ตอบคำถาม พรบ. เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท
1. กู้เพื่อ
สร้างโครงสร้างขั้นพื้นฐาน
1.1 รถไฟความเร็วสูง ระบบราง 1.45 เมตร ความเร็ว 250 km/h
กรุงเทพ-เชียงใหม่
กรุงเทพ-โคราช ในระยะเริ่มต้นภายใต้การลงทุนทั้งหมดของรัฐเอง ซึ่งในอนาคตจะมีการเชื่อมต่อถึงจังหวัดหนองคาย โดยช่วงนี้อาจจะพิจารณาให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในแผนก่อสร้าง
กรุงเทพ-หัวหิน ในระยะเริ่มต้นภายใต้การลงทุนทั้งหมดของรัฐเอง ซึ่งในอนาคตจะมีการเชื่อมต่อถึงปะดังเบซา โดยช่วงนี้อาจจะพิจารณาให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในแผนก่อสร้างเช่นกัน
1.2 รถไฟระบบรางคู่ โดยใช้ราง 1 เมตร โดยจะมีการเชื่อมต่อเข้าไปถึงในประเทศเพื่อนบ้าน โดยจะมีการพิจารณาเปลี่ยนหัวจักรรถไฟทั้งหมดในระยะต่อไป
ซึ่งการก่อสร้างจะรวมถึงการเชื่อมต่อเข้าไปถึงหมู่บ้าน หรือแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่นจากเชียงใหม่ไปเชียงราย เป็นต้น อีกทั้งยังสร้างเส้นทางวิ่งใหม่ ๆอีกหลายเส้นทาง
1.3 มอเตอร์เวย์ 4 เล่น อีก1600 กิโลเมตร ซึ่งเป็นโครงการที่เริ่มต้นมาหลายปีแล้ว แต่ด้วยปัญหาเรื่องงบประมาณจึงยังไม่มีการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ
1.4 ท่าเรือน้ำลึก เพื่อตอบโจทย์เพิ่มการขนส่งทางน้ำ
ซึ่งด้วยโครงการทั้งหมดจะสามารถลดต้นทุน ลดการใช้พลังงาน ลดความเสียหายจากการขนส่ง ลดอุบัติเหตุ เพิ่มความสะดวกสบาย ประหยัดเวลา เพิ่มขีดความสามารถของการพัฒนาจากเมืองสู่ชนบท ซึ่งถือเป็นการปรับปรุงประเทศไทยขนานใหญ่
คำถามที่สอง 2. เอาเงินมาจากไหน
รัฐบาลจะเน้นให้เป็นการกู้เงินจากแหล่งเงินทุนภายในประเทศเป็นหลัก และเป็นส่วนใหญ่ เพราะปัจจุบันประเทศมีสภาพคล่องสูง ซึ่งดอกเบี้ยก็จะหมุนเวียนภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่
คำถามที่สาม 3. และจะกู้มาทัั้งหมดหรือไม่
จะกู้มาใช้ในโครงการภายในระยะเวลา 7 ปี เฉลี่ยแล้วปีละ 3 แสนล้าน ซึ่งจุดนี้การจัดสรรงบจะอยู่ ภายใต้ งบประมาณไม่เกิน 2 ล้านล้านบาท เกินกว่านี้ไม่ได้
คำถามที่สี่ 4. แล้วดอกเบี้ยอีก 3 ล้านล้าน รัฐบอกว่าจะเป็นหนี้ถึง 50 ปี จะไม่เป็นภาระลูกหลานหรือ
