เสรีภาพ กับ ความต้องการของนักศึกษา มธ.คนหนึ่ง

กระทู้คำถาม
ติดตามอ่านเรื่องนักศึกษา มธ.คนหนึ่งที่ไม่ต้องการใส่ชุดนักศึกษา
และ อ.ไม่ให้เข้าห้องเรียน
เห็นกล่าวอ้างกันเรื่องเสรีภาพกันเยอะเลยไปค้นมาดูได้ความว่า

    เสรีภาพ เป็นคำที่ถูกใช้เคียงคู่กับคำว่า “สิทธิ” เสมอว่า “สิทธิเสรีภาพ” จนเข้าใจว่ามีความหมายอย่างเดียวกัน แท้จริงแล้ว คำว่า “เสรีภาพ” หมายถึง อำนาจตัดสินใจด้วยตนเองของมนุษย์ที่จะเลือกดำเนินพฤติกรรมของตนเอง โดยไม่มีบุคคลอื่นใดอ้างหรือใช้อำนาจแทรกแซงเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจนั้น และเป็นการตัดสินใจด้วยตนเองที่จะกระทำหรือไม่กระทำการสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แต่การที่ มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมแล้วแต่ละคนจะตัดสินใจกระทำการหรือไม่กระทำการสิ่งใดนอกเหนือ นอกจากต้องปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว ย่อมต้องคำนึงถึงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของสังคม ขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรม

แปลง่ายๆได้ว่า อยากทำอะไรก็ทำ แต่ต้องอยู่ภายใต้กฏระเบียบของสังคม

ทีนี้ มธ.เขาไม่บังคับให้ใส่ชุด นศ. แต่เขามียกเว้น ให้ อ.ผู้สอน สามารถไม่ให้เข้าชั้นเรียนได้ กรณี แต่งกายไม่สุภาพ

ปัญหาก็เลยเกิด ว่า สุภาพ มันนิยามไว้กว้างแค่ไหน อ.เปลื้อง ณ นคร เขียนไว้ว่า    
             สุภาพ(มค. สุภาว) ว. เรียบร้อย, อ่อนโยน, ประพฤติดี, ละมุนละม่อม.
ก็พออนุมานว่า ชุดสุภาพ ต้องเรียบร้อย

อาจารย์แต่ละท่าน ก็มีพื้นเพ หลากหลายต่างกันไป การตีความ คำว่าชุดสุภาพนั้น ก็ต่างกันไป

ขอถามว่า คำว่าชุดสุภาพ ตีความหมายเป็นชุดนักศึกษาได้ไหม
ถ้าได้
มันจะผิดตรงไหน ถ้า อ.อนุญาติให้เฉพาะนศ.ที่แต่งชุด นศ.เข้าเรียนได้

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
มธ เค้าก็ไม่ได้บังคับอยู่แล้วนิ แค่วิชาเดียวเอง มันมีเหตุผลในตัวของมันครับ อาจารย์เค้าก็บอกแล้วว่า  วิชานี้ต้องการระเบียบ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่