เมื่อสรุปหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้าแล้วก็สรุปได้ว่า “ความทุกข์ ก็คือความเศร้าโศก หรือความเสียใจ เป็นต้นนั้น เกิดมาจากความยึดถือว่าชีวิตนี้ (คือร่างกายกับจิตใจ) เป็นตัวเรา-ของเรา ถ้าไม่ยึดถือก็จะไม่มีความทุกข์ ซึ่งวิธีการปฏิบัติเพื่อที่จะไม่ให้จิตเกิดความยึดถือนั้นก็ต้องใช้ ปัญญา ศีล และสมาธิมาทำงานร่วมกัน” ซึ่งจุดแรกเราก็ต้องรู้จักความทุกข์ของอริยสัจ ๔ ให้ถูกต้องก่อน ว่าหมายถึงความทุกข์ของจิตใจเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงความทรมานของร่างกาย (อย่างที่ชาวพุทธส่วนใหญ่กำลังเข้าใจผิดกันอยู่) ถ้าใครยังเข้าใจผิดอยู่ก็เท่ากับยังมีความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) อยู่ และจะไม่มีทางปฏิบัติให้หลุดพ้นจากความทุกข์ของจิตใจในปัจจุบันไปได้
เมื่อรู้จักความทุกข์ถูกต้องแล้ว ต่อไปก็ต้องมาสนใจเรื่องปัญญา (ส่วนเรื่อง ศีล กับ สมาธินั้นเราก็ต้องมีกันอยู่แล้วพอสมควร) เพราะหลักการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ตามหลักอริยมรรคนี้ต้องมีปัญญาเป็นตัวนำ ซึ่งปัญญานี้ก็คือความรอบรู้ในชีวิตอย่างแจ่มแจ้ง (คือทั้งเข้าใจและเห็นแจ้งด้วย) เมื่อเข้าใจชีวิตอย่างแจ่มแจ้งแล้ว ก็จะทำให้จิตใจปล่อยวางความยึดถือลงได้ แล้วจิตก็จะไม่มีความทุกข์ (ทั้งอย่างชั่วคราวและถาวร)
ความรอบรู้ในชีวิต คือรู้อะไร? และ รู้อย่างไร? ซึ่งชีวิตก็คือร่างกายกับจิตใจ ส่วนความรอบรู้ก็คือ ความเข้าใจว่าทั้งร่างกายและจิตนี้มันเป็น “สิ่งปรุงแต่ง” ที่ต้องอาศัยเหตุและปัจจัยมาร่มกันปรุงแต่งให้เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อมันเกิดขึ้นมาแล้วมันจึงไม่มีตัวตนที่แท้จริงเป็นของตนเอง (สุญญตา-ความว่างจากตัวตนที่แท้จริง) ส่วนร่างกายและจิตใจที่เกิดขึ้นมานั้น ก็ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง (อนัตตา-ไม่ใช่อัตตา) เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็มีแต่ความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สุดท้ายไม่ช้าก็เร็วมันก็ต้องแตกและดับไปในที่สุด (อนิจจัง) อีกทั้งขณะที่ยังไม่แตก-ดับไป มันก็ยังต้องทนอยู่อย่างยากลำบากอีกด้วย (ทุกขัง) ซึ่งนี่ก็คือความรอบรู้ในชีวิต ที่เป็นปัญญาของอริยมรรค ที่สรุปให้เข้าใจง่ายๆก็คือความเข้าใจว่า มันไม่มีตัวเราอยู่จริง คือตัวตนจริงๆ (ที่เป็นอัตตา) ไม่มี มีแต่ตัวตนมายา หรือตัวตนชั่วคราวเท่านั้น (ที่เป็นอนัตตา)
เมื่อเราใช้เหตุผลมาพิจารณาร่างกายและจิตใจของเราเอง (ตามที่สมมติเรียก) จนเกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งแล้วว่า มันไม่มีตัวเราอยู่จริง ก็อย่าเพิ่งเชื่อ (ตามหลักกาลามสูตร) แต่ให้เอาความเข้าใจนี้มาทดลองปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ว่ามันช่วยดับทุกข์ได้จริงหรือเปล่า? (คือทำให้อุปาทานหรือความยึดถือระงับหรือดับลงได้จริงแม้เพียงชั่วคราวหรือเปล่า) ถ้าทดลองปฏิบัติอย่างเต็มความสามารถแล้ว ความทุกข์ไม่ลดลงหรือดับลงจริง ก็อย่าเชื่อ ให้ละทิ้งหลักการนี้เสีย แต่ถ้าลองปฏิบัติดูแล้วทำให้ความทุกข์ลดลงหรือดับลงได้จริง จึงค่อยปลงใจเชื่อและปฏิบัติให้ยิ่งๆขึ้นต่อไป
