังจากกำจัดเสร็จ ไรฝุ่นที่เหลือก็จะแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วกลับมาเท่าเดิมอีกครั้ง
- ไรฝุ่นมีอายุประมาณ 2 เดือน ออกไข่ครั้งละ 20 – 50 ฟอง สามารถเพิ่มจำนวนเป็นสองเท่าภายในเวลา 3 เดือน
- การซักผ้าด้วยน้ำปกติไม่สามารถฆ่าไรฝุ่นได้ ควรซักด้วยน้ำร้อน 55 – 60 องศาและแช่ไว้ 20 นาที จะสามารถฆ่าไรฝุ่นได้
- การแพ้ขนแมวไม่มีจริง มีแต่การแพ้โปรตีนที่มาจากแมว อาจจะเป็นโปรตีนจากน้ำลาย เศษผิวหนัง ฯลฯ
- ดังนั้น แม้ว่าจะไม่ได้สัมผัสกับตัวแมวโดยตรง แค่ไปที่ที่แมวเคยอยู่ก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้
- กรณีของหมาก็น่าจะเหมือนกันนะ
- ถึงผมจะแพ้แมว แต่ก็สามารถดูแลแฟนที่ชื่อ เหมียว หรือ แคท ได้เหมือนคนภูมิคุ้มกันปกตินะครับ อาจจะดูแลได้ดีกว่าด้วยซ้ำ
- สำหรับสารก่อภูมิแพ้อื่น ๆ ก็พยายามหลีกเลี่ยงกันไปเนอะ
- ตอนนี้ผมอาการดีขึ้นมากเพราะได้จัดห้องนอนใหม่ มีกินยาและพ่นจมูกบ้างแต่ก็เฉพาะตอนที่มีอาการ เพิ่งกินไปเม็ดเดียวเองมั้ง
- สรุปคือ “ทดสอบว่าแพ้อะไร” และ “พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น” น่าจะเป็นวิธีที่ประหยัดและได้ผลมากที่สุดครับ
แหม วันนี้เขียนเหมือนคุณหมออุ๊ยมาเองเลย ถ้าผิดพลาดยังไงก็ขออภัยด้วยนะครับ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย
ป.ล. บทความนี้รวบรวมจากสิ่งที่ผมได้เห็น ได้ยิน ได้ฟังจากคุณหมอที่คลินิกเวชกรรมบ้านคุณหมอประชาชื่นนะครับ อาจจะเข้าใจถูกบ้างเข้าใจผิดบ้าง ถ้าผิดพลาดประการใดก็ขออภัยอีกครั้งนะครับ
Credit: นายอุ๊ย!!
*** ติดตามเรื่องราวสนุก ๆ ได้ที่เพจ นายอุ๊ย!! นะครับ --> https://www.facebook.com/lovenaioui ***