สำนักนายกฯ แจ้งหน่วยงานรัฐทำข้อสงวนไม่รับอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศก่อนลงนามสัญญาใดๆ
https://prachatai.com/journal/2024/03/108583
สำนักนายกฯ ออกจดหมายถึงหน่วยงานรัฐก่อนลงนามสัญญาใดๆ ให้ทำข้อสงวนไม่รับอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ยกเหตุกระทบอำนาจอธิปไตยของไทย หลังมี ครม.มีมติเมื่อ 12 มี.ค.ที่ผ่านมาให้ทำข้อสงวนไม่รับอำนาจ ICJ จากกรณีเข้าร่วมเป็นภาคีตามอนุสัญญาคุ้มครองบุคคลจากการบังคับสูญหายฯ
26 มี.ค.2567
สุณัย ผาสุก ที่ปรึกษา Human Rights Watch เผยแพร่จดหมายของสำนักนายกรัฐมนตรีถึงผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ แจ้งให้หน่วยงานปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้ทำข้อสงวนไม่รับอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ(International Court of Justice หรือ ICJ) ไว้ทุกเรื่องเพื่อไม่ให้กระทบอำนาจต่ออำนาจอธิปไตยของประเทศ
จดหมายนี้ได้อ้างอิงถึงมติ ครม.ในการประชุมเมื่อวันที่ 12 มี.ค.ที่ผ่านมาที่มีการพิจารณาจัดทำข้อสงวนเพื่อเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับสูญหายของกระทรวงยุติธรรม ซึ่งในมติดังกล่าวออกมาเป็นหลักการให้ทุกส่วนของราชการและหน่วยงานรัฐถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในกรณีมีความจำเป็นในการทำหนังสือสัญญาที่มีข้อบทให้อำนาจแก่ ICJ มีเขตอำนาจเหนือข้อพิพาทตามหนังสือสัญญานั้น ให้หน่วยงานนั้นๆ จัดทำข้อสงวนไม่รับอำนาจ ICJ ไว้ด้วย
สุณัยแสดงความเห็นในทวีตดังกล่าวด้วยว่าที่ผ่านมากลไกยุติธรรมภายในประเทศของไทยไม่สามารถเอาผิดและคลี่คลายกรณีอุ้มหายกว่า 70 รายที่สหประชาชาติทำบันทึกข้อมูลเอาไว้ได้
ทั้งนี้ในการประชุม ครม.ครั้งวันที่ 12 มี.ค.นั้น เป็น
การลงมติตามข้อเสนอของกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เพื่อเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ ที่เสนอให้มีข้อสงวนไว้ในส่วนของข้อบทที่ 42 ของอนุสัญญาดังกล่าวที่ระบุถึงกรณีให้อำนาจแก่ ICJ ในการพิจารณาข้อพิพาทระหว่างรัฐภาคี 2 รัฐขึ้นไปในกรณีไม่สามารถยุติได้ด้วยการเจรจา
ยธ.ระบุเหตุผลในการเสนอให้จัดทำข้อสงวนไว้ด้วยว่า "
เพื่อไม่ให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ มีเขตอำนาจเหนืออำนาจอธิปไตยของไทย ส่งผลให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่สามารถก้าวล่วงมาตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างไทยกับรัฐภาคีอื่นได้ ซึ่งข้อพิพาทนั้น ๆ อาจเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประเทศ ดังนั้น ไทยจึงควรจัดทำข้อสงวนต่อข้อบทดังกล่าวไว้ ดังเช่นที่ได้จัดทำไว้ในอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศฉบับอื่น ๆ"
https://twitter.com/sunaibkk/status/1772538517325004881
กกต. ส่งเอกสารเพิ่มแล้ว คดียุบก้าวไกล เผยเป็นเอกสาร 44 สส. ลงชื่อเสนอแก้ 112
https://www.khaosod.co.th/politics/news_8157783
กกต. ส่งเอกสารเพิ่มแล้ว คดียุบก้าวไกล หลังศาลรัฐธรรมนูญ ระบุเอกสารยังไม่ชัด เผย เป็นเอกสาร 44 สส. ลงชื่อเสนอแก้ มาตรา 112
เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีศาลรัฐธรรมนูญยังไม่พิจารณาคำร้องยุบพรรคก้าวไกล เนื่องจากมีเอกสารบางรายการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่งไปไม่ชัดเจน และมีคำสั่งให้ กกต. ส่งเอกสารที่ชัดเจนให้กับศาลรัฐธรรมนูญภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้ง
ซึ่ง กกต. ระบุว่า เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารประกอบคำร้องยุบพรรคก้าวไกลที่นาย
เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ยื่นร้องต่อกกต.นั้น
ล่าสุดมีรายงานว่า กกต. ได้ส่งเอกสารฉบับที่ชัดเจนไปยังศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ตั้งแต่เมื่อวานนี้ (25 มี.ค.) โดยเอกสารที่ไม่ชัดเจนดังกล่าวเป็นเอกสารพรรคก้าวไกล ฉบับลงวันที่ 25 มี.ค.64 ที่ 44 สส.พรรคก้าวไกล ลงชื่อยื่นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เสนอร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาฉบับที่…พ.ศ.. (แก้ไขเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาท มาตรา 112)
ซึ่งสำนักงาน กกต. ได้ประสานไปยังสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ขอคัดถ่ายเอกสารและได้เอกสารเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
โรงแรม ‘หาดใหญ่’ โวยปรับค่าแรงขั้นต่ำ 400 บ.กระทบธุรกิจ ต้องปลดคนงานลดต้นทุน
https://www.matichon.co.th/region/news_4494051
ภาคธุรกิจโรงแรมหาดใหญ่ โวยการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท กระทบต่อธุรกิจหนัก ต้องปลดคนงานออก เพื่อลดค่าใช้จ่าย สนองนโยบายพรรคการเมือง ทำเพื่อผลประโยชน์ตนเอง
จากกรณีที่ประชุมไตรภาคี ไฟเขียวขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท นำร่องใน 10 จังหวัด เฉพาะบางพื้นที่ จ.จังหวัดสงขลา อ.หาดใหญ่ ในกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรมที่พัก เริ่ม 13 เม.ย. เตรียมนำเข้า ครม.พิจารณา
นาย
ศิวัฒน์ สุวรรณวงศ์ ที่ปรึกษาสมาคมโรงแรมหาดใหญ่-สงขลากล่าวว่าการปรับค่าแรงขั้นต่ำจาก 345 บาทเป็น 400 บาทเพิ่ม 15% ส่งผลกระทบต่อธุรกิจโรงแรม อ.หาดใหญ่ซึ่ง ที่มองว่านักท่องเที่ยวมาเลเซียผ่านด่าน จ.สงขลาจำนวนมาก ซึ่งความเป็นจริงนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ประมาณ 50%ไปเที่ยว จ.กระบี่ พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ นครศรี พัทลุง และสตูล ที่พักใน จ.สงขลาประมาณ 50% ที่นั้น
นาย
ศิวัฒน์ กล่าวว่า คณะกรรมการไตรภาคีไปผูกติดกับโรงแรม จ.ภูเก็ต พังงา กระบี่ อ.สมุย ที่ขายห้องพักคืนละหลักหมื่นบาท แต่ อ.หาดใหญ่ขายห้องหลักพันบาท แต่ใช้พนักงานเท่ากันค่าใช้จ่ายเท่ากัน ซึ่งเป็นการสนองนโยบายพรรคการเมือง ซึ่งหาเสียงในคราวเลือกตั้ง สร้างความ
ให้กับภาคธุรกิจโรงแรมที่กำลังจะฟื้นจากสสถานการณ์โควิด สุดท้ายผลกระทบค่าใช้จ่ายเพิ่ม สุดท้ายโรงแรมต้องปลอดคนงานออกเพื่อลดค่าใช้จ่าย คนว่างงานเพิ่ม โรงแรมต้องขายห้องราคาเพิ่มขึ้น
ยอดผลิต-จำหน่ายรถยนต์ในไทย ซวนเซ รถอีวีแย่งตลาด
