ที่มา :
http://www.muscle.in.th/article/การฝึก/ตารางฝึกเพาะกายขั้นต้น-สำหรับมือใหม่-(สูตรคุณtum)
การฝึกเพาะกายขั้นต้น
การฝึกเพาะกายขั้นต้น เป็นเบสิคที่คนที่เร่มเล่นเพาะกาย ( เล่นกล้าม ) ควรจะฝึก ไม่ว่าจะต้องการหุ่นแบบนักกล้าม หรือ หุ่นนายแบบก็ตาม การเริ่มต้นพื้นฐานการฝึก ก็จะเมือนๆกัน ไม่ต่างกันแต่อย่างใด ระบบการฝึก อาจจะออกแบบให้เป็นพิเศษตามแต่กรณีของบุคคล แต่ท่าฝึกทุกอย่างในการฝึกเพาะกายขั้นต้นนั้น ก็เหมือนๆกัน ไม่ได้เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
ดังนั้น หากจะประสบความสำเร็จในการฝึกอย่างรวดเร็ว ควรจะอ่านเนื้อหาทั้งหมดให้เข้าใจเสียก่อน แล้วถึงจะลงมือฝึกจริง อย่าฝึกไปกางตำราไป หรือสนใจแต่แค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะ การดูแต่ตารางฝึก ไม่ยอมสนใจส่วนอื่น เพราะเนื้อเรื่องที่พิมพ์ลงไปนั้น เนื้อหาทุกตอน ขาดตอนใดตอนหนึ่งไปไม่ได้ ทุกตอนมีความสำคัญเท่าเทียมกัน ไม่ใช่สำคัญแค่เฉพาะตารางฝึกอย่างเดียว เพราะเนื้อหาทุกอย่างนั้น มีความเชื่องโยงกันหมด ที่จะช่วยให้คุณ มีกล้ามเนื้อ และรูปร่างอย่างที่ผู้ฝึกต้องการ
สรุปก็คือ ตารางฝึกว่าไว้ตามไหน ก็ฝึกไปตามนั้น
ปัจจัยที่สำคัญ 4 ประการในการเล่นกล้าม
1. การฝึกอย่างถูกต้อง
การ เริ่มต้นที่ถูกต้องนั้นสำคัญมาก ทำให้เราออกตัวได้เร็วกว่าคนอื่น ทำให้เราไล่ตามคนที่ออกตัวไปก่อนเราได้ทัน และ ทำให้เราสามารถแซงคนที่เร่งการฝึกให้หนักเข้าไว้แต่แรก จนเร่งไม่ขึ้นแล้ว เพื่อที่จะได้เดินทางไปสู่ที่หมายอย่างปลอดภัย และรวดเร็วที่สุด ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล อย่าคลำทางเองมั่วๆ และอย่าออกนอกลู่นอกทาง เพราะอาจจะทำให้สะบักสะบอมเสียก่อนได้ กว่าที่จะกลับมาเข้าที่เข้าทาง ก็จะทำให้เสียเวลา และกล้ามขึ้นได้ไม่ดีอย่างที่ควรจะเป็นในช่วงแรกของการฝึก เพราะร่างกายต้องซ่อมไปด้วย สร้างไปด้วย
2. อาหารการกินที่มีคุณภาพ
อาหาร การกินในแต่ละวันต้องเป็นอาหารที่มีคุณภาพ ไม่ใช่อาหารขยะ โดยต้องกินให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และต้องกินให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารโปรตีน เพราะต้องนำไปซ่อมแซมกล้ามเนื้อ และอาหารคาร์โบไฮเดรต ที่ใช้เป็นพลังงานในชีวิตประจำวัน แต่อาหารอื่นๆ ก็ขาดไม่ได้เช่นกัน
3. การพักผ่อนที่เพียงพอ
เมื่อ ร่างกาย ผ่านการใช้งานมาหนักๆแล้ว ร่างกาย ก็ต้องการเวลาในการซ่อมแซมกล้ามเนื้อด้วยเช่นกัน และร่างกายจะมีเวลาซ่อมแซมกล้ามเนื้อมากที่สุดก็ตอนที่เวลาเรานอน โดยต้องมีเวลานอนอย่างน้อยคืนละ 7 - 8 ชั่วโมง เป็นอย่างต่ำ ในการพักฟื้นร่างกาย เมื่อฝึกเพาะกายมานานมาขึ้น ร่างกายก็จะต้องการเวลาพักผ่อนที่มากกว่านี้ โดยให้เข้านอนแต่หัวค่ำ พยายามเข้านอนให้ได้ก่อน 4 ทุ่ม ( อย่างช้าที่สุดเที่ยงคืน ) เพราะเป็นช่วงเวลาที่ โกรว์ธ ฮอร์โมน ที่ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายหลั่งออกมามากที่สุด เมื่อมีเวลานอนมาก ร่างกายก็มีเวลาในการหลั่งโกรว์ธ ฮอร์โมนมากเช่นกัน และนอนหลับให้ได้คืนละ 7 - 8 ชั่วโมง เป็นอย่างน้อย เพราะจะได้ซ่อมแซมร่างกายตอนเรานอน ทำให้เรามีลพะกำลังที่จะใช้ในชีวิตประจำวัน ในวันต่อไป ถ้านอนไม่พอ นอกจากเพลีย เมื่อยล้าแล้ว ยังทำให้ออกกำลังกาย เรียน และทำการทำงานไม่ได้เต็มที่อีกด้วย ถ้าหลับยาก ก็ให้นั่งสมาธิก่อนนอนก็จะช่วยได้มาก
4. หัวจิตหัวใจ