ส่วนวิธีการปฏิบัตินั้นก็ไม่ยาก คือให้เราตั้งใจเพ่ง (คือเพ่งด้วยสมาธิที่ต้องมีศีลเป็นพื้นฐานอยู่ก่อนแล้วเป็นปกติ) พิจารณาถึงความไม่เที่ยง มีสภาวะที่ต้องทน และความไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงของร่างกายและจิตใจของเราเองอยู่เสมอ รวมทั้งยังพิจารณาสิ่งต่างๆภายนอกที่เรากำลังสัมผัสอยู่ด้วย (เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก สามี ภรรยา ทรัพย์สมบัติ สิ่งของ เกียรติยศ ชื่อเสียง เป็นต้น)
เมื่อจิตมีสมาธิ มันก็จะมองเห็นสิ่งต่างๆตามที่เป็นจริง คือมองเห็นว่ามันไม่มีตัวตนของเราหรือของใครๆหรือของสิ่งใดๆอยู่จริง แล้วก็จะมองเห็นการไหลหรือความเปลี่ยนแปลงหรือความไม่เที่ยงของสิ่งทั้งหลาย และมองเห็นสภาวะที่สิ่งทั้งหลายต้องทนอยู่ด้วยความยากลำบาก ซึ่งเมื่อมองเห็นความจริงอยู่เช่นนี้ จิตมันก็จะยอมรับเหตุผลที่เคยเข้าใจมาแล้ว และยอมรับความจริงว่ามันไม่มีตัวตนของเราหรือของใครๆหรือของสิ่งใดๆอยู่จริง พร้อมกันนั้นจิตก็จะเกิดความเบื่อหน่าย (นิพพิทา-เบื่อหน่าย คือไม่ยินดี-ยินร้าย-ลังใจ) ในความไม่เที่ยงของสิ่งทั้งหลาย (คือในร่างกายและจิตใจ รวมทั้งทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับร่างกาย) เมื่อจิตเกิดความเบื่อหน่าย ความยึดถือ (อุปาทาน) ก็จะระงับดับลง (แม้เพียงชั่วคราว) เมื่อจิตไม่มีความยึดถือ มันก็หลุดพ้น (จากกิเลส) เมื่อหลุดพ้นมันก็ไม่มีความทุกข์ (แม้เพียงชั่วคราว) ซึ่งนี่ก็คือวิธีการปฏิบัติตามหลักอริยมรรคโดยสรุป
ไม่มีตัวเราอยู่จริง
เมื่อรู้จักความทุกข์ถูกต้องแล้ว ต่อไปก็ต้องมาสนใจเรื่องปัญญา (ส่วนเรื่อง ศีล กับ สมาธินั้นเราก็ต้องมีกันอยู่แล้วพอสมควร) เพราะหลักการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ตามหลักอริยมรรคนี้ต้องมีปัญญาเป็นตัวนำ ซึ่งปัญญานี้ก็คือความรอบรู้ในชีวิตอย่างแจ่มแจ้ง (คือทั้งเข้าใจและเห็นแจ้งด้วย) เมื่อเข้าใจชีวิตอย่างแจ่มแจ้งแล้ว ก็จะทำให้จิตใจปล่อยวางความยึดถือลงได้ แล้วจิตก็จะไม่มีความทุกข์ (ทั้งอย่างชั่วคราวและถาวร)
ความรอบรู้ในชีวิต คือรู้อะไร? และ รู้อย่างไร? ซึ่งชีวิตก็คือร่างกายกับจิตใจ ส่วนความรอบรู้ก็คือ ความเข้าใจว่าทั้งร่างกายและจิตนี้มันเป็น “สิ่งปรุงแต่ง” ที่ต้องอาศัยเหตุและปัจจัยมาร่มกันปรุงแต่งให้เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อมันเกิดขึ้นมาแล้วมันจึงไม่มีตัวตนที่แท้จริงเป็นของตนเอง (สุญญตา-ความว่างจากตัวตนที่แท้จริง) ส่วนร่างกายและจิตใจที่เกิดขึ้นมานั้น