https://tna.mcot.net/business-1341195
กรุงเทพฯ 26 มี.ค.-รถอีวีมีส่วนแบ่งตลาดในไทยเพิ่มขึ้น ในขณะที่งบฯ 67 ล่าช้า แบงก์เข้มงวดสินเชื่อ ส่งผล ยอดผลิต-จำหน่ายรถยนต์ในไทย เดือน ก.พ.หดตัว ยอดผลิตลดลงต่ำสุดในรอบ 2 ปี
นาย
สุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ เปิดเผยว่า ยอดการผลิตรถยนต์เดือน ก.พ.67 อยู่ที่ 133,690 คัน ลดลง 19.28% จากเดือน ก.พ.66 และลดลง 5.92% จากเดือน ม.ค.67 ทำสถิติต่ำสุดในรอบ 2 ปี จากยอดผลิตรถกระบะทั้งส่งออกและขายในประเทศลดลงเนื่องจากบางบริษัทขาดชิ้นส่วน ยอดผลิตรถยนต์นั่งลดลงเพราะถูกรถยนต์ไฟฟ้าที่นำเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาด และยอดผลิตรถกระบะลดลงตามยอดขายเนื่องจากความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน ตามนโยบายการให้กู้แบบรับผิดชอบและหนี้ครัวเรือนสูงของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทำให้ยอดรถยนต์ที่ผลิตได้ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ 275,792 คัน ลดลง 15.90% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
สำหรับยอดจำหน่ายในประเทศของเดือน ก.พ.67 อยู่ที่ 52,843 คัน ลดลง 26.15% จากเดือน ก.พ.67 และลดลง 3.60% จากเดือน ม.ค.67 และยอดขายรถ PPV (รถอเนกประสงค์ที่มีพื้นฐานและดัดแปลงมาจากรถกระบะ) ลดลง 47.6% จากการไปซื้อรถยนต์นั่งตรวจการณ์ที่เป็น HEV (รถยนต์ Hybrid )มากขึ้นเพราะราคาถูกกว่า รวมทั้งเศรษฐกิจของประเทศยังเติบโตในระดับต่ำ เพราะการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายปี 2567 ล่าช้าไปถึงเดือน เม.ย.67 ทำให้การใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐลดลง ทำให้ยอดขายรถยนต์ในประเทศช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ 107,657 คัน ลดลง 21.49% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
“
หาก งบฯ 67 ผ่านสภาฯ มีผลบังคับใช้ เบิกจ่ายได้ และรัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้วจะช่วยเพิ่มยอดขายในประเทศให้เพิ่มขึ้น ช่วงนี้น้ำมันแพงก็ทำให้รถปิกอัพมียอดขายต่ำกว่ารถยนต์นั่ง” นายสุรพงษ์ กล่าว
ส่วนยอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปเดือน ก.พ.67 อยู่ที่ 88,720 คัน เพิ่มขึ้น 0.22% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกรถ PPV และรถ HEV แม้ยอดส่งออกจะมีแนวโน้มชะลอลง แต่ตลาดส่งออกยังขยายตัวได้ดีจึงมั่นใจว่าการส่งออกจะเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ ส่งผลลให้ช่วง 2 เดือนแรกของปี 67 (ม.ค.-ก.พ.) มียอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปรวม 175,436 คัน เพิ่มขึ้น 0.07% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีมูลค่าการส่งออก 121,228.69 คัน
ส่วนการนำเข้ายานยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีนจำนวนมากคงไม่ได้เป็นการทำลายตลาดรถยนต์ในประเทศ เป็นการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลก ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในประเทศเร็วขึ้น และเป็นเรื่องดีที่ภาครัฐและภาคเอกชนได้ร่วมกันวางแผนให้มีความพร้อมที่ผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อส่งออกไปในภูมิภาค ส่วนยอดจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงพบว่า