เรื่อ เพาะกายนั้น การเตรียมพร้อมร่างกายเป็นสิ่งสำคัญ แต่เรื่องใจนั้น ต้องมาก่อน หากเรากล้าที่จะฝึก โดยยึดหลักการฝึกที่ถูกต้อง ก็จะทำให้เรามีชัยไปกว่าครึ่ง และต้องฝึกอย่างอดทน อดทนต่อภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น อดทนต่อจิตใจตัวเองที่อยากจะไปให้ไวๆจนอาจจะนอกลู่นอกทาง อดทนต่อการฝึกที่ต้องค่อยๆขยับไปเป็นขั้นเป็นตอน อดทนต่อระยะเวลา ที่เรารู้สึกว่า ร่างกายที่เราอยากได้ มันช่างไลเกินเอื้อม ถ้าใจเราสู้ซะอย่าง ร่างกายที่เราคาดหวังไว้ ก็จะไม่ไกลเกินเอื้ม และก็ไปถึงอย่างที่เราตั้งใจไว้ได้
อุปกรณ์ที่สำคัญในการฝึก
ม้าฝึกแบบปรับเป็นม้าราบและเอียงสูงได้ ( จะมีที่เล่นกล้ามต้นขาด้านหน้าและด้านหลัง หรือไม่ต้องมีก็ได้ ) และมีขาตั้งอยู่ที่หัวม้าฝึก สำหรับฝึกอก หรือฝึกท่าอื่นๆในท่านอน
คานบาร์เบลล์อย่างน้อย 2 อัน 10 ฟุต 1 อัน และ 4 - 5 ฟุตอีก 1 อัน เอาไว้แยกเล่นกล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัดเล็ก
คานดัมเบลล์อย่างน้อย 1 - 2 คู่ เพราะจะได้ปรับน่ำหนักได้หลายๆขนาด คู่แรกสำหรับใส่น้ำหนักเบา และอีกคู่นึง สำหรับ ใช้น้ำหนักในการฝึกที่หนัก เอาไว้สำหรับฝึกในเพาะกายขั้นกลาง
ชุดลูกเหล็กหลากหลายขนาดอีก 1 ชุด อย่าซื้อมาแต่ลูกใหญ่อย่างเดียว ให้ซื้อลูกเล็กๆด้วย เช่น 0.5 , 1 , 1.25 , 1.5 , 2 , 2.5 , 3 , 4 และ 5 ก.ก. เพราะการเพิ่มน้ำหนักลูกเหล็กเมื่อเราฝึกจนเบา จะเพิ่มเข้าไปแค่ครั้งละ 0.5 - 1 ก.ก. เน้น ไม่เกิน 1.5 - 2 ก.ก.
ขาตั้งสำหรับฝึกต้นขาท่า Squat ถ้าอยากมีหุ่นแบบไม่อายใคร ก็ต้องฝึกท่านี้ และในอนาคต เมื่อเราแข็งแรงมากขึ้น ก็จะใช้ขาตั้งนี้ สำหรับฝึกกล้ามไหล่ได้ โดยอาจจะหาร้านเชื่อมเหล็ก แล้วสั่งทำให้ก็ได้ ราคาก็ต่อรองกันเอาเอง หรือหาไม้มาประกอบก็ได้ วัดขนาดดีๆ และประกอบให้แข็งแรงและคงทน เป็นขาตั้งแบบแยกชิ้น 2 ข้าง แบบที่นักยกน้ำหนักทีมชาติเขาใช้กัน เวลาจะฝึกก็ยกออกมา เวลาฝึกเสร็จก็ยกเก็บได้สะดวก
เข็มขัดที่ใช้สำหรับยกน้ำหนัก สิ่งนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นมากเช่นกัน เพราะจะได้ใส่เอาไว้เวลาฝึกในท่ายืน เพื่อป้องกันการบาดเจ็บหลังส่วนล่าง เพราะหลังส่วนล่างรับน้ำหนักได้อย่างมากแค่ 4 ก.ก.เท่านั้น ตอนแรกไม่ใช้น้ำหนักลูกเหล็กในการฝึกหนักมากก็จริง แต่เมื่อเราแข็งแรงมากขึ้น เราก็จะใช้น้ำหนักในการฝึกได้มากขึ้น และก็จะมีเปอร์เซนต์ในการเสี่ยงกับอาการบาดเจ็บมากขึ้น แม้ว่าเราจะเคลื่อนไหวการฝึกอย่างถูกท่าก็ตาม ( อันนี้ สำคัญมาก )
มีเนื้อที่ภายในบ้านอย่างเพียงพอ ที่จะวางอุปกรณ์ได้อย่างไม่เกะกะ ทำให้สะดวกในการฝึก
การเลือกที่จะฝึกตามโรงยิม
การเดินทาง ระหว่างโรงยิมกับที่บ้าน โรงยิมกับโรงเรียน หรือ โรงยิมกับที่ทำงาน มีความสะดวก
สามารถรับภาระค่าใช้จ่ายรายเดือน ( ค่าใช้บริการโรงยิมต่อเดือน ) ที่เพิ่มขึ้นได้โดยไม่เดือดร้อน ค่าบริการโดยเฉลี่ย เดือนละ 500 -1000 บาท ไม่น่าจะเกินจากนี้ สำหรับโรงยิม
โรงยิมที่ดี ต้องเน้นอุปกรณ์พวก บาร์เบลล์ ดัมเบลล์ ม้าฝึก ขาตั้งสำหรับเล่นกล้ามขา มากกว่าเครื่องกล และลู่วิ่ง อย่างที่ฟิตเนสหลายๆที่นั้นนิยมกัน
ลูกเหล็ก ต้องมีให้เลือกใช้ได้หลายขนาด ตั้งแต่ลูกเล็กสุด ขนาด 0.5 ก.ก. , 1 ก.ก. , 1.25 ก.ก. , 1.5 ก.ก. , 2 ก.ก. , 2.5 ก.ก. , 3 ก.ก. และ 4 ก.ก. ไปจนถึง 20 ก.ก. ไม่ใช่ว่า เน้นแต่เหล็กลูกใหญ่ๆ หรือลูกเหล็กขั้นต่ำอยู่ที่ 5 ก.ก. เพราะการเพิ่มน้ำหนักลูกเหล็กเข้าไปแต่ละครั้ง จะเพิ่มเข้าไปแค่ข้างละ 0.5 - 1 ก.ก. เท่านั้น ไม่เกิน 1.5 - 2 ก.ก.
