ข้อมูลของเจียวกู้หลาน จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
เจียวกู้หลาน (Jiaogulam) Gynostemma Pentaphylum ไม่ใช้โสม แต่ดีกว่าโสม
ประวัติความเป็นมา
เจียวกู้หลาน เป็นพืชจำพวกเถา จำพวกแตงมีใยขนาดเท่าเหรียญสิบบาทและมีรูปร่างคล้ายใบมะระมีห้าแฉก จึงมีผู้ตั้งชื่อเป็นภาษาไทยว่า เบญจขันธ์ มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย ในบริเวณที่มีภูมิประเทศเป็นป่าเขาที่มีความสูงระดับ ๓เป็นป่าเขาที่มีความสูงระดับ ๓๐๐- ๓,๒๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเลในจีน อินเดีย เนปาล เมียนมาร์ ลาว เวียดนาม ญี่ปุ่นและเกาหลี คำว่าเจียวกู้หลานในภาษาจีนหมายความถึง พืชเถาที่พันรอบไม้ใหญ่ แต่ด้วยคุณประโยชน์มากมายที่มีต่อการบำรุงสุขภาพและรักษาอาการป่วย ชาวจีนจึงเรียกเจียวกู้หลานอีกชื่อหนึ่งว่า ซี- ยัน- เช่า ซึ่งหมายความว่าเป็นสมุนไพรแห่งชีวิตอมตะ
ชาวจีนที่อาศัยอยู่บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ในมณฑลกวางชู กวางสี ยุนานและฉวนได้นำเอาเจียวกู้หลานมาบริโภคเป็นอาหารเป็นเวลานานและต้มดื่มแทนน้ำชาตั้งแต่ศตวรรษที่๑๕เป็นต้นมาเพราะมีคุณสมบัติในการส่งเสริมธาตุหยินและหยางของร่างกายช่วยทำให้ผู้ดื่ม สุขภาพแข็งแรง สามารถทำงานหนักกลางแจ้งได้เป็นเวลานาน ดูอ่อนเยาว์กว่าวัย มีอายุยืน ต่อมาได้นำมารักษาอาการป่วยเช่นไข้หวัด อาการไอเรื้อรัง และถุงลมในปอดอักเสบและพบว่าผู้ดื่มชาเจียวกู้หลานเป็นประจำนอกจากจะมีอายุเฉลี่ยที่ยืนนานและมีสุขภาพแข็งแรง แล้วยังมีอัตราการป่วยที่เป็นมะเร็งที่ต่ำกว่าอีกด้วย
ในทศวรรษที่๑๙๗๐ กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นที่ได้พบรายงานการรักษาโรคถุงลมในปอดอักเสบในประเทศจีนนำเจียวกู้หลานมาทำการวิจัยเพื่อหาประโยชน์ต่างๆ Dr Osama Tanaka แห่งคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮิโรชิมาที่ต้องการศึกษาเพื่อหาพืชที่สามารถให้ความหวานแทนน้ำตาลพบว่าเจียวกู้หลานซึ่งเป็นพืชที่ต่างสายพันธุ์กับโสม แต่มีสาร แซพโพนินส์ที่มีโครงสร้างโมเลกุลเหมือนกับโสม ต่อมา Dr Tsunematsu Takemoto ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรได้ทำการวิจัยประโยชน์ของเจียวกู้หลานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า ๑๐ ปีเพื่อหาสมุนไพรที่สามารถนำมาใช้วิธีธรรมชาติบำบัดในการรักษาโรคมะเร็งและโรคร้ายอื่นๆ พบว่าเจียวกู้หลานมีสารแซพโพนินส์อยู่ ๘๒ ชนิด เรียกว่า Gypenosides ๑ ๘๒ จึงจัดเป็นสมุนไพรที่ใช้เป็นยาได้เหมือนโสมแต่ดีกว่าโสม เนื่องจากหากเปรียบเทียบกับโสมที่มีสารแซพโพนินส์ที่เรียกว่า ginsenosides นี้อยู่เพียง ๒๘ ชนิด แต่เจียวกู้หลานมีสารแซพโพนินส์ที่เรียกว่า gypenosides นี้อยู่ถึง ๘๒ ชนิด และสาร gypenosides ที่พบในเจียวกู้หลานนี้มีอยู่สี่ชนิดเหมือนกับที่พบในโสมและอีกสิบเจ็ดชนิดมีคุณลักษณะคล้ายกับโสม นอกจากนี้ปริมาณ gypenosides ที่มีในเจียวกู้หลานก็มากกว่าและคุณสมบัติทางยาที่ดีกว่าสาร ginsenosides ที่พบในโสมอื่นๆโดยเฉพาะไม่มีพิษและไม่มีอาการแพ้เกิดขึ้นจากการบริโภค
