ความรู้ว่า "แท้จริงมันไม่มีเราอยู่จริง" นี้ เกิดมาจากความเข้าใจ ไม่ใช่มาจากความเชื่อหรือการคาดเดา
ความเชื่อมาจากการอ่านจากตำราหรือฟังมาจากคนอื่น ซึ่งมันก็อาจผิดได้
การคาดเดา คืดารคาดคะเนเอาตามสามัญสำนึก(ความรู้สึกตามธรรมดาๆของจิต) ซึ่งมันก็อาจผิดได้
ส่วน ความเข้าใจ ก็คือ การได้รู้จักเหตุและผลของความจริง ซึ่งความจริงนี้ก็คือสิ่งที่เราทุกคนสามารถสัมผัสได้ และจะไม่มีทางผิด
ความจริงที่ว่า "มันไม่มีเราอยู่จริงนี้" มาจากเหตุผลพื้นฐานง่ายๆที่ว่า สิ่งใดที่มีการ "เกิดขึ้น" หรือ "ดับหายไป" ก็ตาม สิ่งนั้นย่อมเป็น "สิ่งปรุงแต่ง"
สิ่งปรุงแต่ง ก็คือสิ่งที่ต้องอาศัยสิ่งอื่นเพื่อมาประกอบเป็นตัวตนของมันขึ้นมา ซึ่งสิ่งปรุงแต่งนี้จะตกอยู่ภายใต้กฏ ๓ ประการ คือ ๑. ไม่มีตัวตนเป็นของตนเองหรือไม่มีตัวตนจริงๆ คือมีแต่ตัวตนมายา (อนัตตา) ๒. ไม่เที่ยงแท้ถาวรหรือไม่เป็นอมตะ หรือมีเพียงตัวตนชั่วคราว (อนิจจัง) ๓. มีสภาวะที่ต้องทนอยู่ด้วยความยากลำบาก (ทุกขัง)
การเกิดขึ้น ก็คือลักษณะ จากที่ไม่มีอยู่ก่อน แล้วจึงมามีขึ้นในภายหลัง
การดับหายไป ก็คือลักษณะ จากที่เคยมีอยู่ก่อน แล้วจึงมาหายไปในภายหลัง
ชีวิตของเราก็สรุปแล้วมี ร่างกาย กับ จิตใจ
ร่างกายก็มีการเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ง่ายๆ (เราไม่ได้มีร่างกายมาก่อน แต่มีเพราะพ่อและแม่ร่วมกันสร้างขึ้นมา)
ส่วนจิตใจ (สิ่งที่รู้สึกนึกคิดได้) ก็มีการเกิดขึ้นและดับหายไปอยู่เสมอทุกวี่วันอย่างเห็นได้ชัด (เมื่อตื่นจิตก็เกิด เมื่อหลับสนิทและไม่ฝันจิตก็ดับ)
เมื่อทั้งร่างกายและจิตใจก็มีการเกิดและดับเช่นนี้ ดังนั้นจึงจะหาสิ่งที่เป็นตัวตนที่เป็นเราจริงๆไม่มี จะมีก็เพียงตัวตนมายา (หลอกว่าเป็นของจริง)หรือตัวตนชั่วคราว (มีเหมือนกันแต่ไม่ถาวร) หรือตัวตนสมมติ (ลงมติร่วมกันว่าเป็นตัวตนจริงๆ) เท่านั้น ซึ่งความเข้าใจว่าไม่มีเราอยู่จริงนี้จะเป็นหัวใจของปัญญาในอริยมรรค อันเป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ในปัจจุบันของจิตใจเรานั่นเอง
ความรู้ว่า "แท้จริงมันไม่มีเราอยู่จริง" นี้ เกิดมาจากความเข้าใจ ไม่ใช่มาจากความเชื่อหรือการคาดเดา
ความเชื่อมาจากการอ่านจากตำราหรือฟังมาจากคนอื่น ซึ่งมันก็อาจผิดได้
การคาดเดา คืดารคาดคะเนเอาตามสามัญสำนึก(ความรู้สึกตามธรรมดาๆของจิต) ซึ่งมันก็อาจผิดได้
ส่วน ความเข้าใจ ก็คือ การได้รู้จักเหตุและผลของความจริง ซึ่งความจริงนี้ก็คือสิ่งที่เราทุกคนสามารถสัมผัสได้ และจะไม่มีทางผิด
ความจริงที่ว่า "มันไม่มีเราอยู่จริงนี้" มาจากเหตุผลพื้นฐานง่ายๆที่ว่า สิ่งใดที่มีการ "เกิดขึ้น" หรือ "ดับหายไป" ก็ตาม สิ่งนั้นย่อมเป็น "สิ่งปรุงแต่ง"
สิ่งปรุงแต่ง ก็คือสิ่งที่ต้องอาศัยสิ่งอื่นเพื่อมาประกอบเป็นตัวตนของมันขึ้นมา ซึ่งสิ่งปรุงแต่งนี้จะตกอยู่ภายใต้กฏ ๓ ประการ คือ ๑. ไม่มีตัวตนเป็นของตนเองหรือไม่มีตัวตนจริงๆ คือมีแต่ตัวตนมายา (อนัตตา) ๒. ไม่เที่ยงแท้ถาวรหรือไม่เป็นอมตะ หรือมีเพียงตัวตนชั่วคราว (อนิจจัง) ๓. มีสภาวะที่ต้องทนอยู่ด้วยความยากลำบาก (ทุกขัง)
การเกิดขึ้น ก็คือลักษณะ จากที่ไม่มีอยู่ก่อน แล้วจึงมามีขึ้นในภายหลัง
การดับหายไป ก็คือลักษณะ จากที่เคยมีอยู่ก่อน แล้วจึงมาหายไปในภายหลัง
ชีวิตของเราก็สรุปแล้วมี ร่างกาย กับ จิตใจ
ร่างกายก็มีการเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ง่ายๆ (เราไม่ได้มีร่างกายมาก่อน แต่มีเพราะพ่อและแม่ร่วมกันสร้างขึ้นมา)
ส่วนจิตใจ (สิ่งที่รู้สึกนึกคิดได้) ก็มีการเกิดขึ้นและดับหายไปอยู่เสมอทุกวี่วันอย่างเห็นได้ชัด (เมื่อตื่นจิตก็เกิด เมื่อหลับสนิทและไม่ฝันจิตก็ดับ)
เมื่อทั้งร่างกายและจิตใจก็มีการเกิดและดับเช่นนี้ ดังนั้นจึงจะหาสิ่งที่เป็นตัวตนที่เป็นเราจริงๆไม่มี จะมีก็เพียงตัวตนมายา (หลอกว่าเป็นของจริง)หรือตัวตนชั่วคราว (มีเหมือนกันแต่ไม่ถาวร) หรือตัวตนสมมติ (ลงมติร่วมกันว่าเป็นตัวตนจริงๆ) เท่านั้น ซึ่งความเข้าใจว่าไม่มีเราอยู่จริงนี้จะเป็นหัวใจของปัญญาในอริยมรรค อันเป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ในปัจจุบันของจิตใจเรานั่นเอง