กู้ 2 ล้านล้านสร้างประเทศแข็งแกร่ง ?
รายงานพิเศษ
รัฐสภาวางคิวพิจารณาร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลัง กู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ วงเงิน 2 ล้านล้านบาท วาระ 2 วันที่ 19-20 ก.ย.นี้
ท่ามกลางการคาดหมายว่า บรรยากาศในสภาจะดุเดือดไม่แพ้การประชุมสภาช่วงที่ผ่านมา
มาฟัง
ความเห็นจากนักวิชาการ-ผู้เชี่ยวชาญในประเด็นนี้
ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์
ประธานหลักสูตรรัฐศาสตร์ ม.รังสิต
ถือเป็นโครงการที่เป็นความฝันของโลกสมัยใหม่ การพัฒนาระบบรางรถไฟทั้งแบบรางคู่และความเร็วสูงจะ
สามารถเปลี่ยนแปลงบริบทของสังคมเมืองขนาดใหญ่ได้
แต่โครงการนี้กู้เงินมหาศาล รัฐบาลจึงต้องวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนว่าดำเนินโครงการแล้วจะคุ้มค่าหรือไม่
โดยทำความเข้าใจว่า วัฒนธรรมการเดินทางของคนในประเทศนิยมใช้รถยนต์เป็นหลัก รัฐบาลต้องตั้งโจทย์ว่า ทำอย่างไรจะปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมให้คนหันมาใช้รถไฟมากขึ้น และการเดินทางจากเมืองหลวงไปต่างจังหวัดโดยรถไฟจะทำได้คล่องแคล่วเทียบเท่ารถยนต์หรือไม่
อีกทั้งการวางรางรถไฟที่จะต้องผ่านจังหวัดต่างๆ รัฐบาลต้องศึกษาว่าทำอย่างไรจึงจะไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ และคนในพื้นที่จะได้รับผลประโยชน์ในด้านใดบ้าง
ดังนั้น ก่อนดำเนินการรัฐบาลต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและฝ่ายต่างๆ เพราะการนำเสนอนโยบายด้วยข้อมูลขณะนี้ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ประชาชนเข้าใจ
แน่นอนว่ารัฐบาลจะถูกโจมตีว่าโครงการเสี่ยงต่อการ ทุจริตคอร์รัปชั่น ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการขนาดใหญ่ เพราะงบประมาณนั้นมหาศาล
ดังนั้น การชี้แจงที่เหมาะสมที่สุดคือ
การเปิดอภิปรายในสภา ให้สมาชิกตั้งกระทู้ถาม ยิ่งวิพากษ์วิจารณ์มากเท่าไหร่ หากรัฐบาลชี้แจงได้จนเกิดความกระจ่างจะสามารถผ่านกลไกการตรวจสอบในเบื้องต้นได้
ที่สำคัญรัฐบาล
ต้องขยันแถลงความก้าวหน้าโครงการ อย่าปล่อยให้ถูกโจมตี ควรใช้โอกาสในรัฐสภานำเสนอนโยบายอย่างละเอียด
เปลี่ยนจากสิ่งนามธรรมให้เป็น รูปธรรม ถ้าประชาชนเข้าใจรัฐบาลก็ได้ไปเต็มๆ
กับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558 นั้น การสร้างเส้นทางรถไฟที่เชื่อมโยงได้ทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียน เป็นสิ่งที่เคยคิดมาแล้วตั้งแต่ยุคสมัยอาณานิคม แต่ติดที่วัฒนธรรมการเดินทาง หากเป็นการเดินทางหลายร้อยกิโลเมตร ประชาชนมักโดยสารเครื่องบิน
จึงขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการเดินทางของประชาชนอย่างไร เพราะหลายประเทศที่มีรถไฟความเร็วสูงก็ไม่ประสบความสำเร็จในการให้คนเดินทางข้ามประเทศ
รัฐบาลต้องเข้าใจยุทธศาสตร์ของภูมิประเทศในแต่ ละพื้นที่ว่าจะเอื้ออำนวยต่อโครงการเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท มากแค่ไหน พร้อมตีโจทย์ให้แตก
ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นการโปรยความฝัน
สมภพ มานะรังสรรค์
อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์
ถ้าร่างพ.ร.บ.ผ่านสภา สิ่งที่รัฐบาลต้องรีบทำคือจัดลำดับความสำคัญของแต่ละโครงการอย่างเหมาะสม สร้างความชัดเจนว่าจะนำเงินไปทำอะไรบ้าง ทำโครงการไหนก่อนหลัง
ที่สำคัญต้องคำนึงถึงลักษณะทางกายภาพของไทยในการมุ่งสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนว่า เราจะผ่านเส้นทางใดบ้างก่อนเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อยกขีดความสามารถของไทยด้านสาธารณูปโภค ซึ่งจะดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามามากขึ้น
โดยสรุปถ้ารัฐบาลมีแผนงานชัดเจน จะสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างประเทศได้
ยุทธศาสตร์สำคัญต่อจากนี้ ไทยต้องพึ่งพาภาคบริการมากขึ้นทั้งการท่องเที่ยว การรักษาโรค กีฬา และบันเทิง ซึ่งเป็นจุดแข็งของไทย เพราะภาคการผลิตเริ่มโตยากเนื่องจากปัญหาค่าแรง ขั้นต่ำ จึงต้องมองเรื่องการขยายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านด้วย
กรณีพ.ร.บ.กู้เงินให้ความสำคัญเรื่องโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะรถไฟความเร็วสูงนั้น อาจไม่ช่วยให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้มาก เพราะเรามีพื้นที่ในการเดินทางเล็กและมีการคมนาคมด้านอื่นอยู่แล้ว
ต่างจากจีนและสหรัฐ ที่ต้องมีรถไฟความเร็วสูง เพราะประเทศเขามีพื้นที่กว้างจึงจำเป็นต้องใช้ในการขนส่ง ซึ่งในส่วนของไทยควรสร้างรถไฟรางคู่จะเกิดประโยชน์กว่า
อีกสิ่งที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญคือ การบริหารจัดการเงินให้มีความน่าเชื่อถือ มีธรรมาภิบาล ตรวจสอบได้ เพราะแม้โครงการจะดีแค่ไหน แต่ถ้าใช้จ่ายอย่างไม่ชอบมาพากลจะส่งผลต่อเสถียรภาพรัฐบาล กระทบคะแนนเสียงแน่นอน
ความสำคัญจึงไม่ได้อยู่ที่ร่างพ.ร.บ.จะผ่านหรือไม่ผ่าน แต่อยู่ที่รัฐบาลต้องคิดว่าจะทำโครงการต่างๆ อย่างไร หากรัฐบาลบริหารการตรวจสอบการใช้เงิน และจัดลำดับความสำคัญของโครงการได้
แน่นอนว่าประเทศจะมีความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์
คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ
ความพิเศษของโครงการพัฒนาระบบขนส่งคือ สามารถเบิกงบมาใช้ได้ตลอดโครงการโดยไม่ต้องรองบประจำปี และโครงการนี้ค่อนข้างกำหนดรายละเอียดตัวโครงการพอสมควร