ร่างกายของมนุษย์เปรียบเสมือนเป็นเครื่องจักรที่น่ามหัศจรรย์เพราะมีระบบการทำงานของสมองที่สามารถคิด ประมวลผลการทำงานและสั่งงานได้เองและมีระบบการทำงานของร่างกายที่สามารถรักษาดุลภาพของร่างกาย และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม สามารถต่อต้านโรค รักษาอาการเจ็บป่วย สมานแผลต่อกระดูกที่หักได้เองระดับหนึ่ง ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ธรรมชาติได้มอบให้แก่มนุษย์หากมนุษย์สามารถเข้าใจในการเรียนรู้ความมหัศจรรย์ของร่างกายและพัฒนาตนเองขึ้นมาได้
การใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ในปัจจุบันที่ไม่ถูกต้องตามธรรมชาติมีส่วนสำคัญที่ทำให้ร่างกายสร้างอนุมูลอิสระ ขึ้นมามากจนเกินกว่าที่ร่างกายจะควบคุมได้ จึงเป็นผลให้อวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกายเสื่อมเร็วและทำให้แก่เร็วกว่าวัยเช่นผมหงอกมาก ผิวหนังเหี่ยวย่น มีริ้วรอยบนใบหน้า เส้นเลือดในร่างกายตืบตันเพราะมีไขมันไปจับบริเวณผนัง ( เป็นสาเหตุของอาการหัวใจวาย ไตวายหรือพิการ อัมพาต ) โรคเม็ดโลหิตขาวมากเกินไป โรคมะเร็งและโรคสมองเสื่อม
ในประเทศจีน แพทย์แผนจีนได้ใช้เจียวกู้หลานร่วมกับสมุนไพรจีนชนิดอื่นและน้ำผลไม้ที่คั้นจากผลกีวีซึ่งมีวิตามินซีและวิตามินอีสูงใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการป่วยเกิดจากอนุมูลอิสระเช่นอาการขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ที่เป็นสาเหตุของอัมพาต อาการขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจที่เป็นสาเหตุของอาการหัวใจวายหรืออาการกล้ามเนื้อหัวใจตายซึ่งได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ
ในบรรดาจำนวนพืช ๔๐๐๐ ชนิด สมุนไพรที่จัดได้ว่าเป็น Adaptogen ได้เพียงหนึ่งชนิดเท่าที่สมุนไพรที่เป็นAdaptogen ได้จะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญ ๑) ไม่มีสารใดๆ ที่เป็นพิษต่อร่างกาย และ๒ ) ช่วยทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรง ในการรักษาร่างกายให้หายป่วยจากโรคร้าย โดยมีผลต่อการทำงานของร่างกายที่สำคัญคือ บำรุงการทำงานของอวัยวะภายในให้แข็งแรงและปรับสมดุลการทำงานของระบบประสาทและระบบฮฮร์โมนให้เป็นปกติจากผลของความเครียด ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ ได้พบว่าเจียวกู้หลานเป็น Adaptogen ดีกว่าสมุนไพรชนิดอื่นๆ