ก็ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง (อนัตตา-ไม่ใช่อัตตา) เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็มีแต่ความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สุดท้ายไม่ช้าก็เร็วมันก็ต้องแตกและดับไปในที่สุด (อนิจจัง) อีกทั้งขณะที่ยังไม่แตก-ดับไป มันก็ยังต้องทนอยู่อย่างยากลำบากอีกด้วย (ทุกขัง) ซึ่งนี่ก็คือความรอบรู้ในชีวิต ที่เป็นปัญญาของอริยมรรค ที่สรุปให้เข้าใจง่ายๆก็คือความเข้าใจว่า มันไม่มีตัวเราอยู่จริง คือตัวตนจริงๆ (ที่เป็นอัตตา) ไม่มี มีแต่ตัวตนมายา หรือตัวตนชั่วคราวเท่านั้น (ที่เป็นอนัตตา)
เมื่อเราใช้เหตุผลมาพิจารณาร่างกายและจิตใจของเราเอง (ตามที่สมมติเรียก) จนเกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งแล้วว่า มันไม่มีตัวเราอยู่จริง ก็อย่าเพิ่งเชื่อ (ตามหลักกาลามสูตร) แต่ให้เอาความเข้าใจนี้มาทดลองปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ว่ามันช่วยดับทุกข์ได้จริงหรือเปล่า? (คือทำให้อุปาทานหรือความยึดถือระงับหรือดับลงได้จริงแม้เพียงชั่วคราวหรือเปล่า) ถ้าทดลองปฏิบัติอย่างเต็มความสามารถแล้ว ความทุกข์ไม่ลดลงหรือดับลงจริง ก็อย่าเชื่อ ให้ละทิ้งหลักการนี้เสีย แต่ถ้าลองปฏิบัติดูแล้วทำให้ความทุกข์ลดลงหรือดับลงได้จริง จึงค่อยปลงใจเชื่อและปฏิบัติให้ยิ่งๆขึ้นต่อไป
ส่วนวิธีการปฏิบัตินั้นก็ไม่ยาก คือให้เราตั้งใจเพ่ง (คือเพ่งด้วยสมาธิที่ต้องมีศีลเป็นพื้นฐานอยู่ก่อนแล้วเป็นปกติ) พิจารณาถึงความไม่เที่ยง มีสภาวะที่ต้องทน และความไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงของร่างกายและจิตใจของเราเองอยู่เสมอ รวมทั้งยังพิจารณาสิ่งต่างๆภายนอกที่เรากำลังสัมผัสอยู่ด้วย (เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก สามี ภรรยา ทรัพย์สมบัติ สิ่งของ เกียรติยศ ชื่อเสียง เป็นต้น)
เมื่อจิตมีสมาธิ มันก็จะมองเห็นสิ่งต่างๆตามที่เป็นจริง คือมองเห็นว่ามันไม่มีตัวตนของเราหรือของใครๆหรือของสิ่งใดๆอยู่จริง แล้วก็จะมองเห็นการไหลหรือความเปลี่ยนแปลงหรือความไม่เที่ยงของสิ่งทั้งหลาย และมองเห็นสภาวะที่สิ่งทั้งหลายต้องทนอยู่ด้วยความยากลำบาก ซึ่งเมื่อมองเห็นความจริงอยู่เช่นนี้ จิตมันก็จะยอมรับเหตุผลที่เคยเข้าใจมาแล้ว และยอมรับความจริงว่ามันไม่มีตัวตนของเราหรือของใครๆหรือของสิ่งใดๆอยู่จริง พร้อมกันนั้นจิตก็จะเกิดความเบื่อหน่าย (นิพพิทา-เบื่อหน่าย คือไม่ยินดี-ยินร้าย-ลังใจ) ในความไม่เที่ยงของสิ่งทั้งหลาย (คือในร่างกายและจิตใจ รวมทั้งทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับร่างกาย) เมื่อจิตเกิดความเบื่อหน่าย ความยึดถือ (อุปาทาน) ก็จะระงับดับลง (แม้เพียงชั่วคราว) เมื่อจิตไม่มีความยึดถือ มันก็หลุดพ้น (จากกิเลส) เมื่อหลุดพ้นมันก็ไม่มีความทุกข์ (แม้เพียงชั่วคราว) ซึ่งนี่ก็คือวิธีการปฏิบัติตามหลักอริยมรรคโดยสรุป