13 มกราคม 2568 – นพ.ธนินทร์ เวชชาภินันท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ฝุ่นละออง PM 2.5 คือฝุ่นมีขนาดเล็กกว่าเส้นผมมนุษย์ถึง 25 เท่า ทำให้สูดเข้าไปในร่างกายได้โดยตรง ความรุนแรงของฝุ่น PM 2.5 นี้ มีอันตรายต่อเด็ก เพราะสามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกาย และทำลายระบบต่างๆ ได้
โดยเฉพาะเด็กเล็กเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงที่อาจได้รับผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ เด็กที่สัมผัสกับมลพิษทางอากาศในระดับสูง อาจมีความเสี่ยงต่อปอดของเด็ก เนื่องจากยังพัฒนาไม่เต็มที่ มีอัตราหายใจที่ถี่กว่าผู้ใหญ่และสูดอากาศที่มีมลพิษเข้าไปมากกว่าผู้ใหญ่ ยิ่งเด็ก อายุน้อยเท่าไร อัตราการหายใจเข้าต่อนาทีก็ยิ่งถี่มากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรดูแลเด็กทั้งกลุ่มปกติทั่วไปและเด็กที่มีโรคประจำตัวโดยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
ด้าน นพ.อัครฐาน จิตนุยานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี หรือ โรงพยาบาล (รพ.) เด็ก กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อลดความเสี่ยงของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อเด็ก ผู้ปกครองควรติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในเว็บไซต์กรมอนามัย www.anamai.moph.go.th หรือแอพพลิเคชัน Air4thai ของกรมควบคุมมลพิษ (คพ.)
เมื่อระดับ PM 2.5มากกว่า 37.5 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ควรสวมหน้ากากอนามัย และไม่ควรออกกำลังกายกลางแจ้ง เมื่อค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของ PM 2.5 มากกว่า 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้ง และพิจารณาให้มีการหยุดเรียน หากระดับ PM 2.5 มากกว่า 90 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตรติดต่อกันเกิน 3 วันหรือ 151 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตรในวันนั้น
“วิธีป้องกันฝุ่น PM 2.5 แบบง่ายๆที่ทุกคนสามารถทำได้ทันที คือ การสวมหน้ากากอนามัยที่สามารถกรองฝุ่น PM 2.5 ได้ งดกิจกรรมที่ก่อให้เกิด PM2.5 เช่น การเผาใบไม้ เผาขยะและสูบบุหรี่ ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิดโดยระวังไม่ให้ห้องร้อนจนเกินไป ถูพื้นโดยใช้ผ้าเปียกเพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ 6-8 แก้วต่อวัน
ควรใช้เครื่องปรับอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศ ที่สามารถกำจัดฝุ่น PM 2.5 ภายในบ้านหรือที่พักอาศัยได้ โดยไม่ควรใช้เครื่องปรับอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศที่มีการผลิตโอโซน เพราะโอโซนในปริมาณมากเป็นมลพิษอย่างหนึ่ง
กรณีเด็กที่มีโรคประจำตัว ควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดและสังเกตอาการ หากพบว่ามีอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย หายใจลำบาก หายใจถี่ หายใจไม่ออก ให้รีบไปพบแพทย์”...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_9587227#m5uux5h99m13fownesk
ห่วง! เด็กปอดพัฒนาไม่เต็มที่ สูดฝุ่น PM 2.5 เสี่ยงรับมลพิษ หมอแนะผู้ปกครองป้องกัน...
โดยเฉพาะเด็กเล็กเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงที่อาจได้รับผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ เด็กที่สัมผัสกับมลพิษทางอากาศในระดับสูง อาจมีความเสี่ยงต่อปอดของเด็ก เนื่องจากยังพัฒนาไม่เต็มที่ มีอัตราหายใจที่ถี่กว่าผู้ใหญ่และสูดอากาศที่มีมลพิษเข้าไปมากกว่าผู้ใหญ่ ยิ่งเด็ก อายุน้อยเท่าไร อัตราการหายใจเข้าต่อนาทีก็ยิ่งถี่มากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรดูแลเด็กทั้งกลุ่มปกติทั่วไปและเด็กที่มีโรคประจำตัวโดยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
ด้าน นพ.อัครฐาน จิตนุยานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี หรือ โรงพยาบาล (รพ.) เด็ก กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อลดความเสี่ยงของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อเด็ก ผู้ปกครองควรติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในเว็บไซต์กรมอนามัย www.anamai.moph.go.th หรือแอพพลิเคชัน Air4thai ของกรมควบคุมมลพิษ (คพ.)
เมื่อระดับ PM 2.5มากกว่า 37.5 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ควรสวมหน้ากากอนามัย และไม่ควรออกกำลังกายกลางแจ้ง เมื่อค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของ PM 2.5 มากกว่า 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้ง และพิจารณาให้มีการหยุดเรียน หากระดับ PM 2.5 มากกว่า 90 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตรติดต่อกันเกิน 3 วันหรือ 151 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตรในวันนั้น
“วิธีป้องกันฝุ่น PM 2.5 แบบง่ายๆที่ทุกคนสามารถทำได้ทันที คือ การสวมหน้ากากอนามัยที่สามารถกรองฝุ่น PM 2.5 ได้ งดกิจกรรมที่ก่อให้เกิด PM2.5 เช่น การเผาใบไม้ เผาขยะและสูบบุหรี่ ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิดโดยระวังไม่ให้ห้องร้อนจนเกินไป ถูพื้นโดยใช้ผ้าเปียกเพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ 6-8 แก้วต่อวัน
ควรใช้เครื่องปรับอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศ ที่สามารถกำจัดฝุ่น PM 2.5 ภายในบ้านหรือที่พักอาศัยได้ โดยไม่ควรใช้เครื่องปรับอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศที่มีการผลิตโอโซน เพราะโอโซนในปริมาณมากเป็นมลพิษอย่างหนึ่ง
กรณีเด็กที่มีโรคประจำตัว ควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดและสังเกตอาการ หากพบว่ามีอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย หายใจลำบาก หายใจถี่ หายใจไม่ออก ให้รีบไปพบแพทย์”...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_9587227#m5uux5h99m13fownesk