จากการทดลองวิทยาศาสตร์เป็นเวลากว่า ๓๐ ปี ยืนยันว่าเจียวกู้หลานเป็น Adaptogen ที่มีคุณสมบัติที่น่ามหัศจรรย์ต่อร่างกายในการช่วยปรับสมดุลยภาพการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางที่ประกอบด้วย สมองไขสันหลัง ระบบประสาท Sympathetic และระบบ Parasympathetic ที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาท การหลั่งฮฮร์โมนและการทำงานของอวัยวะต่างๆ หากร่างกายมีความเครียดหรือวิตกกังวลมากเกินไป สาร Gypenosides จะช่วยทำให้ระบบประสาทส่วนกลางปรับตัวเพื่อให่ร่างกายผ่อนคลายความเครียดลงแต่ถ้าร่างกายมีอาการหดหู่สาร Gypenosides จะช่วยทำให้ระบบประสาทส่วนกลางปรับตัวให้ร่างกายกระฉับกระเฉงขึ้น ในปัจจุบันเจียวกู้หลานเป็นสมุนไพรที่วงการแพทย์ในจีน ญี่ปุ่น ยุโรป และอเมริกายอมรับในการรักษาเพื่อลดไขมัน ลดความดันโลหิตสูง แต่ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำจะปรับให้เป็นปกติ ทำให้หัวใจและตับแข็งแรง เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย สร้างภูมิต้านทานโรค ( ในประเทศไทยได้มีการทดลองประกอบการรักษาผู้ป่วยเป็นโรคเอดส์พบว่าผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันของร่างกายสูงขึ้น ) และช่วยให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารมากขึ้น
สารเคมีที่พบในเจียวกู้หลาน
สารที่พบในเจียวกู้หลานประกอบด้วย ซาโพนินส์ ( Saponins ) เฟลโวเนส โพลีซัลคาไรด์ กรดอมิโน ไวตามิน บี๑ บี๒ และธาตุที่สำคัญต่อร่างกายหลายชนิด เช่น แคลเซียม ( Ca ๑๙๔๗๕.๐๐) สังกะสี ( Zn ๑๗๘.๗๕ ) เหล็ก ( Fe ๗๘๖.๓๐ ) แมงกานีส ( Mn ๘๖.๓๐ ) แมกนีเซียม ( Mg ๒๐๔๕.๐๐)
ซาโพนินส์คือ โมเลกุลกลีโคไซด์ ( glycoside ) ที่ประกอบด้วย อกลีโคน ( aglycone ) และน้ำตาลซึ่ง ซาโพนินส์ ที่พบในเจียวกู้หลานนี้เป็น ซาโพนินส์ ประเภทเดียวกับ ginsenosides ที่พบในโสมและจัดอยู่ในตระกูลที่มีโครงสร้างของโมเลกุเหมือนกับสเตรอยด์ฮฮร์โมนที่พบในสัตว์และมนุษย์
สเตรอยด์ฮอร์โมนนี้ มีคุณสมบัติที่สำคัญต่อร่างกายทำงานของระบบผลิตฮฮร์โมนในสัตว์และมนุษย์ แต่ซาโพนินส์ ที่พบในเจียวกู้หลานและโสมไม่ได้มีผลโดยตรงต่อการทำงานของระบบฮฮร์โมนในร่างกายมนุษย์ เช่นเดียวกับสเตรอยด์ฮฮร์โมน แต่จะช่วยสร้างการปรับสมดุลของฮฮรด์โมนในร่างกายทำให้ระบบการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และอวัยวะภายในร่างกายมีความสมดุลและการทำงานได้ดีตามปกติ ซาโพนินส์ ในเจียวกู้หลานและโสมจึงไม่ใช่สารที่ห้ามนักกีฬาใช้โดยคณะการโอลิมปิกระหว่างประเทศ เจียวกู่หลานมีสาร gytpenosides ๘ ชนิดที่เรียกว่า gytpenosides ๑-๘๒ ซึ่ง gytpenosides หมายเลข ๓,๔,,๘และ๑๒ มีโครงสร้างทางเคมีเหมือนกับ ginsenoside Rb1 Rb2 Rd และ F2 ตามลำดับนอกจากนี้gypenosides อีก ๑๗ ชนิด เมื่อผสมด้วยน้ำก็จะมีคุณสมบัติเหมือนกับ Ginsenosides แต่เจียวกู้หลานมีข้อได้เปรียบโสมตรงที่สารซาโพนินส์มากกว่าโสมถึงสี่เท่า และคุณสมบัติในการบำรุงร่างกายดีกว่าโสม นอกจากนี้ ผู้บริโภคเจียวกู้หลานไม่มีอาการแพ้เหมือนการบริโภคโสม