อุปกรณ์ในโรงยิม ต้องมีอย่างเพียงพอกับสมาชิกที่มาฝึก
สมาชิกในโรงยิมต้องไม่แออัดจนเกินไป จนทำให้ฝึกไม่สะดวก แบบว่า ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาต่อคิวกันเล่นอุปกรณ์เดียวกันถึง 2 - 3 คน
หากเจอโรงยิมแบบที่ต้องการ แต่หากที่นั่น ไม่มีเหล็กลูกเล็กๆให้ฝึก และไม่มีเข็มขัดยกน้ำหนักให้ใช้ ก็ให้ซื้อลูกเหล็กลูกเล็กๆ ไว้ใช้เองที่โรงยิม โดยคุยกับเจ้าของหรือคนที่ดูแลครับ ว่าช่วยดูแลให้เราด้วย หรือถ้าที่โรงยิมมีตู้ล็อคเกอร์ ก็ให้เก็บไว้ในตู้ล็อคเกอร์ พอถึงเวลาที่จะใช้ ก็ค่อยเอาออกมาครับ
วงจรการฝึกเพาะกายขั้นต้น ฝึกสัปดาห์ละ 3 วัน ได้แก่
จันทร์ , พุธ , ศุกร์
อังคาร , พฤหัส , เสาร์
พุธ , ศุกร์ , อาทิตย์
โดยให้เลือกวันที่ฝึกตามวงจรใด วงจรหนึ่ง หรือ จะจัดวงจรการฝึกเองก็ได้ แล้วแต่สะดวก แต่ต้องให้มีลักษณะการฝึกแบบวันเว้นวัน เมื่อฝึกครบสัปดาห์ละ 3 วันแล้ว ให้หยุดพัก 2 วัน แล้วถึงเริ่มวงจรการฝึกใหม่ ในวันถัดไป
คำที่เกี่ยวกับการฝึกเพาะกาย
คาบฝึก หมายถึง ช่วงเวลาที่เราฝึกเพาะกายในวันนั้นๆ เช่น ฝึกเพาะกาย สัปดาห์ละ 3 คาบ จันทร์ , พุธ ,ศุกร์ หรือ คาบฝึกละ 1 ชั่วโมง เป็นต้น
ในเพาะกายขั้นสูง บางครั้ง อาจจะฝึกมากกว่าวันละ 1 คาบฝึกใน 1 วัน เช่น ในวันจันทร์ ฝึก 2 คาบฝึก คาบฝึกแรก ฝึก 8.00 น. - 9.00 น. ฝึกอก และ ไหล่ คาบฝึกที่ 2 ฝึก 16.00 น - 17.00 น. ฝึกต้นขา และน่อง เป็นต้น ( ดูตัวอย่างการฝึกแบบนี้ได้จากระบบการฝึกแบบ HVT )
การนับจำนวนครั้ง ในภาษาอังกฤษคือ Reps การนับจำนวนครั้งนั้น นับจากที่เราออกแรงจนสุดจังหวะ และผ่อนแรงกลับมาสู่จังหวะเริ่มต้น คือ ไปกลับครบ 1 เที่ยว ให้เรานับเป็น 1 ครั้ง ไม่ใช่ขาไปนับเป็น 1 ขากลับนับเป็น 2
การกำหนดจำนวนครั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่จุดประสงค์ของการสร้างกล้ามเนื้อ ว่าจะให้ออกมาเป็นแบบไหน โดยการฝึกเพาะกายขั้นต้นนั้น จะเน้นการฝึกด้วยจำนวนครั้ง 8 - 12 ครั้ง โดย 8 ครั้ง เป็นการเน้นสร้างขนาด และ 10 - 12 ครั้ง เป็นการสร้างขนาดที่มาพร้อมกับความทนทาน ที่เรียกว่า พอใหญ่ และพอชัด ซึ่งการสร้างกล้ามเนื้อของการฝึกเพาะกายขั้นต้นนั้น จะต้องเน้นทั้งการสร้างขนาดของกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความแข็งแกร่ง และทนทานของกล้ามเนื้อ ควมแข็งแรงของเอ็น ข้อต่อ และกระดูก ซึ่ง จำนวนครั้ง 8 - 12 ครั้งนั้น จึงเป็นจำนวนครั้งที่เหมาะที่สุดในการเริ่มต้นฝึกเพาะกายขั้นต้น ในการเตรียมตัวสู่เพาะกายขั้นกลาง ถึงจะมีการฝึกให้จำนวนครั้งต่ำกว่า 8 ครั้ง
