คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
พระตถาคตไม่เคยกล่าวว่าพระสัทธรรมของพระองค์มี 84000 พระธรรมขันธ์ และในพระไตรปิฎกไม่ได้มีคำของพระตถาคต(พุทธพจน์ หนือพุทธวจน)อย่างเดียวแต่มีคำที่สาวกรุ่นหลังแต่งขึ้นใหม่ด้วย ดังนั้นเวลาที่ศึกษาพระไตรปิฎกจะต้องแยกแยะให้เป็นด้วย
คำของตถาคต (พุทธวจน) จะไม่ขัดแย้งกัน (สอดคล้อง)กันทั้งหมด แต่ถ้าเป็นคำแต่งใหม่เราจะพบว่ามีการขัดแย้งกันเอง
พระตถาคตตรัสว่า
1. พระองค์ทรงสามารถกำหนดสมาธิ เมื่อจะพูด ทุกถ้อยคำจึงไม่ผิดพลาด มีข้อความดังนี้
อัคคิเวสสนะ เรานั้นหรือ จำเดิมแต่เริ่มแสดง กระทั่งคำสุดท้ายแห่งการกล่าวเรื่องนั้นๆ ย่อมตั้งไว้ซึ่งจิตในสมาธินิมิตอันเป็นภายในโดยแท้ ให้จิตดำรงอยู่ ให้จิตตั้งมั่นอยู่ กระทำให้มีจิตเป็นเอก ดังเช่นที่คนทั้งหลายเคยได้ยินว่าเรากระทำอยู่เป็นประจำ
2. แต่ละคำพูดเป็นอกาลิโก คือ ถูกต้องตรงจริงไม่จำกัดกาลเวลา
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลายเป็นผู้ที่เรานำไปแล้วด้วยธรรมนี้ อันเป็นธรรมที่บุคคลจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง (สันทิฎฐิโก) เป็นธรรมให้ผลไม่จำกัดกาล (อกาลิโก) เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมาดู (เอหิปัสสิโก) ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว (โอปนยิโก) อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน (ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ)
3. คำพูดที่พูดมาทั้งหมดนับแต่วันตรัสรู้นั้น สอดรับไม่ขัดแย้งกัน
ภิกษุทั้งหลาย นับตั้งแต่ราตรีที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณจนกระทั่งถึงราตรีที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ตลอดเวลาระหว่างนั้น ตถาคตได้กล่าวสอน พร่ำสอน แสดงออกซึ่งถ้อยคำใด ถ้อยคำเหล่านั้นทั้งหมดย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น ไม่แย้งกันเป็นประการอื่นเลย
คำของตถาคต (พุทธวจน) จะไม่ขัดแย้งกัน (สอดคล้อง)กันทั้งหมด แต่ถ้าเป็นคำแต่งใหม่เราจะพบว่ามีการขัดแย้งกันเอง
พระตถาคตตรัสว่า
1. พระองค์ทรงสามารถกำหนดสมาธิ เมื่อจะพูด ทุกถ้อยคำจึงไม่ผิดพลาด มีข้อความดังนี้
อัคคิเวสสนะ เรานั้นหรือ จำเดิมแต่เริ่มแสดง กระทั่งคำสุดท้ายแห่งการกล่าวเรื่องนั้นๆ ย่อมตั้งไว้ซึ่งจิตในสมาธินิมิตอันเป็นภายในโดยแท้ ให้จิตดำรงอยู่ ให้จิตตั้งมั่นอยู่ กระทำให้มีจิตเป็นเอก ดังเช่นที่คนทั้งหลายเคยได้ยินว่าเรากระทำอยู่เป็นประจำ
2. แต่ละคำพูดเป็นอกาลิโก คือ ถูกต้องตรงจริงไม่จำกัดกาลเวลา
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลายเป็นผู้ที่เรานำไปแล้วด้วยธรรมนี้ อันเป็นธรรมที่บุคคลจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง (สันทิฎฐิโก) เป็นธรรมให้ผลไม่จำกัดกาล (อกาลิโก) เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมาดู (เอหิปัสสิโก) ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว (โอปนยิโก) อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน (ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ)
3. คำพูดที่พูดมาทั้งหมดนับแต่วันตรัสรู้นั้น สอดรับไม่ขัดแย้งกัน
ภิกษุทั้งหลาย นับตั้งแต่ราตรีที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณจนกระทั่งถึงราตรีที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ตลอดเวลาระหว่างนั้น ตถาคตได้กล่าวสอน พร่ำสอน แสดงออกซึ่งถ้อยคำใด ถ้อยคำเหล่านั้นทั้งหมดย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น ไม่แย้งกันเป็นประการอื่นเลย
แสดงความคิดเห็น
ธรรมะของพระพุทธเจ้า 84000 พระธรรมขันธ์มีขัดแย้งกันเองสักนิดนึงบ้างหรือไม่หรือไม่มีขัดแย้งกันเลยแม้นสักข้อเดียว
นิพพานัง ปรมัง สุญญัง
สองข้อนี้ขัดกันหรือไม่
ถ้าเอแล้วบีตามตรรกศาสตร์
แสดงว่า ความว่างเปล่าคือความสุข
เมื่อว่างเปล่าแล้วจะเอาอะไรไปรับรู้ว่าสุข
แล้วธรรมอื่นๆเล่ามีย้อนแย้งไหม
ธรรมะของพระพุทธเจ้า 84000 พระธรรมขันธ์มีขัดแย้งกันเองสักนิดนึงบ้างหรือไม่หรือไม่มีขัดแย้งกันเลยแม้นสักข้อเดียว