%%%%%%% เบญจขันธ์, ปัญจขันธ์ ของดีจึงบอกเพื่อน %%%%%%%
เจียวกู้หลาน (Jiaogulam) Gynostemma Pentaphylum ไม่ใช้โสม แต่ดีกว่าโสม
ประวัติความเป็นมา
เจียวกู้หลาน เป็นพืชจำพวกเถา จำพวกแตงมีใยขนาดเท่าเหรียญสิบบาทและมีรูปร่างคล้ายใบมะระมีห้าแฉก จึงมีผู้ตั้งชื่อเป็นภาษาไทยว่า เบญจขันธ์ มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย ในบริเวณที่มีภูมิประเทศเป็นป่าเขาที่มีความสูงระดับ ๓เป็นป่าเขาที่มีความสูงระดับ ๓๐๐- ๓,๒๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเลในจีน อินเดีย เนปาล เมียนมาร์ ลาว เวียดนาม ญี่ปุ่นและเกาหลี คำว่าเจียวกู้หลานในภาษาจีนหมายความถึง พืชเถาที่พันรอบไม้ใหญ่ แต่ด้วยคุณประโยชน์มากมายที่มีต่อการบำรุงสุขภาพและรักษาอาการป่วย ชาวจีนจึงเรียกเจียวกู้หลานอีกชื่อหนึ่งว่า ซี- ยัน- เช่า ซึ่งหมายความว่าเป็นสมุนไพรแห่งชีวิตอมตะ
ชาวจีนที่อาศัยอยู่บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ในมณฑลกวางชู กวางสี ยุนานและฉวนได้นำเอาเจียวกู้หลานมาบริโภคเป็นอาหารเป็นเวลานานและต้มดื่มแทนน้ำชาตั้งแต่ศตวรรษที่๑๕เป็นต้นมาเพราะมีคุณสมบัติในการส่งเสริมธาตุหยินและหยางของร่างกายช่วยทำให้ผู้ดื่ม สุขภาพแข็งแรง สามารถทำงานหนักกลางแจ้งได้เป็นเวลานาน ดูอ่อนเยาว์กว่าวัย มีอายุยืน ต่อมาได้นำมารักษาอาการป่วยเช่นไข้หวัด อาการไอเรื้อรัง และถุงลมในปอดอักเสบและพบว่าผู้ดื่มชาเจียวกู้หลานเป็นประจำนอกจากจะมีอายุเฉลี่ยที่ยืนนานและมีสุขภาพแข็งแรง แล้วยังมีอัตราการป่วยที่เป็นมะเร็งที่ต่ำกว่าอีกด้วย
ในทศวรรษที่๑๙๗๐ กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นที่ได้พบรายงานการรักษาโรคถุงลมในปอดอักเสบในประเทศจีนนำเจียวกู้หลานมาทำการวิจัยเพื่อหาประโยชน์ต่างๆ Dr Osama Tanaka แห่งคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮิโรชิมาที่ต้องการศึกษาเพื่อหาพืชที่สามารถให้ความหวานแทนน้ำตาลพบว่าเจียวกู้หลานซึ่งเป็นพืชที่ต่างสายพันธุ์กับโสม แต่มีสาร แซพโพนินส์ที่มีโครงสร้างโมเลกุลเหมือนกับโสม ต่อมา Dr Tsunematsu Takemoto ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรได้ทำการวิจัยประโยชน์ของเจียวกู้หลานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า ๑๐ ปีเพื่อหาสมุนไพรที่สามารถนำมาใช้วิธีธรรมชาติบำบัดในการรักษาโรคมะเร็งและโรคร้ายอื่นๆ พบว่าเจียวกู้หลานมีสารแซพโพนินส์อยู่ ๘๒ ชนิด เรียกว่า Gypenosides ๑ ๘๒ จึงจัดเป็นสมุนไพรที่ใช้เป็นยาได้เหมือนโสมแต่ดีกว่าโสม เนื่องจากหากเปรียบเทียบกับโสมที่มีสารแซพโพนินส์ที่เรียกว่า ginsenosides นี้อยู่เพียง ๒๘ ชนิด แต่เจียวกู้หลานมีสารแซพโพนินส์ที่เรียกว่า gypenosides นี้อยู่ถึง ๘๒ ชนิด และสาร gypenosides ที่พบในเจียวกู้หลานนี้มีอยู่สี่ชนิดเหมือนกับที่พบในโสมและอีกสิบเจ็ดชนิดมีคุณลักษณะคล้ายกับโสม นอกจากนี้ปริมาณ gypenosides ที่มีในเจียวกู้หลานก็มากกว่าและคุณสมบัติทางยาที่ดีกว่าสาร ginsenosides ที่พบในโสมอื่นๆโดยเฉพาะไม่มีพิษและไม่มีอาการแพ้เกิดขึ้นจากการบริโภค