• ประเภท BEV อยู่ที่ 6,335 คัน ลดลง 15.94% จากเดือน ก.พ.66 เนื่องจากมีการเร่งจดทะเบียนเพื่อรับส่วนลดจากมาตรการสนับสนุนภาครัฐไปในเดือน ม.ค.67 และช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้มียอดจดทะเบียนใหม่สะสมจำนวน 22,278 คัน เพิ่มขึ้น 81.97% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ ณ สิ้นเดือน ก.พ.67 มีจำนวนยานยนต์ไฟฟ้าประเภท BEV สะสม 154,020 คัน เพิ่มขึ้น 247.72% จากสิ้นเดือน ก.พ.66
• ประเภท HEV อยู่ที่ 11,991 คัน เพิ่มขึ้น 51.38% จากเดือน ก.พ.66 และช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้มียอดจดทะเบียนใหม่สะสมจำนวน 26,134 คัน เพิ่มขึ้น 67.44% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ ณ สิ้นเดือน ก.พ.67 มีจำนวนยานยนต์ไฟฟ้าประเภท HEV สะสม 369,532 คัน เพิ่มขึ้น 34.28% จากสิ้นเดือน ก.พ.66
• ประเภท PHEV อยูที่ 894 คัน ลดลง 28.42% จากเดือน ก.พ.66 และช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้มียอดจดทะเบียนใหม่สะสมจำนวน 1,834 คัน ลดลง 17.01% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ ณ สิ้นเดือน ก.พ.67 มีจำนวนยานยนต์ไฟฟ้าประเภท PHEV สะสม 55,782 คัน เพิ่มขึ้น 25.08% จากสิ้นเดือน ก.พ.66.-511-สำนักข่าวไทย
JJNY : 5in1 แจ้งหน่วยงานรัฐทำข้อสงวน│กกต. ส่งเอกสารเพิ่ม│รร.‘หาดใหญ่’โวย│ยอดผลิต-จำหน่ายรถซวนเซ│จีนโต้ข้อกล่าวหา
https://prachatai.com/journal/2024/03/108583
สำนักนายกฯ ออกจดหมายถึงหน่วยงานรัฐก่อนลงนามสัญญาใดๆ ให้ทำข้อสงวนไม่รับอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ยกเหตุกระทบอำนาจอธิปไตยของไทย หลังมี ครม.มีมติเมื่อ 12 มี.ค.ที่ผ่านมาให้ทำข้อสงวนไม่รับอำนาจ ICJ จากกรณีเข้าร่วมเป็นภาคีตามอนุสัญญาคุ้มครองบุคคลจากการบังคับสูญหายฯ
26 มี.ค.2567 สุณัย ผาสุก ที่ปรึกษา Human Rights Watch เผยแพร่จดหมายของสำนักนายกรัฐมนตรีถึงผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ แจ้งให้หน่วยงานปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้ทำข้อสงวนไม่รับอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ(International Court of Justice หรือ ICJ) ไว้ทุกเรื่องเพื่อไม่ให้กระทบอำนาจต่ออำนาจอธิปไตยของประเทศ
จดหมายนี้ได้อ้างอิงถึงมติ ครม.ในการประชุมเมื่อวันที่ 12 มี.ค.ที่ผ่านมาที่มีการพิจารณาจัดทำข้อสงวนเพื่อเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับสูญหายของกระทรวงยุติธรรม ซึ่งในมติดังกล่าวออกมาเป็นหลักการให้ทุกส่วนของราชการและหน่วยงานรัฐถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในกรณีมีความจำเป็นในการทำหนังสือสัญญาที่มีข้อบทให้อำนาจแก่ ICJ มีเขตอำนาจเหนือข้อพิพาทตามหนังสือสัญญานั้น ให้หน่วยงานนั้นๆ จัดทำข้อสงวนไม่รับอำนาจ ICJ ไว้ด้วย