ก่อนอื่นการที่รัฐแจงรายละเอียดให้ประชาชนได้รับทราบเป็นการแสดงความจริงใจที่รัฐต้องการเปิดเผยความจริง เพราะที่ผ่านมามีการกู้ เช่น 3.5 แสนล้าน ในงบไทยเข้มแข็ง ก็เป็นหนี้อยู่หลายปี แต่ไม่เคยมีการระบุถึงเวลาการเป็นหนี้มาก่อน
ซึ่งการที่ระบุว่า 50 ปี เป็นการระบุภานใต้สมมติฐานสถานะการณ์ที่เศรษฐกิจค่อนข้างไปทางเลวร้าย แสดงว่าจริง ๆ แล้วโอการการใช้หนี้ให้หมด ก่อนก็อาจจะมีความเป็นไปได้สูง และครั้งนี้ยังเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหใม่ที่รัฐเลือกที่จะเปิดเผยรายละเอียดทั้งหมดเป็นขั้นเป็นตอนต่อสาธารณะ เพื่อแสดงถึงความโปร่งใสในการลงทุนของรัฐ
คำถามที่ห้า 5. ทำไมไม่ออกรวมอยู่ในงบประมาณปรกติ หรือว่าต้องการเลี่ยงการตรวจสอบ เพราะอาจจะสามารถเปลี่ยนแปลง และทุจจริตได้ง่าย
5.1 เพื่อเป็นการกำหนดยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประเทศระยะยาว เป็นการต่อยอดอย่างต่อเนื่องจนสำเร็จ และเป็นการการันตีว่ามีเงินเพียงพอที่จะดำเนินโครงการจนแล้วเสร็จ ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีงบประมาณ
5.2 ด้วยเงินงบประมาณปรกติจะนำไปพัฒนาปัจจัยพื้นฐานอื่นๆ เช่น สังคม สาธารณสุข การศึกษา รวมถึงใช้เพื่อต่อยอดจากโครงการโครงสร้างพื้นฐาน
5.3 พรบ ระบุว่าคณะทำงานต้องเสนอต่อสภาพัฒน์ สำนักงบประมาณ เพื่อกรองรายละเอียดและตรวจสอบก่อนส่งถึงครม ในยุคนั้นๆ ก่อนที่จะมีการรายงานต่อสภาภายใน 120 วันนับตั้งแต่สิ้นปีงบประมาณ ซึ่งฝ่ายค้านสามารถตรวจสอบและแปรญัตติต่อสภาได้
ดังนั้นจะเห็นว่าระบบการตรวจสอบมีหลายขั้นตอนซึ่งขั้นตอนที่มีความสำคัญคือ ฝ่ายค้านต้องทำหน้าที่ในการตรวจสอบการทุจริตให้ดีที่สุด ซึ่งอันนี้เป็นกระบวนการการทำงานที่แท้จริงของฝ่ายค้าน และยังมีองค์กรอิสระอีกมากมาย
คำถามที่หก 6. ทำไมไม่หาแหล่งเงินทุนวิธีอื่น ๆ เช่น ร่วมกับบริษัทจีน60/40
6.1 ของฟรีไม่มีในโลก เค้าร่วมลงทุน ดังนั้นเราก็จะได้บริษัทรับเหมาจากจีนซึ่ง ถ้าพูดกันตรง ๆ กลัวเรื่องความปลอดภัย และถ้าเป็นประเทศอื่นๆ ก็เช่นกัน แต่ละบริษัทก็จะมีรายละเอียดข้อยกเว้นเพื่อประโยชน์ของในแต่ละบริษัทต่างๆกันไป และเราไม่สามารถฝากอนาคตในการลงทุนขนาดใหญ่ไว้กับบริษัทเหล่านี้ได้หรือไม่ ตัวอย่างเช่น โครงการ Hope Well ซึ่งเป็นบริษัทต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุน พอเกิดปัญหาก็หอบเงินกลับและจากไปเหลือแต่เสาตอท่อไว้เป็นที่ระทึก...