เซ็ท คือ การที่เราฝึกได้ครบจำนวนครั้งที่กำหนดไว้ในรอบนั้นแล้ว เช่น เราจะฝึกให้ได้ 12 ครั้ง เมื่อครบ 12 ครั้งแล้ว เราก็จะวางลูกเหล็ก ถือเป็นการจบ 1 เซ็ท และพักภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ เมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดแล้ว ก็ให้ฝึกท่าเดิมซ้ำอีกครั้งนึง ก็ถือว่า เป็นการเริ่มต้นเซ็ทที่ 2 และฝึกจนครบจำนวนครั้งที่กำหนดไว้ แล้วจึงพัก ถือว่าเป็นการจบเซ็ทที่ 2 เป็นต้น บางครั้ง อาจจะเรียกว่า " รอบ " หรือ " ยก " ก็ได้ ( แต่ผู้ฝึกส่วนใหญ่ นิยมเรียกทับศัพท์มากกว่า )
การฝึก เพาะกายขั้นต้นนั้น การฝึก จะต้องเริ่มต้นที่ 1 เซ็ท และก็ไต่ขึ้นไปเป็น 2 เซ็ท และ 3 เซ็ท ตามลำดับ โดยจะปรับขึ้นไปตามตารางฝึกที่กำหนดไว้ โดยการฝึกเพาะกายขั้นต้น จะฝึกได้สูงสุดท่าละ 4 เซ็ท แต่ท่าฝึกท้อง จะยืนไว้ที่ 3 เซ็ท เพื่อป้องกันการฝึกอย่างหักโหม
การเคลื่อนไหวท่าฝึก
1. ทุกท่าฝึก ให้เคลื่อนไหวท่าฝึก ตั้งแต่ตำแหน่งเริ่มต้น จนถึงตำแหน่งสุดท้ายตามที่กำหนดไว้ใต่ละท่าฝึกอย่างเต็มพิสัยของท่าฝึก พยายามให้กล้ามเนื้อ ยืดและหดตัวมากที่สุด อย่าเคลื่อนไหวท่าฝึกแบบครึ่งๆกลางๆ
2. การเคลื่อนไหวท่าฝึก จะต้องเคลื่อนไหวการฝึกอย่างต่อเนื่องจนครบจำนวนครั้งที่กำหนดไว้แล้วจึงพัก เซ็ท เมื่อดันน้ำหนักจนสุดพร้อมกับค่อยๆผ่อนลมหายใจออกมาจนสุด ก็ค่อยๆผ่อนแรงทันที พร้อมๆกับให้เราค่อยๆสูดลมหายใจเข้าจนสุดปอด จนรู้สึกว่าทรวงอกขยาย เมื่อผ่อนแรงลงมาจนสุดแล้ว ให้ออกแรงทันที พร้อมกับค่อยผ่อนลมหายในออกมาจนสุด ให้ทำแบบนี้อย่างต่อเนื่อง โดยที่ไม่มีการหยุดพักค้างจังหวะไว้ แบบที่คนอื่นเขาทำกัน
3. ต้องเคลื่อนไหวท่าฝึกอย่างเคร่งครัด ตามที่กำหนดเอาไว้ ไม่ใช้การเคลื่อนไหวการฝึกแบบขี้โกง เพราะนอกจากกลามเนื้อจะทำงานได้ไม่เต็มที่ จนทำให้การฝึกไม่ได้ผลแล้ว การเคลื่อนไหวท่าฝึกแบบผิดๆ จะทำให้ได้รับบาดเจ็บไปด้วย เช่น
3.1 ห้ามแอ่นหน้า แอ่นหลัง หรือใช้การย่อขาแล้วขย่ม เพื่อช่วยส่งบาร์เบลล์ขึ้นเหนือศีรษะ ในท่า Press Behind Neck
3.2 ย่อขา และออกแรงเหยียดตรงด้วยกำลังขา ในการฝึกท่า Squat ไม่ใช้การขย่มหรือกระตุกขา และห้ามใช้การกระดกก้นเพื่อช่วยในการออกแรง
3.3 เวลาฝึกอกท่า Bench Press ที่ใช้สร้างกล้ามอก ห้ามยกสะโพกหรือแอ่นหลัง ในการช่วยดันน้ำหนัก
3.4 กล้ามหลังท่า Bent Over Rowing ต้องออกแรงดึงบาร์เบลล์ขึ้นมาจากกำลังของกล้ามแขนเท่านั้น ห้ามใช้การโยกลำตัวช่วยในการดึงเด็ดขาด ท่า Wind Grip Chin ก็ต้องออกแรงดึงขึ้นไปด้วยกำลังแขนและกล้ามปีก ห้ามใช้การดีดตัวเพื่อช่วยในการออกแรงเด็ดขาด
3.5 ขณะฝึกท่าสร้างกล้ามเนื้อต้นแขน ไม่ว่าจะเป้นท่า BarBell Curl และ Lying Tricep Extention ต้องใช้การออกแรงจากำลังแขนเท่านั้น ไม่ใช้การโยกหัวไหล่เพื่อช่วยออกแรง และเวลาฝึกกล้ามแขนด้านหน้า ห้ามใช้การโยกลำตัว และโยกหัวไหล่ เพื่อช่วยในการออกแรงเด็ดขาด
อยากเริ่มเล่นเวท ต้องอ่านครับ !!!!