สุณัยแสดงความเห็นในทวีตดังกล่าวด้วยว่าที่ผ่านมากลไกยุติธรรมภายในประเทศของไทยไม่สามารถเอาผิดและคลี่คลายกรณีอุ้มหายกว่า 70 รายที่สหประชาชาติทำบันทึกข้อมูลเอาไว้ได้
ทั้งนี้ในการประชุม ครม.ครั้งวันที่ 12 มี.ค.นั้น เป็นการลงมติตามข้อเสนอของกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เพื่อเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ ที่เสนอให้มีข้อสงวนไว้ในส่วนของข้อบทที่ 42 ของอนุสัญญาดังกล่าวที่ระบุถึงกรณีให้อำนาจแก่ ICJ ในการพิจารณาข้อพิพาทระหว่างรัฐภาคี 2 รัฐขึ้นไปในกรณีไม่สามารถยุติได้ด้วยการเจรจา
ยธ.ระบุเหตุผลในการเสนอให้จัดทำข้อสงวนไว้ด้วยว่า "เพื่อไม่ให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ มีเขตอำนาจเหนืออำนาจอธิปไตยของไทย ส่งผลให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่สามารถก้าวล่วงมาตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างไทยกับรัฐภาคีอื่นได้ ซึ่งข้อพิพาทนั้น ๆ อาจเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประเทศ ดังนั้น ไทยจึงควรจัดทำข้อสงวนต่อข้อบทดังกล่าวไว้ ดังเช่นที่ได้จัดทำไว้ในอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศฉบับอื่น ๆ"
https://twitter.com/sunaibkk/status/1772538517325004881
กกต. ส่งเอกสารเพิ่มแล้ว คดียุบก้าวไกล เผยเป็นเอกสาร 44 สส. ลงชื่อเสนอแก้ 112
https://www.khaosod.co.th/politics/news_8157783
กกต. ส่งเอกสารเพิ่มแล้ว คดียุบก้าวไกล หลังศาลรัฐธรรมนูญ ระบุเอกสารยังไม่ชัด เผย เป็นเอกสาร 44 สส. ลงชื่อเสนอแก้ มาตรา 112
เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีศาลรัฐธรรมนูญยังไม่พิจารณาคำร้องยุบพรรคก้าวไกล เนื่องจากมีเอกสารบางรายการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่งไปไม่ชัดเจน และมีคำสั่งให้ กกต. ส่งเอกสารที่ชัดเจนให้กับศาลรัฐธรรมนูญภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้ง
ซึ่ง กกต. ระบุว่า เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารประกอบคำร้องยุบพรรคก้าวไกลที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ยื่นร้องต่อกกต.นั้น
ล่าสุดมีรายงานว่า กกต. ได้ส่งเอกสารฉบับที่ชัดเจนไปยังศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ตั้งแต่เมื่อวานนี้ (25 มี.ค.) โดยเอกสารที่ไม่ชัดเจนดังกล่าวเป็นเอกสารพรรคก้าวไกล ฉบับลงวันที่ 25 มี.ค.64 ที่ 44 สส.พรรคก้าวไกล ลงชื่อยื่นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เสนอร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาฉบับที่…พ.ศ.. (แก้ไขเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาท มาตรา 112)
ซึ่งสำนักงาน กกต. ได้ประสานไปยังสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ขอคัดถ่ายเอกสารและได้เอกสารเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
โรงแรม ‘หาดใหญ่’ โวยปรับค่าแรงขั้นต่ำ 400 บ.กระทบธุรกิจ ต้องปลดคนงานลดต้นทุน
https://www.matichon.co.th/region/news_4494051