ร่างกายของมนุษย์เปรียบเสมือนเป็นเครื่องจักรที่น่ามหัศจรรย์เพราะมีระบบการทำงานของสมองที่สามารถคิด ประมวลผลการทำงานและสั่งงานได้เองและมีระบบการทำงานของร่างกายที่สามารถรักษาดุลภาพของร่างกาย และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม สามารถต่อต้านโรค รักษาอาการเจ็บป่วย สมานแผลต่อกระดูกที่หักได้เองระดับหนึ่ง ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ธรรมชาติได้มอบให้แก่มนุษย์หากมนุษย์สามารถเข้าใจในการเรียนรู้ความมหัศจรรย์ของร่างกายและพัฒนาตนเองขึ้นมาได้
การใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ในปัจจุบันที่ไม่ถูกต้องตามธรรมชาติมีส่วนสำคัญที่ทำให้ร่างกายสร้างอนุมูลอิสระ ขึ้นมามากจนเกินกว่าที่ร่างกายจะควบคุมได้ จึงเป็นผลให้อวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกายเสื่อมเร็วและทำให้แก่เร็วกว่าวัยเช่นผมหงอกมาก ผิวหนังเหี่ยวย่น มีริ้วรอยบนใบหน้า เส้นเลือดในร่างกายตืบตันเพราะมีไขมันไปจับบริเวณผนัง ( เป็นสาเหตุของอาการหัวใจวาย ไตวายหรือพิการ อัมพาต ) โรคเม็ดโลหิตขาวมากเกินไป โรคมะเร็งและโรคสมองเสื่อม
ในประเทศจีน แพทย์แผนจีนได้ใช้เจียวกู้หลานร่วมกับสมุนไพรจีนชนิดอื่นและน้ำผลไม้ที่คั้นจากผลกีวีซึ่งมีวิตามินซีและวิตามินอีสูงใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการป่วยเกิดจากอนุมูลอิสระเช่นอาการขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ที่เป็นสาเหตุของอัมพาต อาการขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจที่เป็นสาเหตุของอาการหัวใจวายหรืออาการกล้ามเนื้อหัวใจตายซึ่งได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ
ในบรรดาจำนวนพืช ๔๐๐๐ ชนิด สมุนไพรที่จัดได้ว่าเป็น Adaptogen ได้เพียงหนึ่งชนิดเท่าที่สมุนไพรที่เป็นAdaptogen ได้จะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญ ๑) ไม่มีสารใดๆ ที่เป็นพิษต่อร่างกาย และ๒ ) ช่วยทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรง ในการรักษาร่างกายให้หายป่วยจากโรคร้าย โดยมีผลต่อการทำงานของร่างกายที่สำคัญคือ บำรุงการทำงานของอวัยวะภายในให้แข็งแรงและปรับสมดุลการทำงานของระบบประสาทและระบบฮฮร์โมนให้เป็นปกติจากผลของความเครียด ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ ได้พบว่าเจียวกู้หลานเป็น Adaptogen ดีกว่าสมุนไพรชนิดอื่นๆ