การฝึกเพาะกายขั้นต้น
การฝึกเพาะกายขั้นต้น เป็นเบสิคที่คนที่เร่มเล่นเพาะกาย ( เล่นกล้าม ) ควรจะฝึก ไม่ว่าจะต้องการหุ่นแบบนักกล้าม หรือ หุ่นนายแบบก็ตาม การเริ่มต้นพื้นฐานการฝึก ก็จะเมือนๆกัน ไม่ต่างกันแต่อย่างใด ระบบการฝึก อาจจะออกแบบให้เป็นพิเศษตามแต่กรณีของบุคคล แต่ท่าฝึกทุกอย่างในการฝึกเพาะกายขั้นต้นนั้น ก็เหมือนๆกัน ไม่ได้เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
ดังนั้น หากจะประสบความสำเร็จในการฝึกอย่างรวดเร็ว ควรจะอ่านเนื้อหาทั้งหมดให้เข้าใจเสียก่อน แล้วถึงจะลงมือฝึกจริง อย่าฝึกไปกางตำราไป หรือสนใจแต่แค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะ การดูแต่ตารางฝึก ไม่ยอมสนใจส่วนอื่น เพราะเนื้อเรื่องที่พิมพ์ลงไปนั้น เนื้อหาทุกตอน ขาดตอนใดตอนหนึ่งไปไม่ได้ ทุกตอนมีความสำคัญเท่าเทียมกัน ไม่ใช่สำคัญแค่เฉพาะตารางฝึกอย่างเดียว เพราะเนื้อหาทุกอย่างนั้น มีความเชื่องโยงกันหมด ที่จะช่วยให้คุณ มีกล้ามเนื้อ และรูปร่างอย่างที่ผู้ฝึกต้องการ
สรุปก็คือ ตารางฝึกว่าไว้ตามไหน ก็ฝึกไปตามนั้น
ปัจจัยที่สำคัญ 4 ประการในการเล่นกล้าม
1. การฝึกอย่างถูกต้อง
การ เริ่มต้นที่ถูกต้องนั้นสำคัญมาก ทำให้เราออกตัวได้เร็วกว่าคนอื่น ทำให้เราไล่ตามคนที่ออกตัวไปก่อนเราได้ทัน และ ทำให้เราสามารถแซงคนที่เร่งการฝึกให้หนักเข้าไว้แต่แรก จนเร่งไม่ขึ้นแล้ว เพื่อที่จะได้เดินทางไปสู่ที่หมายอย่างปลอดภัย และรวดเร็วที่สุด ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล อย่าคลำทางเองมั่วๆ และอย่าออกนอกลู่นอกทาง เพราะอาจจะทำให้สะบักสะบอมเสียก่อนได้ กว่าที่จะกลับมาเข้าที่เข้าทาง ก็จะทำให้เสียเวลา และกล้ามขึ้นได้ไม่ดีอย่างที่ควรจะเป็นในช่วงแรกของการฝึก เพราะร่างกายต้องซ่อมไปด้วย สร้างไปด้วย
2. อาหารการกินที่มีคุณภาพ
อาหาร การกินในแต่ละวันต้องเป็นอาหารที่มีคุณภาพ ไม่ใช่อาหารขยะ โดยต้องกินให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และต้องกินให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารโปรตีน เพราะต้องนำไปซ่อมแซมกล้ามเนื้อ และอาหารคาร์โบไฮเดรต ที่ใช้เป็นพลังงานในชีวิตประจำวัน แต่อาหารอื่นๆ ก็ขาดไม่ได้เช่นกัน
3. การพักผ่อนที่เพียงพอ
เมื่อ ร่างกาย ผ่านการใช้งานมาหนักๆแล้ว ร่างกาย ก็ต้องการเวลาในการซ่อมแซมกล้ามเนื้อด้วยเช่นกัน และร่างกายจะมีเวลาซ่อมแซมกล้ามเนื้อมากที่สุดก็ตอนที่เวลาเรานอน โดยต้องมีเวลานอนอย่างน้อยคืนละ 7 - 8 ชั่วโมง เป็นอย่างต่ำ ในการพักฟื้นร่างกาย เมื่อฝึกเพาะกายมานานมาขึ้น ร่างกายก็จะต้องการเวลาพักผ่อนที่มากกว่านี้ โดยให้เข้านอนแต่หัวค่ำ พยายามเข้านอนให้ได้ก่อน 4 ทุ่ม ( อย่างช้าที่สุดเที่ยงคืน ) เพราะเป็นช่วงเวลาที่ โกรว์ธ ฮอร์โมน ที่ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายหลั่งออกมามากที่สุด เมื่อมีเวลานอนมาก ร่างกายก็มีเวลาในการหลั่งโกรว์ธ ฮอร์โมนมากเช่นกัน และนอนหลับให้ได้คืนละ 7 - 8 ชั่วโมง เป็นอย่างน้อย เพราะจะได้ซ่อมแซมร่างกายตอนเรานอน ทำให้เรามีลพะกำลังที่จะใช้ในชีวิตประจำวัน ในวันต่อไป ถ้านอนไม่พอ นอกจากเพลีย เมื่อยล้าแล้ว ยังทำให้ออกกำลังกาย เรียน และทำการทำงานไม่ได้เต็มที่อีกด้วย ถ้าหลับยาก ก็ให้นั่งสมาธิก่อนนอนก็จะช่วยได้มาก
4. หัวจิตหัวใจ