ภาคธุรกิจโรงแรมหาดใหญ่ โวยการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท กระทบต่อธุรกิจหนัก ต้องปลดคนงานออก เพื่อลดค่าใช้จ่าย สนองนโยบายพรรคการเมือง ทำเพื่อผลประโยชน์ตนเอง
จากกรณีที่ประชุมไตรภาคี ไฟเขียวขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท นำร่องใน 10 จังหวัด เฉพาะบางพื้นที่ จ.จังหวัดสงขลา อ.หาดใหญ่ ในกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรมที่พัก เริ่ม 13 เม.ย. เตรียมนำเข้า ครม.พิจารณา
นายศิวัฒน์ สุวรรณวงศ์ ที่ปรึกษาสมาคมโรงแรมหาดใหญ่-สงขลากล่าวว่าการปรับค่าแรงขั้นต่ำจาก 345 บาทเป็น 400 บาทเพิ่ม 15% ส่งผลกระทบต่อธุรกิจโรงแรม อ.หาดใหญ่ซึ่ง ที่มองว่านักท่องเที่ยวมาเลเซียผ่านด่าน จ.สงขลาจำนวนมาก ซึ่งความเป็นจริงนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ประมาณ 50%ไปเที่ยว จ.กระบี่ พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ นครศรี พัทลุง และสตูล ที่พักใน จ.สงขลาประมาณ 50% ที่นั้น
นายศิวัฒน์ กล่าวว่า คณะกรรมการไตรภาคีไปผูกติดกับโรงแรม จ.ภูเก็ต พังงา กระบี่ อ.สมุย ที่ขายห้องพักคืนละหลักหมื่นบาท แต่ อ.หาดใหญ่ขายห้องหลักพันบาท แต่ใช้พนักงานเท่ากันค่าใช้จ่ายเท่ากัน ซึ่งเป็นการสนองนโยบายพรรคการเมือง ซึ่งหาเสียงในคราวเลือกตั้ง สร้างความให้กับภาคธุรกิจโรงแรมที่กำลังจะฟื้นจากสสถานการณ์โควิด สุดท้ายผลกระทบค่าใช้จ่ายเพิ่ม สุดท้ายโรงแรมต้องปลอดคนงานออกเพื่อลดค่าใช้จ่าย คนว่างงานเพิ่ม โรงแรมต้องขายห้องราคาเพิ่มขึ้น
ยอดผลิต-จำหน่ายรถยนต์ในไทย ซวนเซ รถอีวีแย่งตลาด
https://tna.mcot.net/business-1341195
กรุงเทพฯ 26 มี.ค.-รถอีวีมีส่วนแบ่งตลาดในไทยเพิ่มขึ้น ในขณะที่งบฯ 67 ล่าช้า แบงก์เข้มงวดสินเชื่อ ส่งผล ยอดผลิต-จำหน่ายรถยนต์ในไทย เดือน ก.พ.หดตัว ยอดผลิตลดลงต่ำสุดในรอบ 2 ปี
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ เปิดเผยว่า ยอดการผลิตรถยนต์เดือน ก.พ.67 อยู่ที่ 133,690 คัน ลดลง 19.28% จากเดือน ก.พ.66 และลดลง 5.92% จากเดือน ม.ค.67 ทำสถิติต่ำสุดในรอบ 2 ปี จากยอดผลิตรถกระบะทั้งส่งออกและขายในประเทศลดลงเนื่องจากบางบริษัทขาดชิ้นส่วน ยอดผลิตรถยนต์นั่งลดลงเพราะถูกรถยนต์ไฟฟ้าที่นำเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาด และยอดผลิตรถกระบะลดลงตามยอดขายเนื่องจากความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน ตามนโยบายการให้กู้แบบรับผิดชอบและหนี้ครัวเรือนสูงของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทำให้ยอดรถยนต์ที่ผลิตได้ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ 275,792 คัน ลดลง 15.90% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
สำหรับยอดจำหน่ายในประเทศของเดือน ก.พ.67 อยู่ที่ 52,843 คัน ลดลง 26.15% จากเดือน ก.พ.67 และลดลง 3.60% จากเดือน ม.ค.67 และยอดขายรถ PPV (รถอเนกประสงค์ที่มีพื้นฐานและดัดแปลงมาจากรถกระบะ) ลดลง 47.6% จากการไปซื้อรถยนต์นั่งตรวจการณ์ที่เป็น HEV (รถยนต์ Hybrid )มากขึ้นเพราะราคาถูกกว่า รวมทั้งเศรษฐกิจของประเทศยังเติบโตในระดับต่ำ เพราะการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายปี 2567 ล่าช้าไปถึงเดือน เม.ย.67 ทำให้การใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐลดลง ทำให้ยอดขายรถยนต์ในประเทศช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ 107,657 คัน ลดลง 21.49% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
