เนื่องจากพรุ่งนี้ จะมีการพิจารณาพรบ.สองล้านล้าน ในวาระสอง ผมก็เลยลองย้อนไปอ่านกระทู้เก่า ๆ ที่ผมเคยตั้งเกี่ยวกับเรื่อง พรบ.สองล้านล้าน
http://ppantip.com/topic/30270714
http://ppantip.com/topic/30283409
http://ppantip.com/topic/30314029
http://ppantip.com/topic/30334964
ก็คิดว่ามันมีประเด็นนึงที่น่าสนใจ ในเรื่องเกี่ยวกับการลงทุนในด้านต่าง ๆ ซึ่งมีการใช้คำว่า เป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
ซึ่งผมคิดว่า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า เป็นสิ่งที่ดี แต่บางอย่าง ถ้าไม่ใช่โครงสร้างพื้นฐาน แต่รัฐคิดว่าจำเป็นต้องสร้าง ก็ควรสร้าง แต่การสร้างนั้นต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ของโครงการด้วย
ดังนั้น การพูดรวม ๆ ว่าทั้งสองล้านล้านเป็นการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานหมดคงไม่ได้
เพราะการจะพูดว่าอันไหนเป็นโครงสร้างพื้นฐาน มันควรจะมีคำนิยามที่ชัดเจนพอสมควร
ผมลองยกตัวอย่างการสร้างถนน ซึ่งถ้ามองว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐาน มันก็ไม่ใช่ทุกเส้นทุกสายที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน
บางเส้นอย่างทางด่วน ลงทุนแล้วก็ยังต้องคำนึงถึงผลตอบแทนการลงทุน มีการเรียกเก็บค่าผ่านทาง
การสร้างระบบประปา ไฟฟ้า หน้าที่ของรัฐ ก็อาจจะต้องพยายามสร้างโครงข่าย ให้ทุกคนในประเทศมีน้ำมีไฟใช้ บางส่วนของการลงทุนก็อาจจะไม่คุ้มค่า แต่ก็จำเป็นต้องทำ
แต่พอไปดูที่ตัวสินค้า คือตัวไฟฟ้า กับน้ำประปา เท่าที่ผมมองดู ผมว่าทั้งภาพรวมเฉพาะส่วนต้นทุนน้ำ ต้นทุนไฟ ทางหน่วยงานก็เรียกเก็บจากคนใช้ ด้วยอัตราต่าง ๆ ตามความเหมาะสม จนมีความคุ้มค่าในการผลิต (ไม่เกี่ยวกับระบบโครงข่ายนะครับ)
ดังนั้นส่วนนี้ โครงสร้างพื้นฐาน ก็คือ ระบบโครงข่าย ส่วนตัวสินค้า จะไม่ใช่โครงสร้างพื้นฐาน
มาที่ระบบรถไฟ อันนี้ถือเป็นการขนส่งวิธีหนึ่ง ที่มีต้นทุนต่ำ มีความปลอดภัย ซึ่งรัฐควรส่งเสริม ดังนั้น การลงทุนด้านรางรถไฟ จึงน่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะการขยายเส้นทาง ทำเป็นทางรถไฟทางคู่ เป็นความจำเป็นต้องทำ อันนี้ก็ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐาน
ส่วนการเดินรถไฟ อันนี้ผมว่า ถ้าจากการบริหารของการรถไฟที่ผ่านมา ผมว่า น่าจะมองว่า การเดินรถธรรมดา ถึงนับเป็นโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนรถพิเศษต่าง ๆ พวกตู้นอน รถด่วน เหล่านี้ เป็นธุรกิจที่ต้องมองจุดคุ้มทุน (แต่ทำแล้วไม่คุ้มแค่นั้น) จึงไม่น่าจะใช่โครงสร้างพื้นฐาน
พอมาถึงระบบรถไฟฟ้าสายสีต่าง ๆ ใน กทม. อันนี้คงต้องพิจารณาว่าอันไหนเป็นโครงสร้างพื้นฐาน โดยส่วนตัวผมคิดว่า ระบบรางที่รัฐจะลงทุนสร้าง ไม่มองถึงการเดินรถ อาจจะถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานได้ เพราะถ้าหากรัฐไม่ลงทุน คงเป็นไปได้ยาก ที่จะหาคนลงทุนแล้วสามารถเดินรถได้ในราคาที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้
แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้ว การเดินรถมันก็ต้องอยู่ในแนวคิดที่ว่า สามารถเลี้ยงตัวเองได้ มีรายได้เพียงพอกับรายจ่าย และเหลือเงินพอมาจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ และคืนเงินต้นด้วย ดังนั้น การเดินรถนี้ จะไม่ใช่โครงสร้างพื้นฐานแล้ว