แต่สิ่งที่ยังไม่ชัดเจนคือ อัตราด้านผลผลิตจากการ พัฒนาระบบขนส่ง เนื่องจากโครงการเน้นไปที่การขนส่งเคลื่อนย้ายมวลชนระหว่างเมืองใหญ่ในจำนวนที่มากขึ้น และเร็วขึ้น แต่คงไม่ถึงขั้นไปเปลี่ยนยุทธศาสตร์ระบบ โลจิสติกส์
ขณะนี้ระบบรางรถไฟในไทยเป็นระบบมิเตอร์เกจ หรือขนาดความกว้างของราง 1 เมตร หากรัฐบาลต้องการเปลี่ยนโฉมระบบรางรถไฟจะต้องเปลี่ยนขนาดของรางให้เป็นสแตนดาร์ดเกจ หรือรางมาตรฐาน ซึ่งจะรองรับ ตู้โดยสารที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เท่ากับเป็นการปฏิรูประบบรางรถไฟ
อีกทั้งรัฐบาลควรเน้นการขนส่งสินค้าด้วยรถไฟมากกว่ารถยนต์ จะช่วยลดต้นทุนการขนส่งและบรรทุกสินค้าได้มากกว่าเดิม ถือว่าเป็นการพัฒนาเมืองที่เห็นได้ชัด
เพราะหากยังใช้ระบบรางแบบเดิมจะทำให้เพียงประชาชนโดยสารคล่องตัวขึ้น แต่การกระจายสินค้าไปทั่วประเทศจะทำได้ยาก หากมีการปรับเปลี่ยนขนาดของราง มันจะไปตอบโจทย์ในตอนที่ประเทศไทยเข้าสู่เออีซี โดยคาดว่าเมื่อเปิดเป็นพื้นที่การค้าเสรีแล้ว ความต้องการของผู้บริโภคจะขยายตัวขึ้น
อีกทั้งขณะนี้อัตราการผลิตสินค้าที่เกิดขึ้นบริเวณชายแดนก็กำลังขยายตัว หากมีการขยายรางรถไฟจะขนถ่ายสินค้า เข้าสู่หัวเมืองใหญ่ได้ง่ายกว่า
แต่โครงการนี้ก็มีความเสี่ยง เพราะรายละเอียดยังไม่ได้ระบุว่าผลตอบแทนหรือความต้องการจากโครงการนี้ของประชาชนมีมากน้อยเพียงไร รัฐบาลจึงต้องลงไปดูว่าจะมีธุรกิจมารองรับเพื่อตอบแทนการผลิตได้แค่ไหน
อีกทั้งด้วยงบประมาณมหาศาล หลายฝ่ายหวาดระแวงการทุจริตคอร์รัปชั่น หากรัฐบาลต้องการให้เกิดความโปร่งใส
จะต้องไม่เอาผู้ที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองเข้ามาทำหน้าที่บริหาร
รวมถึงเข้มงวดในการแถลงความคืบหน้าของโครงการ เปิดเผยข้อมูลอย่างละเอียดด้วย
ข่าวสดออนไลน์ 16 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลา 00:52 น.
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM09USTJOelkzTmc9PQ==§ionid=
?????????????????????????????????????
".....
ถือเป็นโครงการที่เป็นความฝันของโลกสมัยใหม่ ..."
ผมฝันเหลือเกินกับอนาคตของประเทศไทยที่อยากให้พัฒนาก้าวหน้าเหมือนประเทศเพื่อนบ้านในทุกๆด้านเสียที
ไม่ใช่มัวปัดแข้งปัดขาตัวเองจนล้มลุกคลุกคลานด้วยความคิดหยุมหยิมของคนเห็นแก่ตัวเช่นนี้.....
ก็ยัง งงๆอยู่ว่า
ทำไมต้องมีคนที่คอยขวางความเจริญของประเทศ....
แทนที่จะคอยคัดค้าน จ้องตีโครงการให้ล้มจนไปต่อไม่ได้
ควรเปลี่ยนบทบาทมาเป็นการคอยตรวจสอบความก้าวหน้าของงานนั้นๆ
ผิดพลาดตรงไหนรีบแนะนำและเสริมส่งกันเพื่อเดินไปข้างหน้าให้ได้....ไม่ดีกว่าหรือ
นี่ประเทศของเรานะครับทุกท่าน......
