การประชุมสภาผู้แทนราษฎรระหว่างวันที่ 19-20 ก.ย.นี้ จะมีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในวาระ 2 ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งกฎหมายสำคัญที่มีผลต่อการพลิกโฉมหน้าประเทศไทย ’ทีมข่าวเศรษฐกิจ“ ได้มีโอกาสสัมภาษณ์คีย์แมนสำคัญ ’ชัชชาติ สิทธิพันธุ์“ รมว.คมนาคม ผ่านรายการเศรษฐกิจติดจอ ช่องเดลินิวส์ทีวี ถึงแผนการผลักดัน พ.ร.บ.2 ล้านล้าน และการตอบประเด็นเผ็ดร้อนของสังคมต่อการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้แบบเจาะลึก
พ.ร.บ.2 ล้านล้าน จำเป็นแค่ไหนต่อประเทศ
รัฐบาลตั้งใจโครงการนี้เป็นสิ่งที่ดีที่สุด ที่จะช่วยวางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศทั้งระบบในระยะยาว ซึ่งโครงการต่าง ๆ ที่อยู่ใน พ.ร.บ.นี้ก็มีการคิดศึกษามาหลายรัฐบาลแล้วแต่ไม่ได้ทำ รัฐบาลชุดนี้จึงได้นำมาจัดลำดับความสำคัญ การจัดที่มาของแหล่งเงินทุนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และสาเหตุที่ต้องวางกรอบเงินไว้ 2 ล้านล้านบาท ก็ทำให้เกิดความชัดเจนมีความต่อเนื่อง รวมทั้งความเชื่อมั่นว่าโครงการจะเดินต่อไปได้อย่างเป็นระบบ
ที่สำคัญ 10 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยเสียเวลาไปขาดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไปนาน นับตั้งแต่การสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ส่งผลให้ขีดความสามารถการแข่งขันไทยลดลง โดยเฉพาะระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมแย่ลงเรื่อย ๆ ล่าสุด ปี 55-56 ไทยอยู่อันดับ 49 ของโลกตามหลังสิงคโปร์ มาเลเซีย ขณะที่ระบบรางก็แย่หนักอีก ลงจากปีก่อนอยู่ที่ 57 ลดเหลือปีนี้ที่ 65 ดังนั้นหากโครงสร้างพื้นฐานของไทยไม่พร้อม การลงทุน การค้าจากต่างชาติก็มาน้อยลง
ประชาชนได้อะไรจากโครงการนี้
โครงการนี้มีการสร้างทั้งรถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ รถไฟฟ้าในเมือง ถนน 4 เลน การปรับปรุงด่านศุลกากร สถานีกระจายสินค้า รวมถึงท่าเรือ โดยสิ่งที่ประชาชนได้รับ คือการกระจายความเจริญ คุณภาพชีวิตที่ดีสู่ต่างจังหวัด ทำให้เกิดการพัฒนาเมืองเขตเศรษฐกิจใหม่ ลดการกระจุกตัวในกรุงเทพฯ ขณะที่มิติทางเศรษฐกิจยังสามารถเชื่อมโยงระบบถนน รถไฟ รถไฟความเร็ว ช่วยให้การค้าขาย การผลิต การส่งออก การค้าชายแดนเชื่อมโยงกัน ประหยัดต้นทุนการขนส่ง สามารถรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในอนาคตได้ด้วย
โครงการแรกที่รัฐบาลเริ่มได้ ใน พ.ร.บ.2 ล้านล้าน
หากผ่านการพิจารณาของสภาโครงการแรกที่เริ่มได้ในปี 57 คือ รถไฟฟ้าในเมืองบางส่วนที่เริ่มดำเนินการอยู่แล้ว ก็จะดำเนินการต่อได้ทันที การสร้างรถไฟรางคู่ ซึ่งจะเพิ่มจากเส้นทางที่ทำอยู่ 5 เส้นทาง รวมถึงถนน 4 เลนที่จะมีการปรับปรุงจุดที่ทรุดโทรม ขณะที่รถไฟความเร็วสูง จะต้องมีการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพกันก่อนถึงทำได้