เรื่อ เพาะกายนั้น การเตรียมพร้อมร่างกายเป็นสิ่งสำคัญ แต่เรื่องใจนั้น ต้องมาก่อน หากเรากล้าที่จะฝึก โดยยึดหลักการฝึกที่ถูกต้อง ก็จะทำให้เรามีชัยไปกว่าครึ่ง และต้องฝึกอย่างอดทน อดทนต่อภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น อดทนต่อจิตใจตัวเองที่อยากจะไปให้ไวๆจนอาจจะนอกลู่นอกทาง อดทนต่อการฝึกที่ต้องค่อยๆขยับไปเป็นขั้นเป็นตอน อดทนต่อระยะเวลา ที่เรารู้สึกว่า ร่างกายที่เราอยากได้ มันช่างไลเกินเอื้อม ถ้าใจเราสู้ซะอย่าง ร่างกายที่เราคาดหวังไว้ ก็จะไม่ไกลเกินเอื้ม และก็ไปถึงอย่างที่เราตั้งใจไว้ได้
อุปกรณ์ที่สำคัญในการฝึก
ม้าฝึกแบบปรับเป็นม้าราบและเอียงสูงได้ ( จะมีที่เล่นกล้ามต้นขาด้านหน้าและด้านหลัง หรือไม่ต้องมีก็ได้ ) และมีขาตั้งอยู่ที่หัวม้าฝึก สำหรับฝึกอก หรือฝึกท่าอื่นๆในท่านอน
คานบาร์เบลล์อย่างน้อย 2 อัน 10 ฟุต 1 อัน และ 4 - 5 ฟุตอีก 1 อัน เอาไว้แยกเล่นกล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัดเล็ก
คานดัมเบลล์อย่างน้อย 1 - 2 คู่ เพราะจะได้ปรับน่ำหนักได้หลายๆขนาด คู่แรกสำหรับใส่น้ำหนักเบา และอีกคู่นึง สำหรับ ใช้น้ำหนักในการฝึกที่หนัก เอาไว้สำหรับฝึกในเพาะกายขั้นกลาง
ชุดลูกเหล็กหลากหลายขนาดอีก 1 ชุด อย่าซื้อมาแต่ลูกใหญ่อย่างเดียว ให้ซื้อลูกเล็กๆด้วย เช่น 0.5 , 1 , 1.25 , 1.5 , 2 , 2.5 , 3 , 4 และ 5 ก.ก. เพราะการเพิ่มน้ำหนักลูกเหล็กเมื่อเราฝึกจนเบา จะเพิ่มเข้าไปแค่ครั้งละ 0.5 - 1 ก.ก. เน้น ไม่เกิน 1.5 - 2 ก.ก.
ขาตั้งสำหรับฝึกต้นขาท่า Squat ถ้าอยากมีหุ่นแบบไม่อายใคร ก็ต้องฝึกท่านี้ และในอนาคต เมื่อเราแข็งแรงมากขึ้น ก็จะใช้ขาตั้งนี้ สำหรับฝึกกล้ามไหล่ได้ โดยอาจจะหาร้านเชื่อมเหล็ก แล้วสั่งทำให้ก็ได้ ราคาก็ต่อรองกันเอาเอง หรือหาไม้มาประกอบก็ได้ วัดขนาดดีๆ และประกอบให้แข็งแรงและคงทน เป็นขาตั้งแบบแยกชิ้น 2 ข้าง แบบที่นักยกน้ำหนักทีมชาติเขาใช้กัน เวลาจะฝึกก็ยกออกมา เวลาฝึกเสร็จก็ยกเก็บได้สะดวก
เข็มขัดที่ใช้สำหรับยกน้ำหนัก สิ่งนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นมากเช่นกัน เพราะจะได้ใส่เอาไว้เวลาฝึกในท่ายืน เพื่อป้องกันการบาดเจ็บหลังส่วนล่าง เพราะหลังส่วนล่างรับน้ำหนักได้อย่างมากแค่ 4 ก.ก.เท่านั้น ตอนแรกไม่ใช้น้ำหนักลูกเหล็กในการฝึกหนักมากก็จริง แต่เมื่อเราแข็งแรงมากขึ้น เราก็จะใช้น้ำหนักในการฝึกได้มากขึ้น และก็จะมีเปอร์เซนต์ในการเสี่ยงกับอาการบาดเจ็บมากขึ้น แม้ว่าเราจะเคลื่อนไหวการฝึกอย่างถูกท่าก็ตาม ( อันนี้ สำคัญมาก )
มีเนื้อที่ภายในบ้านอย่างเพียงพอ ที่จะวางอุปกรณ์ได้อย่างไม่เกะกะ ทำให้สะดวกในการฝึก
การเลือกที่จะฝึกตามโรงยิม
การเดินทาง ระหว่างโรงยิมกับที่บ้าน โรงยิมกับโรงเรียน หรือ โรงยิมกับที่ทำงาน มีความสะดวก
สามารถรับภาระค่าใช้จ่ายรายเดือน ( ค่าใช้บริการโรงยิมต่อเดือน ) ที่เพิ่มขึ้นได้โดยไม่เดือดร้อน ค่าบริการโดยเฉลี่ย เดือนละ 500 -1000 บาท ไม่น่าจะเกินจากนี้ สำหรับโรงยิม
โรงยิมที่ดี ต้องเน้นอุปกรณ์พวก บาร์เบลล์ ดัมเบลล์ ม้าฝึก ขาตั้งสำหรับเล่นกล้ามขา มากกว่าเครื่องกล และลู่วิ่ง อย่างที่ฟิตเนสหลายๆที่นั้นนิยมกัน
ลูกเหล็ก ต้องมีให้เลือกใช้ได้หลายขนาด ตั้งแต่ลูกเล็กสุด ขนาด 0.5 ก.ก. , 1 ก.ก. , 1.25 ก.ก. , 1.5 ก.ก. , 2 ก.ก. , 2.5 ก.ก. , 3 ก.ก. และ 4 ก.ก. ไปจนถึง 20 ก.ก. ไม่ใช่ว่า เน้นแต่เหล็กลูกใหญ่ๆ หรือลูกเหล็กขั้นต่ำอยู่ที่ 5 ก.ก. เพราะการเพิ่มน้ำหนักลูกเหล็กเข้าไปแต่ละครั้ง จะเพิ่มเข้าไปแค่ข้างละ 0.5 - 1 ก.ก. เท่านั้น ไม่เกิน 1.5 - 2 ก.ก.