หมายความว่า การเดินทางระบบรางด้วยรถไฟฟ้าในกรุงเทพมีความจำเป็น รัฐเลยลงทุนราง แต่พอถึงขั้นตอนการเดินรถ อันนี้ต้องอยู่บนพื้นฐาน มีความเป็นไปได้ในการลงทุน ไม่ใช่เก็บในราคาที่ต้องอุดหนุนตลอดเวลาทุกปีได้
ไม่อย่างนั้น ตอนนี้ ก็คงเริ่มต้นทำตามนโยบาย เก็บ 20 บาทตลอดสายไปแล้ว
ดังนั้นเมื่อไปถึงเรื่องรถไฟความเร็วสูง อันนี้จริง ๆ ผมมองว่า ทั้งโครงการ คือตั้งแต่รางและการเดินรถ ไม่ใช่โครงสร้างพื้นฐาน เพราะมันเป็นเส้นทางเลือกที่เพิ่มขึ้นมาในการเดินทางเท่านั้น
เพราะการเดินทางระบบราง ถ้าสร้างรถไฟรางคู่แล้ว การเดินทางก็เดินทางได้ในมาตรฐานที่ควรจะเป็น ส่วนคนที่คาดหวังการเดินทางที่สะดวกรวดเร็วมากขึ้น ก็ต้องจ่ายส่วนต่างที่เกิดขึ้นเอง
แต่เพื่อไม่ให้เป็นแนวคิดแบบสองมาตรฐาน ก็ขอตีว่าประเทศไทยจำเป็นต้องมีรถไฟความเร็วสูง ดังนั้นรัฐก็เลยจำเป็นต้องลงทุนระบบรางรถไฟความเร็วสูง
แต่คำถามที่ต้องการคำตอบก็จะไปอยู่ที่ว่า ถ้าหากการเดินรถไฟความเร็วสูง ไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุน ปีนึงเดินรถไปเก็บค่าโดยสารได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในแต่ละปี
แบบนี้ยังควรสร้างหรือไม่
เพราะถ้าบอกว่า ควรสร้างโดยไม่ต้องสนใจความเป็นไปได้ในการลงทุน อันนี้น่าจะทำให้การเดินรถไฟความเร็วสูง กลายเป็นโครงสร้างพื้นฐาน นั่นก็หมายความว่า ประชาชนทุกคน จะต้องสามารถเข้าถึง ไปใช้บริการรถไฟความเร็วสูงได้ ดังนั้นการกำหนดราคาต้องเหมาะสม ซึ่งก็จะต่ำกว่า ที่คิด ๆ กันที่ผ่านมาอีกพอสมควร
อย่าง กรุงเทพเชียงใหม่ ตอนแรกบอกว่า 1,200-1,700 บาท แต่พอบอกว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐาน ประชาชนต้องเข้าถึงได้ ราคาก็ควรต่ำลงอีกอย่างน้อยครึ่งนึง
ถ้าเปิดราคาแบบนี้ คงทำให้ความเป็นไปได้ยิ่งลดลงไปอีก
โครงสร้างพื้นฐานคืออะไร
http://ppantip.com/topic/30270714
http://ppantip.com/topic/30283409
http://ppantip.com/topic/30314029
http://ppantip.com/topic/30334964
ก็คิดว่ามันมีประเด็นนึงที่น่าสนใจ ในเรื่องเกี่ยวกับการลงทุนในด้านต่าง ๆ ซึ่งมีการใช้คำว่า เป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
ซึ่งผมคิดว่า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า เป็นสิ่งที่ดี แต่บางอย่าง ถ้าไม่ใช่โครงสร้างพื้นฐาน แต่รัฐคิดว่าจำเป็นต้องสร้าง ก็ควรสร้าง แต่การสร้างนั้นต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ของโครงการด้วย
ดังนั้น การพูดรวม ๆ ว่าทั้งสองล้านล้านเป็นการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานหมดคงไม่ได้
เพราะการจะพูดว่าอันไหนเป็นโครงสร้างพื้นฐาน มันควรจะมีคำนิยามที่ชัดเจนพอสมควร
ผมลองยกตัวอย่างการสร้างถนน ซึ่งถ้ามองว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐาน มันก็ไม่ใช่ทุกเส้นทุกสายที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน
บางเส้นอย่างทางด่วน ลงทุนแล้วก็ยังต้องคำนึงถึงผลตอบแทนการลงทุน มีการเรียกเก็บค่าผ่านทาง
การสร้างระบบประปา ไฟฟ้า หน้าที่ของรัฐ ก็อาจจะต้องพยายามสร้างโครงข่าย ให้ทุกคนในประเทศมีน้ำมีไฟใช้ บางส่วนของการลงทุนก็อาจจะไม่คุ้มค่า แต่ก็จำเป็นต้องทำ
แต่พอไปดูที่ตัวสินค้า คือตัวไฟฟ้า กับน้ำประปา เท่าที่ผมมองดู ผมว่าทั้งภาพรวมเฉพาะส่วนต้นทุนน้ำ ต้นทุนไฟ ทางหน่วยงานก็เรียกเก็บจากคนใช้ ด้วยอัตราต่าง ๆ ตามความเหมาะสม จนมีความคุ้มค่าในการผลิต (ไม่เกี่ยวกับระบบโครงข่ายนะครับ)