6.2 ด้วยวิธีนี้เราสามารถบอกได้ว่าเราเป็นเจ้าของร้อยเปอร์เซ็น และรัฐสามารถการันตีถึงความสำเร็จของโครงการได้ดี ดีกว่าไปฝากอนาคตไว้กับบริษัทร่วมทุน
6.3 ในระยะต่อไปอาจจะมีผู้ร่วมทุนเป็นเรื่องระบบการเดินรถเหมือนเช่น bts bmcl เป็นต้น ซึ่งรัฐจะเป็นเจ้าของรางเอง นั่นแปรว่ารัฐจะสามรถดูแลเรื่องค่าโดยสารให้เหมาะสมได้
ตอบคำถาม พรบ. เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท จากกานั่งดูอภิปรายมา 2 วัน
1. กู้เพื่อ
สร้างโครงสร้างขั้นพื้นฐาน
1.1 รถไฟความเร็วสูง ระบบราง 1.45 เมตร ความเร็ว 250 km/h
กรุงเทพ-เชียงใหม่
กรุงเทพ-โคราช ในระยะเริ่มต้นภายใต้การลงทุนทั้งหมดของรัฐเอง ซึ่งในอนาคตจะมีการเชื่อมต่อถึงจังหวัดหนองคาย โดยช่วงนี้อาจจะพิจารณาให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในแผนก่อสร้าง
กรุงเทพ-หัวหิน ในระยะเริ่มต้นภายใต้การลงทุนทั้งหมดของรัฐเอง ซึ่งในอนาคตจะมีการเชื่อมต่อถึงปะดังเบซา โดยช่วงนี้อาจจะพิจารณาให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในแผนก่อสร้างเช่นกัน
1.2 รถไฟระบบรางคู่ โดยใช้ราง 1 เมตร โดยจะมีการเชื่อมต่อเข้าไปถึงในประเทศเพื่อนบ้าน โดยจะมีการพิจารณาเปลี่ยนหัวจักรรถไฟทั้งหมดในระยะต่อไป
ซึ่งการก่อสร้างจะรวมถึงการเชื่อมต่อเข้าไปถึงหมู่บ้าน หรือแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่นจากเชียงใหม่ไปเชียงราย เป็นต้น อีกทั้งยังสร้างเส้นทางวิ่งใหม่ ๆอีกหลายเส้นทาง
1.3 มอเตอร์เวย์ 4 เล่น อีก1600 กิโลเมตร ซึ่งเป็นโครงการที่เริ่มต้นมาหลายปีแล้ว แต่ด้วยปัญหาเรื่องงบประมาณจึงยังไม่มีการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ
1.4 ท่าเรือน้ำลึก เพื่อตอบโจทย์เพิ่มการขนส่งทางน้ำ
ซึ่งด้วยโครงการทั้งหมดจะสามารถลดต้นทุน ลดการใช้พลังงาน ลดความเสียหายจากการขนส่ง ลดอุบัติเหตุ เพิ่มความสะดวกสบาย ประหยัดเวลา เพิ่มขีดความสามารถของการพัฒนาจากเมืองสู่ชนบท ซึ่งถือเป็นการปรับปรุงประเทศไทยขนานใหญ่
คำถามที่สอง 2. เอาเงินมาจากไหน
รัฐบาลจะเน้นให้เป็นการกู้เงินจากแหล่งเงินทุนภายในประเทศเป็นหลัก และเป็นส่วนใหญ่ เพราะปัจจุบันประเทศมีสภาพคล่องสูง ซึ่งดอกเบี้ยก็จะหมุนเวียนภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่
คำถามที่สาม 3. และจะกู้มาทัั้งหมดหรือไม่
จะกู้มาใช้ในโครงการภายในระยะเวลา 7 ปี เฉลี่ยแล้วปีละ 3 แสนล้าน ซึ่งจุดนี้การจัดสรรงบจะอยู่ ภายใต้ งบประมาณไม่เกิน 2 ล้านล้านบาท เกินกว่านี้ไม่ได้
คำถามที่สี่ 4. แล้วดอกเบี้ยอีก 3 ล้านล้าน รัฐบอกว่าจะเป็นหนี้ถึง 50 ปี จะไม่เป็นภาระลูกหลานหรือ