อุปกรณ์ในโรงยิม ต้องมีอย่างเพียงพอกับสมาชิกที่มาฝึก
สมาชิกในโรงยิมต้องไม่แออัดจนเกินไป จนทำให้ฝึกไม่สะดวก แบบว่า ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาต่อคิวกันเล่นอุปกรณ์เดียวกันถึง 2 - 3 คน
หากเจอโรงยิมแบบที่ต้องการ แต่หากที่นั่น ไม่มีเหล็กลูกเล็กๆให้ฝึก และไม่มีเข็มขัดยกน้ำหนักให้ใช้ ก็ให้ซื้อลูกเหล็กลูกเล็กๆ ไว้ใช้เองที่โรงยิม โดยคุยกับเจ้าของหรือคนที่ดูแลครับ ว่าช่วยดูแลให้เราด้วย หรือถ้าที่โรงยิมมีตู้ล็อคเกอร์ ก็ให้เก็บไว้ในตู้ล็อคเกอร์ พอถึงเวลาที่จะใช้ ก็ค่อยเอาออกมาครับ
วงจรการฝึกเพาะกายขั้นต้น ฝึกสัปดาห์ละ 3 วัน ได้แก่
จันทร์ , พุธ , ศุกร์
อังคาร , พฤหัส , เสาร์
พุธ , ศุกร์ , อาทิตย์
โดยให้เลือกวันที่ฝึกตามวงจรใด วงจรหนึ่ง หรือ จะจัดวงจรการฝึกเองก็ได้ แล้วแต่สะดวก แต่ต้องให้มีลักษณะการฝึกแบบวันเว้นวัน เมื่อฝึกครบสัปดาห์ละ 3 วันแล้ว ให้หยุดพัก 2 วัน แล้วถึงเริ่มวงจรการฝึกใหม่ ในวันถัดไป
คำที่เกี่ยวกับการฝึกเพาะกาย
คาบฝึก หมายถึง ช่วงเวลาที่เราฝึกเพาะกายในวันนั้นๆ เช่น ฝึกเพาะกาย สัปดาห์ละ 3 คาบ จันทร์ , พุธ ,ศุกร์ หรือ คาบฝึกละ 1 ชั่วโมง เป็นต้น
ในเพาะกายขั้นสูง บางครั้ง อาจจะฝึกมากกว่าวันละ 1 คาบฝึกใน 1 วัน เช่น ในวันจันทร์ ฝึก 2 คาบฝึก คาบฝึกแรก ฝึก 8.00 น. - 9.00 น. ฝึกอก และ ไหล่ คาบฝึกที่ 2 ฝึก 16.00 น - 17.00 น. ฝึกต้นขา และน่อง เป็นต้น ( ดูตัวอย่างการฝึกแบบนี้ได้จากระบบการฝึกแบบ HVT )
การนับจำนวนครั้ง ในภาษาอังกฤษคือ Reps การนับจำนวนครั้งนั้น นับจากที่เราออกแรงจนสุดจังหวะ และผ่อนแรงกลับมาสู่จังหวะเริ่มต้น คือ ไปกลับครบ 1 เที่ยว ให้เรานับเป็น 1 ครั้ง ไม่ใช่ขาไปนับเป็น 1 ขากลับนับเป็น 2
การกำหนดจำนวนครั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่จุดประสงค์ของการสร้างกล้ามเนื้อ ว่าจะให้ออกมาเป็นแบบไหน โดยการฝึกเพาะกายขั้นต้นนั้น จะเน้นการฝึกด้วยจำนวนครั้ง 8 - 12 ครั้ง โดย 8 ครั้ง เป็นการเน้นสร้างขนาด และ 10 - 12 ครั้ง เป็นการสร้างขนาดที่มาพร้อมกับความทนทาน ที่เรียกว่า พอใหญ่ และพอชัด ซึ่งการสร้างกล้ามเนื้อของการฝึกเพาะกายขั้นต้นนั้น จะต้องเน้นทั้งการสร้างขนาดของกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความแข็งแกร่ง และทนทานของกล้ามเนื้อ ควมแข็งแรงของเอ็น ข้อต่อ และกระดูก ซึ่ง จำนวนครั้ง 8 - 12 ครั้งนั้น จึงเป็นจำนวนครั้งที่เหมาะที่สุดในการเริ่มต้นฝึกเพาะกายขั้นต้น ในการเตรียมตัวสู่เพาะกายขั้นกลาง ถึงจะมีการฝึกให้จำนวนครั้งต่ำกว่า 8 ครั้ง