"กู้ 2 ล้านล้านสร้างประเทศแข็งแกร่ง ?"...ฟังนักวิชาการเขาพูดด้วยความเป็นกลาง นักการเมืองจะมีความคิดเช่นนี้บ้างไม่ได้หรือ
รายงานพิเศษ
รัฐสภาวางคิวพิจารณาร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลัง กู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ วงเงิน 2 ล้านล้านบาท วาระ 2 วันที่ 19-20 ก.ย.นี้
ท่ามกลางการคาดหมายว่า บรรยากาศในสภาจะดุเดือดไม่แพ้การประชุมสภาช่วงที่ผ่านมา
มาฟังความเห็นจากนักวิชาการ-ผู้เชี่ยวชาญในประเด็นนี้
ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์
ประธานหลักสูตรรัฐศาสตร์ ม.รังสิต
ถือเป็นโครงการที่เป็นความฝันของโลกสมัยใหม่ การพัฒนาระบบรางรถไฟทั้งแบบรางคู่และความเร็วสูงจะสามารถเปลี่ยนแปลงบริบทของสังคมเมืองขนาดใหญ่ได้
แต่โครงการนี้กู้เงินมหาศาล รัฐบาลจึงต้องวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนว่าดำเนินโครงการแล้วจะคุ้มค่าหรือไม่
โดยทำความเข้าใจว่า วัฒนธรรมการเดินทางของคนในประเทศนิยมใช้รถยนต์เป็นหลัก รัฐบาลต้องตั้งโจทย์ว่า ทำอย่างไรจะปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมให้คนหันมาใช้รถไฟมากขึ้น และการเดินทางจากเมืองหลวงไปต่างจังหวัดโดยรถไฟจะทำได้คล่องแคล่วเทียบเท่ารถยนต์หรือไม่
อีกทั้งการวางรางรถไฟที่จะต้องผ่านจังหวัดต่างๆ รัฐบาลต้องศึกษาว่าทำอย่างไรจึงจะไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ และคนในพื้นที่จะได้รับผลประโยชน์ในด้านใดบ้าง
ดังนั้น ก่อนดำเนินการรัฐบาลต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและฝ่ายต่างๆ เพราะการนำเสนอนโยบายด้วยข้อมูลขณะนี้ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ประชาชนเข้าใจ
แน่นอนว่ารัฐบาลจะถูกโจมตีว่าโครงการเสี่ยงต่อการ ทุจริตคอร์รัปชั่น ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการขนาดใหญ่ เพราะงบประมาณนั้นมหาศาล
ดังนั้น การชี้แจงที่เหมาะสมที่สุดคือการเปิดอภิปรายในสภา ให้สมาชิกตั้งกระทู้ถาม ยิ่งวิพากษ์วิจารณ์มากเท่าไหร่ หากรัฐบาลชี้แจงได้จนเกิดความกระจ่างจะสามารถผ่านกลไกการตรวจสอบในเบื้องต้นได้
ที่สำคัญรัฐบาลต้องขยันแถลงความก้าวหน้าโครงการ อย่าปล่อยให้ถูกโจมตี ควรใช้โอกาสในรัฐสภานำเสนอนโยบายอย่างละเอียด เปลี่ยนจากสิ่งนามธรรมให้เป็น รูปธรรม ถ้าประชาชนเข้าใจรัฐบาลก็ได้ไปเต็มๆ
กับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558 นั้น การสร้างเส้นทางรถไฟที่เชื่อมโยงได้ทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียน เป็นสิ่งที่เคยคิดมาแล้วตั้งแต่ยุคสมัยอาณานิคม แต่ติดที่วัฒนธรรมการเดินทาง หากเป็นการเดินทางหลายร้อยกิโลเมตร ประชาชนมักโดยสารเครื่องบิน
จึงขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการเดินทางของประชาชนอย่างไร เพราะหลายประเทศที่มีรถไฟความเร็วสูงก็ไม่ประสบความสำเร็จในการให้คนเดินทางข้ามประเทศ
รัฐบาลต้องเข้าใจยุทธศาสตร์ของภูมิประเทศในแต่ ละพื้นที่ว่าจะเอื้ออำนวยต่อโครงการเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท มากแค่ไหน พร้อมตีโจทย์ให้แตก
ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นการโปรยความฝัน
สมภพ มานะรังสรรค์
อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์
ถ้าร่างพ.ร.บ.ผ่านสภา สิ่งที่รัฐบาลต้องรีบทำคือจัดลำดับความสำคัญของแต่ละโครงการอย่างเหมาะสม สร้างความชัดเจนว่าจะนำเงินไปทำอะไรบ้าง ทำโครงการไหนก่อนหลัง
ที่สำคัญต้องคำนึงถึงลักษณะทางกายภาพของไทยในการมุ่งสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนว่า เราจะผ่านเส้นทางใดบ้างก่อนเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อยกขีดความสามารถของไทยด้านสาธารณูปโภค ซึ่งจะดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามามากขึ้น
โดยสรุปถ้ารัฐบาลมีแผนงานชัดเจน จะสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างประเทศได้
ยุทธศาสตร์สำคัญต่อจากนี้ ไทยต้องพึ่งพาภาคบริการมากขึ้นทั้งการท่องเที่ยว การรักษาโรค กีฬา และบันเทิง ซึ่งเป็นจุดแข็งของไทย เพราะภาคการผลิตเริ่มโตยากเนื่องจากปัญหาค่าแรง ขั้นต่ำ จึงต้องมองเรื่องการขยายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านด้วย
กรณีพ.ร.บ.กู้เงินให้ความสำคัญเรื่องโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะรถไฟความเร็วสูงนั้น อาจไม่ช่วยให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้มาก เพราะเรามีพื้นที่ในการเดินทางเล็กและมีการคมนาคมด้านอื่นอยู่แล้ว
ต่างจากจีนและสหรัฐ ที่ต้องมีรถไฟความเร็วสูง เพราะประเทศเขามีพื้นที่กว้างจึงจำเป็นต้องใช้ในการขนส่ง ซึ่งในส่วนของไทยควรสร้างรถไฟรางคู่จะเกิดประโยชน์กว่า
อีกสิ่งที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญคือ การบริหารจัดการเงินให้มีความน่าเชื่อถือ มีธรรมาภิบาล ตรวจสอบได้ เพราะแม้โครงการจะดีแค่ไหน แต่ถ้าใช้จ่ายอย่างไม่ชอบมาพากลจะส่งผลต่อเสถียรภาพรัฐบาล กระทบคะแนนเสียงแน่นอน
ความสำคัญจึงไม่ได้อยู่ที่ร่างพ.ร.บ.จะผ่านหรือไม่ผ่าน แต่อยู่ที่รัฐบาลต้องคิดว่าจะทำโครงการต่างๆ อย่างไร หากรัฐบาลบริหารการตรวจสอบการใช้เงิน และจัดลำดับความสำคัญของโครงการได้
แน่นอนว่าประเทศจะมีความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์
คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ
ความพิเศษของโครงการพัฒนาระบบขนส่งคือ สามารถเบิกงบมาใช้ได้ตลอดโครงการโดยไม่ต้องรองบประจำปี และโครงการนี้ค่อนข้างกำหนดรายละเอียดตัวโครงการพอสมควร