มีความโปร่งใสแค่ไหน
โครงการทั้งหมดที่จะเริ่มทำ ขอยืนยันว่าจะต้องผ่านการกลั่นกรอง จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. เพื่อดูความคุ้มค่าของโครงการก่อน รวมถึงผ่านการทำประชาพิจารณ์ ตามระเบียบแบบแผนทุกขั้นตอนทั้งหมด ไม่ได้มีการข้ามขั้นตอนเลย และที่สำคัญ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน ก็ไม่ได้เปลี่ยนวิธีการพิจารณาโครงการ เพียงแค่รวบรวมวิธีหาแหล่งเงินว่ามาจากแหล่งไหน และทำให้เกิดความต่อเนื่องในระยะยาวเท่านั้น
ส่วนความเป็นห่วงเรื่องความโปร่งใส รัฐบาลชุดนี้ได้ให้ความสำคัญมากกว่าเดิมเสียอีก โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เพิ่มระเบียบในการลงทุนจัดซื้อจัดจ้างในทุกโครงการของรัฐบาลชุดนี้ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งระบบราคากลาง การดึงภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ก็มีเพิ่มขึ้นจากเดิมไม่มี
ส่วนที่มองกันว่ารถไฟความเร็วสูงจะคุ้มทุนต้องรอ 600 ปีนั้นเรื่องนี้ขอชี้แจงว่าเป็นโครงการลงทุนต่อเนื่อง 7 ปี เฉลี่ยปีหนึ่ง 3 แสนล้านบาท หากมาเปรียบเทียบกับงบประมาณรายปี 2.5 ล้านล้านบาท ก็ถือว่าไม่ได้เป็นตัวเลขที่เยอะมาก ที่สำคัญทุกโครงการที่จะทำต้องมีการคำนวณผลตอบแทนของโครงการชัดเจน และเชื่อว่าจะคุ้มค่าโดยไม่ต้องรอถึง 600 ปี โดยความคุ้มค่าไม่อยากให้มองแคบ ๆ เพราะประโยชน์ยังมีจากการเติบโตในระบบเศรษฐกิจที่มีเงินหมุนเวียนลงไปเพิ่ม การกระจายความเจริญสู่ชนบท รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยดีขึ้น เช่น ใช้เวลาเดินทางรวดเร็ว ไม่ต้องรอรถติดเป็นชั่วโมง
หากเกิดอุบัติเหตุ พ.ร.บ. จะทำอย่างไร
มั่นใจว่า พ.ร.บ.ต้องผ่านการพิจารณาของสภา แต่หากไม่ผ่าน กระทรวงการคลังก็ต้องเตรียมแผนการจัดหาแหล่งเงินทุนมาใช้พัฒนาเพื่ออนาคตของประเทศ เพราะประเทศไทยจะหยุดนิ่งตอนนี้ไม่ได้ และคิดว่าโครงการเหล่านี้ว่าเหมาะสม และสร้างประโยชน์ได้อย่างแท้จริง อย่างไรก็ดีการเกิดรถไฟตกรางเพื่อหวังผลใช้เงิน พ.ร.บ.2 ล้านล้านนั้น ยอมรับว่าทุกครั้งที่รถไฟตกรางเพียงแค่ได้ยินเสียงโทรศัพท์เข้ามาแจ้ง ก็กังวลมากอยู่แล้ว ทั้งบุคลากร ผู้โดยสาร ไม่มีใครกล้าเอาเรื่องพวกนี้มาเสี่ยง แต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นก็เป็นการสะท้อนภาพความเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นจริง เพราะที่ผ่านมาไม่ได้มีการซ่อมมานาน อย่างตอนไปตรวจรางตรงขุนตานก็พบว่า รางเปื่อยเป็นไม้ ใช้ตะปูตอกมาหลายสิบปี
ปัญหาคมนาคมขนส่งที่เกิดขึ้นสูงผิดปกติ
