อยากทราบเรื่องของหลักดินแดนในน่านน้ำตามอนุสัญญา UNCLOS

1. น่านน้ำมีกี่ปรเภท เเล้วมีอะไรบ้าง แบ่งยังไง มีความสำคัญอย่างไร
2. หากเกิดมีข้อพิพาทจะนำเรื่องขึ้นสู่ศาล ICJ ได้รึเปล่า ต้องทำอย่างไร เกณฑ์การตัดสินต้องพึ่งหลัก Jurisdiction ของรัฐไทยได้มากน้อยแค่ไหน
3. เรื่องของหลักทะเลหลวง ไทยมีทะเลหลวงส่วนไหน เห็นอาจารย์ยกตัวอย่างว่า นั่งเรือจากศรีหนุวิลล์มายังเกาะยอสงขลา ซึ่งอยู่ในทะเลสาปส่งขลา ไม่ผ่านทะเลหลวง จริงหรือไม่
4. อำนาจอธิปไตยในน่าน้ำไทยเป็ยอย่างไร เเล้วมี พรบ.อะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง จะได้อ่านประกอบกับ UNCLOS


Mr.H อ้อนวอน

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
คำถามของจขกท.นี่เขียนหนังสือได้เป็นเล่มๆ เลยนะครับ
แต่เดี๋ยวผมจะลองตอบๆ ดูคร่าวๆ แล้วกัน ส่วนรายละเอียดจขกท.คงต้องไปค้นคว้าเพิ่มเติมเอาเอง
1.น่านน้ำ
-น่านน้ำภายใน (ภายในเส้นฐาน) > รัฐชายฝั่งมีอำนาจอธิปไตย
-ทะเลอาณาเขต (นับจากเส้นฐาน 12 ไมล์ทะเล) > รัฐชายฝั่งมีอำนาจอธิปไตย
-เขตต่อเนื่อง (นับจากเส้นฐานไม่เกิน 24 ไมล์ทะเล) > รัฐชายฝั่งมีอำนาจเฉพาะ 4 กรณี คือ ศุลกากร การคลัง การเข้าเมือง และสุขาภิบาล
-เขตเศรษฐกิจจำเพาะ (นับจากเส้นฐานไม่เกิน 200 ไมล์ทะเล) > รัฐชายฝั่งมีสิทธิสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรเหนือพื้นดินใต้ทะเล (ปลา)
-ทะเลหลวง (เกิน 200 ไมล์ทะเล)
นอกจากน่านน้ำดังกล่าวแล้วก็ยังมีอีก 2 ส่วนที่ไม่ใช่น่านน้ำแต่มีความสำคัญในกฎหมายทะเลก็คือ
-ไหล่ทวีป (นับจนถึงไหล่ทวีปตามจริงไม่เกิน 350 ไมล์ทะเล แต่ถ้าไม่ถึง 200 ไมล์ทะเลให้นับไปจนถึง 200 ไมล์ทะเล (อาจผิดพลาด)) > รัฐชายฝั่งมีสิทธิสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรท้องทะเลและชั้นดินใต้ผิวดิน (เรียกว่า subsoil) (เช่น น้ำมัน แก๊ส) และสิ่งมีชีวิตชนิดที่ติดอยู่กับที่ (เช่น กุ้ง หอย ปู)
-The area / World heritage of mankind เป็นบริเวณพื้นดินใต้ทะเลที่มีทรัพยากรธรรมชาติแต่ไม่มีรัฐใดเป็นเจ้าของพื้นที่ รัฐใดจะใช้ประโยชน์ต้องจ่ายค่าทรัพยากรให้แก่องค์กรที่จัดตั้งขึ้นมาตาม UNCLOS เพื่อการนี้

2. คุ้นๆ ว่ามีองค์กรระงับข้อพิพาทด้านทะเลโดยตรงแล้วนะครับตาม UNCLOS ดังนั้นถ้ารัฐคู่พิพาทเป็นภาคีก็คงขึ้นศาลทะเลแทน ICJ แล้วล่ะ แต่ถ้าไม่ได้เป็นภาคีก็คงขึ้น ICJ เหมือนเดิม

3.ทะเลหลวงก็ต้องเกิน 200 ไมล์ทะเลนับจากเส้นฐานครับ ผมเข้าใจว่าแถบๆ อ่าวไทยนี้ไม่มีทะเลหลวงเลย เพราะเขตเศรษฐกิจจำเพาะของแต่ละประเทศ (ไทย กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย) ขีดเส้นไว้ชนกันหมด (บางจุดก็ทับซ้อนกันด้วย ต้องรอการปักปันตาม MOU ต่อไป) เพราะฉะนั้นถ้านั่งเรือจากกัมพูชามาสงขลาก็เลยไม่ผ่านทะเลหลวงเลย

4.อำนาจอธิปไตยคงจะไม่ได้บอกไว้อย่างชัดเจนในกฎหมายนะครับว่ามีอะไรบ้าง แต่ในทางตำราจะแบ่งอำนาจนี้ออกเป็น 2 ส่วน คือ อำนาจในการออกกฎหมาย (prescriptive  jurisdiction) และอำนาจในการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย (Enforcement Jurisdiction) ดังนั้นถ้ารัฐนั้นมีอำนาจอธิปไตยก็จะงมีอำนาจทั้งสองเรื่องดังที่กล่าวมา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่