เซ็ท คือ การที่เราฝึกได้ครบจำนวนครั้งที่กำหนดไว้ในรอบนั้นแล้ว เช่น เราจะฝึกให้ได้ 12 ครั้ง เมื่อครบ 12 ครั้งแล้ว เราก็จะวางลูกเหล็ก ถือเป็นการจบ 1 เซ็ท และพักภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ เมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดแล้ว ก็ให้ฝึกท่าเดิมซ้ำอีกครั้งนึง ก็ถือว่า เป็นการเริ่มต้นเซ็ทที่ 2 และฝึกจนครบจำนวนครั้งที่กำหนดไว้ แล้วจึงพัก ถือว่าเป็นการจบเซ็ทที่ 2 เป็นต้น บางครั้ง อาจจะเรียกว่า " รอบ " หรือ " ยก " ก็ได้ ( แต่ผู้ฝึกส่วนใหญ่ นิยมเรียกทับศัพท์มากกว่า )
การฝึก เพาะกายขั้นต้นนั้น การฝึก จะต้องเริ่มต้นที่ 1 เซ็ท และก็ไต่ขึ้นไปเป็น 2 เซ็ท และ 3 เซ็ท ตามลำดับ โดยจะปรับขึ้นไปตามตารางฝึกที่กำหนดไว้ โดยการฝึกเพาะกายขั้นต้น จะฝึกได้สูงสุดท่าละ 4 เซ็ท แต่ท่าฝึกท้อง จะยืนไว้ที่ 3 เซ็ท เพื่อป้องกันการฝึกอย่างหักโหม
การเคลื่อนไหวท่าฝึก
1. ทุกท่าฝึก ให้เคลื่อนไหวท่าฝึก ตั้งแต่ตำแหน่งเริ่มต้น จนถึงตำแหน่งสุดท้ายตามที่กำหนดไว้ใต่ละท่าฝึกอย่างเต็มพิสัยของท่าฝึก พยายามให้กล้ามเนื้อ ยืดและหดตัวมากที่สุด อย่าเคลื่อนไหวท่าฝึกแบบครึ่งๆกลางๆ
2. การเคลื่อนไหวท่าฝึก จะต้องเคลื่อนไหวการฝึกอย่างต่อเนื่องจนครบจำนวนครั้งที่กำหนดไว้แล้วจึงพัก เซ็ท เมื่อดันน้ำหนักจนสุดพร้อมกับค่อยๆผ่อนลมหายใจออกมาจนสุด ก็ค่อยๆผ่อนแรงทันที พร้อมๆกับให้เราค่อยๆสูดลมหายใจเข้าจนสุดปอด จนรู้สึกว่าทรวงอกขยาย เมื่อผ่อนแรงลงมาจนสุดแล้ว ให้ออกแรงทันที พร้อมกับค่อยผ่อนลมหายในออกมาจนสุด ให้ทำแบบนี้อย่างต่อเนื่อง โดยที่ไม่มีการหยุดพักค้างจังหวะไว้ แบบที่คนอื่นเขาทำกัน
3. ต้องเคลื่อนไหวท่าฝึกอย่างเคร่งครัด ตามที่กำหนดเอาไว้ ไม่ใช้การเคลื่อนไหวการฝึกแบบขี้โกง เพราะนอกจากกลามเนื้อจะทำงานได้ไม่เต็มที่ จนทำให้การฝึกไม่ได้ผลแล้ว การเคลื่อนไหวท่าฝึกแบบผิดๆ จะทำให้ได้รับบาดเจ็บไปด้วย เช่น
3.1 ห้ามแอ่นหน้า แอ่นหลัง หรือใช้การย่อขาแล้วขย่ม เพื่อช่วยส่งบาร์เบลล์ขึ้นเหนือศีรษะ ในท่า Press Behind Neck
3.2 ย่อขา และออกแรงเหยียดตรงด้วยกำลังขา ในการฝึกท่า Squat ไม่ใช้การขย่มหรือกระตุกขา และห้ามใช้การกระดกก้นเพื่อช่วยในการออกแรง
3.3 เวลาฝึกอกท่า Bench Press ที่ใช้สร้างกล้ามอก ห้ามยกสะโพกหรือแอ่นหลัง ในการช่วยดันน้ำหนัก
3.4 กล้ามหลังท่า Bent Over Rowing ต้องออกแรงดึงบาร์เบลล์ขึ้นมาจากกำลังของกล้ามแขนเท่านั้น ห้ามใช้การโยกลำตัวช่วยในการดึงเด็ดขาด ท่า Wind Grip Chin ก็ต้องออกแรงดึงขึ้นไปด้วยกำลังแขนและกล้ามปีก ห้ามใช้การดีดตัวเพื่อช่วยในการออกแรงเด็ดขาด
3.5 ขณะฝึกท่าสร้างกล้ามเนื้อต้นแขน ไม่ว่าจะเป้นท่า BarBell Curl และ Lying Tricep Extention ต้องใช้การออกแรงจากำลังแขนเท่านั้น ไม่ใช้การโยกหัวไหล่เพื่อช่วยออกแรง และเวลาฝึกกล้ามแขนด้านหน้า ห้ามใช้การโยกลำตัว และโยกหัวไหล่ เพื่อช่วยในการออกแรงเด็ดขาด