ที่ผ่านมาการแก้ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน การจัดซื้อรถใหม่ ทำรางใหม่ก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่เราไม่ได้คิดว่าจะเป็นยาวิเศษที่จะแก้ปัญหาได้ทันที เพราะเราจะต้องมุ่งไปที่การพัฒนาบริการ การบริหารจัดการควบคู่กันไปด้วย อย่างเรื่องรถเมล์เป็นเรื่องที่ต้องทำก่อน เพราะมีคนใช้เยอะวันละ 3 ล้านคน โดยจะมีการทำ 3 ด้าน คือการจัดซื้อรถเมล์ใหม่ รวมถึงการปรับเส้นทางนำร่องใน 8 เขตการเดินรถ เพื่อให้พัฒนาควบคู่กันไป ซึ่งใน 6-12 เดือนข้างหน้าก็จะเห็นรถเมล์ใหม่เข้ามาใช้และเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
ส่วนเรื่องรถไฟเป็นข้อบกพร่องของระบบ เพราะผ่านมาไม่ได้มีการซ่อมแซมนาน เลยเกิดปัญหา ขณะที่อุบัติเหตุทางอากาศเกิดขึ้น 2 ครั้ง จากตกหลุมอากาศ และฐานล้อหัก ก็ถือเป็นเรื่องอุบัติเหตุ แต่สิ่งสำคัญที่จะต้องดูว่าเมื่อเกิดปัญหามาแล้ว เรารับมือแก้ไขได้แค่ไหน ซึ่งตอนนี้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดทำแผนดูแลแล้ว ส่วนที่ว่าอุบัติเหตุมาจากอาถรรพณ์หรือไม่ ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องของขวัญกำลังใจ หากการบวงสรวงช่วยเรียกขวัญกำลังในการทำงานเพิ่มขึ้น ก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ที่ทำได้ไม่ขัดข้อง เพราะอย่างรถไฟถ้าเกิดเหตุตกรางทุกวัน คนทำงานก็เสียขวัญกำลังใจ แต่การทำงานแก้ปัญหาต่าง ๆ ก็ทำในทางวิทยาศาสตร์ควบคู่กันไปด้วยไม่ว่าจะเป็นการซ่อมราง การวางระบบป้องกัน
สร้างภาพหรือเปล่า
ผมว่าเรื่องแบบนี้จะต้องลงไปดูเพื่อให้เห็นปัญหาจริง และนำกลับมาแก้ไข ไม่ได้ลงไปเป็นข่าวไปนั่งรถเล่น และผมก็เปิดเฟซบุ๊ก ให้แจ้งปัญหาเข้ามาด้วย แต่เรื่องสร้างภาพเตือนมาก็ดี แต่อยากบอกว่ารถเมล์มีประชาชนขึ้นวันละ 3 ล้านคน ดังนั้นรัฐมนตรีจะขึ้นไปใช้บ้างก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ถ้าไม่ขึ้นนะผิดปกติ.
ศักดิ์ชัย อินทร์จันทร์
เปิดใจ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ แผนกู้เงิน2ล้านล้านสร้างระบบขนส่งไทย
พ.ร.บ.2 ล้านล้าน จำเป็นแค่ไหนต่อประเทศ
รัฐบาลตั้งใจโครงการนี้เป็นสิ่งที่ดีที่สุด ที่จะช่วยวางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศทั้งระบบในระยะยาว ซึ่งโครงการต่าง ๆ ที่อยู่ใน พ.ร.บ.นี้ก็มีการคิดศึกษามาหลายรัฐบาลแล้วแต่ไม่ได้ทำ รัฐบาลชุดนี้จึงได้นำมาจัดลำดับความสำคัญ การจัดที่มาของแหล่งเงินทุนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และสาเหตุที่ต้องวางกรอบเงินไว้ 2 ล้านล้านบาท ก็ทำให้เกิดความชัดเจนมีความต่อเนื่อง รวมทั้งความเชื่อมั่นว่าโครงการจะเดินต่อไปได้อย่างเป็นระบบ
ที่สำคัญ 10 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยเสียเวลาไปขาดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไปนาน นับตั้งแต่การสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ส่งผลให้ขีดความสามารถการแข่งขันไทยลดลง โดยเฉพาะระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมแย่ลงเรื่อย ๆ ล่าสุด ปี 55-56 ไทยอยู่อันดับ 49 ของโลกตามหลังสิงคโปร์ มาเลเซีย ขณะที่ระบบรางก็แย่หนักอีก ลงจากปีก่อนอยู่ที่ 57 ลดเหลือปีนี้ที่ 65 ดังนั้นหากโครงสร้างพื้นฐานของไทยไม่พร้อม การลงทุน การค้าจากต่างชาติก็มาน้อยลง