แต่สิ่งที่ยังไม่ชัดเจนคือ อัตราด้านผลผลิตจากการ พัฒนาระบบขนส่ง เนื่องจากโครงการเน้นไปที่การขนส่งเคลื่อนย้ายมวลชนระหว่างเมืองใหญ่ในจำนวนที่มากขึ้น และเร็วขึ้น แต่คงไม่ถึงขั้นไปเปลี่ยนยุทธศาสตร์ระบบ โลจิสติกส์
ขณะนี้ระบบรางรถไฟในไทยเป็นระบบมิเตอร์เกจ หรือขนาดความกว้างของราง 1 เมตร หากรัฐบาลต้องการเปลี่ยนโฉมระบบรางรถไฟจะต้องเปลี่ยนขนาดของรางให้เป็นสแตนดาร์ดเกจ หรือรางมาตรฐาน ซึ่งจะรองรับ ตู้โดยสารที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เท่ากับเป็นการปฏิรูประบบรางรถไฟ
อีกทั้งรัฐบาลควรเน้นการขนส่งสินค้าด้วยรถไฟมากกว่ารถยนต์ จะช่วยลดต้นทุนการขนส่งและบรรทุกสินค้าได้มากกว่าเดิม ถือว่าเป็นการพัฒนาเมืองที่เห็นได้ชัด
เพราะหากยังใช้ระบบรางแบบเดิมจะทำให้เพียงประชาชนโดยสารคล่องตัวขึ้น แต่การกระจายสินค้าไปทั่วประเทศจะทำได้ยาก หากมีการปรับเปลี่ยนขนาดของราง มันจะไปตอบโจทย์ในตอนที่ประเทศไทยเข้าสู่เออีซี โดยคาดว่าเมื่อเปิดเป็นพื้นที่การค้าเสรีแล้ว ความต้องการของผู้บริโภคจะขยายตัวขึ้น
อีกทั้งขณะนี้อัตราการผลิตสินค้าที่เกิดขึ้นบริเวณชายแดนก็กำลังขยายตัว หากมีการขยายรางรถไฟจะขนถ่ายสินค้า เข้าสู่หัวเมืองใหญ่ได้ง่ายกว่า
แต่โครงการนี้ก็มีความเสี่ยง เพราะรายละเอียดยังไม่ได้ระบุว่าผลตอบแทนหรือความต้องการจากโครงการนี้ของประชาชนมีมากน้อยเพียงไร รัฐบาลจึงต้องลงไปดูว่าจะมีธุรกิจมารองรับเพื่อตอบแทนการผลิตได้แค่ไหน
อีกทั้งด้วยงบประมาณมหาศาล หลายฝ่ายหวาดระแวงการทุจริตคอร์รัปชั่น หากรัฐบาลต้องการให้เกิดความโปร่งใสจะต้องไม่เอาผู้ที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองเข้ามาทำหน้าที่บริหาร
รวมถึงเข้มงวดในการแถลงความคืบหน้าของโครงการ เปิดเผยข้อมูลอย่างละเอียดด้วย
ข่าวสดออนไลน์ 16 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลา 00:52 น.
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM09USTJOelkzTmc9PQ==§ionid=
?????????????????????????????????????
".....ถือเป็นโครงการที่เป็นความฝันของโลกสมัยใหม่ ..."
ผมฝันเหลือเกินกับอนาคตของประเทศไทยที่อยากให้พัฒนาก้าวหน้าเหมือนประเทศเพื่อนบ้านในทุกๆด้านเสียที
ไม่ใช่มัวปัดแข้งปัดขาตัวเองจนล้มลุกคลุกคลานด้วยความคิดหยุมหยิมของคนเห็นแก่ตัวเช่นนี้.....
ก็ยัง งงๆอยู่ว่า
ทำไมต้องมีคนที่คอยขวางความเจริญของประเทศ....
แทนที่จะคอยคัดค้าน จ้องตีโครงการให้ล้มจนไปต่อไม่ได้
ควรเปลี่ยนบทบาทมาเป็นการคอยตรวจสอบความก้าวหน้าของงานนั้นๆ
ผิดพลาดตรงไหนรีบแนะนำและเสริมส่งกันเพื่อเดินไปข้างหน้าให้ได้....ไม่ดีกว่าหรือ
นี่ประเทศของเรานะครับทุกท่าน......