ก่อนอื่นการที่รัฐแจงรายละเอียดให้ประชาชนได้รับทราบเป็นการแสดงความจริงใจที่รัฐต้องการเปิดเผยความจริง เพราะที่ผ่านมามีการกู้ เช่น 3.5 แสนล้าน ในงบไทยเข้มแข็ง ก็เป็นหนี้อยู่หลายปี แต่ไม่เคยมีการระบุถึงเวลาการเป็นหนี้มาก่อน
ซึ่งการที่ระบุว่า 50 ปี เป็นการระบุภานใต้สมมติฐานสถานะการณ์ที่เศรษฐกิจค่อนข้างไปทางเลวร้าย แสดงว่าจริง ๆ แล้วโอการการใช้หนี้ให้หมด ก่อนก็อาจจะมีความเป็นไปได้สูง และครั้งนี้ยังเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหใม่ที่รัฐเลือกที่จะเปิดเผยรายละเอียดทั้งหมดเป็นขั้นเป็นตอนต่อสาธารณะ เพื่อแสดงถึงความโปร่งใสในการลงทุนของรัฐ
คำถามที่ห้า 5. ทำไมไม่ออกรวมอยู่ในงบประมาณปรกติ หรือว่าต้องการเลี่ยงการตรวจสอบ เพราะอาจจะสามารถเปลี่ยนแปลง และทุจจริตได้ง่าย
5.1 เพื่อเป็นการกำหนดยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประเทศระยะยาว เป็นการต่อยอดอย่างต่อเนื่องจนสำเร็จ และเป็นการการันตีว่ามีเงินเพียงพอที่จะดำเนินโครงการจนแล้วเสร็จ ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีงบประมาณ
5.2 ด้วยเงินงบประมาณปรกติจะนำไปพัฒนาปัจจัยพื้นฐานอื่นๆ เช่น สังคม สาธารณสุข การศึกษา รวมถึงใช้เพื่อต่อยอดจากโครงการโครงสร้างพื้นฐาน
5.3 พรบ ระบุว่าคณะทำงานต้องเสนอต่อสภาพัฒน์ สำนักงบประมาณ เพื่อกรองรายละเอียดและตรวจสอบก่อนส่งถึงครม ในยุคนั้นๆ ก่อนที่จะมีการรายงานต่อสภาภายใน 120 วันนับตั้งแต่สิ้นปีงบประมาณ ซึ่งฝ่ายค้านสามารถตรวจสอบและแปรญัตติต่อสภาได้
ดังนั้นจะเห็นว่าระบบการตรวจสอบมีหลายขั้นตอนซึ่งขั้นตอนที่มีความสำคัญคือ ฝ่ายค้านต้องทำหน้าที่ในการตรวจสอบการทุจริตให้ดีที่สุด ซึ่งอันนี้เป็นกระบวนการการทำงานที่แท้จริงของฝ่ายค้าน และยังมีองค์กรอิสระอีกมากมาย
คำถามที่หก 6. ทำไมไม่หาแหล่งเงินทุนวิธีอื่น ๆ เช่น ร่วมกับบริษัทจีน60/40
6.1 ของฟรีไม่มีในโลก เค้าร่วมลงทุน ดังนั้นเราก็จะได้บริษัทรับเหมาจากจีนซึ่ง ถ้าพูดกันตรง ๆ กลัวเรื่องความปลอดภัย และถ้าเป็นประเทศอื่นๆ ก็เช่นกัน แต่ละบริษัทก็จะมีรายละเอียดข้อยกเว้นเพื่อประโยชน์ของในแต่ละบริษัทต่างๆกันไป และเราไม่สามารถฝากอนาคตในการลงทุนขนาดใหญ่ไว้กับบริษัทเหล่านี้ได้หรือไม่ ตัวอย่างเช่น โครงการ Hope Well ซึ่งเป็นบริษัทต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุน พอเกิดปัญหาก็หอบเงินกลับและจากไปเหลือแต่เสาตอท่อไว้เป็นที่ระทึก...
6.2 ด้วยวิธีนี้เราสามารถบอกได้ว่าเราเป็นเจ้าของร้อยเปอร์เซ็น และรัฐสามารถการันตีถึงความสำเร็จของโครงการได้ดี ดีกว่าไปฝากอนาคตไว้กับบริษัทร่วมทุน
6.3 ในระยะต่อไปอาจจะมีผู้ร่วมทุนเป็นเรื่องระบบการเดินรถเหมือนเช่น bts bmcl เป็นต้น ซึ่งรัฐจะเป็นเจ้าของรางเอง นั่นแปรว่ารัฐจะสามรถดูแลเรื่องค่าโดยสารให้เหมาะสมได้