ประชาชนได้อะไรจากโครงการนี้
โครงการนี้มีการสร้างทั้งรถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ รถไฟฟ้าในเมือง ถนน 4 เลน การปรับปรุงด่านศุลกากร สถานีกระจายสินค้า รวมถึงท่าเรือ โดยสิ่งที่ประชาชนได้รับ คือการกระจายความเจริญ คุณภาพชีวิตที่ดีสู่ต่างจังหวัด ทำให้เกิดการพัฒนาเมืองเขตเศรษฐกิจใหม่ ลดการกระจุกตัวในกรุงเทพฯ ขณะที่มิติทางเศรษฐกิจยังสามารถเชื่อมโยงระบบถนน รถไฟ รถไฟความเร็ว ช่วยให้การค้าขาย การผลิต การส่งออก การค้าชายแดนเชื่อมโยงกัน ประหยัดต้นทุนการขนส่ง สามารถรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในอนาคตได้ด้วย
โครงการแรกที่รัฐบาลเริ่มได้ ใน พ.ร.บ.2 ล้านล้าน
หากผ่านการพิจารณาของสภาโครงการแรกที่เริ่มได้ในปี 57 คือ รถไฟฟ้าในเมืองบางส่วนที่เริ่มดำเนินการอยู่แล้ว ก็จะดำเนินการต่อได้ทันที การสร้างรถไฟรางคู่ ซึ่งจะเพิ่มจากเส้นทางที่ทำอยู่ 5 เส้นทาง รวมถึงถนน 4 เลนที่จะมีการปรับปรุงจุดที่ทรุดโทรม ขณะที่รถไฟความเร็วสูง จะต้องมีการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพกันก่อนถึงทำได้
มีความโปร่งใสแค่ไหน
โครงการทั้งหมดที่จะเริ่มทำ ขอยืนยันว่าจะต้องผ่านการกลั่นกรอง จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. เพื่อดูความคุ้มค่าของโครงการก่อน รวมถึงผ่านการทำประชาพิจารณ์ ตามระเบียบแบบแผนทุกขั้นตอนทั้งหมด ไม่ได้มีการข้ามขั้นตอนเลย และที่สำคัญ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน ก็ไม่ได้เปลี่ยนวิธีการพิจารณาโครงการ เพียงแค่รวบรวมวิธีหาแหล่งเงินว่ามาจากแหล่งไหน และทำให้เกิดความต่อเนื่องในระยะยาวเท่านั้น
ส่วนความเป็นห่วงเรื่องความโปร่งใส รัฐบาลชุดนี้ได้ให้ความสำคัญมากกว่าเดิมเสียอีก โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เพิ่มระเบียบในการลงทุนจัดซื้อจัดจ้างในทุกโครงการของรัฐบาลชุดนี้ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งระบบราคากลาง การดึงภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ก็มีเพิ่มขึ้นจากเดิมไม่มี
ส่วนที่มองกันว่ารถไฟความเร็วสูงจะคุ้มทุนต้องรอ 600 ปีนั้นเรื่องนี้ขอชี้แจงว่าเป็นโครงการลงทุนต่อเนื่อง 7 ปี เฉลี่ยปีหนึ่ง 3 แสนล้านบาท หากมาเปรียบเทียบกับงบประมาณรายปี 2.5 ล้านล้านบาท ก็ถือว่าไม่ได้เป็นตัวเลขที่เยอะมาก ที่สำคัญทุกโครงการที่จะทำต้องมีการคำนวณผลตอบแทนของโครงการชัดเจน และเชื่อว่าจะคุ้มค่าโดยไม่ต้องรอถึง 600 ปี โดยความคุ้มค่าไม่อยากให้มองแคบ ๆ เพราะประโยชน์ยังมีจากการเติบโตในระบบเศรษฐกิจที่มีเงินหมุนเวียนลงไปเพิ่ม การกระจายความเจริญสู่ชนบท รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยดีขึ้น เช่น ใช้เวลาเดินทางรวดเร็ว ไม่ต้องรอรถติดเป็นชั่วโมง