“หาก งบฯ 67 ผ่านสภาฯ มีผลบังคับใช้ เบิกจ่ายได้ และรัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้วจะช่วยเพิ่มยอดขายในประเทศให้เพิ่มขึ้น ช่วงนี้น้ำมันแพงก็ทำให้รถปิกอัพมียอดขายต่ำกว่ารถยนต์นั่ง” นายสุรพงษ์ กล่าว
ส่วนยอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปเดือน ก.พ.67 อยู่ที่ 88,720 คัน เพิ่มขึ้น 0.22% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกรถ PPV และรถ HEV แม้ยอดส่งออกจะมีแนวโน้มชะลอลง แต่ตลาดส่งออกยังขยายตัวได้ดีจึงมั่นใจว่าการส่งออกจะเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ ส่งผลลให้ช่วง 2 เดือนแรกของปี 67 (ม.ค.-ก.พ.) มียอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปรวม 175,436 คัน เพิ่มขึ้น 0.07% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีมูลค่าการส่งออก 121,228.69 คัน
ส่วนการนำเข้ายานยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีนจำนวนมากคงไม่ได้เป็นการทำลายตลาดรถยนต์ในประเทศ เป็นการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลก ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในประเทศเร็วขึ้น และเป็นเรื่องดีที่ภาครัฐและภาคเอกชนได้ร่วมกันวางแผนให้มีความพร้อมที่ผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อส่งออกไปในภูมิภาค ส่วนยอดจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงพบว่า
• ประเภท BEV อยู่ที่ 6,335 คัน ลดลง 15.94% จากเดือน ก.พ.66 เนื่องจากมีการเร่งจดทะเบียนเพื่อรับส่วนลดจากมาตรการสนับสนุนภาครัฐไปในเดือน ม.ค.67 และช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้มียอดจดทะเบียนใหม่สะสมจำนวน 22,278 คัน เพิ่มขึ้น 81.97% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ ณ สิ้นเดือน ก.พ.67 มีจำนวนยานยนต์ไฟฟ้าประเภท BEV สะสม 154,020 คัน เพิ่มขึ้น 247.72% จากสิ้นเดือน ก.พ.66
• ประเภท HEV อยู่ที่ 11,991 คัน เพิ่มขึ้น 51.38% จากเดือน ก.พ.66 และช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้มียอดจดทะเบียนใหม่สะสมจำนวน 26,134 คัน เพิ่มขึ้น 67.44% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ ณ สิ้นเดือน ก.พ.67 มีจำนวนยานยนต์ไฟฟ้าประเภท HEV สะสม 369,532 คัน เพิ่มขึ้น 34.28% จากสิ้นเดือน ก.พ.66
• ประเภท PHEV อยูที่ 894 คัน ลดลง 28.42% จากเดือน ก.พ.66 และช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้มียอดจดทะเบียนใหม่สะสมจำนวน 1,834 คัน ลดลง 17.01% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ ณ สิ้นเดือน ก.พ.67 มีจำนวนยานยนต์ไฟฟ้าประเภท PHEV สะสม 55,782 คัน เพิ่มขึ้น 25.08% จากสิ้นเดือน ก.พ.66.-511-สำนักข่าวไทย