ดังนั้นส่วนนี้ โครงสร้างพื้นฐาน ก็คือ ระบบโครงข่าย ส่วนตัวสินค้า จะไม่ใช่โครงสร้างพื้นฐาน
มาที่ระบบรถไฟ อันนี้ถือเป็นการขนส่งวิธีหนึ่ง ที่มีต้นทุนต่ำ มีความปลอดภัย ซึ่งรัฐควรส่งเสริม ดังนั้น การลงทุนด้านรางรถไฟ จึงน่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะการขยายเส้นทาง ทำเป็นทางรถไฟทางคู่ เป็นความจำเป็นต้องทำ อันนี้ก็ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐาน
ส่วนการเดินรถไฟ อันนี้ผมว่า ถ้าจากการบริหารของการรถไฟที่ผ่านมา ผมว่า น่าจะมองว่า การเดินรถธรรมดา ถึงนับเป็นโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนรถพิเศษต่าง ๆ พวกตู้นอน รถด่วน เหล่านี้ เป็นธุรกิจที่ต้องมองจุดคุ้มทุน (แต่ทำแล้วไม่คุ้มแค่นั้น) จึงไม่น่าจะใช่โครงสร้างพื้นฐาน
พอมาถึงระบบรถไฟฟ้าสายสีต่าง ๆ ใน กทม. อันนี้คงต้องพิจารณาว่าอันไหนเป็นโครงสร้างพื้นฐาน โดยส่วนตัวผมคิดว่า ระบบรางที่รัฐจะลงทุนสร้าง ไม่มองถึงการเดินรถ อาจจะถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานได้ เพราะถ้าหากรัฐไม่ลงทุน คงเป็นไปได้ยาก ที่จะหาคนลงทุนแล้วสามารถเดินรถได้ในราคาที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้
แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้ว การเดินรถมันก็ต้องอยู่ในแนวคิดที่ว่า สามารถเลี้ยงตัวเองได้ มีรายได้เพียงพอกับรายจ่าย และเหลือเงินพอมาจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ และคืนเงินต้นด้วย ดังนั้น การเดินรถนี้ จะไม่ใช่โครงสร้างพื้นฐานแล้ว
หมายความว่า การเดินทางระบบรางด้วยรถไฟฟ้าในกรุงเทพมีความจำเป็น รัฐเลยลงทุนราง แต่พอถึงขั้นตอนการเดินรถ อันนี้ต้องอยู่บนพื้นฐาน มีความเป็นไปได้ในการลงทุน ไม่ใช่เก็บในราคาที่ต้องอุดหนุนตลอดเวลาทุกปีได้
ไม่อย่างนั้น ตอนนี้ ก็คงเริ่มต้นทำตามนโยบาย เก็บ 20 บาทตลอดสายไปแล้ว
ดังนั้นเมื่อไปถึงเรื่องรถไฟความเร็วสูง อันนี้จริง ๆ ผมมองว่า ทั้งโครงการ คือตั้งแต่รางและการเดินรถ ไม่ใช่โครงสร้างพื้นฐาน เพราะมันเป็นเส้นทางเลือกที่เพิ่มขึ้นมาในการเดินทางเท่านั้น
เพราะการเดินทางระบบราง ถ้าสร้างรถไฟรางคู่แล้ว การเดินทางก็เดินทางได้ในมาตรฐานที่ควรจะเป็น ส่วนคนที่คาดหวังการเดินทางที่สะดวกรวดเร็วมากขึ้น ก็ต้องจ่ายส่วนต่างที่เกิดขึ้นเอง
แต่เพื่อไม่ให้เป็นแนวคิดแบบสองมาตรฐาน ก็ขอตีว่าประเทศไทยจำเป็นต้องมีรถไฟความเร็วสูง ดังนั้นรัฐก็เลยจำเป็นต้องลงทุนระบบรางรถไฟความเร็วสูง
แต่คำถามที่ต้องการคำตอบก็จะไปอยู่ที่ว่า ถ้าหากการเดินรถไฟความเร็วสูง ไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุน ปีนึงเดินรถไปเก็บค่าโดยสารได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในแต่ละปี
แบบนี้ยังควรสร้างหรือไม่
เพราะถ้าบอกว่า ควรสร้างโดยไม่ต้องสนใจความเป็นไปได้ในการลงทุน อันนี้น่าจะทำให้การเดินรถไฟความเร็วสูง กลายเป็นโครงสร้างพื้นฐาน นั่นก็หมายความว่า ประชาชนทุกคน จะต้องสามารถเข้าถึง ไปใช้บริการรถไฟความเร็วสูงได้ ดังนั้นการกำหนดราคาต้องเหมาะสม ซึ่งก็จะต่ำกว่า ที่คิด ๆ กันที่ผ่านมาอีกพอสมควร
อย่าง กรุงเทพเชียงใหม่ ตอนแรกบอกว่า 1,200-1,700 บาท แต่พอบอกว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐาน ประชาชนต้องเข้าถึงได้ ราคาก็ควรต่ำลงอีกอย่างน้อยครึ่งนึง
ถ้าเปิดราคาแบบนี้ คงทำให้ความเป็นไปได้ยิ่งลดลงไปอีก