หากเกิดอุบัติเหตุ พ.ร.บ. จะทำอย่างไร
มั่นใจว่า พ.ร.บ.ต้องผ่านการพิจารณาของสภา แต่หากไม่ผ่าน กระทรวงการคลังก็ต้องเตรียมแผนการจัดหาแหล่งเงินทุนมาใช้พัฒนาเพื่ออนาคตของประเทศ เพราะประเทศไทยจะหยุดนิ่งตอนนี้ไม่ได้ และคิดว่าโครงการเหล่านี้ว่าเหมาะสม และสร้างประโยชน์ได้อย่างแท้จริง อย่างไรก็ดีการเกิดรถไฟตกรางเพื่อหวังผลใช้เงิน พ.ร.บ.2 ล้านล้านนั้น ยอมรับว่าทุกครั้งที่รถไฟตกรางเพียงแค่ได้ยินเสียงโทรศัพท์เข้ามาแจ้ง ก็กังวลมากอยู่แล้ว ทั้งบุคลากร ผู้โดยสาร ไม่มีใครกล้าเอาเรื่องพวกนี้มาเสี่ยง แต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นก็เป็นการสะท้อนภาพความเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นจริง เพราะที่ผ่านมาไม่ได้มีการซ่อมมานาน อย่างตอนไปตรวจรางตรงขุนตานก็พบว่า รางเปื่อยเป็นไม้ ใช้ตะปูตอกมาหลายสิบปี
ปัญหาคมนาคมขนส่งที่เกิดขึ้นสูงผิดปกติ
ที่ผ่านมาการแก้ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน การจัดซื้อรถใหม่ ทำรางใหม่ก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่เราไม่ได้คิดว่าจะเป็นยาวิเศษที่จะแก้ปัญหาได้ทันที เพราะเราจะต้องมุ่งไปที่การพัฒนาบริการ การบริหารจัดการควบคู่กันไปด้วย อย่างเรื่องรถเมล์เป็นเรื่องที่ต้องทำก่อน เพราะมีคนใช้เยอะวันละ 3 ล้านคน โดยจะมีการทำ 3 ด้าน คือการจัดซื้อรถเมล์ใหม่ รวมถึงการปรับเส้นทางนำร่องใน 8 เขตการเดินรถ เพื่อให้พัฒนาควบคู่กันไป ซึ่งใน 6-12 เดือนข้างหน้าก็จะเห็นรถเมล์ใหม่เข้ามาใช้และเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
ส่วนเรื่องรถไฟเป็นข้อบกพร่องของระบบ เพราะผ่านมาไม่ได้มีการซ่อมแซมนาน เลยเกิดปัญหา ขณะที่อุบัติเหตุทางอากาศเกิดขึ้น 2 ครั้ง จากตกหลุมอากาศ และฐานล้อหัก ก็ถือเป็นเรื่องอุบัติเหตุ แต่สิ่งสำคัญที่จะต้องดูว่าเมื่อเกิดปัญหามาแล้ว เรารับมือแก้ไขได้แค่ไหน ซึ่งตอนนี้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดทำแผนดูแลแล้ว ส่วนที่ว่าอุบัติเหตุมาจากอาถรรพณ์หรือไม่ ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องของขวัญกำลังใจ หากการบวงสรวงช่วยเรียกขวัญกำลังในการทำงานเพิ่มขึ้น ก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ที่ทำได้ไม่ขัดข้อง เพราะอย่างรถไฟถ้าเกิดเหตุตกรางทุกวัน คนทำงานก็เสียขวัญกำลังใจ แต่การทำงานแก้ปัญหาต่าง ๆ ก็ทำในทางวิทยาศาสตร์ควบคู่กันไปด้วยไม่ว่าจะเป็นการซ่อมราง การวางระบบป้องกัน
สร้างภาพหรือเปล่า
ผมว่าเรื่องแบบนี้จะต้องลงไปดูเพื่อให้เห็นปัญหาจริง และนำกลับมาแก้ไข ไม่ได้ลงไปเป็นข่าวไปนั่งรถเล่น และผมก็เปิดเฟซบุ๊ก ให้แจ้งปัญหาเข้ามาด้วย แต่เรื่องสร้างภาพเตือนมาก็ดี แต่อยากบอกว่ารถเมล์มีประชาชนขึ้นวันละ 3 ล้านคน ดังนั้นรัฐมนตรีจะขึ้นไปใช้บ้างก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ถ้าไม่ขึ้นนะผิดปกติ.
ศักดิ์ชัย อินทร์จันทร์