จากการทดลองวิทยาศาสตร์เป็นเวลากว่า ๓๐ ปี ยืนยันว่าเจียวกู้หลานเป็น Adaptogen ที่มีคุณสมบัติที่น่ามหัศจรรย์ต่อร่างกายในการช่วยปรับสมดุลยภาพการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางที่ประกอบด้วย สมองไขสันหลัง ระบบประสาท Sympathetic และระบบ Parasympathetic ที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาท การหลั่งฮฮร์โมนและการทำงานของอวัยวะต่างๆ หากร่างกายมีความเครียดหรือวิตกกังวลมากเกินไป สาร Gypenosides จะช่วยทำให้ระบบประสาทส่วนกลางปรับตัวเพื่อให่ร่างกายผ่อนคลายความเครียดลงแต่ถ้าร่างกายมีอาการหดหู่สาร Gypenosides จะช่วยทำให้ระบบประสาทส่วนกลางปรับตัวให้ร่างกายกระฉับกระเฉงขึ้น ในปัจจุบันเจียวกู้หลานเป็นสมุนไพรที่วงการแพทย์ในจีน ญี่ปุ่น ยุโรป และอเมริกายอมรับในการรักษาเพื่อลดไขมัน ลดความดันโลหิตสูง แต่ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำจะปรับให้เป็นปกติ ทำให้หัวใจและตับแข็งแรง เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย สร้างภูมิต้านทานโรค ( ในประเทศไทยได้มีการทดลองประกอบการรักษาผู้ป่วยเป็นโรคเอดส์พบว่าผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันของร่างกายสูงขึ้น ) และช่วยให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารมากขึ้น
สารเคมีที่พบในเจียวกู้หลาน
สารที่พบในเจียวกู้หลานประกอบด้วย ซาโพนินส์ ( Saponins ) เฟลโวเนส โพลีซัลคาไรด์ กรดอมิโน ไวตามิน บี๑ บี๒ และธาตุที่สำคัญต่อร่างกายหลายชนิด เช่น แคลเซียม ( Ca ๑๙๔๗๕.๐๐) สังกะสี ( Zn ๑๗๘.๗๕ ) เหล็ก ( Fe ๗๘๖.๓๐ ) แมงกานีส ( Mn ๘๖.๓๐ ) แมกนีเซียม ( Mg ๒๐๔๕.๐๐)
ซาโพนินส์คือ โมเลกุลกลีโคไซด์ ( glycoside ) ที่ประกอบด้วย อกลีโคน ( aglycone ) และน้ำตาลซึ่ง ซาโพนินส์ ที่พบในเจียวกู้หลานนี้เป็น ซาโพนินส์ ประเภทเดียวกับ ginsenosides ที่พบในโสมและจัดอยู่ในตระกูลที่มีโครงสร้างของโมเลกุเหมือนกับสเตรอยด์ฮฮร์โมนที่พบในสัตว์และมนุษย์
สเตรอยด์ฮอร์โมนนี้ มีคุณสมบัติที่สำคัญต่อร่างกายทำงานของระบบผลิตฮฮร์โมนในสัตว์และมนุษย์ แต่ซาโพนินส์ ที่พบในเจียวกู้หลานและโสมไม่ได้มีผลโดยตรงต่อการทำงานของระบบฮฮร์โมนในร่างกายมนุษย์ เช่นเดียวกับสเตรอยด์ฮฮร์โมน แต่จะช่วยสร้างการปรับสมดุลของฮฮรด์โมนในร่างกายทำให้ระบบการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และอวัยวะภายในร่างกายมีความสมดุลและการทำงานได้ดีตามปกติ ซาโพนินส์ ในเจียวกู้หลานและโสมจึงไม่ใช่สารที่ห้ามนักกีฬาใช้โดยคณะการโอลิมปิกระหว่างประเทศ เจียวกู่หลานมีสาร gytpenosides ๘ ชนิดที่เรียกว่า gytpenosides ๑-๘๒ ซึ่ง gytpenosides หมายเลข ๓,๔,,๘และ๑๒ มีโครงสร้างทางเคมีเหมือนกับ ginsenoside Rb1 Rb2 Rd และ F2 ตามลำดับนอกจากนี้gypenosides อีก ๑๗ ชนิด เมื่อผสมด้วยน้ำก็จะมีคุณสมบัติเหมือนกับ Ginsenosides แต่เจียวกู้หลานมีข้อได้เปรียบโสมตรงที่สารซาโพนินส์มากกว่าโสมถึงสี่เท่า และคุณสมบัติในการบำรุงร่างกายดีกว่าโสม นอกจากนี้ ผู้บริโภคเจียวกู้หลานไม่มีอาการแพ้เหมือนการบริโภคโสม